Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ...ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกันชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจหลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง ตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ที่บ้านแม่สามแลบ ด้วยหน้าที่การงาน สามีของนางจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ยายคำไม่มีทางรู้ว่า การตัดสินใจไปค้าขายยังฝั่งพม่าในครั้งนั้น(ประมาณ 30 ปี ที่แล้ว)ของสามี จะทำให้นางต้องอยู่คนเดียวตราบจนวันนี้ปัจจุบัน ยายคำอยู่กับลูกสาวคนเล็ก(นางนงนุช)ในจำนวนลูกทั้งหมด 8 คน...
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ ฯลฯ แม้แต่ในเมืองมอญเองก็ไม่ได้มีงานวันชาติเพียงแค่ในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น ทุกหมู่บ้านต่างก็จัดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยมอญทั่วโลกยึดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันชาติมอญ  เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวันก่อตั้งเมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญนั่นเอง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ สำหรับในประเทศไทยปีนี้ถือฤกษ์สะดวก จัดงาน“รำลึกบรรพชนมอญ” ในวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล และก็เป็นเพียงการทำบุญให้บรรพชนและมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์และธำรงค์วัฒนธรรม ไม่ได้มีการเปิดไฮด์ปาร์คด่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีจุดมุ่งหมายแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด เพียงแค่นี้ก็ยังทำให้หน่วยงานความมั่นคงในจังหวัดสมุทรสาครก็แทบจะนั่งไม่ติดเลยทีเดียว  ฉันได้รับคำเชิญให้ไปร่วมงานวันชาติจากผู้ใหญ่ชาวมอญที่เคยติดต่องานกับฉัน ในเมื่อผู้ใหญ่บอกว่าจะส่งบัตร “เชิญ” มาให้ ฉันเป็นเด็กจะไม่ไปได้อย่างไร ในที่สุดฉันก็เข้าไปในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่นตั้งแต่คืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยการดูแลของทหารหน่วยประสานมอญ และน้องๆ เยาวชนมอญที่มาจากเมืองมอญ พวกเราต้องเบียดกันไปบนรถปิ๊กอัพคันเดียวถึง 24 คน  แต่น้องๆ ทุกคนก็ไม่บ่นถึงความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหน้าปะทะลมและฝุ่นแดง ในทางตรงกันข้าม กลับร้องเพลงภาษามอญกันอย่างสนุกสนาน แม้ฉันจะไม่เข้าใจเนื้อเพลง แต่สีหน้าและแววตาของคนร้องก็ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความเบิกบานใจและความมุ่งมั่นของน้องๆ ฉันจึงรู้สึกเบิกบานใจและสนุกสนานไปด้วย สมาชิกคนหนึ่งบอกฉันว่าเพลงนี้เป็นเพลงปลุกใจ เนื้อหาเกี่ยวกับการไม่ลืมถึงเป้าหมายสูงสุดคือ การได้ปกครองตนเอง และการได้ชาติมอญกลับคืนมา พวกเราไปถึงบ้านบ่อญี่ปุ่นเวลาเกือบสองทุ่ม งานมหรสพเริ่มแล้ว จริงๆ แล้วคืนก่อนนั้นก็มีงานเช่นกันแต่เป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรม ส่วนคืนวันที่ 21 ที่ฉันไปถึงนั้นนี้มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ เหมือนตลาดนัดทั่วไปที่ฉันเคยเห็นในเมืองไทย ฉันแวะร้านขายหมาก ซึ่งมีทั้งหมากป้ายปูนที่ชายชาวมอญชอบเคี้ยว และหมากที่ใส่มะพร้าวย้อมสีที่เพื่อนฉันบอกว่าผู้หญิงจะเลือกเคี้ยวหมากชนิดนี้มากกว่า และก็มีหมากฝรั่ง ลูกอม นับว่าเป็นร้านขายของแก้เหงาปากจริงๆ ฉันอยากจะลองซื้อหมากป้ายปูนมาเคี้ยวสักคำจะได้เป็นประสบการณ์ชีวิต แต่ก็กลัว “ยันหมาก” เลยได้แต่หยิบหมากฝรั่งที่ฉันนำติดตัวมาขึ้นมาเคี้ยวเล่นแทน แต่ฉันก็ได้อุดหนุนแม่ค้าไปนิดหนึ่ง ในตอนแรกฉันไม่รู้ว่าจะใช้เงินสกุลไหนซื้อของในหมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น แต่ในเมื่อเขาบอกราคามาเป็นบาท ฉันจึงจ่ายเงินบาทไปปกติ ซึ่งก็เหมือนกับเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทยทั่วไปที่เราใช้เงินบาทซื้อของได้เลย  เดินไปอีกนิดก็เห็นซุ้มรณรงค์เรื่องป้องกันโรคเอดส์และการสอนวิธีคุมกำเนิด จัดโดยองค์กรเอกชนที่มาจากฝั่งไทย มีคำอธิบายทั้งภาษามอญและภาษาไทย น้องๆไปตอบคำถามได้ของรางวัลเป็นผงซักฟอก สมุด ดินสอ (และถุงยางอนามัย?) มากันหลายคน นอกจากนี้ยังมีหนังกลางแปลงและมีนักร้องนักดนตรีที่ไปจากฝั่งไทย เล่นเพลงไทย  เล่นเพลงไทยจริงๆ ไม่ได้พิมพ์ผิดเยาวชนมอญในมือแม่ และธงชาติมอญในมือเยาวชน
แสงดาว ศรัทธามั่น
ที่ รั ก ... โ อ้ ... My Belovedเก็บ กอด รั ก ที่ ง ด งา ม แห่งเราไว้ใน ค วา ม ท ร ง จำ... ฉั น ข อ โ ท ษถ้า เ ธ อ ถามไถ่ และ เ ธ อ โทรฯฉั น มิได้ตอบรับสายฯฉันขอโทษ... โปรดอย่าได้เคืองโกรธ ฉั น เลยโ อ ... My Beloved !!!เ ธ อ เห็นไหม?ตะวัน เดือน ดาว ยังคงสาดฉายผีเสื้อ แมลงปอ หิ่งห้อย งามพริ้มพราย เริงรำร่ายดวงใจแห่ง รั ก เรียงรายรำร่ายฟ้อน..." ชี วี ชี วา แห่ง รั ก ง ด งา ม แล้ว !!..... โ ป ร ด อ ย่าไ ด้ โ กรธ เคือง ฉั น เลยโ อ้... My Belovedโ อ ... เก็บกอด รัก แห่งเราผองไว้ในความทรงจำอันงดงามตราบนิรันดร์แสงดาว ศรัทธามั่นปลายฤดูหนาวที่มีฝนพรำ , 26 กพ. 51บ้านร้านขายเนื้ออิสลามช้างคลาน เชียงใหม่ 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้วในที่สุดก็ถึงวันนี้วันที่อดีตท่านนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางกลับเมืองไทยโดยสายการบินไทยเที่ยวที่ ที จี 603 ที่ร่อนลงบนรันเวย์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 09.40น.ของวันที่ 28 ก.พ. เพื่อกลับมาต่อสู้คดีทุจริตจัดซื้อที่ดินถนนรัชดา ที่ท่านตกเป็นจำเลยที่หนึ่ง รวมทั้งข้อกล่าวหาอื่นๆในช่วงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ท่ามกลางความดีอกดีใจของฝ่ายที่สนับสนุนที่พากันไปต้อนรับอย่างเอิกเกริก และท่ามกลางความตึงเครียดของฝ่ายคัดค้าน ที่เริ่มส่งเสียงคำรามฮึ่มๆ ออกมาประปรายถึงแม้การยอมรับกลับมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมในสังคมของอดีตท่านนายกฯ จะเป็นคำตอบเดียวที่ดีที่สุดที่สังคมทุกฝ่ายอยากจะเห็น แต่ก็ยังมีคนเกรงกลัวและหวาดระแวงอยู่เพราะอดีตท่านนายกฯผู้นี้ เราต้องยอมรับความจริงกันว่า ท่านเป็นผู้นำของประเทศคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ( หรืออาจจะเป็นคนแรกของโลก ) ที่ถูกปฏิวัติรัฐประหาร และลี้ภัยอยู่นอกประเทศ นอกจากจะไม่มีใครสามารถทำลายท่านให้ย่อยยับแบบไม่ให้ผุดให้เกิดเหมือนคนอื่นๆ แล้ว  ท่านยังสามารถกลับคืนบ้านเมืองมาต่อสู้กับคดีความผิดและข้อกล่าวหาที่ท่านบอกกับสังคมว่า ตัวท่านและครอบครัวไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างสง่างาม และน่ามหัศจรรย์ราวกับปาฏิหาริย์ปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่นี้จึงเป็นที่ร้อนๆ หนาวๆ ของฝ่ายที่คัดค้าน ที่หวาดหวั่นว่าจะมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างช่วยไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ คุณหมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสผู้ปรารถนาดีต่อบ้านเมืองเสมอมา ได้แสดงความเห็นในเชิงชี้นำให้กับสังคมทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรักหรือเกลียดคุณทักษิณ  ฝ่ายที่วางตัวเป็นกลางไม่รักไม่เกลียด รวมทั้งฝ่ายที่ไม่เอาไหนเลย หรือเอายังไงก็ได้ทั้งนั้น เพราะพวกเขาต่างปลงตกและคิดว่า...บ้านเมืองนี้ไม่ใช่ของพวกเขาเสียแล้ว-เอาไว้ว่า“พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุคคลที่มีทั้งคนรักและไม่รักเป็นจำนวนมาก จนเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่ แบ่งแยกคนในสังคมไทย ดังนั้นสังคมจะต้องช่วยกันระมัดระวังไม่ให้ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน นำไปสู่ความแตกแยกที่รุนแรง แม้แต่ละฝ่ายจะทะเลาะกันก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย ใช้สันติวิธีแก้ปัญหา...”
เงาศิลป์
การใช้ชีวิตในบ้านไร่ชายป่า บางครั้งทำให้ฉันถามตัวเองว่า การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นความฟุ่มเฟือยของชีวิตด้วยหรือเปล่า แต่แล้วก็มีบางเรื่องราวมาคลี่คลายเป็นคำตอบให้ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับคำถามใดๆ ทั้งสิ้น.......สวัสดีค่ะ พี่ชื่ออะไรเหรอคะหนูชื่อทรายนะคะ บังเอิญเข้ามาอ่านเจอพอดี พี่ทำงานกับป๊าหนูด้วยเหรอค่ะ (ยงยุทธ ตรีนุชกร) แต่พ.ศ.31 หนูเพิ่งจะเกิดเอง คงไม่รูจักพี่แน่เลย!! แล้วจะเข้ามาอ่านใหม่นะค่ะ อ่านแล้วชอบมากๆ เลย เพราะหนูเรียนแพทย์แผนไทยอยู่ ก็เลยรู้สึกดีที่มีคนชอบการรักษาแบบแผนไทยเหมือนกัน ขอให้พี่หายเร็วๆ นะคะ แล้วก็ช่วยเป็นกำลังใจให้ป๊าด้วยนะคะ……………………….
เตือนใจ ดีเทศน์ กุญชร ณ อยุธยา
“ไฟมาป่าเป่ง มดส้มเต้ง ผักหวานโป่ง” คือคำพังเพยที่พ่อกำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน ได้เล่าให้ฟังในที่ประชุมคณะทำงานภูมิภาคภาคเหนือ รางวัลลูกโลกสีเขียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ที่บ้านธารแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
ไฟคือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ซึ่งชาวเหนือและชาวอีสานผู้ใช้ชีวิตร่วมกับป่ามาช้านาน มีคำพังเพยว่า ช่วงฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนต้องเผาป่า เพื่อให้ไม้ผลิใบใหม่ มดแดงจะมีไข่เป้ง เม็ดใหญ่ เป็นอาหารโปรตีนชั้นดี แกงใส่ยอดผักหวาน ซึ่งจะแตกยอด(โป่ง) ในช่วงฤดูแล้งผักหวานไข่มดแดง(ภาษาเหนือเรียกมดส้ม)เห็ดเผาะ ภาพจาก www.siamensis.org
กานต์ ณ กานท์
  
ที่ว่างและเวลา
‘ดอกเสี้ยวขาว’   การที่ต้องลำบากเดินลัดเลาะไปตามร่องเขา ไต่ขึ้นไปบนความสูงชัน นานหลายชั่วโมง เพียงเพื่อไปกวาดใบไม้บนสันดอยสูงนั้น หลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่สำคัญ แต่สำหรับผมกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่นั่น, บนสันดอยสูง...พวกเขาช่วยกันกวาดใบไม้ ก่อนที่จะจุดไฟเผา ซึ่งไม่ได้ไปคนเดียว แต่ไปร่วมกันหมดทุกหลังคาบ้าน มีทั้งผู้เฒ่า เด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ “ตอนนี้ถ้าทางการเขาสั่งห้ามเผาป่า จะทำได้มั้ย?...” ผมลองแหย่ถามชาวบ้าน “แล้วถ้าเขาสั่งห้ามกินข้าว เราจะทำได้มั้ย...ถ้าเชื่อ เราก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้กินอะไรเลย...” ชาวบ้านชนเผ่าลาหู่คนหนึ่งเอ่ยออกมา ในขณะที่กำลังช่วยกันกวาดใบไม้บนสันดอย ก่อนจุดไฟเผาเศษไม้ใบหญ้าเพื่อทำเป็นช่องว่าง ทำแนวกันไฟ ใช่, การเผาป่า หลายคนบอกว่ามันผิด และอาจจะถูกจับกุมได้ เพราะมีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด แต่การเผาของชาวบ้านที่นี่ เขาเรียกกันว่า ‘การชิงเผา’ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการไฟป่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่อยู่ในเขตป่าชุมชน ป่าที่ให้ชีวิตแก่พวกเขา มีตาน้ำที่ค่อยๆ หยาดหยด โดยผ่านขุนห้วยเคี้ยวคดรดรินไหลลงมาหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านแถบนี้ ดังนั้นเขาก็ต้องรักษาด้วยชีวิตไว้ด้วยเช่นเดียวกัน ผู้นำชนเผ่าลาหู่เล่าให้ฟังว่า เรามีการพูดคุยกันทุกปี ทั้งเด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ จะมีการช่วยกันสอดส่องดูแล และทุกปีจะมีการทบทวนกฎระเบียบที่ตั้งไว้ ทุกคนมีหน้าที่ มีสิทธิในการดูแลรักษาป่า ไม่ได้เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้ามีเหตุการณ์อะไรให้แจ้งคณะกรรมการหมู่บ้าน เราทำกันเองไม่มีงบประมาณอะไร เราจะใช้วิธีชิงเผาก่อน “ทำอย่างไรหรือ ชิงเผาก่อน...” ผมถาม “ก็ช่วยกันกวาดใบไม้ที่หล่นลงมารวมกันตรงกลาง ก่อนที่จะจุดไฟเผา แต่ถ้าเรากองไว้ข้างๆ มันจะกองใหญ่ ถ้าไฟมา จะลุกไหม้และจะลามลุกข้ามไปได้ เราจึงใช้วิธีนี้มานานแล้ว”ผู้นำชนเผ่า บอกเล่าให้ฟัง             ทำให้ผมนึกไปถึงมติการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 8 มกราคม 2551 การเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551 (สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) อีกครั้งหนึ่ง... ในมติ ครม.ฉบับนั้น บอกว่า ในห้วงฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะพัดปกคลุมพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ปริมาณฝนตกน้อย ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีความแห้งแล้ง และมีลมกระโชกแรง มีโอกาสที่จะเกิดไฟป่าและหมอกควันไฟได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้และภูเขาสูงในภาคเหนือตอนบน การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่และน่าน) ดำเนินการตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) ในการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 โดยให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ และบูรณาการการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่จังหวัดจัดทำไว้ในห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 - เมษายน 2551 เน้นการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการควบคุม การป้องกันและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือประชาชนในการงดเว้นการเผา โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หากไม่เป็นผลให้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะการจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง! ในระหว่างที่ผมกลับมาเขียนงานชิ้นนี้ ผมนั่งมองผ่านหน้าต่างออกไป เห็นไฟป่าที่กำลังลุกลามเลียอยู่เหนือดอยผาแดงทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เส้นทางเดินของไฟป่า ขีดเป็นแนวคดโค้งไปมา บางแห่งมอดดับเห็นแต่แสงรำไร บางแห่งลุกโชติช่วง สว่างไสว เหมือนไม่มีวันที่จะดับมอดลง ท่ามกลางพงไพร ที่ไร้แสงจันทร์นวล พลางให้นึกถึงครูประถม ที่เคยบอกว่า การเสียดสีของต้นไม้ ทำให้เกิดไฟป่า ซึ่งผมเชื่อในตอนนั้น และตอนนี้รัฐบาลก็บอกผมอีกว่า ชาวบ้านเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะพี่น้องชนเผ่า ที่รัฐเรียกขานว่า ชาวเขา เป็นผู้ทำลายป่า เป็นตัวบ่อนทำลายชาติ เป็นพวกค้ายาเสพติด และเป็นต้นเหตุของสิ่งเลวร้ายทั้งปวง ล่าสุดก็ได้รับข้อกล่าวหานี้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว “จะห้ามเผาในไร่ของตัวเองเป็นไปไม่ได้ เราทำแบบนี้มานานแล้ว แต่เราก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง ถ้าจะดีต้องควบคุมไม่ให้ไหม้เข้าไปในป่า หรือการนำเศษวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก บางพื้นที่ชาวบ้านไม่ได้เผาเลย เพราะช่วงนี้ปลูกถั่วอยู่อยู่ในไร่ แต่ถ้าคนไหนปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียว ไม่ปลูกถั่ว เขาก็จะเผา เพราะหญ้าจะแรง หญ้าจะงอกมาเร็ว เมื่อไม่ได้ปลูกถั่วเนื่องจากพื้นที่ได้ถูกปล่อยไว้ให้วัชพืชจะขึ้นมาก ถ้าไม่มีการดูแล ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เท่านั้นที่มีการเผา” “แล้วถ้าไม่ให้ชาวบ้านเผา จะทำอย่างไรกันดีล่ะ...” “ถ้าจะแก้ไขปัญหาไม่ให้ชาวบ้านเผาป่าช่วงนี้ ก็น่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วต่างๆ หลังจากปลูกข้าวโพด และดูแลเรื่องราคาตลาดให้ด้วย อย่างนี้ชาวบ้านจะไม่ต้องเผาไร่ เพราะการย่อยสลายของถั่วย่อยได้เร็วกว่า เราก็ไม่ต้องเผา ปลูกข้าวไร่ต่อได้เลย” นี่เป็นความคิดของชาวบ้านเผ่าลาหู่คนหนึ่ง ที่ได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนวทางการแก้ไข ทางออกของปัญหาในพื้นที่ของเขา “รัฐบาลอยากให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน” นี่คงเป็นเพียงคำพูดประโยคหนึ่งเท่านั้น ถามว่าที่ผ่านมา เคยรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านบ้างไหม เคยมาเรียนรู้วิถีชีวิตพวกเขาบ้างไหม การใช้อำนาจเพียงอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหา ไม่ประสบความสำเร็จแน่นอนถ้าปราศจากความร่วมมือของชาวบ้าน ผมเชื่ออย่างนั้น การแก้ปัญหาของรัฐบาลชุดนี้(สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช) ก็คงไม่แตกต่างกันกับชุดที่มาจากการรัฐประหาร แว่วข่าวมาว่า มีการสั่งการมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ออกข้อบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า และให้บังคับใช้กับชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐใช้อำนาจการปกครองนั้นผ่านกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังคงดำเนินมาในรูปแบบที่รัฐมีอำนาจในการควบคุมดูแลการพัฒนาการเมืองไทยในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองเกิดขึ้นในระดับชาติ เท่านั้น แต่ในระดับท้องถิ่นแทบไม่มีการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวเลย ตอนนี้ผมไม่เชื่อทั้งครู และรัฐบาล ที่คอยพร่ำบอกไว้ อย่างนั้นอย่างนี้อีกแล้ว ตราบใดที่เราไม่ได้มาสัมผัสกับความเป็นจริง อยู่กับความเป็นไป และในสังคมที่ไร้ความชอบธรรมเยี่ยงนี้ ผมเลือกที่จะเชื่อตัวผมเองและผมเชื่อในความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หลังจากที่ได้มาสัมผัสกับพี่น้องชาวบ้าน “เราเป็นคนดอย อยู่ในดอย หากินในดอย จะให้ไปอยู่ในเมือง เราก็อยู่ไม่ได้ คนในเมือง มาอยู่ในดอยก็อยู่ไม่ได้ เรามีวิถีที่แตกต่างกัน แต่ก็อยากให้ลงมาสัมผัสกับวิถีชีวิตของเรา ว่าเป็นอย่างไร…” ผู้นำชนเผ่าลาหู่ เอ่ยออกมาในวันนั้น ในวันที่พี่น้องชนเผ่าช่วยกันกวาดใบไม้บนสันดอย... ผมยังนั่งนิ่งมองไฟป่า ริมหน้าต่างบ้านสวนบนเนินเขา แสงไฟเริ่มมอดดับลง เห็นเพียงแค่จุดเล็กๆของถ่านไฟที่ยังมีเชื้อไฟติดอยู่ พระจันทร์ครึ่งดวง เริ่มโผล่พ้นขอบฟ้าเหนือดอยผาแดง แสงของพระจันทร์ยังเปล่งแสงได้ไม่เต็มที่ หากยังมองเห็นเมฆลอยคว้างอยู่บนฟ้า ทำนึกถึงภาพในอดีตอีกครั้ง… ...เมื่อก่อนก็มีไฟป่า ชาวบ้านก็เผาป่า เผามากกว่าเดี๋ยวนี้ด้วยซ้ำ ไม่เห็นจะเดือนร้อนเหมือนกับตอนนี้เลย ไม่เคยมีปัญหาเรื่องหมอกควัน แล้วสาเหตุที่แท้จริงมันเกิดจากอะไรหนอ....???
นาโก๊ะลี
ในตอนหนึ่งของ “จดหมายถึงกวีหนุ่ม” รินเค บอกว่า “หากเธอสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเขียนบทกวี เธอก็ไม่ต้องเขียนมันหรอก แต่หากว่าเมื่อไหร่ที่เธอรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เขียน เมื่อนั้นก็จงเขียนมันซะ” ......... หลายวันก่อน กวี คนหนึ่งบอกว่า “อย่าขวนขวายที่จะพิมพ์บทกวีรวมเล่มเลย เพราะมันจะไปอยู่ในซอกที่มองไม่ค่อยเห็นในร้านหนังสือ”ดูเหมือน บทกวี จะเป็นงานศิลปะที่เคลื่อนไหวอยู่ในยุคโลกตลาดเสรี น้อยที่สุด แต่กระนั้นกวีก็ยังไม่เคยหายไป ตราบที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลก หลายคนว่าไว้อย่างนั้น
ชาน่า
วันนี้เรือจอดอยู่ประเทศบาฮามัส พรุ่งนี้จะเข้าฟลอริด้า นั่งทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์รับโทรศัพท์จองห้องอาหารคนเดียว  เสี้ยวหนึ่งของวันทำงาน จู่ ๆ ก็เกิดอาการเป็นสุข จนต้องระบาย หยิบปากกามาจิกเขียน ถ่ายทอดความสุข ส่งตรงสู่เมืองไทย  
เค้าบอกว่า คนเราจะสุขหรือทุกข์นั้นขึ้นอยู่ที่ใจ บางครั้งกว่าจะสุขได้ก็ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างไม่ว่าจะเรื่องของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ส่วนตัว และจิตใจ เป็นต้น
บางครั้งเจ้า “ความทุกข์”  มักจะมาเยือน  นั่นก็เป็นเรื่องธรรมดาสามัญบ้าน ๆ ทั่วไป ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ปุถุชนคนเดินดินอย่างเราท่านทั้งหลาย   แต่เราจะหาวิธีการดับทุกข์เช่นไร ทำให้บำบัดทุกข์เติมความสุขให้กับตนเอง
วันนี้ชาน่าพอจะคิดค้นตำรา  “อยู่อย่างไรให้เป็นสุข ของวิถีชีวิตเกย์”   ร่วมแชร์ให้กับคนอ่านคอลัมน์ทุกท่านฮ่ะ  พอจะแยกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
Carousal
เวลาอ่านการ์ตูนหรือนิยาย คุณเคยตกหลุมรักตัวร้าย แทนที่จะเป็นพระเอกนางเอกบ้างไหมคะ?
ในการ์ตูนสำหรับเด็กเล็ก ความดีกับความชั่วร้ายมักถูกแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนเหมือนสีขาวกับสีดำ เพื่อให้เด็กเข้าใจความแตกต่างและเรียนรู้วิธีการแยกแยะระหว่างความดีกับความเลว ดังนั้น พระเอกนางเอกในการ์ตูนเด็กจึงมักจะเป็นคนดีแบบตรงไปตรงมา ดีแบบไม่มีเหตุผล พอ ๆ กับตัวร้ายที่หลับหูหลับตาร้ายแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครดีโดยสิ้นเชิงและร้ายอย่างสุดขั้ว การ์ตูนที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เราจึงมักจะพบว่าปัจจัยในการเป็นคนดีของพระเอก และความชั่วร้ายของตัวร้าย มีความซับซ้อนกว่านั้นมาก
เวลาอ่านการ์ตูน บ่อยครั้งทีเดียวที่ฉันพบว่า พระเอกถูกเรียกว่าพระเอก เพียงเพราะกล้องเลือกที่จะจับภาพเขาและการกระทำของเขาเท่านั้น ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนั้น ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามจึงต้องกลายเป็นตัวร้ายไปโดยปริยาย ซึ่งหากเราลองละสายตาจากตัวเอก แล้วลองมองในมุมของคนร้ายดูบ้าง เราจะได้พบว่าตัวร้ายส่วนใหญ่มีภูมิหลังซับซ้อนน่าค้นหามากกว่า เขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นตัวร้ายเพราะเป็นคนเลวร้าย แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นว่าประสบการณ์ที่เขาเคยได้รับ ทางที่เหลือให้เขาเลือก ฯลฯ และความเป็นปุถุชนนั่นเองที่ทำให้เขาเลือกคนละทางกับตัวเอก เขาเหล่านี้มีเหตุผลของตัวเอง เหตุผลที่ทำให้เขาสามารถเป็นได้ทั้งตัวละครที่คนอ่านเกลียดหมดใจ หรือไม่ก็หลงรักจนแทบคลั่ง ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะมองจากมุมไหน


แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม