Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ชาน่า
คงไม่มีใครจะกล้าปฎิเสธได้ว่า ความใฝ่ฝันของเกย์กะเทย เก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้าเปอร์เซ็นต์ อยากจะทำหน้าที่ของการประกวดความงาม คุณค่าที่เธอคู่ควร ไม่ว่าจะเป็นเวทีใด ๆ ก็ตามที่จัดขึ้น ตอนเป็นเด็กชายอยู่บ้านนอกคอกนา เคยไปงานฤดูหนาวที่ทางจังหวัดหรืออำเภอเค้าจัดประกวด “นางฟ้าจำแลง” ตอนนั้นด้วยความไร้เดียงสา ใคร่รู้เยี่ยงนัก คำว่านางฟ้าจำแลงคืออะไร พอเติบโตขึ้นจึงเริ่มเข้าใจความหมายและเข้าใจตัวเองมากขึ้น “ฉันอยากเป็นนางฟ้าจำแลงจังเลย” พร่ำบ่นพึมพำในใจคนเดียว เพราะอิชั้นมีแววตั้งแต่จำความได้แล้วล่ะฮะ “โฉมเอย โฉมงาม อร่ามแท้แลอรุณ.......” เพลงที่ใช้ประกวดเมื่อครั้งจำความได้ ทุกครั้งบรรยากาศงานฤดูหนาวพวกเค้าหรือเธอจะสร้างสีสันและบรรยากาศ จนบางครั้งแทบเรียกได้ว่าเรียกเสียงฮือฮามิใช่น้อย พอโตขึ้น มักจะไม่พลาดกับการประกวดนางสาวไทย มิสไทยแลนด์เวิร์ล จนไปถึงระดับโลก มิสยูนิเวิร์ส ซึ่งประเทศไทยของเราก็มีสาวงามที่ได้เวทีนี้มาแล้วสองคน คือคุณอาภัสรา และคุณปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติเป็นอย่างมาก หากมองถึงการประกวดของสาวประเภทสองของบ้านเราและระดับโลกบ้าง ผู้หญิงแท้ๆ ต้องอายและผู้ชายแท้ๆ ต้องตะลึงในความงาม กะเทยไทยก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้มากเช่นกัน เริ่มตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน ปี 1999 อดีตเด็กปั๊ม คุณโอ๋-ภัทรียา ศิริงามวงศ์ มิสทิฟฟานี่ 1999 และมิสควีนออฟดิ ยูนิเวิร์ส ปีเดียวกัน โดยถือว่าเธอเป็นกะเทยไทยที่สวยระดับโลกคนแรก (น่าเสียดายที่ขณะนี้เธอได้เสียชีวิตด้วยโรคร้ายเมื่อไม่นานมานี้) หลังจากนั้นก็มีน้องปอย ที่ได้มิสเกย์ยูนิเวิร์ส มาครองอย่างสมศักดิ์ศรี และล่าสุด น้องฟิล์มก็ได้รับตำแหน่ง Miss International Queen 2007 มาครอง ที่จัดขึ้น ณ ทิฟฟานี่ พัทยา โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้รับความสนใจจากเกย์ กะเทย ทั่วทุกมุมโลกเข้าประกวด ความงามของเค้าหรือเธอนั้น ต้องยกนิ้วให้ ชะนีไทยหลายคนยอมรับนับถือจริง ๆ ค่ะ การประกวดนางงามที่จัดขึ้นนั้นมีหลากหลายเวทีที่ประชันกันอย่างถึงอกถึงใจ ทั้งระดับโลกและระดับชาวบ้าน ๆ โดยตั้งชื่อตามจุดประสงค์ แม้กระทั่ง ธิดาสวนผึ้ง นางงามไร่สวนผสม นางงามวิ่งไล่ควาย เป็นต้น   ชาน่าอยากกล่าวถึง อีกหนึ่งเวทีที่ประทับใจ เพราะเป็นเวทีที่ไม่เน้นความสวย(ที่สุด) มากนักหากแต่จะวัดกันที่กึ๋น หรือ Talent ความฉลาดไหวพริบ เรียกเสียงฮา ได้มากยิ่งมีโอกาสมาก เค้าตั้งสโลแกนว่า “ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ” หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Miss AC/DC “Same thing in reverse” สวยเลิศกาม งามปัญญาฉาย ใคร ๆ ก็สมัครได้ และที่สำคัญเวทีนี้จะไม่มีรางวัล มีแต่ชื่อเสียงและเกียรติยศ เพราะรายได้จะนำไปมอบให้กับการกุศลต่าง ๆ เรียกได้ว่า สวยรวยบุญว่างั้นเหอะค่า การประกวด มิสเอซีดีซี นั้นจัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปีที่ผ่านมา 2007 เป็นเวลาเจ็ดปี ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวเรา ทั้งเกย์ และกะเทย มากมาย ภายในงานจะมีคนหลากหลายกลุ่มอาชีพมาร่วมชม โดยซื้อบัตรต่างราคา เพราะรายได้จะนำมอบให้กับการกุศล ล่าสุดปลายปีที่แล้วจัดขึ้นที่ บีอีซีเทโร ฮอลล์ ซึ่งได้ผลการประกวดดังนี้ สาวงามที่ได้ตำแหน่งคือ มิสจามัยก้า รองอันดับ 1 คือ มิสเวียดนาม รองอันดับ 2 มิสสาธารณะรัฐเชค รองอันดับ 3 มิสศรีลังกา และรองอันดับสี่ มิสเดนมาร์ก   นางงามทั้งหลายคือเกย์ กะเทยชาวไทยแท้นี่ล่ะค่ะ แต่ว่าจะได้รับมอบให้เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศ เหมือนกับการประกวดนางงามจักรวาล ซึ่งสาวงามแต่ละนางนั้นจะต้องทำการบ้านเตรียมตอบคำถามและแสดงความสามารถให้เหมาะสมได้โล่ห์มากที่สุด ผู้นั้นจะได้รับตำแหน่งไปครอง ใครสนใจปีหน้า ฟ้าใหม่ หรือสิ้นปีนี้คงจะมีการประกวดอีกเป็นแน่แท้ติดตามดูภาพ และความคราวความเคลื่อนไหวได้ที่ www.missacdc.com นะคะ โดยส่วนตัวของชาน่าแล้ว ในชีวิตนี้เป็นเกย์ (ในเวลาทำงานสาวเสิร์ฟ บ๋อยอินเตอร์บนเรือสำราญระดับโลก) เคยเข้าประกวดนางงามบนเรือสำราญหรู หรือรีสอร์ทลอยน้ำระดับโลก จากเพื่อนเกย์ หลายประเทศ เคยได้ตำแหน่ง มิสเกย์เรือสำราญ สองปีซ้อน (Miss Coral Princess 2003, Miss Diamond Princess 2004) และรองอันดับหนึ่ง (The first runner up Miss Grand Princess 2005) ก่อนจะแขวนมงกุฏ “ความรู้สึกตอนนั้น มันเหมือนว่าเราได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย โดยจัดประกวดบนเวที โรงละครบนเรือสำราญ มีการแสดงโชว์ ซึ่งชาน่าแสดงรำไทย ผสมเพลงสากลในตอนจบ และตอบคำถามจากกรรมการที่ตั้งคำถาม จำได้ว่า ลูกน้องคนทำงานด้วยกันผู้ชายจริง ๆ เค้าน้ำตาร่วงโดยไม่รู้ตัวคงซึ้งถึงความแก่นแก้วแสนซน ความกล้าหาญชาญชัยมั้งคะ จนสุดท้ายผลการประกวด เราได้ตำแหน่ง เข้าใจความรู้สึกของนางงามที่ได้รับรางวัลว่า “กลั้นน้ำตาไม่ไหว” ต้องเอามือกุมจมูกมือปาดน้ำตานิ๊ดสสสส์ นึงพองาม แต่ความรู้สึกตอนนั้นมันอึ้งไปหมดเลยค่ะ นั่นล่ะ “นาทีที่ยิ่งใหญ่” ....” ชาน่าบอกและกล่าวเล่าความรู้สึก แม้คุณจะเคยหรือไม่ในนาทีที่ยิ่งใหญ่นั้น หาได้สำคัญแต่สามัญสำนึก และความสวยงามทั้งหลายไม่ได้มีองค์ประกอบแค่ความสวยแต่รูปกายภายนอกเท่านั้น หากแต่สิ่งสำคัญของคนคนหนึ่งสวยงามทั้ง กาย วาจา ใจ นั้นไซร้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรคู่อยู่กับเกย์ กะเทยทั้งไทยและทั่วโลก ขอให้ทุกคนงามอย่างมีคุณค่าในทุกวันเวลานาทีนะเจ้าคะ รักสวยรักงาม จากเกาะ Bonair ของประเทศ เนเธอร์แลนด์ ทะเลแคริบเบี้ยน.... (ปล.ขอขอบคุณภาพประกอบอย่างเป็นทางการฮ่ะ ไทยมิส สยามดารา มิสเลดี้บอย มิสเอซีดีซี)
มูน
สายหมอกสีขาวนุ่มห่มคลุมยอดดอย ในเช้าที่ฉันนั่งรถเข้าหมู่บ้าน ไร่ยาสูบและไร่ข้าวโพดสองข้างทางดูเลือนลางอยู่ในแสงสลัวของดวงตะวัน ที่พยายามแทรกผ่านลมหนาวอย่างสุดความสามารถ“หนาวไหม หนาวเนาะ” พ่อเฒ่าสวมหมวกไหมพรมสีแดงทักถาม ฉันกอดอกแน่น ได้แต่พยักหน้าหงึกหงัก เพราะหนาวจนพูดไม่ออก ควันกรุ่นสีขาวพรูออกทางจมูกเหมือนลมหายใจมังกรไฟในนิทาน คนที่เคยชวนฉันมาเมืองพร้าวไม่เคยเล่าว่าบ้านเกิดของเธอหนาวขนาดนี้สำหรับบางคน ความทรงจำอาจอบอุ่นตลอดกาล แมวลายสามตัวที่นอนอาบแดดกลางลานบ้านวิ่งกันกระจายเมื่อเห็นคนแปลกหน้า เหลือแมวอ้วนสีส้มหมอบอยู่บนอานรถเครื่องคันเก่า “ขอถ่ายรูปหน่อย อยู่นิ่งๆ นะ มือใหม่หัดถ่ายนะ” ฉันบอกแมว มันชายตามองเหมือนรำคาญ แต่ก็ไม่ขยับเขยื้อน พี่อารีผู้เป็นเจ้าของค้อนแมวอย่างหมั่นไส้แกมเอ็นดู“ปกติบ่เคยอยู่นิ่งๆ หื้อไผนะ สงสัยอยากถ่ายฮูป”เมืองพร้าวมีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อยู่หลายสิบครอบครัว กระจายอยู่ในหลายตำบล วันที่ฉันเข้าไปเก็บข้อมูลนั้น จึงได้พบกับสมาชิกจากหลายบ้านทั้งใกล้และไกล ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อเล่าถึงวิถีชีวิตที่ได้เลือก“แต่ก่อนใช้สารเคมีแล้วมีแต่ทุกข์ มันเจ็บไข้นัก เป็นโรคหอบหืด เสียทั้งค่ายาคน ค่ายาต้นพืช เดี๋ยวนี้แข็งแรงสบายดี ได้กินแต่พืชผักดีๆ ที่เราปลูกเอง” พ่อต๋าจากบ้านป่างิ้วเล่าให้ฟัง พ่อนวลคนบ้านดอกคำรีบสนับสนุน“บ่มีเงินก็บ่เคยอด มีกินแล้วยังมีเหลือได้ขาย เฮาก็สบายใจที่ได้ขายผักดีๆ ไม่มีพิษให้คนอื่น”ตกบ่าย อากาศยังไม่คลายหนาว พ่อแก้วพาฉันไปเดินเล่นในสวนผักที่บ้านน้ำแพร่ มีหมาหน้าตารับแขกวิ่งตามเราไปด้วยตัวหนึ่ง คอยเงี่ยหูฟังว่าคนคุยอะไรกัน“ปลูกที่เฮากิน กินที่เฮาปลูก” พ่อแก้วชี้ให้ดูผักสารพัดชนิดที่กำลังงามน่ากิน ข้างสวนมีบ่อปลา มีไก่เดินกุ๊กๆ ไปมาหลายตัว ลำใย ชมพู่ พุทรา มะพร้าว มะม่วง กล้วย อ้อย แคป่า ถั่วรส เสาวรสและนานาผลไม้ที่สลับกันออกผลให้กินได้ทั้งปี“กินได้ทุกใบ ทุกต้น ทั้งปีบ่เคยซื้อผัก ปลา ไก่ ไข่ก็บ่เคยซื้อ ซื้อกินแต่เนื้อหมูอย่างเดียว แต่ต่อไปก็บ่ซื้อแล้ว เพราะกำลังจะเลี้ยงหมูอินทรีย์ คือเลี้ยงด้วยอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ ทุกอย่างหมุนเวียนอยูในสวน เวลาลงสวนกันสองคนตายายก็ห่อมาแต่ข้าวนึ่ง มาเก็บผักสดต้มแกงกินกันที่สวนนี้ละ” สีหน้าคนเล่าอิ่มเอิบเจ้าหมาด่างซุกจมูกเข้าไปที่กองดินดำๆ ในร่องผักกาด “หมาที่นี่ก็ชอบกินผักนะ” พ่อแก้วหัวเราะหึๆในสำรับมื้อแลงมีน้ำพริกกับกะหล่ำหวานกรอบที่ตัดสดจากสวนและแกงวุ้นเส้นใส่ผักกาดขาวถ้วยโตที่ควันลอยกรุ่นเพราะตักร้อนๆ จากหม้อบนเตา“กินร้อนๆ จะได้คลายหนาว” พี่อารีเลื่อนจานข้าวนึ่งมาให้ ละอ่อนน้อยหลานสาวสี่ขวบของอุ๊ยนางตักแกงซดดังพรืดอย่างเอร็ดอร่อย พอถูกมองก็ยิ้มเขิน ซุกหน้ากับไหล่ของยายอากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ได้ยินเสียงจุดพลุดังแว่วมาจากเชิงดอย มีคนบอกว่าคืนนี้เป็นคืนเดือนดับที่ลีซอบ้านป่าอ้อจะจัดงานปีใหม่ฟ้าเป็นสีน้ำเงินหม่น เริ่มเห็นดาววิบๆ พริบตาเดียวก็พราวเต็มฟ้า ได้ยินเสียงปะทุของฟืนดังมาจากกองไฟที่พ่ออุ๊ยก่อสว่างโพลงขึ้นในความมืด“ไปอาบน้ำเต๊อะ ดึกนักจะหนาว” พี่ดาวเจ้าของบ้านที่ฉันจะนอนด้วยบอก ในอ้อมแขนมีหมอนกับผ้าห่มเตรียมมาให้คนขี้หนาวที่กำลัง (แอบ) ไตร่ตรองว่าจะอาบน้ำดีไหม“น้ำบาดาล บ่หนาวดอกครับ” ณรงค์ น้องชายพี่ดาวบอกยิ้มๆ“มา มาผิงไฟให้อุ่นๆ” พ่ออุ๊ยตะโกนเรียก ขณะที่พี่อารีกอบเมล็ดผักหลายชนิดมากองบนแคร่ แยกใส่ถุงเป็นอย่างๆ ไป เช่นถั่วพู บวบหอม มันโม่ กะทกรก“วันพูกบ่ดีลืมเอาเมล็ดพันธุ์ผักกลับไปปลูกที่บ้านเน้อ จะได้มีผักกินลำๆ”“ถ้าอาบน้ำเย็นบ่ไหว เอาน้ำร้อนไหม ผมจะต้มให้” ณรงค์คว้ากาต้มน้ำ  ฉันรีบส่ายหน้า ยิ้มให้กับมิตรภาพที่อบอุ่นเหมือนกองไฟในฤดูหนาว แมวสีเทาตัวเบ้อเริ่มเดินมาแหงนมองหน้า จ้องเป๋งด้วยดวงตาโตสีฟ้า ร้องเหมียวใส่ฉันด้วยเสียงแหบห้าวคำหนึ่ง แล้วเดินลอยชายหายไปในความมืด ไม่แน่ใจว่ามันแค่ทักทายหรือเตือนให้ฉันรีบไปอาบน้ำเสียดีๆฉันเดินเข้าห้องน้ำอย่างว่าง่าย ด้วยความซึ้งในน้ำใจทั้งคนทั้งแมวสำหรับใครที่คิดถึงบ้านในยามหนาว ฉันมีสีสันจากสวนผักเมืองพร้าวมาฝากค่ะ น้ำค้างยามเช้ากลางดงดอกผักชีกลีบน้อยนิดน่าเอ็นดูของดอกผักขี้หูดสีแดงทับทิมของดอกถั่วมะแฮะเขียวคะน้ากับเขียวผักกาดเหลืองดอกกวางตุ้งน้ำพริกกับแกงขนุนในสำรับมื้อเช้าข้างสวนผัก   
Carousal
ทุกวัน ทุกเช้า ทุกคืน ทุกครั้งที่ใช้มีดหั่นลงไปบนเนื้อหนังของสิ่งมีชีวิต และใช้ส้อมจิ้มมันเข้าปาก คุณเคยคิดตั้งคำถามเกี่ยวกับการกินและความหมายของการสืบทอดจากชีวิตสู่ชีวิตบ้างไหมคะ?ถ้าเคย บางทีการ์ตูนเล่มนี้อาจจะให้คำตอบแก่สิ่งที่คุณสงสัย และแนวคิดใหม่ในอีกแง่มุมหนึ่งแก่คุณค่ะ22XX เป็นผลงานเล่มเดียวจบของชิมิสึ เรโกะ (ผู้เขียน Moon Child, Kaguyahime) โดยจับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกอนาคต เมื่อความเจริญทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นจนถึงขีดสุด การพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถเหมือนมนุษย์ทุกประการก็ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป แจ็ค ไนเจล คือหนึ่งในนั้น เขามีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์ มีแม้กระทั่งความเจ็บปวด ร้อนหนาวและหิวโหย และในช่วงหนึ่งของชีวิต แม้แต่ตัวแจ็คเอง ก็ยังเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นมนุษย์เช่นกันเหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าหญิงแห่งครีกแลนด์ถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายลักพาตัวไปกบดานอยู่ที่เมนูเอ็ท ดาวเคราะห์หมายเลข 11 ในกลุ่มดาวหงส์ขาว ครีกแลนด์ตั้งเงินรางวัลหนึ่งแสนล้านครีกแลนด์ดอลแก่บุคคลหรือคณะบุคคลที่สามารถช่วยเจ้าหญิงมาจากผู้ก่อการร้ายได้ ทันทีที่ข่าวถูกป่าวประกาศออกไป นักล่าเงินรางวัลจำนวนมากก็มุ่งหน้าสู่เมนูเอ็ท และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ แจ็ค ไนเจล
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของดนตรีAdorno พูดถึงดนตรีโดยแบ่งออกเป็นสองประเภทอย่างชัดเจนคือ Serious Music (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงดนตรีเครียด แต่ "ซีเรียส" ที่หมายถึงจริงจังน่าจะตรงกว่า) ซึ่งมีนัยหมายถึงดนตรี Classic ทั้งหลายแหล่ (โดยเฉพาะดนตรีที่มีความเป็น Atonality ที่เขาชอบ) กับ Light Music/Popular music ซึ่งหมายถึงดนตรีสมัยนิยม/มวลชนนิยม (จากนี้ผู้เขียนขอเรียกอย่างชัดเจนว่า Popular music) ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ Jazz, Blue, Folk, Pop, Rock, เพื่อชีวิต แม้กระทั่ง Progressive โดย Adorno ได้วิพากษ์วิจารณ์ดนตรี Popular music ว่าเป็นดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของการผลิตซ้ำ และมีจุดมุ่งหมายแบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรม คือเป็นการผลิตเพื่อมุ่งการซื้อขาย การฟังดนตรีพวกนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการบริโภคสินค้าเพื่อความพึงพอใจชั่วครู่ชั่วยาม นอกจากนี้อาจยังจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า False need คือ "ความต้องการเทียม" ขึ้นมาอีก False Need นี้หมายถึงความต้องการในสิ่งที่ไม่ได้จำเป็นต่อเราจริงๆ ตัวอย่างง่ายๆ คือเวลาที่เรารู้ว่าใครได้ฟังเพลงๆ นึง พูดถึงเพลงๆ นึงในกลุ่มเพื่อนแล้วเราไม่รู้จัก เราไม่เข้าใจ เราไม่เคยฟัง เราก็จะเกิด False need ว่าเราต้องไปหาฟังมันให้ได้ ไม่งั้นจะเชย หรือคุยกับใครไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เป็นต้นซึ่งในประเด็นนี้ผมมีข้อถกเถียงอยู่แน่นอน ทั้งเรื่องการสร้างความพึงพอใจชั่วครู่ชั่วยาม และเรื่องการสร้าง False need แต่ตอนนี้ขอเล่าถึงความคิดที่ลึกไปกว่านี้ของ นาย Adorno ก่อนเขาได้เขียน บทความชื่อยาวเหยียดบ้าคลั่งว่า "On the Fetish Character of Music and the Regression of Listening" และในเนื้อหาตอนนึงของบทความ มีข้อความที่ทำให้ผมรู้สึกขำ ข้อความที่ว่านั้นก็คือ"...the illusion of a social preference for light music as against serious is based on that passivity of the masses which makes the consumption of light music contradict the objective interest of those who consume it"ขอแปลตามบริบทปัจจุบันและความเข้าใจของผมเองว่า "...ภาพลวงของการที่คนในสังคมส่วนมากชื่นชอบดนตรีสมัยนิยมเบาๆ  ง่ายๆ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธดนตรีซีเรียส เนื่องมาจากความเฉื่อยชาของมวลชน ที่ทำให้การเสพย์ดนตรีสมัยนิยม ย้อนแย้งกับความสนใจเชิงวัตถุวิสัยของผู้เสพย์เอง"คำที่ผมฮาคือ "ความเฉื่อยชาของมวลชน" (Passivity of the Mass) ในความหมายคล้ายๆ กันตรงนี้ Adorno ก็ถึงขั้นบอกว่าอุตสาหกรรมเพลงมันช่วยสร้างปัจเจกเทียม (Pseudo-individual) ขึ้นมาเลยทีเดียว หมายความว่า การที่ผู้คนแห่แหนชื่นชมเพลงบางเพลงหรือศิลปินบางกลุ่ม เป็นเพราะพวกเขาเฉื่อยชาและยอมจำนนอย่างนั้นหรือ? ...ผมคิดว่ามีส่วนจริงครับ แต่ไม่ทั้งหมด บางคนอาจจะชื่นชมในดนตรีวงนี้ๆ เพลงนี้ๆ ตามๆ กันไปเพียงเพื่อต้องการทำตัวกลมกลืนไปกับสังคม แต่ขณะเดียวกันผมก็เชื่อว่ามันเป็นรสนิยมส่วนตัว เป็นการเลือกเสพย์ของเขาเองก็มีดนตรี Popular music ทั้งหลายในยุคสมัยปัจจุบันที่ Adorno ไม่ทันได้เห็นนั้น มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าแต่เดิมมาก เท่าที่ผมสำรวจตรวจตราดู ผมเห็นว่า รสนิยมของผู้คนมันหลากหลายขึ้นกว่าในอดีตนัก จริงอยู่ดนตรีป็อบกระแสหลักยังครองใจคนหมู่มาก แต่พื้นที่ของคนที่ชอบอะไรแตกต่างออกไปก็มีหลากหลายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการผุดขึ้นมาของวัฒนธรรมย่อยอย่าง พังค์, เมทัล, อีโม, อินดี้ หรืออะไรๆ ซึ่งผมไม่ค่อยสนหรอกว่า มันจริงหรือมันเฟค อะไรยังไง แต่การมีอยู่ของความหลากหลายตรงนี้มันทำให้คนได้มีทางเลือกยังไม่นับว่า คนที่ทำงานการเคลื่อนไหวทางสังคมส่วนใหญ่ที่ผมพบเจอก็ไม่ได้ฟังเพลงคลาสสิก ฟัง Serious music อะไรของคุณเลยแม้แต่น้อย พวกเขาฟัง Pop-rock ธรรมดา, ฟังเพื่อชีวิต, ฟังลูกทุ่ง, บางคนชอบเพลงพื้นบ้านชนเผ่า กระทั่งปัญญาชนสมัยใหม่ที่รู้จักชื่อวง Heavy Metal แปลกหู มากพอๆ กับที่รู้จักชื่อนักคิดออกเสียงยากๆ ผมก็เคยเจอมาแล้วในเมื่อ Adorno เอาจิตวิทยามาจับ ผมก็จะเอาจิตวิทยามาจับบ้าง (เอาไปยำกับปรัชญาเล็กน้อย) ผมคิดว่าคนที่จะสมาทานรสนิยมเข้ากับอะไรอย่างชัดเจนมักจะเกิดในช่วงวัยรุ่นเป็นสำคัญ ประการแรกวัยรุ่นเป็นช่วงค้นหา Identity ของตัวเอง ซึ่งอิทธิพลก็มาจากทั้งสภาพแวดล้อมที่เขาเกิดและเติบโตมา ประการที่สอง ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่คนเราจะหากลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจร่วมกัน (หรือสนใจอะไรใกล้เคียงกัน) แบบที่เรียกว่า Peer Group และการเสพย์ดนตรีพวกนี้ บางครั้งก็เป็นไปเพื่อการเข้าสังคม แต่ในปัจจุบันมีคนที่สนใจดนตรีแนวเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวที่ไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมกระแสหลัก ก็ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แม้พวกนี้อาจจะสร้างอัตลักษณ์อะไรบางอย่างร่วมกัน (ใส่เสื้อวง, เพ้นท์ขอบตา, ทรงผม ฯลฯ) แต่ผมเชื่อว่าพอหมดจาก "พิธีกรรม" ร่วม เช่น คอนเสิร์ทเฉพาะกลุ่ม หรืออะไรก็ตามตรงนั้นไปแล้ว พวกเขาก็จะกลับมามีอัตลักษณ์อะไรอย่างอื่นในแบบของตัวเองอยู่ดีแหละครับ เราไปรู้ได้ยังไงว่าเขาเป็นปัจเจกเทียม เพียงเพราะพวกเขามีอัตลักษณ์บางส่วนร่วมกันน่ะหรือ?ที่มาของภาพ : averypublicsociologist.blogspot.comบทความเรื่อง "On the Fetish Character of Music and the Regression of Listening" ของ Adorno เขียนเมื่อปี 1938 ซึ่งในยุคสมัยนั้นเข้าใจว่าดนตรี Jazz กำลังครองเมือง และ Adorno เองก็มีอคติกับ Jazz เป็นการส่วนตัว (ผมเชื่ออย่างนั้น) ทั้งนี้ถ้าได้อ่านประวัติก็จะพบว่าเขาเติบโตมากับดนตรีคลาสสิค จึงไม่แปลกที่เขาจะเชิดชูมันนัก โดย Adorno ก็ทำการป้องกันตัวเองตรงนี้ไว้ก่อนด้วยการด่าพวก Positivism หรือก็คือนักวิจารณ์ที่เน้นวิเคราะห์ตัวผู้ผลิตงาน (นักคิด/นักปรัชญา/ศิลปิน ฯลฯ) มากกว่าตัวบท คงเพราะกลัวว่าจะมีคนมารู้เข้าว่าเขาเกลียด Jazz แล้วชูดนตรีคลาสสิคกระมัง แต่เชื่อใจได้ ผมจะไม่โจมตี Adorno ด้วย Positivism อย่างเดียว (ซึ่งผมคิดเหมือนกันว่าการใช้ Positivism โดดๆ มันยังตื้นเกินไป) ผมอยากจะบอกว่า ผมเสียดายแทน Adorno มากที่เขาเสียชีวิตไปในปี 1969 ช่วงที่ Popular music ในยุคนั้นอย่างดนตรี Rock กำลังบูม และวัฒนธรรมฮิปปี้เบ่งบานได้ที่เลยทีเดียว (ยังไม่นับว่าดนตรี Progressive Rock เพิ่งตั้งไข่ ซึ่งผมจะเขียนถึงในครั้งหน้า)Adorno อาจจะวิจารณ์ก็ได้ว่า ดนตรี Rock ก็ไม่ต่างอะไรกับ Jazz ที่มีความแตกต่างหลากหลายแต่ก็หลากหลายกันในกรอบเดียว (เขาใช้คำว่า "Various with the same theme") และแม้ดนตรีจะมีลักษณะท้าทาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เสพย์เกิดสำนึกในการที่จะเป็นอิสระ, มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสุขอันจริงแท้ รวมถึงไม่ได้ช่วยในการปลดปล่อยสังคมผมไม่รู้ว่า Adorno เคยเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของ Popular music รวมถึงวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วยมากแค่ไหน แต่หากได้ศึกษาบริบทดีๆ จะพบว่าดนตรีบางประเภทที่เขาปฏิเสธ มันมีที่มาน่าสนใจขนาดไหน อย่างเช่นดนตรี Blues (ซึ่งแน่นอนสำหรับ Adorno มันต้องถูกรวมอยู่ใน Popular music) นั้น มันมีกำเนิดมาจากการที่คนผิวสี ในยุคนั้นที่ยังเป็นแรงงานทาส พวกเขาไม่เพียงถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในทางสังคม แม้แต่ในทางวัฒนธรรมพวกเขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมใดๆ  พวกเขาจึงทำได้แค่เพียงร้องเพลงโต้ตอบกันเวลาที่ทำงานเป็นหมู่คณะ ด้วยเนื้อหาและน้ำเสียงที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดจากตัวผู้ขับร้องเอง ซึ่งต่อมาน้ำเสียงแบบนี้รวมถึงดนตรีที่มีการวางตัวโน้ตในแบบแอฟริกันดั้งเดิมได้กลายมาเป็นดนตรีบลูส์จริงอยู่ ดนตรีแนว Blues อาจจะไม่ได้ช่วยให้เกิดการปฏิวัติเลิกทาสของคนผิวสี (โดยตรงในทางรูปธรรม) แต่ในแง่ของวัฒนธรรมมันทำให้พวกเขารู้สึกว่าได้มีพื้นที่ในการแสดงออกบ้าง ทำให้พวกเขาได้ระบายความรู้สึกออกมาจากเพลงต่างๆ ที่เขาร้องเขาเล่น Adorno เอ๋ย...คุณอาจจะบอกว่า "การมีพื้นที่ตรงนี้โดยไม่คิดจะทำอย่างอื่นที่มากกว่า มันจะทำให้เกิดความเฉื่อยชา และไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างจริงจัง" ซึ่งผมก็จะขอตอบคุณว่า "หากคนๆ หนึ่งกำลังหิวไส้จะขาด คุณจะยังมามัวสอนเขาตกปลาอยู่หรือ? บางทีการให้ปลาตัวหนึ่งไปก่อน หรือแม้แต่ปลากระป่อง (ผลผลิตแบบอุตสาหกรรมที่คุณรังเกียจน่ะ) ถ้ามันช่วยชีวิตเขาได้ มันก็น่าจะทำไม่ใช่หรือ"สิ่งที่ผมพบในงานวิพากษ์วิจารณ์ดนตรี Popular music ของ Adorno นั้น นอกจากมันจะน่าขำสำหรับผมแล้ว ผมยังพบว่ามันเป็นงานที่แสนจะเหมารวม คิดแทนคนอื่น และตรงทื่อไร้มิติโดยสิ้นเชิงไว้คราวหน้าจะมาขยายความ...
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
 สวัสดีค่ะ ย่างเข้าปีใหม่ วันเวลาหมุนเวียนไป เป็นธรรมเนียมที่จะต้องมีคำพยากรณ์ในรูปแบบต่างๆ ออกมาให้เช็คดวงกันอย่างเพลิดเพลิน เอาบ้างค่ะ เรามาดูโชคชะตา 12 ราศีกันมั่ง มีเค้า ไม่เข้าล็อก หรือรับคำทำนายแล้วรู้สึกอย่างไร คุยกันมาได้นะคะ ช่วงที่ผ่านมาชีวิตวุ่นวายไปหน่อย ไม่ค่อยได้เข้ามาพูดคุย แต่หวังว่า ปี 2551 นี้จะจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าเดิมค่ะ หวังว่าๆ :-)ฝากถึงท่านที่ยังค้างรับคำทำนายทางอีเมล์นะคะ ยังไม่ลืมแต่อย่างใด ขอเวลาอีกนิดนะคะ ถ้าหากต้องการเปลี่ยนแปลงคำถาม ก็ส่งเข้ามาได้ค่ะ ผ่านมกราคมไปแล้ว คงจะโล่งมากขึ้น ต้องขอโทษจริงๆ กับความล่าช้าค่ะอวยพรมายังทุกท่าน ให้ประสบโชคดี มีความสุข สมหวัง มีร่างกายและจิตใจที่ได้สมดุล ส่องกระจกดูตัวเองทีไร...อารมณ์ดีค่ะ อิอิ
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” และการบังคับให้ต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” ได้หวนกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้งเมื่อต้องหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปหลังคณะรัฐประหาร “คาย” อำนาจที่สวาปามเข้าไปออกมา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม “ทางเลือก” ในครั้งนี้มีเพียงสองทางเหมือนเดิมนั่นคือไม่พรรคพลังประชาชนก็ประชาธิปัตย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบทั้งสองทางแต่ก็ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง เป็นอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้
โอ ไม้จัตวา
ผ่านพ้นไปสำหรับฤดูการท่องเที่ยว ผู้คนหลั่งไหลมาเที่ยวมากเหนือมากมายในช่วงปีใหม่ นักท่องเที่ยวที่กลับมาจากอำเภอปายเล่าให้ฟังว่า ช่วงปีใหม่ที่นั่นถึงกับไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำมัน เหมือนติดเกาะ ร้านอาหารบางร้านให้บริการไม่ไหวถึงกับปิดร้านไปเลย เพราะคนเยอะมาก บางคนต้องนอนค้างอีกคืนหนึ่งเนื่องจากน้ำมันไม่มีขาย ต้องรอรถน้ำมันเข้ามาจากเชียงใหม่ ร้านอาหารร้านหนึ่งขายข้าวไข่เจียวอย่างเดียวมีคนรอจำนวนมาก และคนต้องจ่ายเงินไว้ก่อน แล้วยืนรอ นานแค่ไหนก็ต้องรอเพราะไม่มีอะไรกินคนจำนวนมากบอกฉันว่า อุตส่าห์มาจากกรุงเทพ ฉันฟังจนเบื่อ เพราะมีจำนวนอีกมากมาไกลกว่ากรุงเทพ เช่น ตรัง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สวิสเซอร์แลนด์ หรืออเมริกา อยู่เมืองท่องเที่ยวต้องทำตัวรับแขกบ้านแขกเมือง รถติดขนาดไหนก็หุบปากเงียบ ๆ เพราะนั่นอาจเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ได้ด้วยลูกค้าในฤดูการท่องเที่ยวเช่นนี้ ช่วงเทศกาลบนถนนจึงมีแต่รถทะเบียนต่างจังหวัด ตอนกลางวันถนนบางสายไม่มีรถ แต่ถนนสายนักท่องเที่ยวเช่น ตลาดวโรรส ไนท์บาซ่านั้นรถติดมาก แต่พอวันที่ 2 มกราคม นักท่องเที่ยวกลับไปหมดแล้ว รถรากลับมาเต็มถนนเหมือนคนเชียงใหม่เก็บกดไม่ออกจากบ้านไหนเลยเพราะกลัวรถติด ปล่อยถนนให้แขกบ้านแขกเมืองได้ใช้ คนมาเที่ยวส่วนใหญ่หอบเงินมาใช้ และสิ่งที่พวกเขาต้องการคือการบริการที่ดี ทำให้พวกเขามีความสุข ร้านอาหารหลายร้านในเชียงใหม่ก็มีสภาพไม่ต่างจากเมืองปาย คือคนล้น พนักงานทุกคนตกอยู่ในสภาพเหมือนอยู่ในสนามแข่งขันอันเคี่ยวกรำ มองเห็นสีหน้า และแววตาของพนักงานเสิร์ฟในร้านเหยเกเหมือนวิ่งรอบสนามมาสักสามรอบ ไหนจะต้องยกอาหารถ้วยชามไปมาตลอดทั้งคืน บางคนเท้าบวมเป็นแก้ว บางคนหมดแรงจนมาทำงานวันต่อมาไม่ไหว คาดกันว่าหากรวมระยะทางที่พนักงานในร้านเดิน นำมาต่อกันแล้วคงไกลถึงลำปาง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
   
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว ไม่ว่าเพศใด วัยใด ย่อมมี “ความเท่า” กันอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร เพศไหน การเป็นพี่น้องทางธรรมนั้นย่อมหมายถึงความเหลื่อมล้ำต่างๆ ของเพศ วัย อายุ สถานะทางสังคม จะไม่เป็นอุปสรรค กำแพงกั้นระหว่างกันและกัน ฉะนี้แล้วเราจึงเสมือนเพื่อนร่วมเดินทางในเส้นทางนี้ด้วยกันยังไงก็ดี ฉันมีเรื่องที่อยากจะเล่าให้เธอฟังว่า หลังจากที่ฉันได้อ่านประวัติและคำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ตอนนั้นจิตของฉันบอกว่าแนวปฏิบัติที่หลวงพ่อเทียน ท่านได้สอนสั่งศิษยานุศิษย์มามากมายแล้วนี้ เป็นแนวปฏิบัติที่น่าจะหาโอกาสได้ลองฝึกได้ปฏิบัติดูบวกกับที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ฉันนับถือได้แนะนำให้ได้ลองเข้าร่วมปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน ตอนประมาณเดือนเมษายนปีนี้กับกลุ่มนักพัฒนา ที่จังหวัดสกลนคร ฉันได้ตอบปากตกลงที่จะเข้าร่วม และรอเวลาที่จะมาถึงด้วยการศึกษาและอ่านคำสอนของหลวงพ่อเทียน เท่าที่จะหามาอ่านได้ต่อมาไม่นาน วันหนึ่งมีคนบอกฉันว่าเขาจะไปบวชที่วัดป่าสุคะโต ที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นวัดที่มีแนวการสอนการปฏิบัติตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน และที่วัดก็เปิดให้ผู้สนใจการปฏิบัติได้เข้าไปปฏิบัติตามเหตุอันควร
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมไม่ได้ปีนภูกระดึงในฐานะผู้พิชิต !หากเป็นเรื่องของข้างในที่เรียกร้องผัสสะดิบเถื่อนในธรรมชาติและการมองโลกในมุม 180 องศา การเดินด้วย 2 เท้าและเรียกร้องให้เหงื่อออกจากรูขุมขน,ตอกย้ำความคิดที่ว่า จริงๆ เราเป็นเพียงละอองธุลีของจักรวาลอิอิ“แหวะ เว่อร์ร์ร์ร์ร์ หวะ เพ่” รุ่นน้องคนหนึ่งลากเสียงยาว..หากใครคิดว่า การเดินขึ้นภูกระดึง ถึงหลังแปแล้วจะได้ผ่อนลมหายใจ ละลายความเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วละก็ เป็นอันว่าคุณคิดผิดถนัด เพราะจากหลังแปนักเดินทนผู้พยายามพิชิตภูกระดึงจะต้องเดินเท้าต่อไปอีกร่วม 3 กิโลเมตร ทันทีที่คุณเข้าสู่เขตศูนย์บริการวังกวาง (เมื่อก่อนพื้นที่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนานาสัตว์ โดยเฉพาะเก้งกวาง) สิ่งสะดุดสายตาเป็นอันดับแรกนั่น คือ แนวเต๊นท์น้อยใหญ่บนสนามหญ้าบนแผ่นดินราบอันเคยเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาเก้งกวาง..คุณลองคิดภาพย้อนเวลาไปมากกว่าครึ่งทศวรรษหญ้าอ่อนกำลังระบัดและบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินราบสูงแห่งนี้จะมากมายสักขนาดไหน ไม่มีเสียงกีตาร์ ไม่มีเสียงเตือนของเจ้าหน้าที่จากเครื่องขยายเสียง ไม่มีเสียงตะโกนเป่าปากในฐานะผู้พิชิตภู ไม่มีกลิ่นอาหารเครื่องดื่ม น้ำหอมและ ก ลิ่ น ค น สัตว์สองเท้าผู้ใช้มันสมอง แทนเขี้ยวและเล็บ..เจ้าหน้าที่บอกเราว่า สามารถเลือกเต๊นท์หลังไหนก็ได้ ที่ไม่มีเจ้าของ ในอัตราคืนละ 250 บาท/2 คนเต๊นมีด้วยกันหลายขนาด 2 คน ,4 คน , จนถึง 15 คนขึ้นไป ราคาก็แตกต่างกันไปตามขนาด เต๊นท์ใหญ่ๆ จะมีชานหน้าเต๊นท์ สำหรับประกอบกิจกรรมยามค่ำ อย่างเช่น กินเหล้า ร้องเพลง เล่นกีตาร์คลาสสิกสักหน่อย จะมีตะเกียงส่องแสงเรืองรอง เอาใจคนเมืองที่ชอบการแคมป์ปิง..ยามค่ำมาถึง เสียงกีตาร์ที่นักท่องเที่ยวประเภทวัยรุ่นอุตส่าห์หอบหิ้วขึ้นมาจากซำแฮกเริ่มโชยมาแผ่วและกระแทกกระทั้นขึ้นตามความแรงของดีกรีแอลกอฮอล์ มีให้ฟังด้วยกันหลากหลายเพลงตั้งแต่เพลงป็อปของค่ายแกรมมี่ไปจนถึงจังหวะโจ๊ะๆ แบบโปงลางสะออน“ทำไมไม่มีใครไปบอกให้เค้าหยุดเล่น” ยาดาว่า“มันเป็นหน้าที่ของอุทยานที่จะทำเรื่องนี้” ผมว่าเงียบกันไปสักพัก เสียงยังคงดังขึ้นๆ ตามความเงียบกันไปสักพัก...“โทษนะคะ ช่วยลดเสียงลงสักหน่อยได้มั้ย หลายคนจะนอน” มีเสียงเตือนแว่วมาจากที่ไกลๆอืม ..ยาดาทนไม่ไหว เธอตัดสินใจไปบอกให้พวกเค้าเบาเสียง ..แนวเต๊นท์ในบรรยากาศเย็นย่ำรถขนขยะ สีเหลืองโดดเด่น ถามเจ้าหน้าที่ว่าเอาขึ้นมาได้ยังไง ,ส่งลงมาทางเฮลิคอปเตอร์ครับลานหินพระพุทธเมตตากว้าง ใจกลางแสงสีสุดท้ายของวัน7 eleven บนภูกระดึงใบเมเปิล สะพรั่ง กำลังแดงฉาน ใครบอกว่าใบไม้ไม่มีสีสันผมตั้งชื่อให้ว่า ดอกไข่ดาว ..ผนังไม้ ระหว่างทางไปน้ำตก ครึ้มเขียวและชื้นเย็นย่ำ ระหว่างทางเดิน แดดสุดท้ายส่องลอดกิ่งใบของสนน้ำตกเพ็ญพบ, เรานั่งตรงกันพอดี Ha Ha Ha 
แสงพูไช อินทะวีคำ
จริงๆแล้วผมพยายามถอดความจากกวีที่เป็นสำนวนภาษาลาวมาเป็นคำไทย.... แต่คงไม่ไพเราะเหมือนคำลาวที่ผมแต่งไว้เพราะการเขียนภาษาไทยไม่ดีพอ..... อย่างไรก็ตาม ผมมีความตั้งใจมากเพื่อการสื่อความเข้าใจทั้งสองด้านให้กลายเป็นพลังแห่งความรักของสองชาติลาวไทย  ผมมีความต้องการสูงสุดให้คนลาวและไทยมีความเข้าใจกันมากขื้น  ผมเข้าใจว่าในโลกใบนี้หากไม่มีคำว่า “ศัตรู” คงดีที่สุดพี่สัญญากับน้องว่าจะเปลี่ยนพี่จะเพียรแต่งแต้มแปลงเรือนผมผมไม่แดงเหมือนฝรั่งหลอกพี่ว่าแต่มาเจอเธอยิ่งกว่าเดีมผมก็แดงแทงใจน้องหูก็บ๋องมีต่างช่างเปลียนไปหูก็บ๋อง ผมก็แดงมันแทงใจก็นั้นไง พี่ไม่จำคำสัญญาน้องไม่อยากปากมากให้พี่หน่ายไร้ความหมายจากสายตาของพี่ไปแต่ความจริงมันแทงอกน้องทนไม่ไหวเพราะห่วงใย มีไว้พี่คนเดียวน้องหมายมั่น น้องมั่นหมายกับชายเดียวคนอื่นไม่เกียว ไม่เหลี้ยวแลเหมือนมีแผล กรรมเก่า ให้เศร้าหมองทำให้น้องต้องฝืดทน บนทางรักเพราะพี่บอกน้องว่าพี่ก็รักจ่งใจปักรักน้องไม่เสื่อมครายแต่ผมพี่ยังไม่วายสีดำแดงแถมยังแต่งหูมีต้าง(ต่างหู)กว่าหลังหูใส่ต่าง ใจพี่ต่าง เราห่างกันความผูกพัน ที่เคยมีพี่ก็หน่ายรักที่มีของเรา จริงมลายไร้ความหมายเมื่อสัญญานั้นถูกลืม 
กวีประชาไท
 โลกใหม่ไหวเช้าเรายืนอยู่            มองโลกทอดมองไกลออกไป        โลกเก่าเราช้ำหรือชื่นฉาย            ว่าในยุคสมัยเนิ่นนับนาน            อันมิอาจต่อว่าชะตาลิขิต            รองเรืองรัศมีโชติวะวับแวว            ว่าก็ว่ากันไปโลกไหนใครครอง        โลกเก่าโลกใหม่ล้วนในนาม        สมดุลในวิถีเท่าเทียมฟ้า            บางโลกเก่าแตกยับไปเป็นจุล        คือการเดินทางข้ามภพ – แผ่นดิน        มาอาศัยใบบุญคลื่นขบวน            เจ็บปวดบอบช้ำจากภายใน            มองไปข้างหน้าภาพเลือนราง        ไม่รู้แล้ว ไม่รู้ ไม่เข้าใจ            ถดร่างริมทางเหม่อเฝ้าคอย  รุ่งสางสร่างตรู่แสงสดใหม่คล้ายหาสิ่งดลใจ – ปรากฏการณ์หลากภาพผุดพรายแจ้งสถานสุข, ทุกข์ล้วนผ่านไปมากแล้วด้วยชีวิตหวังวาดอันเพริดแพร้วขับให้เน้นให้เห็นแนวความดีงามแห่งมนุษย์บางผองที่ขีดข้ามการแสวงหาค่าความพอสมดุลกาลเวลาปรากฏเพียงธุลีฝุ่นบางโลกใหม่ต่อทุนมาเย้ยชวนเมื่อถึงกาลสูญสิ้นแต่บางส่วนไม่ว่าควรไม่ควรแต่ไร้ทางประหนึ่งหัวใจวายโหวงว่างวิญญาณยิ่งซีดจางและล่องลอยโลกใหม่ไหวเช้าเราท้อถอยภาพที่จะสอดร้อยสองโลกนั้น  นาโก๊ะลี

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม