Skip to main content

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

 

เจ้าหน้าที่ป่าไม้ช่วยกันหามอุรังอุตังออกจากป่าที่ถูกเผาโดยบริษัท SPS / ถ่ายเมื่อวันที่ 10 เดือนกันยายน 2012 โดย Yusriadi, Walhi Aceh

 

ควันไฟจากการเผาป่าเพื่อเตรียมปลูกปาล์มน้ำมันของบริษัท SPS / ถ่ายเมื่อวันที่ 3 เดือนสิงหาคม  2012 โดย Yusriadi, Walhi Aceh

ความต้องการใช้น้ำมันพืชและเชื้อเพลิงชีวภาพที่มากขึ้นของโลก ส่งผลต่อทิศทางการใช้ที่ดินของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างมหาศาล ไม่แตกต่างจากประเทศไทย ที่พื้นที่ชุ่มน้ำกำลังถูกนโยบายส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันของรัฐ รุกพื้นที่อย่างหนัก เช่น นโยบายเปลี่ยนนาร้างเป็นนาปาล์ม ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่กินอาณาบริเวณครอบคลุมจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ป่าพรุบาเจาะ ป่าพรุโต๊ะแดง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ตกเป็นพื้นเป้าหมายของอุตสาหกรรมการเกษตรปาล์มน้ำมัน

ตัวเลขความต้องการบริโภคน้ำมันพืชและเชื้อเพลิงชีวภาพที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน นอกจากจะส่งผลให้พื้นที่ปลูกปาล์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายจาก 4.2 ล้านเฮกต้าร์ ในปี 2000 เพิ่มเป็น 7.1 ล้านเฮกต้าร์ในปี 2009 แล้ว (McCarthy, John F. (2010). Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850.) ยังส่งผลให้รัฐบาลอินโดนีเซีย กำหนดนโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 4 ล้านเฮกตาร์ หรือ 25 ล้านไร่ ภายในปี 2015 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียบอกว่า ภายในปี 2020 อินโดนีเซียจะผลิตน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ 50 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 400 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการผลิต 11.8 ล้านตันในปี 2007 (http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=902)

ตัวเลขดังกล่าว เกิดจากอินโดนีเซียต้องการก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งของโลก ด้านการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ อันสอดรับกับความต้องการของประเทศเจ้าหนี้อย่างอเมริกาและยุโรป ที่ต้องการลดการใช้น้ำมัน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (McCarthy, John F. (2010). Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850.) 

ภายใต้นโยบายนี้ นำมาสู่การเปิดพื้นที่ป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซียอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะบนเกาะสุมาตรา

ป่าพรุตรีป้าเป็นหนึ่งในป่าพรุที่ถูกนำมาใช้ปลูกปาล์มน้ำมัน ป่าพรุแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 61,803 เฮกตาร์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนากันรายา (Nagan Raya) และ อำเภออาเจะห์บารัตดายา (Aceh Barat Daya) จังหวัดอาเจะห์ อยู่ทางปลายแหลมตะวันตกของเกาะสุมาตรา

นับเป็นป่าพรุแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตนิเวศน์วิทยาเลอูเซอร์ (Leuser Ecosystem) และ UNESCO ประกาศให้เป็นป่าฝนเขตร้อนโลกของเกาะสุมาตรา เป็นที่อยู่และเขตคุ้มครองอุรังอตัง Yayasan Ekositem Lestari (Ecosystem Management Foundation) หรือ YEL ซึ่งเป็นองค์กรด้านการจัดการระบบนิเวศน์ และ PanEco เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระหว่างประเทศ ทำงานทางด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศึกษา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้บันทึกร่วมกันว่า ป่าพรุในเขตชายฝั่งทะเลอาเจะห์ ก่อนหน้านี้มีประชากรอุรังอุตังมากที่สุดในโลก

อุรังอุตังในป่าพรุตรีป้ามีประมาณ 4% ของโลก ในปี 2009 จำนวนอุรังอุตังที่อยู่ในป่าพรุตรีป้ามีประมาณ 2,000 ตัว ส่งผลให้ป่าพรุแห่งนี้เป็น 1 ใน 6 แหล่งที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพสูงสุดของอุรังอุตัง (http://sains.kompas.com/read/2012/06/04/08465072/Rawa.Tripa.di.Ambang.Kemusnahan.Bagian.1)

eksposnews.com รายงานเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ระบุผลการสำรวจของมูลนิธินิเวศน์วิทยาเลอูเซอร์ (Leuser Ecosystem Foundation) ว่า ในปี 2009 ป่าพรุตรีป้ามีเนื้อที่ประมาณ 61,803 เฮกตาร์ แต่พอมาถึงปี 2012 ป่าพรุตรีป่าเหลือพื้นที่แค่ 12,655 เฮกตาร์ จนเดือนตุลาคม 2012 สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง เพราะช่วงระยะเวลาเพียง 9 เดือน เนื้อที่ป่าพรุตรีป้าลดเหลือเพียง 10,023 เฮกตาร์ นั่นหมายถึงระยะเวลาสั้นๆ ป่าพรุตรีป้าถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วถึง 28% หรือ 2,632 เฮกตาร์ จากการติดตามภาคสนามในปี 2008, 2009 และ 2012 พบว่า ป่าพรุในพื้นที่ที่รัฐให้สัมปทานเอกชนทำการเกษตร ถูกทำลายด้วยการเผาเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำสวนปาล์มน้ำมันจำนวนมหาศาล

สอดรับกับคำบอกเล่าของ Teuku Muhammad Zulfikar ผู้อำนวยการบริหารวาลฮีอาเจะห์ที่ระบุว่า สภาพป่าพรุตรีป้าถูกทำลายเสียหายไปมาก จากการเปิดหน้าดินเตรียมพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน และถ้าหากยังให้สัมปทานบริษัทต่างๆ เข้าไปปลูกปาล์ม ก็จะส่งผลให้ป่าอนุรักษ์ และสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยเฉพาะอุรังอุตังตกอยู่ในภาวะอันตราย

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น “เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้า” หรือ TKPRT (Tim Koalisi Penvelamatan Rawa Tripa) (Team Coalisi Saving Rawa Tripa)) จึงร่วมกันหารือกำหนดแนวทางปกป้องป่าพรุตรีป้า โดยมี Irsadi  Aristora ผู้ช่วยผู้จัดการองค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International) (TI) เป็นแกนนำเครือข่าย

เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้า ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ดังนี้ WALHI Aceh ซึ่งเป็นองค์กรทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย [WAHANA LINGKUNGAN HIDUP INDONESIA (INDONESIA FORUM FOR ENVIRONMENT): WALHI], องค์กรความโปร่งใสสากลอินโดนีเซีย (TRANSPARENCY INTERNATIONAL INDONESIA: TII) สาขาอาเจะห์ (TII Aceh), กลุ่มสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอาเจะห์ [KOALISI ADVOKASI LAUT ACEH (ADVOCACY COALITION FOR ACEH SEA): KALA], นักข่าวสิ่งแวดล้อม (Green Journalist), มูลนิธิรักษ์อาเจะห์ [YAYASAN PEDULI NANGGROE ACEH (ACEH CARES FOUNDATION): YAYASAN PENA] เครือข่ายสิทธิชุมชนคนพื้นเมือง [JARINGAN KOMUNITAS MASYARAKAT ADAT (INDIGENOUS COMMUNITY NETWORK): JKMA], มูลนิธิการจัดการระบบนิเวศน์ [YAYASAN EKOSISTEM LESTARI (ECOSYSTEM MANAGEMENT FOUNDATION): YEL] และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน (NON GOVERNMENT ORGANIZATION OF HUMAN RIGHT: NGO HAM) ร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยกันสื่อสารเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพรุตรีป้าทั้งในและต่างประเทศ

Irsadi  Aristora เล่าให้ฟังว่า ช่วงเดือนธันวาคม 2554 เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้าออกมาต่อต้านรัฐบาลอาเจะห์ที่ให้สัมปทานเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันกับบริษัทคาลิสตาอาลัม (PT.Kalista Alam, PT=Perseroan Terbatas หมายถึงบริษัท) เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าพรุที่มีความลึก 3 เมตร จนนำไปสู่กระบวนการพิจารณคดีในชั้นศาล

วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจากรัฐบาลจาการ์ต้า จึงเดินทางมาดูสถานการณ์ที่ป่าพรุตรีป้า คณะของรัฐมนตรีที่เดินทางมาคราวนั้น ประกอบด้วย H. Zulkifli Hasan รัฐมนตรีกระทรวงป่าไม้ (Minister of Forestry) พร้อมตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากกรมตำรวจ ตัวแทนจากหน่วยงานดูแลเรื่องการลดลงของป่าและการทำลายป่า [Satuan Tugas Redcucing Emission From Deforestation and Forest Degradation. (Task Force Unit of  Reducing Emission From Deforestation and Forest Degradation): SATGAS REDD] ตัวแทนหน่วยงานกำกับดูแลการพัฒนาภาคสนาม สำนักงานประธานาธิบดีอินโดนีเซีย [Unit Kerja Presiden Bidang Pengawasan dan Pengendalian Pembangunan (Presidential Unit Field Work Supervision and Control Development): UKP4.]

ผลจากการลงดูพื้นที่พบว่า ป่าพรุตรีป้าถูกทำลายจากการเผาป่าเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยบริษัทคาลิสตาอาลัมจริง H. Zulkifli Hasan และตัวแทนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม จึงมีคำสั่งให้สอบสวนถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่ป่าพรุตรีป้า

ประเด็นที่เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้าสงสัย ต่อการให้สัมปทานเพิ่มพื้นที่ให้กับบริษัทคาลิสตาอาลัม เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าพรุที่มีความลึก 3 เมตรของรัฐบาลอาเจะห์ก็คือ การให้สัมปทานกับบริษัทคาลิสตาอาลัม เป็นการละเมิดกฎหมายการใช้พื้นที่ในเขตป่าพรุที่กำหนดให้เข้าใช้ประโยชน์ได้ที่ความลึก 0.5–1.5 เมตรเท่านั้น นั่นหมายความว่ารัฐบาลอาเจะห์ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอาเจะห์ใช้อำนาจโดยมิชอบ

เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้าจึงร่วมมือจัดการกับปัญหานี้ โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ตามลักษณะการทำงานของแต่ละองค์กร แต่มีเป้าหมายและภารกิจในทิศทางเดียวกัน พวกเขาต่อสู้จนกระทั่งรัฐบาลอาเจะห์หยุดสัมปทานของบริษัทคาลิสตาอาลัม

ถึงแม้กรณีป่าพรุตรีป้าจะได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย แต่เครือข่ายก็ยังไม่มั่นใจว่าบริษัทจะรุกล้ำป่าพรุอีกหรือไม่ เพราะสัมปทานที่บริษัทได้รับ ยังไม่ถูกยกเลิก

Irsadi  Aristora เล่าว่า ในฐานะแกนนำเครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้า ซึ่งทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นผู้ช่วยผู้จัดการโครงการความโปร่งใสสากล สาขาอาเจะห์ ปัญหาป่าพรุตรีป้า จึงถูกสื่อสารไปถึงโครงการความโปร่งใสสากล ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีด้วย

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10–14 พฤศจิกายน 2553 Irsadi  Aristora ได้นำเสนอปัญหาพรุตรีป้าต่อที่ประชุมการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนานาชาติ 2553 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (Meeting of IAAC (International Anti Corruption Conference 2010) the fourteenth meeting,  in Bangkok Thailand 10–14 November 2010) มาแล้ว จากนั้นข้อมูลเกี่ยวกับป่าพรุตรีป้า ก็ถูกเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอีเมล์อย่างกว้างขวาง

“ระหว่างการแข่งฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ที่ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 11–25 มิถุนายน 2554 อาสาสมัครของกรีนพีซได้วิ่งลงไปในสนามแข่งขันชูป้ายข้อความ SAVE RAWA TRIPA ส่งผลเรื่องราวของพรุตรีป้าได้รับความสนใจจากนานาชาติมากยิ่งขึ้น ผู้คนต่างตั้งคำถามในใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับพรุตรีป้า” Irsadi  Aristora เล่าด้วยความภาคภูมิใจที่เรื่องราวของป่าพรุตรีป้าได้รับความสนใจมากขึ้น

ในที่สุด คำถามเหล่านั้นก็ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุม G20 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

Irsadi  Aristora ยังเล่าให้ฟังอีกว่า นอกจากบริษัทคาลิสตาอาลัมแล้ว ป่าพรุตรีป้ายังมีชุมชนอาศัยอยู่ด้วย ชุมชนส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลอาเจะห์ย้ายออกไปอยู่ในที่ที่เตรียมไว้ให้ แต่ก็ยังมีชาวบ้านอีกหลายครอบครัวไม่ยอมย้ายออกไป เพราะพวกเขามีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่อาศัยทำกินอยู่ในป่าพรุตรีป้า คนกลุ่มนี้ยังคงต่อสู้ปกป้องที่ดินของพวกเขาอยู่ในป่าพรุแห่งนี้

วันที่ 5 สิงหาคม 2555 เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้า ถูกผู้ว่าการจังหวัดอาเจะห์เชิญเข้าพบรายงานผลการดำเนินงานว่ามีอะไรบ้าง การประชุมคราวนั้นมีผู้นำหมู่บ้าน 3 คนจากชุมชนที่อาศัยอยู่ในป่าพรุตรีป้า เข้าร่วมประชุมด้วย

“ต่อหน้าผู้นำหมู่บ้านทั้ง 3 คน Muhammad Yahya หัวหน้าสำนักงานออกใบอนุญาต [Badan Pelayanan Perizinan Terpadu (Services Licensing Agency): BPPT] ได้นำเสนอต่อผู้ว่าจังหวัดอาเจะห์ว่า ไม่มีคนหรือชุมชนอยู่อาศัยในป่าพรุตรีป้ามาก่อน ชาวบ้านบุกรุกเข้าไปตั้งชุมชนในป่าพรุตรีป้าในภายหลัง”

Irsadi  Aristora เห็นว่า จากข้อมูลการนำเสนอของ Muhammad Yahya ขัดแย้งในตัวเอง เพราะขณะที่ Muhammad Yahya รายงานว่าไม่มีชุมชนในป่าพรุตรีป้า ขณะเดียวกันก็อ้างว่า มีชุมชนเข้าไปแย่งที่ดินในที่สัมปทาน เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้าจึงไม่เห็นด้วยกับรายงานของ Muhammad Yahya

จากข้อมูลที่ขัดแย้งจนนำมาสู่การโต้เถียงกันในคราวนั้น ส่งผลให้ปัญหานี้ ถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในเวลาต่อมา โดยวันที่ 16 สิงหาคม 2555 Irsadi  Aristora ได้นำผู้นำชาวบ้านทั้ง 3 คน ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจอาเจะห์ (police of Aceh) หรือ POLDA Aceh กล่าวหาตัวแทนสำนักงานออกใบอนุญาตรายงานข้อมูลเท็จ ต่อผู้ว่าจังหวัดอาเจะห์ว่า ไม่มีชุมชนในที่ป่าพรุตรีป้า และรัฐบาลอาเจะห์ให้สัมปทานบริษัทเข้าใช้ประโยชน์ในป่าพรุตรีป้า ในบริเวณที่มีความลึก 3 เมตร

ถึงกระนั้นการทำคดีของตำรวจก็มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก เพราะบริษัทคาลิสตาอาลัมได้รับสัมปทานในสมัยผู้ว่าอาเจะห์ นายอีรวานดี ยูซุฟ (Irwandi Yusuf) ขณะที่ปัจจุบันเป็นรัฐบาลของผู้ว่าคนใหม่ ที่เพิ่งมีการเลือกตั้งไปในช่วงเดือนเมษายน 2555

 

Irsadi  Aristora บอกว่า ถ้าจะทำให้ทุกอย่างชัดเจน รัฐบาลอาเจะห์จะต้องยกเลิกสัมปทานที่ให้บริษัทคาลิสตาอาลัม เพราะมันเป็นทางเลือกที่สามารถป้องกันปัญหาการบุกรุกป่าพรุตรีป้า จากบริษัทอื่นๆ ได้

 “สิ่งที่รัฐบาลควรทำเป็นอันดับแรกคือ การยกเลิกสัมปทาน”

เป็นถ้อยคำตอกย้ำของ Irsadi  Aristora

 

หมายเหตุ: “ความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนความเห็นของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย มูลนิธิฯ สถาบันประสานงานกลาง และ/หรือสถาบันภาคี”

 

 

*************************************************************************************

 

Land and Forest in Aceh...

Oil palm plantations encroaching on peat swamp forests: An unrecoverable damage of Indonesia

 

Ruayrin Petsalabkaew

 

A rise in world demand of cooking oil and bio-fuel has affected land use in Indonesia which is home to vast areas of oil palm plantation, not different from Thailand. Owing to state policy to promote oil palm plantation, a large chunk of wetland has been encroached. Similarly, in Thailand, fallow paddy fields have been turned into palm plantations in the basin of Songkhla Lake covering the provinces of Songkhla, Puttalung, Nakhon Si Thammarat, Bajao Peat Swamp Forest and Toe Daeng Peat Swamp Forest in the Southern Border Provinces. The area in Thailand has been targeted for the promotion of oil palm plantation.

The demand of cooking oil and bio-fuel has increased day in day out. Apart from pushing up the number of oil palm plantation in Southeast Asia from 4.2 million hectares in 2000 to 7.1 million hectares in 2009 (McCarthy, John F. (2010). Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850), it has prompted the  Indonesian Government to set out a target of 4 million hectares more of oil palm plantation, or 25 million hectares within 2015. According to the Indonesian Minister of Industry, with in 2020, raw oil palm production in Indonesia should reach 50 million tons, or a 400% increase compared to 11.8 million tons in 2007 (http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=902).

With the figures, Indonesia will boast itself as the world’s number one in terms of oil palm plantation for producing bio-fuel. It meets the demand of creditor countries including USA and Europe which desire to reduce their petroleum consumption and minimize environmental degradation (McCarthy, John F. (2010). Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850.)

The policy has led to skyrocketing expansion of oil palm plantation in Indonesia, particularly in Sumatra Island.

Tripa Peat Swamp Forest is among peat swamp forests being exploited by oil palm industry. The forest covers 61,803 hectares and located in Nagan Raya and Aceh Barat Daya, the province of Aceh, at the end of Westernmost point of the peninsular on Sumatra. 

It is the only peat swamp forest in the region being part of the Leuser Ecosystem and is declared the Tropical Rainforest Heritage of Sumatra site by UNESCO. It is home to orangutan protection zone managed by Yayasan Ekositem Lestari (Ecosystem Management Foundation) or YEL which works on ecological management, PanEco, an international not-for-profit organization working on natural conservation and ecological study with its headquarters in Switzerland has jointly declared that peat swamp forests along the Aceh coasts are home to the biggest population of orangutans in the world. 

Tripa Peat Swamp Forest’s orangutans account for around 4% of the world population. In 2009, the number of orangutans in Tripa Peat Swamp Forest was about 2,000, and as a result the peat swamp forest is hailed as one of the six highest potential habitats for orangutans  (http://sains.kompas.com/read/2012/06/04/08465072/Rawa.Tripa.di.Ambang.Kemusnahan.Bagian.1).

Eksposnews.com reported on 19 February 2013 citing a survey by Leuser Ecosystem Foundation that in 2009, Tripa Peat Swamp Forest covers the area of 61,803 hectares. But however, in 2012, the peat swamp forest coverage has dwindled to 12,655 hectares. As of October 2012, the situation got even much worse. Within nine months,  the area of Tripa Peat Swamp Forest has decreased to 10,023 hectares. In a short period of time, 28% or 2,632 hectares of Tripa Peat Swamp Forest have been rapidly dismantled. According to field survey during 2008, 2009 and 2012, it was found that the area of peat swamp forest where the state has given concessions to private sector for oil palm plantation, vast tracts of the forests have been wiped away. 

The information echoes the word of Teuku Muhammad Zulfikar, Director of Walhi Aceh, who stated that large areas of Tripa Peat Swamp Forest have been lost as a result of the preparations for the oil palm plantation. Should the permission continues to be given for the plantations, it will certainly endanger the protected area and protected wildlife, particularly orangutans.

Given the problem, the “Save Tripa Peat Swamp Forest Network” or TKPRT (Tim Koalisi Penvelamatan Rawa Tripa) (Team Coalisi Saving Rawa Tripa) has consulted to figure out ways to protect Tripa Peat Swamp Forest. The effort is led by Irsadi Aristora, Deputy Manager of Transparency International (TI).

TKPRT is composed of various organizations including WALHI Aceh, an environmental conservation agency in Indonesia [WAHANA LINGKUNGAN HIDUP INDONESIA (INDONESIA FORUM FOR ENVIRONMENT): WALHI], Transparency International Indonesia (TII), TII Aceh, Advocacy Coalition for Aceh (KOALISI ADVOKASI LAUT ACEH), KALA, Green Journalist, Aceh Cares Foundation (YAYASAN PEDULI NANGGROE ACEH), Indigenous Community Network (JARINGAN KOMUNITAS MASYARAKAT ADAT), Ecosystem Management Foundation (YAYASAN EKOSISTEM LESTARI), and Non-government Organization of Human Rights (NGO HAM). The Network works to promote visibility of situation in Tripa Peat Swamp Forest, inside and outside the country. 

According to Irsadi Aristora, around December 2554, TKPRT has come out to oppose the Aceh government which increased concession rights given to oil palm plantation of PT.Kalista Alam (PT=Perseroan Terbatas or “company”). They were given the right to exploit peat swamp forests at three meters deep, and the case has been filed with the Court. 

On 6 May 2012, concerned Ministers from Jakarta made a trip to Tripa Peat Swamp Forest, The delegation was composed of H. Zulkifli Hasan, Minister of Forestry, representatives from Ministry of the Environment, Police Department, SATUAN TUGAS REDUCING EMISSION FROM DEFORESTATION AND FOREST DEGRADATION (TASK FORCE UNIT OF REDUCING EMISSION FROM DEFORESTATION AND FOREST DEGRADATION): SATGAS REDD], UNIT KERJA PRESIDEN BIDANG PENGAWASAN DAN PENGENDALIAN PEMBANGUNAN (PRESIDENTIAL UNIT FIELD WORK SUPERVISION AND CONTROL DEVELOPMENT): UKP4.].

It was found that Tripa Peat Swamp Forest has been burned to prepare for oil palm plantation by PT. Kalista Alam, and thus H. Zulkifli Hasan and representatives from Ministry of the Environment gave an instruction for investigating environmental damage caused to the Tripa Peat Swamp Forest.

TKPRT has questioned the Aceh government for increasing the concessionary area given to PT. Kalista Alam in the peat swamp forest with three meter depth. They deem the permission a breach of law since existing regulations only permit exploitation of peat swamp forest at the depth of 0.5–1.5 meters. In other word, the Aceh government has been accused of not abiding by law and abusing their power. 

TKPRT works on the issue by dividing their roles based on each organization’s expertise. They share the same direction and mission, though. They vow to fight until the Aceh government stops giving out concessionary rights to PT. Kalista Alam.

Though the case of Tripa Peat Swamp Forest has drawn much attention from a lot of people, the Network is far from being sure that the company will stop encroaching on the peat swamp forest since their concessionary rights still remain. 

As a core member of TKPRT, Irsadi Aristora works on information dissemination at the national and international levels. As Deputy Manager of Transparency International (TI), Aceh chapter, he uses his organization with its headquarters in Berlin, Germany, to boost the visibility of the problems with Tripa Peat Swamp Forest.

During 10–14 November 2010, Irsadi Aristora presented the issue of Tripa Peat Swamp Forest at the 14th International Anti-Corruption Conference (IACC) held in Bangkok in 2010. Since then, information about the Tripa Peat Swamp Forest has been spread far and wide via emails. 

“During the 2011 UEFA European Under-21 Football Championship in Denmark from 11–25 June 2011, a GreenPeace volunteer ran into the pitch showing a banner that says “SAVE RAWA TRIPA” to gain international attention on the issue. It made people to raise the question in their mind as to what is happening to the peat swamp forest? Irsadi Aristora proudly said about how he got to raise more awareness on the Tripa Peat Swamp Forest.

Eventually, the question was raised at the G20 Summit on 12 March 2012, held in Bali, Indonesia.

Irsadi Aristora further said that apart from PT. Kalista Alam, Tripa Peat Swamp Forest is inhibited by communities, many of which have been forced to resettle somewhere else by the Aceh government. Still many families have refused to move as they own the land legally and have been living off Tripa Peat Swamp Forest. They continue to stay there to defend their land located just in the peat swamp forest.

On 5 August 2012, TKPRT was invited to meet the Governor of Aceh to report on what they have been doing. The meeting was participated by three community leaders from the community living inside the Tripa Peat Swamp Forest as well. 

“In front of the three community leaders, Muhammad Yahya, Chief Officer of the Services Licensing Agency (BADAN PELAYANAN PERIZINAN TERPADU) told the Aceh Governor that there has been no people or community inside Tripa Peat Swamp Forest. Those villagers have simply encroached on the forest.

Irsadi Aristora found the information put forward by Muhammad Yahya self-contradictory. While he reported that there has been no traditional community in Tripa Peat Swamp Forest, he claimed that they have been living in the land whose concessionary rights have been granted. TKPRT thus disagreed with the report by Muhammad Yahya.

The information from the dispute has led to the launch of litigation. On 16 August 2012, Irsadi Aristora have brought the three community leaders to file complain with the Aceh Police Station or POLDA Aceh accusing the Services Licensing Agency’s officer for reporting false information to the Aceh Governor that there has been no traditional community in the Tripa Peat Swamp Forest and that the Aceh government has given concessionary rights to exploit Tripa Peat Swamp Forest in places where it is more than three meters deep. 

The action take by the police was very slow as PT. Kalista Alam was awarded the concessions while Mr. Irwandi Yusuf just became the Aceh Governor after winning the elections in April 2012.

According to Irsadi Aristora, to make it clear, the Aceh government has to revoke all concessionary rights given to PT. Kalista Alam since it is a way to prevent encroachment of Tripa Peat Swamp Forest by other companies. 

 “The first thing the government can do is revoke the concessions.”

As asserted by Irsadi.

……………………………………………………………………………………………………………………

“The views of the author do not reflect those of the API Fellowships Program, The Nippon Foundation, the Coordinating Institution, and/or the Partner Institutions”

 

บล็อกของ รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
 รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้วโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
  รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย     
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
บทบันทึกเริ่มต้นของประสบการณ์บนผืนแผ่นดินอาเจะห์ จากผู้ได้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย