Skip to main content

ท่ามกลางความร้อนแรงของการลงทุนในธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน นักลงทุนรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างแห่แหนกันมาอินโดนีเซีย ดินแดนที่ยังมีผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์แผ่นดินที่กว้างขวางให้บุกเบิกปลูกสร้าง ป่าธรรมชาติผืนแล้วผืนเล่าถูกเกรดถางเผาลงเพื่อแทนที่ด้วยสวนปาล์มขนาดใหญ่ ท่ามกลางการวาดหวังของรัฐบาลว่าการลงทุนดังกล่าวจะสร้างเสริมเศรษฐกิจให้เติบโต การเงินสะพัด

แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากการเปลี่ยนป่าธรรมชาติเป็นสวนปาล์มนั้นก็เริ่มเผยให้เห็นด้านมืดของปรากฏการณ์มากขึ้นทุกวัน

ป่าพรุผืนสำคัญของจังหวัดอาเจะห์ อย่างป่าพรุตรีป้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าพรุอันสมบูรณ์กว่า 6 หมื่นเฮกต้าร์ ตั้งแต่ปี 1980 ได้ถูกแผ้วถางและแทนที่ด้วยสวนปาล์มน้ำมันไปแล้วกว่า 2 หมื่นเฮกต้าร์ และปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการคุกคามต่อความอยู่รอดของชุมชนท้องถิ่นคนพื้นเมืองรอบป่าก็เป็นปัญหาที่วิกฤติขึ้นทุกที คนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบก็คือชาวบ้านนั่นเอง

ที่ห้องประชุมชั้นบนของเกสท์เฮาท์เล็ก ๆ ใจกลางเมืองเมอลาโบห์ (Meulaboh) อำเภออาเจะห์บารัต (Aceh Barat) จังหวัดอาเจะห์ ชาวบ้านที่เดินทางมาจากหมู่บ้านรอบพื้นที่ ป่าพรุตรีป้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งเรื่องที่ดิน และกลายเป็นคดีความเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหลายคดี กำลังเรียนรู้จากวิทยากรเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เขาได้รับจากการสร้างสวนปาล์มขนาดใหญ่ของนายทุน การฝึกอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์กรพัฒนาเอกชนชื่อ วาลฮีอาเจะห์ (Walhi Aceh)

Nurdin ชาวบ้านจากหมู่บ้านบลังลูอะห์ (Blang Luah) ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม ตำบลซานาอัน ตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) และ Abdul Majid ชาวบ้านจากหมู่บ้านมาคาตีจายา (Makati Jaya) ซึ่งเป็นประธานกลุ่มตำบลซานาอันตะวันตก (Sanaan Barat) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) ทั้ง 2 คนปลีกตัวออกมาจากห้องประชุมในช่วงบ่าย นั่งขัดสมาธิลงบนพื้น เพื่อให้สัมภาษณ์กับเรา

Nurdin เล่าว่า ก่อนที่บริษัทปาล์มทั้ง 2 แห่ง คือ บริษัทคาลิสตาอาลัมและบริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 หรือ SPS2 (Surya Panen Subur 2) เข้ามานั้น บริเวณนี้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน ชาวบ้านหาอาหาร หาหวาย หาทุกอย่างจากป่าพรุ เรียกได้ว่าเป็นที่ที่ฝากชีวิต เมื่อบริษัทเข้ามาทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ปลาเหลือน้อย พืชจำพวกหวายก็ไม่เหลือ  เมื่อก่อนชุมชนใช้การสัญจรทางน้ำ ชาวบ้านใช้เรือในการไปไหนมาไหน การเดินทางสะดวก นอกจากนี้ในแม่น้ำยังมีอาหารจำพวกหอยน้ำจืด แต่หลังจากนั้นมา ต้นไม้ก็ถูกโค่น น้ำเน่าเสีย พวกสัตว์น้ำและหอยพากันตาย การหาหอยมาทำอาหารเป็นเรื่องที่ยากมากๆในวันนี้

 “ ส่วน Abdul Majid มาจากคนละหมู่บ้าน และถนนก็แยกไปคนละฟาก ในอดีตมันเป็นแค่ทางเดินเท้า การเดินทางด้วยจักรยานเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ตอนนั้นจึงใช้การเดินทางทางเรือ แต่พอบริษัทปาล์มเข้ามา ตอนแรกก็ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่พอบริษัทคาลิสตาอาลัมเข้ามาปลูกปาล์มตรงรอยต่อระหว่างหมู่บ้านกับป่าพรุตรีป้าและรุกล้ำเข้าเขตป่าพรุซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ ก็สร้างความเดือดร้อนให้พวกเรามากมาย นี่เป็นเหตุผลให้พวกเราต้องลุกขึ้นมาปกป้องป่าพรุตรีป้าในวันนี้

Abdul Majid เล่าถึงผลกระทบต่อชุมชนว่า ตั้งแต่บริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์เข้ามาสร้างสวนปาล์ม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ฝุ่นควันที่ปนเปื้อนในอากาศทำให้เราหายใจลำบาก เป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ และโรคที่เกิดกับตา ตอนที่นี้ที่หมู่บ้าน มีคนป่วยเกี่ยวกับตาแล้ว 3 คน

เกิดการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ถ้าฝนตกทั้งวันก็จะทำให้น้ำท่วม และถ้าฝนไม่ตกประมาณ 2 สัปดาห์ ก็เกิดภาวะแห้งแล้ง ฤดูฝนเคยอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม แต่ตอนนี้ฤดูกาลไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ เมื่อก่อนที่นี่ ช่วงหน้าฝน ฝนจะตกพอดี อุณหภูมิพอดี และที่นี่ก็เคยเป็นที่เพาะปลูกข้าวที่ขึ้นชื่อ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เหลือแต่ความทรงจำ

“แต่ก่อนเวลาออกหาปลา ก็ไม่ต้องออกไปไกลๆ แค่ออกไป 50 เมตรจากตัวบ้าน ก็สามารถจับปลาได้แล้ว แต่ตอนนี้ ถ้าจะหาปลา ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการออกไปหาปลา เพราะต้องเดินทางไกลกว่าเดิม และปลาก็หายากขึ้นทุกวัน ถ้าเราต้องการหาปลาจริงๆ เราก็ต้องอยู่ค้างที่นั่นหลายคืน”

แต่ปัญหาที่ทำให้คนในชุมชนหนักใจกว่าเรื่องอื่นๆ คือ น้ำเน่าเสีย มีพวกขยะและสารพิษในแหล่งน้ำ ถึงแม้จะไม่มีการทิ้งลงแหล่งน้ำโดยตรง แต่เวลาฝนตกน้ำก็จะไหลพัดพาสารพิษจากยาฆ่าหญ้า ปุ๋ย ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ไหลออกสู่ทะเล

Abdul Majid บอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินของคนในชุมชน และไม่สามารถดำรงชีพได้ด้วยวิธีเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการชดเชยที่ดิน ซึ่งบริษัทได้รับใบอนุญาตสัมปทานที่ดินแล้ว แต่ชาวบ้านไม่สามารถรับเงินชดเชยได้ เพราะที่ดินบางแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ในส่วนของชาวบ้านเองก็ไม่ต้องการมีปัญหากับบริษัท ไม่อยากเป็นศัตรู และถ้าชาวบ้านมีการเคลื่อนไหว พวกเราก็หวังว่ารัฐบาลจะจัดหาหนทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ทั้ง Abdul Majid และ Nurdin เปรียบเทียบความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก่อนและหลังการเข้ามาของบริษัทปาล์มน้ำมันให้ฟังว่า เมื่อก่อนความเป็นอยู่ในหมู่บ้านค่อนข้างสงบ แม้ว่าจะมิได้ร่ำรวยเงินทอง ตอนนี้ชาวบ้านบางส่วนไปทำงานในสวนปาล์มของบริษัท ทำให้พวกเขาไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านเหมือนเมื่อก่อน เวลามีงานแต่งหรืองานอื่นๆ ทำให้ความสัมพันธ์และการสื่อสารของคนในหมู่บ้านห่างเหินกันมากขึ้น

เรื่องการจ้างแรงงานชาวบ้านนั้น จากพื้นที่ 5 หมู่บ้าน มีชาวบ้านมาทำงานประมาณ 60 คน ซึ่งบริษัทจะเลือกจ้างแต่แรงงานหนุ่มสาว และจ้างเป็นรายวัน ซึ่งเป็นคนงานปกติทั่วไป ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัท ส่วนผู้หญิงก็สามารถทำงานในสวนปาล์มได้ ใส่ปุ๋ยให้ต้นปาล์ม ฉีดยาฆ่าหญ้า ซึ่งงานของผู้หญิงก็ประมาณนี้ แตกต่างจากงานของผู้ชายที่ต้องใช้กำลังมากกว่า

“บริษัทคาลิสตาอาลัมไม่ได้อยู่ใกล้กับชุมชนเรามากนัก แต่พอถึงช่วงเทศกาลฮารีรายา ทางบริษัทก็จะเอาวัวมาให้ชุมชน เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนที่ยากจน”

Abdul Majid บอกว่า มีแรงงานรายวันชั่วคราวขึ้นอยู่กับการจ้างงานของบริษัท ประมาณ 100 คน ทำงานประเภท ตัดปาล์ม ทำงานในสวนปาล์ม ตัดหญ้า ใส่ปุ๋ย พวกเขาก็จะไปทำงานทุกวัน เพราะถ้าพวกเขาไม่ทำงาน พวกเขาก็ไม่ได้เงิน ส่วนพวกคนงานประจำ มีเงินเดือนและจะได้หยุดงานเฉพาะวันหยุดราชการ ซึ่งมีประมาณ 20 คน แต่ไม่ใช่ทำกับบริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 เพียงบริษัทเดียว เพราะที่นี่มีบริษัทปาล์มหลายบริษัท

 “ชุมชนไม่ได้มีปัญหากับบริษัท เพราะชุมชนเองก็มีอาชีพทำสวนปาล์ม แต่เรารู้สึกน้อยใจที่รัฐบาลอาเจะห์ไม่เคยช่วยเหลือหรือสนับสนุนชุมชนเลย ต่างกับบริษัทใหญ่ๆ ที่รัฐบาลอาเจะห์ให้การสนับสนุนเต็มที่” Abdul Majid เล่าให้ฟัง น้ำเสียงบอกความน้อยเนื้อต่ำใจ

 ทางด้าน Nurdin เล่าทิ้งท้ายว่า กรณีที่เป็นคดีความอยู่นั้น บริษัทคาลิสตาอาลัมไม่ได้มีปัญหากับชุมชน และชุมชนไม่ได้ประท้วงบริษัทเรื่องที่ดิน แถมชาวบ้านบางคนต้องการให้บริษัทซื้อที่ดินของพวกเขาด้วยซ้ำ แต่ที่เป็นคดีความฟ้องร้องอยู่นั้น เพราะบริษัทคาลิสตาอาลัมเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าพรุในเขตคุ้มครอง พร้อมทั้งเผาป่าจนนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ถึงแม้ทั้ง 2 ชุมชนนั้นไม่มีปัญหาการแย่งชิงที่ดินในชุมชน แต่ในบริเวณป่าพรุตรีป้ายังมีอีกหลายหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ และสูญเสียที่ดินของชุมชนให้กับบริษัทปาล์มน้ำมันไป อย่างที่ Suratman ชาวบ้านจากหมู่บ้านซูคาดาไม (Suka Damai) ตำบลซานาอันตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า

สมัยก่อนที่หมู่บ้านมีที่ดินชุมชนตามกฏหมายจารีตประเพณี โดยมีการจัดการร่วมกันของคนในชุมชน และก่อนที่อาเจะห์จะเกิดความขัดแย้ง ที่ดินก็ยังบริหารจัดการโดยชุมชน ในช่วงเวลานั้นแต่ละครอบครัวสามารถครอบครองที่ดินได้ไม่เกินครอบครัวละ 2 เฮกต้าร์ พอเข้าสู่ช่วงที่มีความขัดแย้งในอาเจะห์ ที่ดินก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง พออาเจะห์ได้รับสันติภาพที่ดินก็ถูกขาย แต่ว่าไม่ได้เงิน และต่อมาบริษัทคาลิสตาอาลัมได้รับสัมปทานที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันก็เข้าถือสิทธิ์ในที่ดินแทน โดยทางบริษัทซื้อที่ดินผ่านนายหน้า ซึ่งนายหน้าก็เป็นคนในพื้นที่เช่นกัน

Suratman เล่าว่า ในปี 1980 พวกเขาซื้อที่ดินในราคา 800,000 รูเปียต่อเฮกต้าร์ แต่บางคนก็ไม่ยอมขายรวมทั้งตัวเขาด้วย พวกนายหน้าพยายามขอซื้อหลายครั้ง แต่เขาก็ยืนยันเช่นเดิม ว่าไม่ขาย ในสวนของเขาปลูกต้นโกโก้ เวลาเพียงสัปดาห์เดียวที่ไม่ได้เข้าสวน ปรากฏว่าต้นโกโก้ของเขาหายหมด ถูกตัดล้มกองอยู่กับพื้น และมีต้นปาล์มปลูกแทน ในช่วงเวลาที่อาเจะห์เกิดความขัดแย้ง เรื่องที่ดินก็ไม่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหา และดูเหมือนมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญอะไรต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพราะบริษัทคาลิสตาอาลัมก็ยังเปิดที่ดินที่ได้รับสัมปทานในป่าพรุตรีป้าไปได้เรื่อยๆ

Idin จากหมู่บ้านพานตอนบายู (Panton Bayu) ตำบลซานาอันตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์เช่นกันว่า ในหมู่บ้านนี้มีที่ดินสำหรับชุมชนใช้ปลูกข้าวร่วมกัน ซึ่งเป็นกฏธรรมเนียมประเพณีห้ามขายที่ดิน ที่ดินชุมชนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 100 เฮกต้าร์ ตอนที่อาเจะห์มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่ดินก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง หลังจากที่อาเจะห์ได้รับสันติภาพ แล้วพวกเราก็กลับมาปลูกข้าวอีกครั้ง สองสามเดือนหลังจากนั้นที่ดินก็ถูกขาย โดยมีเอกสารที่มีลายเซ็นต์ของชาวนาและค่าชดเชย

“ผมและคนอื่นๆอีกหลายคนไม่ยอมขาย ไม่ยอมเซ็นต์ชื่อและไม่ยอมรับเงินชดเชย ผมสงสัยว่าพวกเขาทำเอกสารนั้นขึ้นมาได้อย่างไร แต่ก็หาคำตอบไม่ได้”

 ถึงแม้ตอนนี้ชาวบ้านกลับมามีอำนาจในที่ดินดังกล่าว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ ทุกๆเดือน ประธานกลุ่มชาวนาจะถูกตำรวจเรียก เพราะถูกกล่าวหาว่า ทำความเสียหายให้กับสวนปาล์มที่อยู่รอบๆทุ่งนา ทั้งๆที่พวกเราไม่เคยทำอะไรเลย

ผลกระทบจากบริษัทปาล์มน้ำมันไม่ได้มีเพียงเท่านั้น เพราะบริษัทปล่อยของเสียลงแม่น้ำ ส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำด้วย เมื่อน้ำเน่าเสีย แน่นอนว่าพวกเขาก็สูญเสียหลายๆสิ่ง หลายๆ อย่างจากป่าพรุเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปลาดุก น้ำผึ้ง และผลผลิตอื่นๆจากป่า

“ในฤดูฝนก็จะเกิดน้ำท่วม และเมื่อถึงฤดูแล้ง ที่นาของพวกเราก็แห้ง พวกเราแจ้งไปยังอำเภอ จังหวัด และรัฐบาล แต่ก็ไม่มีผลตอบรับกลับมา ไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ พวกเราก็ต้องรักษาที่ดินผืนนี้เอาไว้เพื่อลูกหลานของเราในอนาคต”

เสียงจากปลายสายโทรศัพท์ของ Ansari จากหมู่บ้านคาเยออูโน (Kaye Uno) ตำบลซานาอันตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เล่าว่า ในปี 1980 พวกเราได้รับที่ดินชุมชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นที่สำหรับชาวบ้านประมาณ 2,000 เฮกต้าร์ พวกเราปลูกฝ้าย มะพร้าว โกโก้ และพืชอื่นๆ ตอนที่ความขัดแย้งในอาเจะห์ปะทุขึ้น และประชาชนถูกบังคับให้ออกจากหมู่บ้านและที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้าง และต้นไม้เติบโตกลายเป็นป่า

ต่อมาในปี 2008 หลังจากอาเจะห์ได้รับสันติภาพแล้ว ชาวบ้านก็พากันกลับมาที่เดิม แต่ปรากฏว่าที่ดินถูกเกรดไถเรียบร้อย และพร้อมที่จะปลูกปาล์มโดยบริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 ซึ่งในขณะนั้นทำภายใต้ชื่อบริษัทอามารา (Amara)

“พวกเราต้องการกลับไปยังที่ที่ดินของพวกเรา แต่พวกเขาก็ไม่อนุญาต พวกเราได้ขอเจราจา 2-3 ครั้ง และแจ้งไปยังอำเภอ Nagan Raya แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ รัฐบาลบอกว่า ขอให้รออย่างเดียว อย่าพยายามทำอะไรที่ก่อให้เกิดความรุนแรง และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน”

 Ansari เล่ายังเล่าต่อไปว่า บริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 ได้รับสัมปทานที่ดิน 5,080 เฮกต้าร์ ซึ่งได้ซื้อต่อมาจากบริษัทชิตราอากรา (Citra Agra) นั่นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะทางบริษัทไม่เคยเสนอค่าชดเชย ถึงแม้พวกเขาจะเสนอ พวกเราก็ปฏิเสธอยู่ดี เพราะพวกเราอยากได้ที่ดินของพวกเราคืน

 

ชุมชนรอบป่าพรุตรีป้าแห่งนี้เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองเป็นอาณาจักรมาก่อนในสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐาน เช่น ร่องรอยเนินดินแห้งในบริเวณป่าพรุตรีป้าประมาณ 1 เฮกต้าร์ อันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน ทั้งยังมีหลักฐานชิ้นสำคัญในบริเวณที่คาดว่าเป็นสุสาน นั่นคือ ชื่อที่เขียนไว้บนก้อนหินว่า H.Nyak Dom ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ซึ่งคนในชุมชนเรียกบริเวณนี้ว่า Ujung Raja

การตั้งชุมชนอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันด้วยความสงบสุขได้นั้นก็ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรอันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำป่าพรุแห่งนี้ เกิดวิธีการทำมาหากินที่เป็นแบบแผนเฉพาะถิ่นอย่างหลากหลายหมุนเวียนกันไปตามแต่ละฤดูกาล และสามารถดำรงชีพไปได้อย่างยั่งยืนถ้าไม่มีภัยคุกคามจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมขนานใหญ่และรุนแรงถึงขนาดถูกแย่งชิงที่ดินไปจากมือเจ้าของที่บุกเบิกสร้างทำมันมาดังที่พวกเขากำลังเผชิญ

วันนี้พวกเขาเหมือนถูกต้อนเข้ามุมอับ และมีแรงกดดันภายในที่พวกเขาต้องเรียกร้องหาสิ่งสำคัญที่เขาพึงมี นั่นคือสิทธิอันชอบธรรมในทรัพยากรธรรมชาติในฐานะที่เขาอยู่มาก่อน และสิทธิที่จะมีชีวิตอันปกติสุขเช่นที่เคยอยู่กันมา

.....................................................................................................................................................

หมายเหตุ: “ความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนความเห็นของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย มูลนิธิฯ สถาบันประสานงานกลาง และ/หรือสถาบันภาคี”

 

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

 

Voices of Tripa Swamp Forestry Communities: The Victim of Oil Palm Industry

 

In the midst of palm trees plantation business golden decade, both domestic and international investors come to Indonesia, where on huge fertile lands are located, and waiting for any construction. Over and over plots of forestry have been cleared and fired for operating large palm trees plantation. Indonesian government believed that there is a growth of economic development and money flow according.  

However, actual situation seems being impacts on communities and environmental aspects in terms of lands use replacing by palm trees plantation in nowadays.

Importantly, particular swamp forest in Aceh Province as Tripa swamp forest covered areas is more than 60,000 hectares. Since 1980, 20,000 hectares palm trees plantations have been substituting forest areas. Consequently, surrounded communities and local people are the first victims to be endangered from dangerous substances as well as environmental impacts.

Practically, education on experiences and impacts has been exercised to local people.  Workshop training on Environment Law and Impacts of Huge Investment and Large Palm Trees Plantation has been organized. It holds in small guesthouse in Meulaboh Town, Aceh Barat District, organizing by WALHI Aceh. Target participants mainly come from affected communities, where conflict disputes over primitive lands use occurring, which eventually arrives in juristic procedures.      

In fact, Nurdin, villager form Blang Luah Village, and being group leader of Sanaan Timur Sub-District, in Nagan Raya District. As well as, Abdul Majid, villager from Makati Jaya Village and being group leader of Sanaan Barat Sub-District, in Nagan Raya District. The two of villagers have sit and detailed to the author as seen below.  

Nurdin described that this land is a source for community to gather food such as rotten and non forest products from the swamp forest as well-known as “Food Bank”. After came of Kalista Alam Company and Surya Panen Subur II Company, things have changed. In fact, many tones of trees were cut down; water polluted, dead animal and shell, fewer fish species, and limited rotten remains. Local communities have faced difficulty of food collection in nowadays. In the past, river logistic was used as boating in terms of convenience transportation due to various longer roads and flooding through.

 “ Besides, Abdul Majid, who comes from another village, said that in the past, roads have not been constructed, walking pathways or bicycling have been difficult so that boating is more available. Obviously, after the two companies came to local communities, particular Kalista Alam Company, palm trees have been planted at trans-boundary areas of Tripa Swamp Forest and conservation forest. In case, surrounding communities livelihoods have been deeply affected by plantation encroachment.   

Abdul Majid also stressed that impact of Surya Panen Subur II Company’s plantation causes communities facing difficulties through. Climate change taking place, breathing problems and sickness and eyes problems derived from mixed dust. Recently, three eyes diseases have been found in community.

Weather and climate have changed, if it rains for all day long, flooding will be happening. In spite of rain shortage for two weeks, drought will be causing. Normally, rain season starts from September to January but it is not certain in nowadays. General speaking, in the past, this lands were well-known in good rice farming, actual rain season, and nice weather, and nevertheless, everything was so good in memory for now.

“Previously, people ways of lives as catching fish would go through 50 meters in distance from coast instead of boating for one week long for fishery due to fewer fishes than last period. In reality, catching fish is a key practice to sustain people livelihoods so that spending more times is necessary. ”

Regarding water pollution, it is a serious problem occurred in communities. All trash and toxic substance contained accumulate in rivers. Even through some toxic component and trash have not directly been thrown into river, eventually chemical fertilizer and pesticide would go down to rivers and the sea.  

Abdul Majid said that existing serious issue effects to domestic economic activities in communities, which local people could not practice on traditional productive as previously.  In the fact that primitive residence, local people are supposed to be get compensation paid by particular concession’s company, some villagers have not paid due to no lands titles. Actually, villagers desire to live with peace, no conflict disputes taking place, if only local people have to movement and demand for locality owner rights, and then government would provide them resolutions over lands usage conflict disputes.

Moreover, both Abdul Majid and Nurdin have compared on people livelihoods before and after palm companies came across to communities. Previously, local people have naturally practiced in conventional economic, and community’ activities. In contrast, community’ activities have not been involved by some of villagers, who is now working for palm companies. Therefore, people relationship and communication gaps in communities can possibly result from missing attended marriage ritual or joined other traditional practices.

 Regarding domestic employment, 60 young people from five various villages are hired by palm company. They have been paid daily as labor force not likely company staff. Regarding farming activities as clearly divided, women labor are simply done through fertilizing palm trees and spraying weeds, but men labor are different done through heavy activities and workforce  .  

“ In addition, even though Kalista Alam Company is located far apart from communities, the company simply gives the poor in communities cattle for Hari Raya Festival.”

Abdul Majid stressed that many companies located in surrounding communities as well as there are 100 temporary daily wages according to company employment policy. Divisions of labor are obviously seen through palm trees cutting, weeding, and fertilizing. Nonetheless, people are regularly forced to work in planted areas every day otherwise they will not get daily paid. Company has employed 20 permanent employees, who normally gain salary payment but possibly leave can be only official holiday.

In fact, “communities actually have no conflict interests with palm companies because local people also doing palm trees garden in particular. In comparative, Aceh government has not paid attention or provisions to local communities instead of huge palm trees companies’ investment.” said Abdul Majid with upset tone.

 Nurdin mentioned that although Kalista Alam has been sued, communities do not have any issue addressing or complaining in terms of lands use conflicts. Instead, some villagers have proposed companies to buy their lands. Regarding conflict disputes resolutions, many cases have been ongoing to courts due to encroached swamp forest as conservation areas, where forestry are fired and environmental crisis arrived by the company.  

In fact, villagers from Suratman Village and Suka Damai Village, Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District have been interviewed via telephone. Event through two communities have no lands use conflict raised, conflict disputing and lands owner relocating exist in many communities surrounding Tripa Swamp Forest.

In the past, public areas of community have been established according to customary law with pooling of common management. Former conflict period in Aceh, lands have been managed as common property. People were allowed to access and occupy lands for two hectares each household. In conflict period, lands have been left behind with uncultivated since then. After being free and autonomous government, lands across Aceh were sole with no any payment unfortunately. Later, Kalista Alam Company received concession to do palm trees plantation with completely rights to access and control over lands instead of residence.  Interestingly, local people themselves were brokers, who buy and sell lands to company.

Suratman said that in 1980, company has bought lands up to 800,000 Indo Rupee per hectare, however, some of villagers including him did not sell. Later, brokers came to him and asked for buying his lands but he insisted. Consequently, one week left since brokers came, his cocoa trees in garden have been cut and palm trees were growing substituted. In Aceh conflict period, conflict disputes regarding lands usage problems have not been taken into account. It seemed small dark spots as unimportant cases for relevant authorities instead continuing concessional lands clearing in Tripa Swamp Forest for the Kalista Alam Company.

Another case, Idin, villager from Panton Bayu Village, Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District interviewed via telephone that his village has common rice farming, which is traditional rule practiced. Total areas of the community are 100 hectares, and those lands are not allowed to sell according to customary law. While Aceh has been severely struggle, lands have been left behind and uncultivated. Autonomous era, people return back to lands and doing rice farming particular, and couple months later, lands were sold by official farmers’ signature and its compensation provided.

“ I and other villagers have not sold, signed, and neither accepted for compensation providing. I am also curious to know how official documents were made, unfortunately, I still could not find out the answers yet.”

 Even through nowadays local people have rights to access and utilize lands, monthly problems are emerging. Apparently, leaders of farmers’ group regular get notifications from police due to surrounding palm trees around rice fields were damaged but farmers did nothing in fact.

Furthermore, water pollution has derives from palm company leaving trash into rivers. In this case, species as catfish, wild bees, and other forest products, were harm and endangered. Local people also directly affected to this circumstance.

“Communities were flooded in raining season while dry rice fields were caused in drought period. In the fact that disaster releases have been reported to district, province and even government and silence that replied. Hence, local people movements to protect and preserve lands for both themselves and future generation are deserved.”

Voice from long distance as Ansari, who is residence in Kaye Uno Village, Sanaan Timur Sub-District, in Nagan Raya District stressed that since 1980, we received community’s lands according to customary law. Its approximately total are 2,000 hectares, we planted coconuts, cocoa, and other varieties. While conflict explored in Aceh, people were forced to move out and lands were left behind and uncultivated, where those trees growing as forest replaced.  

Last 2008, Aceh was free and people came back to homelands, surprisingly, their lands have been cleared and ready for palm plantation by Surya Panen Subur II Company, which implementing under company named Amara.  

“ We wish to get back to our lands but the company denies. In case, we have talked and negotiated with the company for 2-3 times as well as reported problem to Nagan Raya District and we are looking forward to seeing any cure. However, we were told to waiting with no any conflict disputes made up by the government. Finally, unclearly solutions is only thing that we achieved by the timing.”

 Ansari also stressed that Surya Panen Subur II Company has been passed through concession to access lands covered 5,080 hectare.  Accordingly, Surya Panen Subur II Company has bought particular lands from former company as Citra Agra Company. As the results, local people have faced more difficulties due to either unpaid compensation nor even offered. In fact, we will strongly refuse the compensation in order to insistently residence and occupy our ancient lands as previous time.

Historically, surrounding Tripa Swamp Forest communities used to be glorious kingdom settlement. Obvious evident has been seen through dried hill lands approximately one hectare coverage. Based on evident found, there is inscribed rocking namely “H.Nyak Dom” it can possibly be claimed as cemetery areas. Particular areas might assume that primitive dwelling would have settled down since 18th century. Nowadays, local people named that area as “Ujung Raja”.

General speaking, locality settlement has been located and livelihoods are continuous maintained through utilizing natural resources. Specific ways of people lives were diversified by seasonal activities. However, local communities have been facing through heavily rapid changes as environmental crisis, and lands occupation lost and replaced to huge invested companies.

In sum up, directed serious circumstances are forcing local people to voice up and to claim rights on their ancient lands as well as demanding to return locality joyful livelihoods. It is rightfulness of primitive lands ownerships to be addressed and movement by the timing.

...............................................................................................................................................

“The views of the author do not reflect those of the API Fellowships Program, The Nippon Foundation, the Coordinating Institution, and/or the Partner Institutions”

 

 

 

บล็อกของ รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
 รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้วโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
  รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย     
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
บทบันทึกเริ่มต้นของประสบการณ์บนผืนแผ่นดินอาเจะห์ จากผู้ได้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย