Skip to main content

บทบันทึกเริ่มต้นของประสบการณ์บนผืนแผ่นดินอาเจะห์ จากผู้ได้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย

 

 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
 

พลันที่ลมสงบเครื่องบินก็ทะยานขึ้นฟ้า ทิ้งเมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือไว้เบื้องหลัง ด้วยหน้าต่างเครื่องบินไม่ค่อยสะอาด ทำให้ภาพข้างนอกดูได้ไม่แจ่มชัดนัก แต่ก็ยังเห็นลักษณะภูมิประเทศของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียได้ในระดับหนึ่ง
 
เมื่อเครื่องบินลดระดับก็เข้าสู่เขตจังหวัดอาเจะห์ไปแล้วครึ่งทาง ภาพที่เห็นเบื้องล่างนั้นคือเทือกเขาสลับซับซ้อน บางช่วงยังเป็นผืนป่าสีเขียว แต่พื้นที่บางส่วนมองภาพมุมสูงลงมาจากเครื่องบินแล้วใจหาย เพราะภาพที่ปรากฏกลายเป็นผืนดินสีน้ำตาลอมเทา ที่แทบจะไม่มีหญ้าปกคลุม
 
ควันไฟลอยเป็นสายพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ถึงแม้จะกระจายเป็นวงกว้าง แต่ปริมาณกลับไม่มากนัก ข่าวไฟป่าจากอินโดนีเซียมีให้ได้ยินกันทุกปี ควันไฟลอยไกลไปถึงภาคใต้ของประเทศไทย ปีแล้วปีเล่า ภาพเหล่านั้นยังติดตา
 
ทางด้านขวามือคือ ช่องแคบมะละกา อยู่ระหว่างประเทศมาเลเซียกับเกาะสุมาตรา น้ำทะเลสีเทาแผ่กว้างสุดสายตา มีเพียงบางช่วงเท่านั้นที่น้ำทะเลเป็นสีฟ้าและสีน้ำเงินเข้ม ระลอกขาวของคลื่นเห็นชัดเสียจนทำให้นึกถึงคลื่นยักษ์สึนามิ
 
ก่อนล้อเครื่องบินจะแตะรันเวย์ท่าอากาศยาน BANDAR UDARA INTERNASIONAL SULTAN ISKANDAR MUDA ในจังหวัดอาเจะห์ ก็ปรากฏสีเขียวของต้นข้าวสลับกับสีน้ำตาลของทุ่งนาที่พร้อมแล้วสำหรับการปักดำ
 
กระทั่งรถออกจากสนามบินมุ่งหน้าสู่เมืองบันดาอาเจะห์ เมืองหลวงของจังหวัดอาเจะห์ วิถีชีวิตสองข้างทาง ยังคงเป็นสังคมชนบท ทำเรือกสวนไร่นาเลี้ยงสัตว์
 
ต่อเมื่อเข้าเขตเมืองบันดาอาเจะห์ วิถีชีวิตเร่งรีบ พลุกพล่านแบบสังคมเมือง จึงปรากฏให้เห็นตลอดสองข้างทางเช่นกัน ตึกอาคารพานิชย์สูงไม่เกิน 2 ชั้น ร้านขายของเรียงราย มีให้เลือกทุกอย่างแล้วแต่จะซื้อหาอะไร การจราจรบนท้องถนนดูขวักไขว่ เสียงบีบแตรแข่งกันระงม รถจักรยานยนต์ขับซอกแซกไปตามช่องว่างระหว่างรถยนต์ เท่าที่ความสามารถของคนขับจะซอกซอนไปได้
 
ถนนหนทางไม่ได้ใหญ่โตหรูหราอย่างเมืองไทย เกือบทุกอย่างเป็นของใหม่เกิดขึ้นหลังจากเจอภัยคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม เมื่อปลายปี 2547
 
เมื่อพลิกอ่านข้อมูลของปี 2010 จาก Population Statistics According To Gender in Province Aceh(http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37) ถึงได้รู้ชื่อเต็มๆ อย่างเป็นทางการของจังหวัดอาเจะห์ว่า “Nanggroe Aceh Darussalam Province”
 
อาเจะห์มีประชากรทั้งสิ้น 4,494,410 คน แยกเป็นชาย 2,248,952 คน หญิง 2,245,458 คน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา มีพื้นที่ 5,680,554.83 เฮกตาร์ (Statistik Deforestasi Hutan Aceh 2006–2009, WALHI Aceh (Wahana Lingkungan Hidup Indonesia)  )ทิศเหนือติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดจังหวัดสุมาตราเหนือ ทิศตะวันออกติดช่องแคบมะละกา ทิศตะวันตกติดทะเลอินเดีย
 
ชาวอาเจะห์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ตามด้วยศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์และคาทอลิก, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, คองฮูชู และอื่นๆ (Banda Pusat Statistik (BPS)–Statistik, Population of Nanggroe Aceh Darussalam ฉบับหลังสึนามิ, จาการ์ต้า: อินโดนีเซีย, 2005)
 
จากคำบอกเล่าของคนอาเจะห์ เมืองบันดาอาเจะห์ฟื้นตัวและมีสภาพดีกว่าก่อนสึนามิ ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ระบบสาธารณูปโภค การศึกษา สังคมเศรษฐกิจ ฯลฯ
 
การต้อนรับที่อบอุ่นของคนอาเจะห์ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและรักเมืองอาเจะห์ขึ้นหลายเท่า อาจจะเป็นเพราะโดยทั่วไปแล้ว กลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่กับการแข่งขันกันทำมาหากิน มักจะไม่มองคนอื่นเป็นสินค้า ด้วยเหตุนี้กระมังถึงทำให้คนอาเจะห์มีอัธยาศัยน่ารัก มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พร้อมให้การดูแลช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบ มีความเห็นอกเห็นใจ และเกรงอกเกรงใจคนรอบข้างอยู่เป็นพื้นฐาน
 
ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า คนอาเจะห์จะมีนิสัยแบบนี้ไปเสียทั่วทุกตัวคน
ในท่ามกลางการพัฒนาของอาเจะห์ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนจนเพิ่มขึ้น จึงไม่แปลกตามสี่แยกจะมีขอทานเดินแบมือขอเงินในช่วงรถติดไฟแดง ตามร้านอาหาร หรือร้านน้ำชา จะมีคนตาดีจูงคนตาบอดเข้ามาขอเงินเอาดื้อๆ นั่งร้านน้ำชา 1 ชั่วโมง จะเห็นคนจูงมือกันเข้ามาขอเงินในลักษณะนี้ไม่ต่ำกว่า 3 คู่
 
เพื่อนนักข่าวในอาเจะห์บอกว่า คนกลุ่มนี้กินนอนในโรงแรม ถามว่ามีการแก้ปัญหานี้อย่างไร คำตอบคือไม่มี ทุกคนเฉยๆ เพราะเห็นว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ใครอยากให้เงินก็ให้ ใครไม่อยากให้ก็ไม่ต้องให้
อีกอย่างที่ทำให้เมืองอาเจะห์น่าอยู่คือ ไม่มีขโมย ซื้อของวางไว้ที่รถได้เลย รับรองไม่หาย แต่ปัญหาที่ทำให้คุกที่นี่ไม่มีที่ว่างคือยาเสพติด นี่ก็เป็นอีกคำบอกเล่าจากเพื่อนนักข่าว
 
ปัญหาที่ว่ามาทั้งหมด ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยของอาเจะห์ เมื่อเทียบกับปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร อาเจะห์มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งป่าไม้ แร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สัตว์น้ำ และอีกสารพัด
 
การนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น ออกมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เพียงแค่สร้างรายได้ให้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ด้วยเพราะด้านตรงกันข้ามกลับสร้างปัญหาอีกสารพัดให้กับคนอีกหลายกลุ่ม จนนำไปสู่ความขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุด
 
เมื่อย้อนกลับไปดูงานของ Derek Hall, Philip Hirsch and Tania Murray Li. (2011). Powers of Exclusion: Land Dilemmas in Southeast Asia จะพบว่า ตั้งแต่ทศวรรษ 1980s ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเติบโตของอุตสาหกรรม ได้ทำลายความเป็นชนบทลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้มีการแปรสภาพการใช้ที่ดินครั้งใหญ่ จากการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไปเป็นการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร รวมไปถึงการใช้ที่ดินเพื่อธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว รวมไปถึงการใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
 
พื้นที่ขนาดใหญ่ถูกสงวนไว้สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร ด้วยการบังคับใช้กฎหมายกำหนดเขตการใช้ที่ดิน การขยายตัวของการใช้ที่ดินขนาดใหญ่ ได้รุกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ และที่ทำกินดั้งเดิมของคนในชุมชนท้องถิ่น
รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการกำหนดสิทธิในที่ดินของเกษตรกรรายย่อย โดยได้รับแรงกระตุ้นทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ภายใต้วาทกรรม “ที่ดินเพื่อกสิกรรมคือหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจ” ส่งผลให้มิติการใช้ประโยชน์จากที่ดินเปลี่ยนแปลงไป จนเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก
 
ข้อมูลจาก WALHI Aceh ระบุว่า ความขัดแย้งเรื่องที่ดินเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1990 – ปัจจุบัน ทั้งความขัดแย้งระหว่างบริษัทปาล์มน้ำมันกับชาวบ้าน บริษัทเหมืองแร่กับชาวบ้าน และหน่วยงานของรัฐกับชาวบ้าน ดังตารางข้างล่าง
 
ข้อมูลความขัดแย้งเรื่องที่ดินในจังหวัดอาเจะห์
ลำดับ
บริษัท/สถาบัน
คู่ขัดแย้ง
พื้นที่
หมายเหตุ
1.
บริษัท บูมี ฟลอร่า
 
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
7 หมู่บ้าน ใน 5 ตำบล (ชาวบ้าน)
อำเภออาเจะห์ติมูร์
ตั้งแต่ปี1990- ปัจจุบัน
2.
บริษัท เมสติคา พรีมา เลสตารี อินดาห์
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
 หมู่บ้าน โคลอย
(ชาวบ้าน)
อำเภออาเจะห์ตาเมียง
ตั้งแต่ปี1990- ปัจจุบัน
3.
บริษัท อนุกราห์ เซอคุมูร์
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับชาวบ้านในหมู่บ้าน เปอมาตัง ดูเรียน, ตำบลเซอเกอรัค
อำเภออาเจะห์ตาเมียง
ตั้งแต่ปี2008-ปัจจุบัน
4.
บริษัท ซัวมาดัม
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับชาวบ้านในหมู่บ้าน ซูคา มัคมูร์, ตำบลเซอเกอรัค
อำเภออาเจะห์ตาเมียง
ตั้งแต่ปี2002- ปัจจุบัน
5.
บริษัท อุเบอร์ตราโค/นาฟาซินโด
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับ 22 หมู่บ้าน ใน 5 ตำบล (ชาวบ้าน)
อำเภออาเจะห์ซิงคิล
ตั้งแต่ปี1990- ปัจจุบัน
ในปี 2012 มีข้อตกลงเพื่อตรวจสอบเส้นแบ่งเขตแดนในพื้นที่สัมปทาน (ระหว่างชาวบ้านกับบริษัท) แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
6.
 บริษัท ดูอา เปอร์คาซา เลสตารี
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับ 2 หมู่บ้าน ในตำบลบาบาห์รอท (ชาวบ้าน)
อำเภออาเจะห์บารัตดายา (อับเดีย)
ตั้งแต่ปี2007- ปัจจุบัน
7.
บริษัทจูยา อาเจะห์ เหมืองแร่
(เหมืองแร่เหล็ก)
ขัดแย้งกับชาวบ้านที่อยู่รอบๆเขตสัมปทาน
อำเภออาเจะห์บารัตดายา (อับเดีย)
ตั้งแต่ปี2008- ปัจจุบัน
8.
บริษัท เปอร์เคอบุนอัน นูสันตารา 1
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับชาวบ้านในตำบลตรูมอนติมูร์
อำเภออาเจะห์เซอลาตัน
ตั้งแต่ปี 2008- ปัจจุบัน
9.
บริษัทอัสดาล
(บริษัทน้ำมันปาล์ม)
ขัดแย้งกับชาวบ้านในตำบลตรูมอนติมูร์
อำเภออาเจะห์เซอลาตัน
ตั้งแต่ปี2008- ปัจจุบัน
10.
มาโค บรีมอบ (ตำรวจ)
กองพันปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย
(สถาบันของรัฐ)
ขัดแย้งกับชาวบ้านในหมู่บ้านอีเอ จือรือเนห์ ตำบลตรูมอนติมูร์
อำเภออาเจะห์เซอลาตัน
ตั้งแต่ปี2007-ปัจจุบัน
 
 
นี่ไม่ได้เป็นปัญหาของจังหวัดอาเจะห์เท่านั้น แต่กำลังเป็นประเด็นร้อนในประเทศโลกที่สามทั่วโลก

ถึงแม้อาเจะห์เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายมหาศาล ไม่ว่าป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซ น้ำมัน ฯลฯ
ทว่า ในยุคซูฮาร์โต้ (ค.ศ.1966–1998) ภายใต้การรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาลกลางที่จาการ์ตา กลับไม่สามารถจัดสรรผลประโยชน์ จากการเข้ามาใช้ทรัพยากรในอาเจะห์ของรัฐบาลกลาง ให้เป็นที่พออกพอใจของคนอาเจะห์ได้ ด้วยเพราะรายได้จำนวนมากจากทรัพยากรในอาเจะห์ ได้รับจัดสรรกลับคืนมายังอาเจะห์น้อยมาก ใน ค.ศ.1956 สินค้าขาออกจากเกาะสุมาตราเหนือ ทำรายได้ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้จากต่างประเทศของประเทศอินโดนีเซีย (ภูวดล ทรงประเสริฐ, อินโดนีเซีย: อดีตและปัจจุบัน, 2547)
 
ผลผลิตจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 50 ของอินโดนีเซีย ได้มาจากจังหวัดอาเจะห์  อุตสาหกรรมแยกก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซเหลว (LNG) และอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำรายได้มหาศาลให้กับรัฐบาลอินโดนีเซีย
 
ในทศวรรษ 1980 รายได้จากก๊าซและน้ำมันสูงถึง 2,000–3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี รายได้ต่อหัวของคนอาเจะห์ต่อผลผลิตภายในประเทศสูงเป็นที่สามของประเทศ สูงกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนอินโดนีเซียถึงร้อยละ 282 แต่ความมั่งคั่งเหล่านี้กลับมิได้ตกถึงมือคนอาเจะห์ เนื่องเพราะรายได้ทั้งหมดถูกดูดเข้าสู่ส่วนกลาง
 
การว่าจ้างแรงงานที่มีท่าทีว่าจะดีในระยะการก่อสร้างโรงงานกลับหายไป เพราะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเลือกว่าจ้างแรงงานนอกเขตอาเจะห์ หรือชาวต่างชาติ (สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์, รัฐกับสังคมมุสลิมในอินโดนีเซีย, 2550)คนท้องถิ่นของอาเจะห์เอง เป็นได้แค่คนขับรถ กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน (Rusdi Hamid, http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5786)
 
นอกจากชาวอาเจะห์จะมีสำนึกทางประวัติศาสตร์ จากความยิ่งใหญ่ในอดีต ที่เคยรุ่งเรืองถึงขั้นมีสุลต่านปกครองตนเองแล้ว ความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ ก็นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง กระทั่งนำมาสู่การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธระหว่างชาวอาเจะห์กับรัฐบาลกลางยาวนานร่วม 30 ปี
 
เมื่อความขัดแย้งยุติลง รัฐบาลกลางยินยอมให้อาเจะห์ปกครองตนเอง มีการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นขึ้นมาบริหารจัดการบ้านเมือง ด้วยรายได้ของอาเจะห์ล้วนมาจากทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลท้องถิ่นจึงกำหนดนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ แสวงหารายได้จากการให้สัมปทานกลุ่มทุนทั้งในและต่างประเทศ เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินในอาเจะห์อย่างกว้างขวาง กลุ่มทุนต่างได้รับสัมปทานพื้นที่ป่า เข้าไปบุกเบิกที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนอาเจะห์ที่อาศัยและทำกินอยู่ในเขตป่า
 
ข้อมูลของ WALHI Aceh แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณที่ราบในอาเจะห์ลดลงอย่างรวดเร็ว จากเดิม 1,496,954 เฮกตาร์ ในปี 1980 เหลือ 887,401 เฮกตาร์ ในปี 2006 เมื่อถึงปี 2008 มีกลุ่มทุนรายใหญ่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลท้องถิ่นไปแล้วทั้งสิ้น 10 อำเภอ รวมพื้นที่ให้สัมปทาน 344,874 เฮกตาร์ พื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการปลูกปาล์มน้ำมัน
 
สำหรับปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่กลุ่มประเทศอาเซียนนำมาผลิตไบโอดีเซล ใช้เป็นพลังงานทดแทนประเภทดีเซลจากธรรมชาติมากที่สุด เห็นได้ชัดในประเทศมาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย
 
เนื่องจากมาเลเซียมีเทคโนโลยีการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และผลิตน้ำมันไบโอดีเซลสูงกว่าทุกประเทศในอาเซียน มาเลเซียจึงกำหนดเป้าหมายผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน เพื่อส่งออกไปขายยังยุโรปในอนาคต นั่นหมายถึงมาเลเซียจะต้องใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปริมาณมหาศาล
 
ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด จึงกำหนดนโยบายรองรับว่า จะเป็นประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อป้อนอุตสากรรมไบโอดีเซลเป็นอันดับหนึ่งของโลก (สัมภาษณ์ชนาธิป สุกใส,นักวิชาการประจำศูนย์พลังงานอาเซียน, วันที่ 2 กันยายน 2553)
 
จากนโยบายดังกล่าว ส่งผลให้เกาะสุมาตรา กลายเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหญ่ที่สุดของอาเซียน พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญบนเกาะสุมาตราคือ จังหวัดอาเจะห์ ส่วนใหญ่เจ้าของสวนปาล์มน้ำมันในอาเจะห์ เป็นนักลงทุนจากมาเลเซีย (สัมภาษณ์คอยรุน มาฮัลลี, นักธุรกิจอินโดนีเซีย, วันที่ 2 กันยายน 2553)
 
การใช้ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ เพื่อนำพื้นที่มาปลูกปาล์มน้ำมันและพืชน้ำมันดังกล่าว นำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรที่ดิน ระหว่างกลุ่มทุนกับชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัยและทำกินในอาณาบริเวณพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งนำมาสู่การบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างกว้างขวางบนเกาะสุมาตรา โดยเฉพาะในจังหวัดอาเจะห์
 
จากการเข้าไปลงทุนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ นอกจากที่ดินในชนบทจะถูกกลุ่มทุนเข้าไปใช้ประโยชน์ปริมาณมหาศาลแล้ว ยังส่งผลให้ที่ดินในเขตเมืองถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เช่น ถนน ทางด่วน ฯลฯ ส่งผลให้เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา รวมทั้งอาเจะห์ กำลังได้รับการพัฒนาขนานใหญ่ (โสภณ พรโชคชัย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 27–29 พฤษภาคม 2553 หน้า 37)
 
นี่คือสภาพโดยรวมของอาเจะห์ยามนี้
 
...........................................................................................................................................................
 

ภาพโดย: Junaidi Hanafiah 
                  ถ่ายที่ Sampoiniet  Aceh Jaya
                  19 กุมภาพันธ์ 2009
                  ปัจจุบัน เป็นช่างภาพข่าวที่ Sinar Harapan

                  รูปนี้ได้รับรางวัลอันดับที่ 40 จากการประกวดงาน FOTO KITA AWARD 2011 โดย National                     Geographic Indonesia ภายใต้สโลแกน 7 Miliar Manusia

 
 
 
หมายเหตุ: “ความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนความเห็นของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย มูลนิธิฯ สถาบันประสานงานกลาง และ/หรือสถาบันภาคี”
 
*****************************************************
 

(1) Aceh: Humans–Capital–Land–Forest and Oil Palm  

 

Ruayrin Pedsalabkaew

Asian Public Intellectual

(The views of the author do not reflect those of the API Fellowships Program, The Nippon Foundation, the Coordinating Institution, and / or the Partner Institutions.)

 

Once the wind blew steadily, the plane took off leaving Medan, North Sumatra behind. The tainted glass windows made the scenery outside look flimsy, though I still manage to get a glimpse of the geographical overview of Indonesia’s Sumatra.

Half way through the descent toward Aceh, the scenery down there was chiefly composed of ranges of mountain intersected with green lush forests. What shocked me was also some aerial image of brown and grey earth in the deforested areas. 

Smoke floats above toward the sky. It spreads thinly and extensively, though not so voluminous.  News about Indonesia’s forest fire a yearly déja vu. The smoke is blown away as far as Southern Thailand, year after year, such an image still lingers on.

On my right is the Strait of Malacca between Malaysia and Sumatra. The grey expanse of water spreads beyond my sight. Parts of the water appear light blue and dark blue. The white foams of waves remind me of Tsunami. 

Prior to the touching of the plane wheels on the runway of Bandar Udara Internasional Sultan Iskandar Muda Airport in Aceh, I felt heartened by a scene of lush green paddy field and the brown fields ready for rice shoot plantation. 

Along the road from the Airport to Banda Aceh, capital city of Aceh, one can find rural and agricultural livelihood where farming and husbandry are the lifeline.    

Lurking into the city of Banda Aceh, one finds the urbanite life with much higher tempo. Commercial buildings not higher than two floors could be seen along the way. Wooden stalls were everywhere selling everything; crowded streets, loud honking, motorcycles zigzagging through tight space between each vehicle. 

Nothing on the roads looks as luxurious like in Thailand. Much of the infrastructure has just been reconstructed after the 2004 Tsunami. 

According to 2010 data of the Population Statistics According To Gender in Province Aceh(http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37), the full name of Aceh readsNanggroe Aceh Darussalam Province.

Aceh’s population is 4,494,410 including 2,248,952 males and 2,245,458 females. Located on Western Sumatra, it covers 5,680,554.83 hectare (Statistik Deforestasi Hutan Aceh 2006–2009, WALHI Aceh (Wahana Lingkungan Hidup Indonesia). It is adjacent to the Strait of Malacca in the North, North Sumatra Province in the South, Strait of Malacca in the East and India Sea in the West. 

Most Acehnese are Muslims, followed by Protestants, Catholics, Hinduists, Buddhists, Konghuchu and others (Banda Pusat Statistik (BPS)–Statistik, Population of Nanggroe Aceh Darussalam, the Post-Tsunami Issue, Jakarta: Indonesia, 2005).

Aceh is composed of 23 Districts including 1.Kabupaten Aceh Barat 2.Kabupaten Aceh Barat Daya 3.Kabupaten Aceh Besar 4.Kabupaten Aceh Jaya 5.Kabupaten Aceh Selatan 6.Kabupaten Aceh Singkil 7.Kabupaten Aceh Tamiang 8.Kabupaten Aceh Tengah 9.Kabupaten Aceh Tenggara 10.Kabupaten Aceh Timur 11.Kabupaten Aceh Utara 12.Kabupaten Bener Meriah 13.Kabupaten Bireuen 14.Kabupaten Gayo Lues 15.Kabupaten Nagan Raya 16.Kabupaten Pidie 17.Kabupaten Pidie Jaya 18. Kabupaten Simeulue 19.Kota Banda Aceh 20.Kota Langsa 21.Kota Lhokseumawe 22.Kota Sabang 23.Kota Subulussalam (http://id.wikipedia.org/wiki/Daftar_kabupaten_dan_kota_di_Indonesia).

According to locals in Banda Aceh, the city becomes more robust and is in a better shape than before it was struck by the Tsunami. Such development in infrastructure, education, society and economy has been made possible by aid from various organizations around the world.

Warm and loving welcome by the Acehnese makes me feel relaxed and love Aceh even more. They are not very competitive and do not treat human beings as commodities. That might explain why the Acehnese are amicable, outgoing and are ready to help others and refrain from exploiting people. Their life is permeated with mutual sympathy and caring for people around them.

It does not mean though that all Acehnese are just like that.

In the midst of development onslaught in Aceh, increasing social inequality stands out. It is not uncommon to find many beggars asking for money at traffic lights, in restaurants or teashops. They are led by people with eyesight in pair to ask for money from people. In one hour of sipping tea, you may find at least three pairs of the panhandlers. 

Fellow reporters in Aceh told me that these beggars stay in hotel rooms. How to address the problem? There is no answer to this question. No one thinks these people cause any trouble, though; if you wanna give, give, if you don’t wanna give, then don’t give. 

Another livability aspect of Aceh is there is no thief here. You can buy things and put them safely in your car. No steal. One problem is the prisons here are overcrowded with people arrested on narcotic charges according to my fellow reporters.

These problems are simply belittled by the struggle of natural resources in Aceh. The region is so teemed with vast natural resources, i.e., forest, mines, natural gas, fish and others.

Commercialization of the natural resources has brought wealth to a handful of people at the expense of the majority. And the conflicts over them seem endless. 

Reviewing the works by Derek Hall, Philip Hirsch and Tania Murray Li. (2011), Powers of Exclusion: Land Dilemmas in Southeast Asia, one may find economic prosperity, particularly the industrialization, has surged since 1980s and it has suddenly destroyed rural quality. Land use has undergone extensive transformation, from agricultural to agro-industrial use and other business oriented purpose including real estate, tourism and infrastructure development. 

Vast tracts of land have been reserved for agro-industrial projects through the enforcement of land enclosure law. Such large plantations have encroached into forested area and traditional land tilled by community. 

Driven by pressure from within and outside the country, the government has intervened to determine land rights among small scale farmers. Under the discourse of “land for agriculture is key to economic development”, land use pattern has been subjected to extensive transformation and led to devastating conflicts. 

According to WALHI Aceh, land conflicts have been ongoing since 1990 until present, between the oil palm companies and the villagers, between mining companies and the villagers and between the state and the villagers as explained in the table below. 

Data of land conflicts in Aceh Province

No.

Company/Institution

Opposed

Location

Note

1.

PT. Bumi Flora

 

(Palm Oil Company)

Conflict with 7 villages in 5 sub district (people)

East Aceh

Since 1990-present

2.

PT. Mestika Prima Lestari Indah (MPLI)

(Palm Oil Company)

Conflict with Kaloy Village (people)

Aceh Tamiang

Since 1990-present

3.

PT. Anugrah Sekumur

(Palm Oil Company)

Conflict with people in Pematang Durian village, Sekerak sub district

Aceh Tamiang

Since 2008-present

4.

PT. Seumadam

(Palm Oil Company)

Conflict with people Suka  Makmur village,Sekerak sub district

Aceh Tamiang

Since 2002-present

5.

PT. Ubertraco/Nafasindo

(Palm Oil Company)

Conflict with 22 village in 5 sub district (people)

Aceh Singkil

Since 1990-present

In 2012 has get agreement to renegotiate boundary  area concession (people and company) but not finish yet

6.

PT. Dua Perkasa Lestari

(Palm Oil Company)

Conflict with 2 vilage at Babahrot sub district (people)

Aceh Barat Daya (Abdya)

Since 2007-present

7.

PT. Juya Aceh Minning

(Iron ore mining)

Conflict with people around concession

Aceh Barat Daya (Abdya)

Since 2008-present

8.

PTPN I (PT. Perkebunan Nusantara I)

(Palm Oil Company)

Conflict with people in Trumon Timur sub district

South Aceh

Since 2008-present

9.

PT. ASDAL

(Palm Oil Company)

Conflict with people in Trumon Timur sub district

South Aceh

Since 2008-present

10.

Mako Brimob (Police)

brigade headquarters

(state institution)

Conflict with people Ie Jeureuneh village,Trumon Timur sub district

South Aceh

Since 2007-present

 

Such a problem does not just exist in Aceh. It is a hot issue in third world countries around the world. 

And this happens despite that Aceh is home to vast natural resources including forest, minerals, gas, oil, etc.

Under the Suharto regime (19661998), the centralization policy of the Jakarta had failed to ensure fair and satisfactory distribution of benefits from the utilization of resources.  Much of the profits from resources in Aceh had gone elsewhere, but Aceh. In 1956, exports from North Sumatra earned about a half of the income from abroad by Indonesia (Bhuwadon Songprasert, Indonesia: Past and Present, 2004).

50% of oil and natural gas supplies in Indonesia are extracted from Aceh. Gas separation to make LNG and oil industry brought about huge revenue for the Indonesian government.

In 1980’s, revenue from oil and natural gas was as high as two to three billions dollars per annum. Per capita income of the Acehnese ranked the third in the country, 282% higher than the average income of Indonesians. Yet, much of such wealth was confined to a handful of people in government Indonesia. 

Employment which soared in the beginning of factory construction has begun to fade away. More and more, entrepreneurs seek to hire migrant workers or foreign workers instead (Suphapan Tangtronpairote, The State and Muslim Society in Indonesia, 2007). The local Acehnese are simply for hire as drivers, menial workers and the like (Rusdi Hamid, http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5786).

Apart from the strong awareness of their historical prominence and greatness with the sovereign power of their Sultans, inequality in income distribution is another major factor that has given rise to conflicts and has led to three decades of armed conflicts between the central state and the Acehnese.

In the post conflict era, the central government allows Aceh to run as an autonomous region and local government has been elected to provide administration. Since most income of the Acehnese comes from natural resources, the local government set out policy to maximize economic benefits of natural resources through earning revenue from consortia within and outside the country which aspire to exploit the natural resources, particularly land.  The investors have been given concession rights to do logging and clearing the land for oil palm plantation and other schemes causing impact to the local Acehnese who dwell and live their life in forested area. 

According to WALHI Aceh, forests in lowland area of Aceh have quickly dwindled from 1,496,954 hectares in 1980 to 887,401 hectares in 2006. Until 2008, big investors have been given concession rights in ten regencies covering the area of 344,874 hectares. The deforested area has been mostly converted into oil palm plantations.

Oil palm is strategically used among ASEAN countries to make bio-diesel as renewable energy, particularly in Malaysia, Thailand and Indonesia.

Malaysia employs better technologies in oil palm cultivation and bio-diesel production than other ASEAN countries and they set goal to export bio-diesel from oil palm to Europe. That also means, the country needs a lot of land for oil palm cultivation. 

As Indonesia is blessed with largest cultivable land, the government set out policy for the country to plant oil palm and to be the number one supplier of raw material for bio-diesel industry in the world (interview with Chanathip Sooksai, expert at ASEAN Energy Center, 2 September 2010). 

Based on the policy, Sumatra is tipped to home to the largest plantation of oil palm in ASEAN, and the largest of oil palm plantation in Sumatra can be found in Aceh. Most of the investors of the Aceh’s oil palm plantation come from Malaysia (interview with Khairul Mahalli, Indonesian businessman, 2 September 2010).

The exploitation of land and forest and their being turned into oil palm plantations has led to struggle for land resources between the investors and local community which has been living in and off the land. It has also given rise to extensive encroachment into wetland of the Sumatra, particularly in Aceh.

Apart from investments in rural area including the plantation, much of the land in urban area has been confiscated and provided for large scale development of infrastructure including roads, expressways, etc. it has subjected Borneo, Sumatra including Aceh to large scale development (Sophon Pornchokchai, Thansetthakit, 27–29 May 2010, p. 37).

This is an overview of the incumbent Aceh.

...........................................................................................................................................................



 

 

บล็อกของ รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
 รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้วโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
  รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย     
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
บทบันทึกเริ่มต้นของประสบการณ์บนผืนแผ่นดินอาเจะห์ จากผู้ได้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย