Skip to main content

วันก่อนได้คุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ เค้าแนะนำให้ชาน่าไปหาอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Prayers for Bobby ซึ่งมีการนำหนังสือเล่มนี้มาทำเป็นหนังทีวีด้วย ด้วยความที่อยากรู้ จึงเสาะแสวงหา ค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือและหนังเรื่องนี้ โดยชาน่าคิดว่ามันน่าจะเป็นตัวอย่างของสมาชิกภายในครอบครัวในทุกสังคมได้ดี ไม่ว่าจะเป็นสังคมนั้นจะนับถือศาสนาใด จะมีความเคร่งครัด ระเบียบจัดแค่ไหน

เนื้อเรื่องย่อคือ เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มน้อยวัยสี่สิบ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ วัยรุ่นวัยอันตราย เกิดมาในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์อย่างเคร่ง คุณแม่ชื่อแมรี่ กริฟฟิฟ เลี้ยงดูลูกชายอย่างเคร่งครัดทางศาสนาและวัฒนธรรม  หลังจากลูกชายบอกพี่ชายว่าเค้าอาจจะเป็นเกย์ ทุกสิ่งทุกอย่างภายในครอบครัวก็เปลี่ยนไป ความรู้สึกของพ่อและแม่ต่างกังวลและสับสนจะหาหนทางออกให้ลูกชายอย่างไรดี แต่เธอก็เชื่อว่าพระเจ้าจะช่วยรักษาเยียวยาให้เค้ากลับไปเป็นลูกผู้ชายอีกครั้ง


เธอพาเค้าไปหานักจิตวิทยา หรือแม้กระทั่งพาลูกชายของตัวเองเข้าโบสถ์เพื่อขอพระเจ้าให้หลุดพ้นจากความเป็นเกย์เพื่อที่จะเปลี่ยนเค้าให้ได้แต่มันก็ไม่ช่วยอะไรเลย


ความอับอายขายหน้าและทรมานที่เห็นแม่ถูกประนามจากสังคม เค้าได้ตัดสินหนีตัวเองเพื่อไปอยู่ที่อื่น โดยเพียงหวังว่าสักวันแม่ของเค้าจะยอมรับในตัวเขาได้ ซึ่งเค้าอพยพไปอยู่รัฐโอเรกอน เค้ายกเลิกความตั้งใจที่จะเปลี่ยนไปเป็นชาย แต่กลับใช้ชีวิตอย่างเกย์ๆ ในรัฐนี้ โดยพบแฟนในคลับแห่งหนึ่ง นามว่าเดวิด ผู้ซึ่งไม่เคยซื่อสัตย์ต่อเค้าเลย ด้วยความผิดหวังและความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตของเค้า รวมทั้งเสียใจที่ไม่สามารถเป็นลูกผู้ชายของแม่ได้ สุดท้าย เค้าจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการโดดจากสะพานสูงบนถนนไฮเวย์ แล้วโดนรถบรรทุกสิบแปดล้อทับตายคาที่


นางแมรี่ได้รับความโศกเศร้าเสียใจ และเธอได้เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองและสังคมว่า ทำไมเธอถึงไม่เข้าใจในตัวลูกชายของเธอเลย จนเธอตัดสินใจอาสาสมัครช่วยเหลือองค์กรเกย์ และเข้าร่วมประชุม Parents, Families and Friends of Lesbians and Gays (PFLAG) โดยเธอบอกว่า "God did not heal him because there was nothing wrong with him" "พระเจ้าไม่ได้ช่วยรักษาเค้าเพราะเค้าไม่ได้มีอะไรผิดปกติเลย" เสียใจ และเธอจากประสบการณ์และบทเรียนที่แสนแพงอันต้องแลกด้วยชีวิตของลูกชายอันเป็นที่รักของเธอนั้น เธอจึงช่วยเหลือ และร่วมรณรงค์เกี่ยวกับเกย์ โดยจุดประสงค์หลักของเธอคือ อยากให้ครอบครัวได้ยอมรับลูกที่เกิดมาเป็นเกย์ แม้กระทั่งการเดินทางไปเยือนเมืองซาน ฟรานซิสโก เพื่อร่วมงาน เกย์ ไพรด์ พาเหรด ซึ่งในขณะนั้นเธอได้เห็นเกย์หนุ่มรูปร่างคล้ายลูกชายเธอ เธอจึงเข้าไปสวมกอด


เพลงประกอบในตอนสุดท้ายของหนังเรื่องนี้คือ "Here I Am" (ฉันอยู่นี่) โดย Leona Lewis และนอกจากนี้ยังมีอีกเพลงคือ "I Need You to Listen" (ฉันต้องการให้เธอฟังฉันบ้าง) โดย Marty Haugen และ "Bullseye" โดย Megan McCormick

ในส่วนของหนังสือเขียนโดย Leroy Aarons ในปี 1989 ผู้ซึ่งเป็นสื่อมวลชนเกย์ และนักกิจกรรม ในทันใดที่เค้าได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ถึงข่าวการฆ่าตัวตายของลูกชาย โดยต่อต้านแม่และสังคมที่ต้องการและอธิษฐานให้เค้าไม่เป็นเกย์ Prayers for Bobby: A Mother's Coming to Terms With the Suicide of Her Gay Son หนังสือเล่มแรก จัดพิมพ์โดย Harper Collins ในปี 1996 ส่วนหนังได้ทำการสร้างและออกฉายโดยชื่อว่า Prayers for Bobby ในวันที่ 24 มกราคม ปี 2009 ในช่อง Lifetime

ผลการตอบรับจากหนังเรื่องนี้นั้น มีคนดูมากกว่า 3.8 ล้านคน รอบก่อนออนแอร์ หนึ่งวันถัดมา คนดูเพิ่มอีก 2.3 ล้านคนซึ่งคนดูสามารถเข้าไปชมได้จากเว็บไซด์ mylifetime.com
หนังเรื่องนี้ อำนวยการสร้างโดย Russell Mulcahy สร้างโดย Stanley M. Brooks (Executive Producer) David Permut (Executive Producer) Daniel Sladek (Executive Producer) Chris Taaffe (Executive Producer) Damian Ganczewski (Producer) บทภาพยนตร์โดย Katie Ford นำแสดงโดย Sigourney Weaver Henry Czerny Ryan Kelley ดนตรีโดย Christopher Ward ความยาวของเรื่อง 95 นาที จัดจำหน่ายโดย Lifetime Television

เป็นอีกหนึ่งเรื่องจาก Base on true story ที่เกิดขึ้นในทุกสังคมไม่ว่าจะอยู่ส่วนใด มุมไหนของโลก แม้แต่เมืองไทยเมื่อหลายปีก่อนเคยติดตามข่าวของน้องคนจังหวัดเดียวกัน (เชียงราย) ผู้ซึ่งฆ่าตัวตาย ด้วยการแขวนคอตัวเอง อันเนื่องมาจากปัญหามรสุมในชีวิต โดยผู้ปกครองเบี่ยงประเด็นไปที่เรื่องของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่จะมีใครสักกี่คน (แม้แต่แม่และพ่อของเค้าเอง) ที่จะรู้ว่า ความชอบและความต้องการทางเพศ ทางสังคมของน้องคนนี้นั้น เค้าเป็นเก้ง หรือเกย์ ที่ผู้ปกครองไม่อาจจจะหยั่งรู้ได้ ทำไมชาน่าถึงรู้ ... แหม...แหม...คนทั้งหมู่บ้านเค้าฟันธงรู้กันให้ทั่ว หลังจากการตายของน้องคนนี้ หนุ่มรูปงาม มียศฐาบรรดาศักดิ์ เจ้าใหญ่นายโต ที่แสดงตัวว่าเป็นคนอันเป็นที่รักของเค้าก็ปรากฎตัวแสดงความเสียใจ บ้างก็บอกว่าน้องเค้าหาทางออกไม่ได้ เป็นเกย์แล้วแม่และสังคมก็ไม่ยอมรับ ครั้นจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ใช่ง่ายในคณะที่ท่านคาดหวัง จึงตัดสินใจปลิดชีพด้วยการลาโลก จนทุกวันนี้ผู้ปกครองของเค้าก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงความต้องการของลูกชายตัวเองแท้ ๆ เสียที นี่ล่ะคะปัญหาที่หาทางออกได้ แค่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน สังคม ชีวิต และครอบครัวก็คงจักเป็นสุขได้ไม่น้อยเลยทีเดียว....แล้วเราจะคงจะไม่เสียเลือดเสียเนื้อ หรือเสียชีวิตอีกต่อไป.....

 

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า