Skip to main content

 

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

 

1.บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในอาเจะห์: กรณีศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิทธิมนุษยชนชุมชนท้องถิ่นนี้ มุ่งหาคำตอบว่าท่ามกลางความเติบโตของธุรกิจแปลงเกษตรขนาดใหญ่โดยเฉพาะสวนปาล์มน้ำมันที่จังหวัดอาเจะห์นั้น ได้เกิดผลกระทบต่อคนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไรบ้าง และชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดอาเจะห์มีวิธีการหรือมาตรการรับมือกับผลกระทบอย่างไร โดยผู้วิจัยได้ใช้เวลา 12 เดือนในการค้นคว้าข้อมูล ลงพื้นที่สังเกตการณ์ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเรียบเรียงเป็นบทความเชิงข่าวเผยแพร่ทาง เว็บไซต์ประชาไท รวม 10 ตอน

ข้อค้นพบสำคัญ คือ เหตุปัจจัยของการเติบโตของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน คือ               อินโดนีเซียมีนโยบายที่จะไปสู่ความเป็นเจ้าในการผลิตน้ำมันปาล์ม มีมาตรการ นโยบายที่ชัดเจนในการเปิดรับสนับสนุนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้มาลงทุนในพื้นที่ป่าของรัฐ ปัจจัยอีกด้านหนึ่งคือความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มมากขึ้นทั้งด้านการบริโภคและเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม รวมทั้งความเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ทำให้พื้นที่ป่าสมบูรณ์ได้รับสัมปทานและถูกถากถางทำลายลงอย่างรวดเร็วโดยนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มีการทำลายระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่นลงไปอย่างน่าเสียดาย พร้อมนั้นก็มีการละเมิดสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่ใช้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ชุมชนที่เดือดร้อนได้ออกมาเคลื่อนไหวโดยการร้องเรียน การรณรงค์การชุมนุม และการดำเนินคดีทางศาลโดยการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม แต่ระบบกฎหมายที่อ่อนแอของรัฐก็ไม่สามารถคุ้มครองดูแลพลเมืองของตนได้อย่างที่ควรจะเป็น

ข้อเสนอสำคัญของการวิจัย คือ ต้องมีการผลักดันแก้ไขกฎหมายและให้มีนโยบายที่จะดูแลสวัสดิภาพ จัดสวัสดิการแก่ชุมชนอย่างเป็นธรรมและการสร้างนโยบายสาธารณะที่มีความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาสภาพแวดล้อม

 

2.บทนำ

จังหวัดอาเจะห์มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทรัพยากรป่า ที่ดิน ตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงจากความขัดแย้งระหว่างขบวนการอาเจะห์เสรี[1]กับรัฐบาลอินโดนีเซียสงบลงด้วยการเป็นเขตปกครองตนเองอาเจะห์เมื่อปี 2548 และอำนาจหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรตกมาอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐบาลท้องถิ่น บรรยากาศใหม่นี้เปิดโอกาสให้กลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างมุ่งหน้าเข้ามาลงทุนในอาเจะห์กันอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะธุรกิจการปลูกพืชเศรษฐกิจในแปลงที่ดินขนาดใหญ่

สภาพที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ได้พลิกมิติการใช้ที่ดิน จากพื้นที่เกษตรแปลงเล็กๆ ของเกษตรกรรายย่อย มาเป็นแปลงเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่อย่างปาล์มน้ำมัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก

การเข้าครอบครองทรัพยากรที่ดินของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ส่งผลให้คนในท้องถิ่นเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ยากขึ้น  และคนท้องถิ่นที่เคยใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดินอยู่ก่อนหน้า ก็ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ แตกต่างไปจากเดิมที่คนในท้องถิ่น สามารถเข้าถึงทรัพยากร ผ่านกติกาของชุมชนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการสืบทอดมรดกจากบรรพบุรุษ และการจัดการภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม[2] ความเปลี่ยนแปลงในรอบเกือบ ๑๐ กว่าปีมานี้ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนท้องถิ่นชาวอาเจะห์อย่างลึกซึ้งกว้างขวาง เช่น การสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน อาชีพ วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งผลต่อสิทธิและสวัสดิการที่คนในท้องถิ่นควรได้รับการดูแลจากรัฐบาลท้องถิ่นก็ถูกละเลย หลายครั้งเมื่อคนท้องถิ่นลุกขึ้นต่อสู้ขัดขืน ก็นำไปสู่ความไม่สงบถึงขั้นการบาดเจ็บล้มตาย

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่อาเจะห์นี้ เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับหลายภูมิภาคของโลก ที่การรุกคืบของทุน โดยการอำนวยความสะดวกของรัฐ ภายใต้อุดมการณ์และทิศทางการพัฒนาแบบทุนนิยมที่มุ่งสร้างความเจริญเติบโตของตัวเลขทางเศรษฐกิจ นักลงทุนได้ใช้ความได้เปรียบเข้าไปอาศัยอำนาจรัฐในการได้สิทธิการใช้ทรัพยากร ซึ่งทับซ้อนกับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินอยู่ซึ่งควรได้สิทธิในการใช้อย่างเป็นทางการเป็นอันดับแรกในฐานะผู้มาก่อน รัฐเองก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของพลเมืองที่เสียเปรียบไร้อำนาจต่อรองได้ แต่บางครั้งก็เป็นฝ่ายที่ร่วมมือกับทุนและแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน จึงสร้างให้เกิดการละเมิดสิทธิชุมชนและความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นเสมอ ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมเองก็ไม่มีพลังพอที่จะต้านทานคู่กรณี จึงต้องหาพันธมิตรอื่นๆในสังคมเป็นผู้สนับสนุนในการต่อสู้

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่ดิน และมาตรการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นของชุมชนในจังหวัดอาเจะห์ นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปัญญาชนสาธารณะในเอเชีย ซึ่งในอนาคตจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินในภาคใต้ของไทยกับจังหวัดอาเจะห์

โดยศึกษาว่า การแย่งชิงทรัพยากรที่ดินในจังหวัดอาเจะห์ ส่งผลกระทบต่อคนในท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินอย่างไร และชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดอาเจะห์มีวิธีการหรือมาตราการรับมือกับผลกระทบอย่างไร 

กระบวนการศึกษาเริ่มจากการลงพื้นที่จังหวัดอาเจะห์ ช่วง 2 เดือนแรกทำความรู้จักและสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลหรือสัมภาษณ์ เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ เพื่อให้ทำงานหรือเก็บข้อมูลง่ายขึ้น การลงไปที่พื้นที่เป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลและภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนท้องถิ่นที่สูญเสียที่ดิน ผู้ได้รับผลกระทบ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต             จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ และเรียบเรียงนำเสนอในรูปแบบของบทความเชิงข่าว และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.prachatai.com ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 10 ชิ้น และแปลบทความเชิงข่าวเป็นภาษาอินโดนีเซียเผยแพร่ผ่าน  http://theglobejournal.com และภาษาอาเจะห์ เผยแพร่ผ่าน http://acehclimatechange.org เมื่อเผยแพร่บทความครบทั้งหมดทุกภาษา จะรวบรวมบทความทั้งหมดเผยแพร่ในรูปแบบของพ็อกเก็ตบุ๊ค เพื่อกระจายข้อมูลสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกช่องทาง ระยะเวลาทั้งสิ้นรวม 12 เดือน

 

3. บริบทพื้นที่ศึกษา จังหวัดอาเจะห์ และ ป่าพรุตรีป้า

3.1 จังหวัดอาเจะห์

จังหวัดอาเจะห์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Nanggroe Aceh Darussalam Province มีเมืองหลวงชื่อ บันดา อาเจะห์ (Banda Aceh ) และแบ่งการปกครองออกเป็น 23 อำเภอ[3] เป็นหนึ่งใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ปลายแหลมทางทิศตะวันตกสุดของเกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดจังหวัดสุมาตราเหนือทิศเหนือติด   ทิศตะวันออกติดช่องแคบมะละกา ทิศตะวันตกติดทะเลอินเดีย มีพื้นที่ 58,375.83 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 4,494,410 คน แยกเป็นชาย 2,248,952 คน หญิง 2,245,458 คน ชาวอาเจะห์นับถือศาสนาอิสลาม 98.6%  ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์และคาทอลิก 0.70% ศาสนาฮินดู 0.08%  ศาสนาพุทธ 0.55% และยังมีศานาคองฮูชู และอื่นๆ พลเมืองอาเจะห์ประกอบไปด้วยคนหลายชาติพันธุ์ คือ เป็นชาวอาเจะห์(Acehnese) 79% ,Kayo Lut 7% Kayo Luwes 5%, Alas 4%, Singkil 3%, Simeulue 2% มีภาษาอาเจะห์เป็นภาษาที่ใช้เป็นหลักในท้องถิ่น และภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการ[4]

จังหวัดอาเจะห์เป็นเขตปกครองพิเศษ ภายใต้สาธารณรัฐอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี 2548 ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของอาเจะห์นั้น เคยเป็นรัฐอิสระที่มีบทบาททางการค้าและการเดินเรือระหว่างประเทศ อาเจะห์รับเอาศาสนาอิสลามจากชวามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 และสถาปนาการปกครองแบบสุลต่าน แผ่อิทธิพลไปสู่ดินแดนอิ่นในเกาะสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายา จนขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของอิสลามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขึ้นชื่อว่า “ประตูทางตะวันออกที่เปิดสู่เมกกะ” อาเจะห์เริ่มตกต่ำลงหลังการยึดครองของเนธอร์แลนด์เมื่อ ปี 2420 แต่กลุ่มอำนาจเดิมก็ยังคงเป็นกบฎต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมในรูปแบบกองโจรตลอดมา จนเมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาเจะห์เลือกรวมกับอินโดนีเซีย เมื่อปี 2502 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียยอมให้อาเจะห์คงเอกลักษณ์ของตนเองที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม รวมทั้งการใช้กฎหมายอิสลาม แต่ความพยายามรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในยุคของประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ทำให้เกิดการแข็งข้อตั้งขบวนการอาเจะห์เสรี ขึ้น เมื่อปี 2519 และต่อสู้กับรัฐบาลอินโดนีเซียตลอดมา หลังเหตุการณ์ผลกระทบจากพายุสึนามิ เมื่อปี 2547 ขบวนการนี้จึงประกาศสงบศึก มีการเจรจาสันติภาพ และเกิดข้อตกลงตั้งอาเจะห์เป็นเขตปกครองพิเศษ มีการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นครั้งแรกเมื่อ 11 ธันวาคม 2549[5]

ในพื้นที่จังหวัดอาเจะห์มีทรัพยากรอย่างมากมายมหาศาล ทั้งป่าไม้ ที่ดิน แร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก่อนมีการตกลงเป็นเขตปกครองพิเศษ นั้น รายได้ของรัฐบาลอินโดนีเซียจากการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกว่า 5๐% มาจากพื้นที่อาเจะห์ แต่ผลประโยชน์ไม่ได้ตกมาถึงคนอาเจะห์ นี่เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่มีการต่อสู้เพื่อแยกตัวเองเป็นรัฐอิสระของชาวอาเจะห์

สำหรับสถานการณ์เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ในจังหวัดอาเจะห์นั้น หลังจากมีข้อตกลงสันติภาพและอาเจะห์ได้เป็นเขตปกครองตนเองภายใต้สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ก็มีการเลือกตั้งรัฐบาลอาเจะห์อย่างเป็นประชาธิปไตย อาเจะห์ได้ออกกฎหมายป่าไม้ที่ดินของตนเอง ซึ่งมีความก้าวหน้าและสอดคล้องกับแนวทางในการปกครองตนเอง แต่ดูเหมือนว่าเกิดความผิดพลาดบางอย่าง เพราะรัฐบาลอาเจะห์ได้ใช้อำนาจดังกล่าวออกใบอนุญาตให้กับบริษัทเหมืองแร่และบริษัทปลูกพืชเศรษฐกิจ จนนำไปสู่การเปิดพื้นที่ป่า และทำลายป่าจำนวนมาก

ตามกฎระเบียบฉบับที่ No.170/kpts-II/2000 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป่าไม้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2000 ระบุว่า พื้นที่ป่าในอาเจะห์มีทั้งหมด 5,774,788.92 เฮกต้าร์[6] โดยแบ่งประเภทของป่าออกเป็นป่าคุ้มครองหรือป่าอนุรักษ์ และป่าไม้เพื่อการผลิต แต่ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างเก่า เมื่อพบว่าในปัจจุบันข้อมูลขนาดของป่าเปลี่ยนไปเยอะมาก ปัจจุบันรัฐบาลอาเจะห์กำลังเสนอการวางแผนเชิงพื้นที่ และแสดงตัวเลขล่าสุดให้เห็นว่าป่าเหลืออยู่แค่ 3,998,662.45 เฮกต้าร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนพื้นที่ป่าลดลงอย่างชัดเจน

3.2 ป่าพรุตรีป้า

ป่าพรุตรีป้า อยู่ในเขตอำเภอนากันรายา (Nagan Raya) และอำเภออาเจะห์บารัตดายา (Aceh Barat Daya) มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 61,803 เฮกต้าร์ ตั้งอยู่ทางปลายแหลมตะวันตกของเกาะสุมาตรา 60% ของป่าพรุตั้งอยู่ในตำบลดารุลมัคมูร์ (Darul Makmur) อำเภอนากันรายา มีประชากรประมาณ 46,954 คน ในตำบลบาบะห์รอท (Babahrot) อำเภออาเจะห์บารัตดายา มีประชากรประมาณ 16,371 คน[7]

ป่าพรุแห่งนี้ ตั้งอยู่ใน เขตนิเวศวิทยาเลอูเซอร์ (Leuser Ecosystem) ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ยุทศาสตร์แห่งชาติเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และในแผนเชิงพื้นที่ของจังหวัดอาเจะห์ ตามกฎหมาย No. 9/1995 ระบุให้ความลึกของป่าพรุตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไปเป็นพื้นที่คุ้มครอง

ป่าพรุตรีป้าเป็นพื้นที่ที่รุ่มรวยและหลากหลายไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งพืชและสัตว์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากป่า ที่คนพื้นเมืองในชุมชนนำมาสร้างรายได้ ป่าพรุเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ที่ดีที่สุด และทั้งพืชและสัตว์มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

“เฉพาะในพื้นที่ป่าพรุตรีป้า มีสัตว์น้ำอย่างต่ำ 40 สายพันธุ์ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่นปลาดุก ปลาช่อน ปลาไหล หอย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้สำหรับก่อสร้างและเชื้อเพลิง รวมถึงความหลากหลายของสัตว์ป่า อุรังอุตัง งูเหลือม เสือสุมาตรา จระเข้ นกขนาดใหญ่ ผึ้งป่า นอกจากนี้ป่าพรุตรีป้ามีความสำคัญมากทางระบบนิเวศน์ มีหน้าที่ในการป้องกันคลื่นยักษ์สึนามิ มีหน้าที่ในการรีไซเคิลน้ำ และป้องกันน้ำท่วม เป็นแหล่งตรึงและสะสมก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ”[8]

นอกจากนี้ ป่าพรุตรีป้าถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการอนุรักษ์อุรังอุตัง โดย Great Apes Survival Partnership (GRASP) ร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (United Nations for Environment Programme (UNEP)) และ Unessco ระบุว่า ถ้าป่าพรุตรีป้าเติบโตตามปกติ พื้นที่นี้ก็จะเป็นที่อยู่ของประชากรอุรังอุตังประมาณ 1,000 ตัว ซึ่งเป็นประชากรที่มากที่สุดของโลก

ชุมชนรอบป่าพรุตรีป้าแห่งนี้เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองเป็นอาณาจักรมาก่อนในสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐาน เช่น ร่องรอยเนินดินแห้งในบริเวณป่าพรุตรีป้าประมาณ 1 เฮกต้าร์ อันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน ทั้งยังมีหลักฐานชิ้นสำคัญในบริเวณที่คาดว่าเป็นสุสาน นั่นคือ ชื่อที่เขียนไว้บนก้อนหินว่า H.Nyak Dom ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ซึ่งคนในชุมชนเรียกบริเวณนี้ว่า Ujung Raja

การตั้งชุมชนอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันด้วยความสงบสุขได้นั้นก็ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรอันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำป่าพรุแห่งนี้ เกิดวิธีการทำมาหากินที่เป็นแบบแผนเฉพาะถิ่นอย่างหลากหลายหมุนเวียนกันไปตามแต่ละฤดูกาล และสามารถดำรงชีพไปได้อย่างยั่งยืนถ้าไม่มีภัยคุกคามจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมขนานใหญ่และรุนแรงถึงขนาดถูกแย่งชิงที่ดินไปจากมือเจ้าของที่บุกเบิกสร้างทำมันมาดังที่พวกเขากำลังเผชิญ

 

4.ธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันยักษ์ใหญ่กับการรุกพื้นที่ป่าอาเจะห์

                4.1 ธุรกิจปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังทวีความสำคัญขึ้นอย่างสำคัญ เพราะน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆมากมาย ทั้ง เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นพลังงานทดแทน ดังจะเห็นเป็นตัวอย่างในประเทศไทย มีสัดส่วนของการใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชถึง 42 % ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ 17 % เป็นส่วนผสมไบโอดีเซล 28% อุตสาหกรรมสบู่ 7 % และอื่นๆอีก 6%[9]

                ในภูมิภาคอาเซียนเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของโลก อันดับแรกคืออินโดนีเซียมีสัดส่วนผลผลิตน้ำมันดิบ (ปี 2555) ถึง 51.7 % รองลงมาคือมาเลเซีย 35.4 %ประเทศไทยอยู่อันดับที่สาม 3.3% ประเทศโคลัมเบีย 1.7% ไนจีเรีย 1.6 %และอื่นๆอีก 6.4% [10]  ตัวเลขนี้มิได้บอกว่าเจ้าของผู้ลงทุนเป็นคนชาติไหน แต่บอกพื้นที่การผลิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศอินโดนีเซียนั้นมีศักยภาพสูงสุดในการปลูกปาล์มน้ำมัน ข้อได้เปรียบของ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ก็คือ มีที่ดินแปลงใหญ่สามารถประกอบการแบบแปลงใหญ่ สามารถจัดการและลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าประเทศไทยที่ส่วนมาเป็นเกษตรกรรายย่อย

                กล่าวได้ว่าในวงการธุรกิจปาล์มน้ำมันนั้น ถนนทุกสายกำลังมุ่งไปที่อินโดนีเซีย และที่จังหวัดอาเจะห์ก็เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของนักลงทุน ทุนจากนักลงทุนต่างประเทศเข้าทำแปลงปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย ๗ อันดับแรก มีดังนี้

1) ประเทศมาเลเซีย บริษัทที่ได้รับสัมปทานที่ปลูกปาล์มน้ำมันเยอะที่สุดคือ บริษัท Gutrhrie Berhad ดำเนินการอยู่ในหลายพื้นที่ของเกาะสุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และจังหวัดอาเจะห์ เนื้อที่ทั้งหมด 220,204 เฮกต้าร์ บริษัท Kulim Berhad ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ เกาะสุมาตราและกาลิมันตัน เนื้อที่ทั้งหมด 92,263 เฮกต้าร์ บริษัท Golden Hope Berhad ดำเนินการอยู่ที่กาลิมันตัน เนื้อที่ทั้งหมด 96,000 เฮกต้าร์ และบริษัท Kuala Lampur Kepong Berhad ดำเนินการอยูที่เกาะเรียวและกาลิมันตัน เนื้อที่ 91,170 เฮกต้าร์ 2) ประเทศสิงคโปร์ บริษัท Wimar Holding ดำเนินการอยู่ที่เกาะสุมาตราและกาลิมันตัน เนื้อที่ทั้งหมด 198,282 เฮกต้าร์ 3)ประเทศอังกฤษ บริษัท Rea Holding Company ดำเนินการอยู่ที่กาลิมันตัน เนื้อที่ทั้งหมด 66,136 เฮกต้าร์ บริษัท MP Evans Group ดำเนินการอยู่ที่จังหวัดสุมาตราเหนือและจังหวัดอาเจะห์ เนื้อที่ 47,290 เฮกต้าร์ บริษัท Anglo Easter ดำเนินการอยู่ที่เกาะสุมาตรา เนื้อที่ทั้งหมด 37,502 เฮกต้าร์  4) ประเทศเบลเยียม บริษัท SA Slpef NV ดำเนินการอยู่ในจังหวัดอาเจะห์และสุมาตรา เนื้อที่ทั้งหมด 65,993 เฮกต้าร์  5) ประเทศลักซ์เซมเบิร์ก บริษัท Socfianisa Luxemburg SA ดำเนินการอยู่ในพื้นที่สุมาตราเหนือ เนื้อที่ 44,992 เฮกต้าร์  6) ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท Hindoli-Cargill Inc ดำเนินการอยู่ที่เกาะสุมาตรา เนื้อที่ทั้งหมด 10,000 เฮกต้าร์ 7) ประเทศศรีลังกา บริษัท Carson Cumberbatch & Co.Ltd ดำเนินการอยู่ที่กาลิมันตัน เนื้อที่ทั้งหมด 27,500 เฮกต้าร์ [11]

ในจังหวัดอาเจะห์จังหวัดเดียวมีบริษัทปลูกสร้างสวนปาล์มถึง 51 บริษัท ทั้งบริษัทจากในและต่างประเทศ ซึ่งมีหลายบริษัทได้รับสัมปทานที่มากกว่า 1 แปลง อย่างบริษัทเปอร์เคอบูนาน นูซันตารา 1(Perkebunan Nusantara 1) ได้รับสัมปทานที่ดินถึง 13 แปลง[12]

เฉพาะที่อำเภออาเจะห์ซิงกิล (Aceh Singkil) มีบริษัทปลูกสร้างสวนปาล์มถึง 7 บริษัท ดังนี้ 1)บริษัท Socfindo ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Gunung Meriah 4,414.18 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้ว 4,210 เฮกต้าร์ 2)บริษัท Lemban Bakit ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Singkil Utara 6,570 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้ว 5,923 เฮกต้าร์ 3)บริษัท Delima Makmur ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Danau Paris 12,173.47 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้ว 8,969 เฮกต้าร์ 4)บริษัท Ubertraco ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Kota Baharu 13,924.68 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้ว 5,869 เฮกต้าร์  5)บริษัท Lestari Tunggal Pratama ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Danau Paris 1,861 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้ว 1,200 เฮกต้าร์ 6)บริษัท Telaga Zam-zam ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Gunung Meriah 100.05 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้วทั้งหมด  7)บริษัท Jaya Bahni Utama ได้รับสัมปทานที่ดินในตำบล Danau Paris 1,800 เฮกต้าร์ ซึ่งปลูกปาล์มไปแล้วทั้งหมด[13]

การเข้ามาของนักลงทุนธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันนั้น เกิดขึ้นขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียเองก็มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจนี้อยู่แล้ว โดยอำนวยความสะดวกแด่นักลงทุน และมีนโยบายในการเปิดป่าธรรมชาติเพื่อการนี้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะบนเกาะสุมาตรา ในขณะที่กฎหมายป่าไม้ของอินโดนีเซียยังมีความหละหลวมมากมายเช่น แผนที่ป่าไม้ในอินโดนีเซียก็ไม่เคยมีการทำร่วมให้เป็นแผนที่อันเดียวกัน ปัจจุบันแผนที่ป่าไม้จึงมี 4 เวอร์ชั่น ซึ่งแตกต่างกันมาก

การแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ในแต่ละพื้นที่ยังดำเนินไปอย่างไร้การควบคุมดูแล เป็นไปได้ว่ามีการขโมยแปรรูปไม้โดยคนกลางในหน่วยงานปกครองจากส่วนกลางที่อยู่เบื้องหลังในการออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นวิธีการแลกเปลี่ยนพื้นที่ป่าที่ง่ายและสะดวกในที่สาธารณะ เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบบัญชีป่าไม้อย่างครบถ้วน รวมทั้งเรื่องการจ่ายค่าใบอนุญาตการแปรรูปไม้ก็ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ในขณะที่ระเบียบกฎหมายและการบังคับใช้ยังเป็นที่สับสนอยู่ แต่ปรากฏว่า สำนักงานที่ดินแห่งชาติ จังหวัดอาเจะห์ ยังดำเนินการให้สัมปทานที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงของพื้นที่ป่า และปรากฏว่ามีใบอนุญาตสัมปทานที่ดินมากมายถูกทิ้งจากบริษัท หลังจากการแปรรูปไม้และเปิดพื้นป่าเรียบร้อยแล้ว  

ภารกิจต่างๆ เกี่ยวกับการป่าไม้แทนที่จะอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน กลับกระจัดกระจายและทำงานไม่ต่อเนื่องกัน ทั้งด้านการจัดทำแผนที่ การอนุมัติสัญญาเช่า การแลกเปลี่ยนที่ดิน แล้วเรื่องราวเหล่านี้ก็ไม่เคยถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ยังพบอีกว่าระบบข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ไม่ได้ตั้งให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ดังนั้นจึงปรากฏมีการตีพิมพ์เอกสารปลอมโดยสำนักงานที่ดินแห่งชาติ ในเรื่องราคาของการทำประโยชน์ในที่ดินและค่าปรับจากการทำลายป่าก็ไม่มีความชัดเจน และไม่เคยเป็นที่รับรู้ของสาธารณะ เหล่านี้เป็นช่องว่างมโหฬาร และจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาการบุกรุกทำลายป่าได้อย่างทันการณ์

ในพื้นที่ เมื่อบริษัทได้รับสัมปทานแล้ว ก็ทำการเกรด ถาง เผา ป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน อย่างไม่ได้คำนึงการทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินเดิมของชุมชน หรือการกระทำที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย โดยระบบกฎหมายของรัฐก็ไม่สามารถดูแลคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้เท่าที่ควรจะเป็น

4.2 ความขัดแย้งจากทุนในประเทศ: กรณีศึกษาป่าพรุตรีป้า

การให้สัมปทานที่ดินในป่าพรุตรีป้า กับบริษัทปาล์มน้ำมัน เริ่มมาตั้งแต่ปี 1980 ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลอาเจะห์ให้สัมปทานกับบริษัทคาลิสตาอาลัม (Kalista Alam) เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินในปริมาณที่มากเกินกว่าป่าพรุแห่งนี้จะรับไหว ในปี 2010 รัฐบาลอาเจะห์ให้สัมปทานที่ดินกับบริษัทประมาณ 1,605 เฮกตาร์ การได้รับสัมปทานที่ดินของบริษัทนี้คงจะไม่มีปัญหา ถ้าหากที่ดินนั้นไม่อยู่ในเขตป่าคุ้มครอง ที่กำหนดให้การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าพรุได้เฉพาะที่มีความลึก 0.5–1.5 เมตรเท่านั้น[14]

ป่าพรุตรีป้าได้ประสบความเสียหายจากการเปิดและเคลียร์พื้นที่จากบริษัทปาล์มน้ำมันและการบุกรุกของคนท้องถิ่นเอง จากการประเมินล่าสุดป่าไม้ในพื้นที่ป่าพรุตรีป้าเหลือน้อยกว่า 50% ของทั้งหมดจากประมาณ 61,803 เฮกต้าร์ และพื้นที่ 36,185 เฮกต้าร์ กลายมาเป็นพื้นที่สัมปทาน โดย 4 บริษัทน้ำมันปาล์มยักษ์ใหญ่ คือ บริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ (Surya Panen Subur หรือ SPS)  เนื้อที่สัมปทาน 13,177 เฮกต้าร์ บริษัทคาลิสตาอาลัม (Kalista Alam) เนื้อที่สัมปทาน 6,888 เฮกต้าร์ บริษัทเกอโลราซาวิตามัคมูร์ (Gelora Sawita Makmur) เนื้อที่สัมปทาน 8,604 เฮกต้าร์ และบริษัทเจอเมอร์ลังอาบาดี (Cemerlang Abadi) เนื้อที่สัมปทาน 7,516 เฮกต้าร์ ซึ่งจากการให้สัมปทานทั้งหมด พื้นที่ถูกเปิดเรียบร้อยแล้ว 20,200 เฮกต้าร์ แต่ยังอยู่ในการเริ่มระยะแรกและระยะที่สอง[15]

ที่ดินในป่าพรุตรีป้าที่บริษัทคาลิสตาอาลัมได้รับสัมปทาน มีความลึกถึง 3 เมตร รวมไปถึงกรณีเผาป่าแบบผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว

บริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 (Surya Panen Subur II) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้สัมปทานที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันในป่าพรุตรีป้า กินอาณาบริเวณหลายหมู่บ้าน

4.3 ความขัดแย้งจากทุนข้ามชาติ: กรณีศึกษาอำเภออาเจะห์ซิงกิล (Aceh Singkil)

ในปี 1986 บริษัทบริษัทอูเบอร์ตราโช (Ubertraco) ซึ่งมี Tengku Muslim ชาวบ้านจาก ตำบลทรูมอน อำเภออาเจะห์เซอลาตัน (Aceh Selatan) เป็นเจ้าของ เริ่มปลูกพืชเศรษฐกิจปาล์มน้ำมันโดยเริ่มจากตำบลซิมปังคีรี (Simpang Kiri) ต่อมาในปี 1988 บริษัทได้รับหนังสือรับรองการสัมปทานที่ดิน No.1/1988 เนื้อที่ 10,917 เฮกต้าร์ ในตำบลโกตาบาหะรู (Kota Baharu) ,กูนุงเมอเรียะห์ (Gunung Meriah), ซิงกิลอุตารา (Singkil Utara) และ ซิงกิล (Singkil) อำเภออาเจะห์ซิงกิล หลังจากนั้น 6 ปี ประมาณปลายปี 1994 ก็ได้รับหนังสือรับรองการสัมปทานที่ดินเป็นฉบับที่ 2 No.2/1994 เนื้อที่ 3,000 เฮกต้าร์ ห่างประมาณ10 กิโลเมตรจาก ตำบลโกตาบาหะรูและซิงโคโฮร์ (Singkohor) อำเภออาเจะห์ซิงกิล ต่อมาในปี1998 บริษัทได้สับเปลี่ยนธุรกิจให้กับ Haji Muhammad Sobri นักธุรกิจจากประเทศมาเลเซีย เพราะในขณะที่ถือใบอนุญาตสัมปทานอยู่นั้น บริษัทอูเบอร์ตราโชไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ทั้งเรื่องของการจัดการและการเพาะปลูก ส่งผลให้ที่ดินถูกทิ้งร้างไปเป็นปี

                4.4 ผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขภาพ

ก่อนที่บริษัทปาล์มทั้ง 2 แห่ง จะเข้ามาในป่าพรุตรีป้านั้น บริเวณนี้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน ชาวบ้านหาทุกอย่างจากป่าพรุ เรียกได้ว่าเป็นที่ที่ฝากชีวิต เมื่อบริษัทเข้ามาทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ปลาเหลือน้อย พืชจำพวกหวายก็ไม่เหลือ เมื่อก่อนชุมชนใช้การสัญจรทางน้ำ ชาวบ้านใช้เรือในการไปไหนมาไหน การเดินทางสะดวก นอกจากนี้ในแม่น้ำยังมีอาหารจำพวกหอยน้ำจืด แต่หลังจากนั้นมา ต้นไม้ก็ถูกโค่น น้ำเน่าเสีย พวกสัตว์น้ำและหอยพากันตาย การหาอาหารเป็นเรื่องที่ยากมากๆในวันนี้[16]

Abdul Majid เล่าถึงผลกระทบต่อชุมชนว่า ตั้งแต่บริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์เข้ามาสร้างสวนปาล์ม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ฝุ่นควันที่ปนเปื้อนในอากาศทำให้เราหายใจลำบาก เป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ และโรคที่เกิดกับตา ตอนที่นี้ที่หมู่บ้าน มีคนป่วยเกี่ยวกับตาแล้ว 3 คน

เกิดการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ถ้าฝนตกทั้งวันก็จะทำให้น้ำท่วม และถ้าฝนไม่ตกประมาณ 2 สัปดาห์ ก็เกิดภาวะแห้งแล้ง ฤดูฝนเคยอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม แต่ตอนนี้ฤดูกาลไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ เมื่อก่อนที่นี่ ช่วงหน้าฝน ฝนจะตกพอดี อุณหภูมิพอดี และที่นี่ก็เคยเป็นที่เพาะปลูกข้าวที่ขึ้นชื่อ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เหลือแต่ความทรงจำ

ปัญหาที่ทำให้คนในชุมชนหนักใจกว่าเรื่องอื่นๆ คือ น้ำเน่าเสีย มีพวกขยะและสารพิษในแหล่งน้ำ ถึงแม้จะไม่มีการทิ้งลงแหล่งน้ำโดยตรง แต่เวลาฝนตกน้ำก็จะไหลพัดพาสารพิษจากยาฆ่าหญ้า ปุ๋ย ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ไหลออกสู่ทะเล[17]

 ป่าพรุตรีป้ามีความสำคัญมากทางระบบนิเวศน์ มีหน้าที่ในการป้องกันคลื่นยักษ์สึนามิ การรีไซเคิลน้ำ และป้องกันน้ำท่วม และยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ กระบวนการเปิดป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทำให้สูญเสียระบบนิเวศ และเกิดภัยพิบัติมากขึ้นต่อชุมชน เช่น สึนามิ น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง ความขาดแคลนน้ำจืด และแหล่งอาหาร  การเสียสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้ในฤดูฝนเกิดน้ำไหลบ่าท่วมจนกลายเป็นอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่หมู่บ้านรอบๆ ป่าพรุ

การปลูกพืชเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน ต้องแปรสภาพของป่าเพื่อให้พร้อมสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมของป่า ทั้งที่มาจากการระบายน้ำออก จากการเผา กิจกรรมเหล่านี้นำไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่ป่าพรุเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นดี

 การทรุดตัวลงของดิน ภายใน 20 ปีข้างหน้า ป่าพรุตรีป้าจะเกิดการทรุดตัวลง 1 เมตรหรือมากกว่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่า พื้นที่บางส่วนของอำเภอนากันรายา โดยเฉพาะที่ตำบลดารุลมัคมูร์ (Darul Makmur) และตำบลบาบะห์รอท (Babahrot) จะเกิดน้ำท่วมถี่ๆและง่ายขึ้น เพราะว่าพื้นดินทรุดตัวต่ำลงกว่าระดับน้ำทะเล

                4.5 ผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ

ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคนในชุมชนและไม่สามารถดำรงชีพได้ด้วยวิธีเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการชดเชยที่ดิน ซึ่งบริษัทได้รับใบอนุญาตสัมปทานที่ดินแล้ว แต่ชาวบ้านไม่สามารถรับเงินชดเชยได้ เพราะที่ดินบางแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์

ชาวบ้านเปรียบเทียบความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก่อนและหลังการเข้ามาของบริษัทปาล์มน้ำมันว่า เมื่อก่อนความเป็นอยู่ในหมู่บ้านค่อนข้างสงบ แม้ว่าจะมิได้ร่ำรวยเงินทอง ตอนนี้ชาวบ้านบางส่วนไปทำงานในสวนปาล์มของบริษัท ทำให้พวกเขาไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านเหมือนเมื่อก่อน เวลามีงานแต่งหรืองานอื่นๆ ทำให้ความสัมพันธ์และการสื่อสารของคนในหมู่บ้านห่างเหินกันมากขึ้น[18]

เรื่องการจ้างแรงงานชาวบ้านนั้น จากพื้นที่ 5 หมู่บ้าน มีชาวบ้านมาทำงานประมาณ 60 คน ซึ่งบริษัทจะเลือกจ้างแต่แรงงานหนุ่มสาว และจ้างเป็นรายวัน ซึ่งเป็นคนงานปกติทั่วไป ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัท ส่วนผู้หญิงก็สามารถทำงานในสวนปาล์มได้ ใส่ปุ๋ยให้ต้นปาล์ม ฉีดยาฆ่าหญ้า ซึ่งงานของผู้หญิงก็ประมาณนี้ แตกต่างจากงานของผู้ชายที่ต้องใช้กำลังมากกว่า ทั้งนี้ มีแรงงานรายวันชั่วคราวขึ้นอยู่กับการจ้างงานของบริษัท ประมาณ 100 คน ทำงานประเภท ตัดปาล์ม ทำงานในสวนปาล์ม ตัดหญ้า ใส่ปุ๋ย พวกเขาก็จะไปทำงานทุกวัน เพราะถ้าพวกเขาไม่ทำงาน พวกเขาก็ไม่ได้เงิน ส่วนพวกคนงานประจำ มีเงินเดือนและจะได้หยุดงานเฉพาะวันหยุดราชการ

สมัยก่อนที่หมู่บ้านมีที่ดินชุมชนตามกฎจารีตประเพณี โดยมีการจัดการร่วมกันของคนในชุมชน และก่อนที่อาเจะห์จะเกิดความขัดแย้ง ที่ดินก็ยังบริหารจัดการโดยชุมชน ในช่วงเวลานั้นแต่ละครอบครัวสามารถครอบครองที่ดินได้ไม่เกินครอบครัวละ 2 เฮกต้าร์ พอเข้าสู่ช่วงที่มีความขัดแย้งในอาเจะห์ ที่ดินก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง เมื่ออาเจะห์ได้รับสันติภาพที่ดินก็ถูกขาย แต่ว่าไม่ได้เงิน และต่อมาบริษทได้รับสัมปทานที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันก็เข้าถือสิทธิ์ในที่ดินแทน โดยทางบริษัทซื้อที่ดินผ่านนายหน้า ซึ่งนายหน้าก็เป็นคนในพื้นที่นั่นเอง

                “ในปี 1980 บริษัทขอซื้อที่ดินในราคา 800,000 รูเปียต่อเฮกต้าร์ แต่พวกเราหลายคนก็ไม่ยอมขาย พวกนายหน้าพยายามขอซื้อหลายครั้ง แต่เราก็ยืนยันเช่นเดิม ว่าไม่ขาย ในสวนของผมเองปลูกต้นโกโก้ เวลาเพียงสัปดาห์เดียวที่ไม่ได้เข้าสวน ปรากฏว่าต้นโกโก้หายหมด ถูกตัดล้มกองอยู่กับพื้น และมีต้นปาล์มปลูกแทน”[19]

                 “ในหมู่บ้านของผมมีที่ดินสำหรับชุมชนใช้ปลูกข้าวร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมประเพณีห้ามขายที่ดิน ที่ดินชุมชนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 100 เฮกต้าร์ ตอนที่อาเจะห์มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่ดินก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง หลังจากที่อาเจะห์ได้รับสันติภาพ แล้วพวกเราก็กลับมาปลูกข้าวอีกครั้ง สองสามเดือนหลังจากนั้นที่ดินก็ถูกขาย โดยมีเอกสารที่มีลายเซ็นของชาวนาและค่าชดเชย”[20]

Ansari เล่าว่า ในปี 1980 พวกเราได้รับที่ดินชุมชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นที่สำหรับชาวบ้านประมาณ 2,000 เฮกต้าร์ พวกเราปลูกฝ้าย มะพร้าว โกโก้ และพืชอื่นๆ ตอนที่ความขัดแย้งในอาเจะห์ปะทุขึ้น และประชาชนถูกบังคับให้ออกจากหมู่บ้านและที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้าง และต้นไม้เติบโตกลายเป็นป่า ต่อมาในปี 2008 หลังจากอาเจะห์ได้รับสันติภาพแล้ว ชาวบ้านก็พากันกลับมาที่เดิม แต่ปรากฏว่าที่ดินถูกเกรดไถเรียบร้อย และพร้อมที่จะปลูกปาล์มโดยบริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 ซึ่งในขณะนั้นทำภายใต้ชื่อบริษัทอามารา (Amara)

กรณีบริษัทซูร์ยาพาเนินซูบูร์ 2 (Surya Panen Subur II) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้สัมปทานที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันในป่าพรุตรีป้า ทีทำการบนที่ดินกินอาณาบริเวณหลายหมู่บ้าน บางหมู่บ้านสามารถตกลงค่าเวนคืนที่ดินได้ก็ไม่มีความขัดแย้งกับชุมชน แต่ที่หมู่บ้านซูคาดาไม (Suka Damai), หมู่บ้านพานตอนบายู (Panton Bayu) และหมู่บ้านคาเยออูโน (Kaye Uno) ชุมชนไม่ยอมรับเงินเวนคืน แต่พวกเขาก็สูญเสียที่ดินของชุมชนให้บริษัท เมื่อร้องเรียนไปยังรัฐบาลอาเจะห์ ก็ได้คำตอบว่าขอให้รออย่างเดียว และอย่าพยายามทำอะไรที่ก่อให้เกิดความรุนแรง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ถึงแม้บางหมู่บ้าน ชาวบ้านกลับเข้ามาใช้สิทธิในที่ดินของชุมชน แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ทุกเดือน ประธานกลุ่มชาวนาจะถูกตำรวจเรียก เพราะถูกกล่าวหาว่า ทำความเสียหายให้กับสวนปาล์มที่อยู่รอบๆ ทุ่งนา[21]

ส่วนกรณีความขัดแย้งของบริษัทอูเบอร์ตราโช (Ubertraco) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทนาฟาซินโด (Nafasindo) กับชาวบ้านที่อำเภออาเจะห์ซิงกิล เป็นกรณีที่รุนแรงและอื้อฉาวที่สุด ปัญหาคือเรื่องเอกสารสิทธิ์ของบริษัททับซ้อนกันกับชุมชน ความไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดนของที่ดินสัมปทาน ที่ดินร้าง ที่ดินสัมปทานรวมอยู่กับที่ดินชุมชน แม้กระทั่งหน่วยงานของรัฐ ค่ายทหาร สถานกักกัน ถนน ชุมชน และอื่นๆอีก ก็ตั้งอยู่ในที่ดินที่บริษัทได้รับสัมปทาน

เมื่อมีการเดินขบวนประท้วง ในปี 2006 ต่อมามีการรังวัดพิสูจน์สิทธิ์กัน การรังวัดใหม่ครั้งนี้ยึดตามแผนที่ของสำนักงานที่ดินแห่งชาติ จังหวัดอาเจะห์ ผลออกมามีที่ดินของชุมชน 1,997.5 เฮกต้าร์ ซึ่งถูกบริษัทเข้าทำประโยชน์ และยังมีที่ดินที่บริษัทนาฟาซินโด ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก 1,158.24 เฮกต้าร์ ซึ่งต่อมาผู้ว่าอาเจะห์ได้สั่งการไปยังอำเภออาเจะห์ซิงกิลว่า ให้คืนที่ที่บริษัทนาฟาซินโดเข้าทำประโยชน์ล้ำเขตสัมปทาน และที่ที่บริษัทครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้กับชุมชน พร้อมทั้งดูแลอำนวยความสะดวกให้กับชุมชน และเปลี่ยนหลักแดนจากเดิมที่ทำด้วยมาไม้มาเป็นหลักแดนแบบถาวร และบริษัทต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดยกเว้นเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน แต่บริษัทได้ยื่นฟ้องไปยังศาลปกครองอาเจะห์ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2011 และขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการขออุทธรณ์ที่ศาลปกครองเมดาน ส่งผลให้ในวันรุ่งขึ้นนักเรียนและชาวบ้านได้เดินขบวนประท้วงจนเกิดเหตุการณ์จลาจลถึงขั้นเผาที่ว่าการอำเภอ และส่งผลให้มีการจับกุมแกนนำและชาวบ้านดำเนินคดี และแกนนำสองคนติดคุก

นอกจากนี้ วาลฮีอาเจะห์ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินงานในจังหวัดอาเจะห์และพื้นที่อื่นๆทั่วอินโดนีเซีย ได้บันทึกความขัดแย้งที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม คดีที่เกี่ยวแก่การกระทำที่เกิดขึ้นที่ป่าพรุตรีป้า จำนวน 8 คดี มีทั้งคดีที่บริษัทฟ้องผู้ว่าอาเจะห์ข้อหายกเลิกใบอนุญาตมิชอบ กระทรวงสิ่งแวดล้อมฟ้องบริษัทข้อหาเผาป่าผิดกฎหมาย ชาวบ้านฟ้องผู้ว่าอาเจะห์ข้อหาฝ่าฝืนกฎตามแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ เครือข่ายปกป้องป่าพรุตรีป้าฟ้องหัวหน้าสำนักงานออกใบอนุญาต ข้อหาปลอมแปลงข้อมูล ให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับป่าไม้ในป่าพรุตรีป้า การดำเนินคดีความทางศาลนั้นเป็นกระบวนการที่มีความยืดเยื้อ เต็มไปด้วยกลเม็ดทางเทคนิคกฎหมาย ซึ่งระหว่างเวลาดังกล่าว กระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ของบริษัท การทำลายสิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิชุมชน ไม่ได้ถูกชะงักไปแต่อย่างใด

Society for Community-Based Law Reform and Ecological ได้ทำการบันทึกเรื่องความขัดแย้งที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติและเกษตรกรรมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า มีถึง 232 เหตุการณ์ สำหรับในอาเจะห์นั้นมี 10 กรณี มีความขัดแย้งบนเนื้อที่ทั้งหมด 28,522 เฮกต้าร์[22]

ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการที่จะคำนวณยอดความเสียหายที่เกิดจากการทำลายป่าและความเสียหายของที่ดินในอาเจะห์ในแต่ละปี แต่จากการประมาณการของความเสียหายจากฐานทั่วๆไป เช่น บนฐานประเมินการใช้ที่ดินและป่าไม้ หรือการทำลายป่าไม้ที่ไม่ใช่การแปรรูปไม้หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ประเมินจากการฟื้นฟูทำให้ป่าคืนสู่สภาพปกติ ประเมินความเสียหายจากโครงสร้างพื้นฐาน และความสูญเสียของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในแต่ละปีก็มีมูลค่ามหาศาล และผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นต่อความขัดแย้งแตกแยก การล่มสลายทางวัฒนธรรม เป็นความสูญเสียที่มิอาจประเมินมูลค่าได้เลย

 

5.บทสรุป

                การรุกเข้ามาของธุรกิจปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน โดยใช้พื้นที่ป่าที่อาเจะห์ มีความเหมาะเจาะทั้งปัจจัยภายในที่อินโดนีเซียมีนโยบายที่จะไปสู่ความเป็นเจ้าในการผลิตน้ำมันปาล์ม มีมาตรการ นโยบายที่ชัดแจ้งในการเปิดรับสนับสนุนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้มาลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดที่อยู่ภายใต้การครอบครองตามกฎหมายของรัฐ ปัจจัยอีกด้านหนึ่งคือความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มมากขึ้นทั้งด้านการบริโภคและเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม รวมทั้งความเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต

                จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นที่ป่าดงดิบ ป่าพรุ อันเป็นป่าฝนเขตร้อนที่สมบูรณ์และกว้างขวางอันดับต้นๆของโลกแห่งนี้ จะถูกบุกเบิก ถางถาง เผา ลงในเวลาอันรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นั่นเป็นการคุกคามโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน ที่ทำหน้าที่ด้านการรักษาสมดุลของภูมิอากาศ ความเป็นแหล่งต้นน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ การป้องกันน้ำท่วม ป้องกันภัยธรรมชาติ หลังจากการดำเนินการของธุรกิจสวนปาล์ม ชาวชุมชนท้องถิ่นแห่งอาเจะห์ก็ได้ประสบกับปัญหาผลกระทบเหล่านี้อย่างครบถ้วน พร้อมกับการเผชิญหน้ากับมลพิษที่มาพร้อมกระบวนการผลิต เช่น สารเคมีและฝุ่นควัน โดยที่ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ รัฐที่มีระบบกฎหมายป่าไม้ที่อ่อนแอไม่สามารถควบคุมดูแล พิทักษ์สิทธิ์ของพลเมืองของตนหรือปกป้องการทำลายระบบนิเวศท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                พบว่า กระบวนการรับมือของชุมชนที่เดือดร้อน ก็ยังอ่อนด้อยประสบการณ์ที่จะต่อสู้ต่อรองกับรัฐและทุนได้ แต่ก็มีบทเรียนมากขึ้นเรื่อยๆจากการเริ่มลงมือแก้ปัญหาจริง ทั้งการร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ การติดตามผลักดัน การรณรงค์ในพื้นที่ ตลอดจนการดำเนินคดีทางศาล ซึ่งยังมีองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานด้านสาธารณะประโยชน์คอยสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

                ข้อเสนอต่อการพัฒนาในระยะยาว คือ ชุมชนและภาคประชาสังคมควรต้องนำบทเรียนที่เกิดขึ้นผลักดันให้เกิดกฎระเบียบและนโยบายสาธารณะที่สร้างความยั่งยืนกับการใช้ทรัพยากร สร้างดุลยภาพใหม่ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือการดูแลสวัสดิภาพและจัดสวัสดิการแก่ชุมชนท้องถิ่นที่ถูกละเมิดสิทธิ์ให้เกิดความเป็นธรรมสมฐานะของผู้ที่อยู่มาก่อนและจะต้องอยู่ที่นี่ต่อไป

 

References

Interviews

1.      Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, May 1st, 2013

2.      Rusliadi, officer of Non-Governmental Organizations named Community and Indigenous People Network (Jaringan Komunitas Masharakat Adat), July 1st, 2013

3.      Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, June 3rd, 2013

4.      Nurdin, group leader of Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District,  December 11st , 2012

5.      Abdul Majid, group leader of Sanaan Barat Sub-District, Nagan Raya District, December 11st , 2012

6.       Chanathip Sooksai, expert at ASEAN Energy Center, September 2nd, 2010

7.      Khairul Mahalli, Indonesian businessman, September 2nd, 2010

8.       Irsadi  Aristora, Irsadi Aristora, Deputy Manager of Transparency International (TI),August 12nd, 2012

9.      Suratman, villager from Suka Damai Village, Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District, May 30th, 2013

10.   Idin villager, from Panton Bay Village, Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

11.   Ansari, villager from Kaye Uno Village , Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

12.  Muhammad Nizar Abdurrani, deputy director of WALHI Aceh, December 1st, 2012

13.  Firman Hidayat, An environmental reporter from The Globe Journal, December 1st, 2012

14.  Syafruddin SH, A lawyer of WALHI Aceh, December 12nd, 2012

15.  Dr.M.Nasir, A lecturer at faculty Economic Environment, Syiah kuala University in Aceh Province, May 2nd, 2012

 

Books, Journals

 

1.      Banda Pusat Statistik (BPS)–Statistik.2005. Population of Nanggroe Aceh Darussalam .

2.      Bhuwadon Songprasert. 2004. Indonesia: Past and Present.

3.      Derek Hall, Philip Hirsch, and Tania Murray Li. 2011. Powers of Exclusion: Land Dilemmas in Southeast Asia.

4.      Gellert K. Paul. 1998. A Brief History and Analysis of Indonesia’s Forest Fire Crisis. Indonesia. 65: 63–85.

5.      Hasil Sensus Penduduk. 2010. Data Agregat Per Kecamatan Aceh Barat Daya, Banda Pusat Statistik Kabupatan Aceh Barat Daya.

6.      Khor Khon Magazine, Vol. 7, No. 10 (82), September 2012, p. 11.

7.      McCarthy, John F. 2010. Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850.

8.      President decree No.32/1990 on Environmental Management, article 9

9.      Suphapan Tangtronpairote. 2007. The State and Muslim Society in Indonesia.

10.  WALHI Aceh. Statistik Deforestasi Hutan Aceh 2006–2009

 

News and Website

 

1.      Sophon Pornchokchai, Thansetthakit, 27–29 May 2010, p. 37.

2.      Matichon Daily, Monday 13 August 2012, Vol. 35, No. 12574, page 16.

3.      Matichon Daily, Wednesday 15 August 2012, Vol. 35, No. 12576, page 15.

4.      http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=902)

5.      http://sains.kompas.com/read/2012/06/04/08465072/Rawa.Tripa.di.Ambang.Kemusnahan.Bagian.1

6.      http://acehterkini.com/huma-catat-10-kasus-konflik-sda-terjadi-di-aceh/

7.              http://eksposnews.com/view/6/46079/Tak-Punya-Surat-Kuasa-Sidang-Kasus-Rawa-Tripa-Ditunda-Lagi.html#.UOUvX-TG_ko

8.              http://nasional.kompas.com/read/2012/05/18/03150893/Kasus.Rawa.Tripa.Jalan

9.      http://atjehpost.com/read/2013/01/30/37659/40/5/Kalista-Alam-Dituntut-Ganti-Rugi-Rp300-Miliar

10.  http://atjehpost.com/read/2013/01/30/37633/5/5/Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Berharap-Ada-Solusi-dalam-Mediasi-Soal-Rawa-Tripa

11.  http://atjehpost.com/read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

12.  http://diliputnews.com/tak-bisa-tunjukkan-kartu-beracara-sidang-pt-kalista-alam-di-tunda.html

13.  http://acehonline.info/mobile/detail.php?no_berita=1533

14.  http://atjehlink.com/sidang-ptun-kasus-rawa-tripa-dengarkan-jawaban-tergugat/

15.  http://www.acehkita.com/berita/ini-alasan-irwandi-keluarkan-izin-rawa-tripa/

16.  http://eksposnews.com/view/6/48373/Sidang-Gugatan-PT-Kalista-Alam-vs-Gubernur-Ditunda.html

17.  http://atjehpost.com/readnanggroe/2013/01/30/37659/40/5/Kalista-Alam-Dituntut-Ganti-Rugi-Rp300-Miliar

18.  http://atjehpost.com/read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

19.  http://atjehpost.com/media_read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

20.  http://acehterkini.com/klh-gugatan-perdata-terhadap-pt-sps-mulai-disidangkan/

21.  http://acehterkini.com/bakar-lahan-gambut-tripa-gugatan-klh-terhadap-pt-sps-di-jakarta-masuk-tahap-mediasi/

22.  http://acehterkini.com/hakim-percepat-gugatan-klh-vs-kalista-alam-duplik-tergugat-3-juni/

23.  http://acehterkini.com/22-mei-kementerian-lingkungan-hidup-tanggapi-jawaban-kalista-alam-di-meulaboh/

24.  http://acehterkini.com/dalam-tata-ruang-hutan-lindung-kawasan-rawa-tripa-13-000-hektar/

25.  http://www.thejakartapost.com/news/2013/05/19/global-calls-save-aceh-forest.html

26.  http://www.ptun-samarinda.go.id/index.php?option=com_content&view=article&id=558:walhi-aceh-desak-ptun-tolak-kasasi-kalista-alam&catid=44:artikel-a-liputan&Itemid=126

27.  http://regional.kompas.com/read/2012/04/03/19564898/Walhi.Aceh.Siap.Banding

28.  http://atjehpost.com/read/2012/09/10/20579/0/1/Keputusan-PTTUN-Medan-Perkara-PT-Kalista-Alam-Tidak-Dapat-Dikasasi

29.  http://theglobejournal.com/lingkungan/rtrw-aceh-sarat-kepentingan-pemilik-modal/index.php

30.  http://wartaaceh.com/selamatkan-hutan-lindung-aceh-dari-pertambangan/#.UXV1L7GiDOU.facebook

31.  http://www.bisnisaceh.com/umum/protes-kerusakan-hutan-terbanyak-di-aceh-dan-riau/index.php#.UXWDevOudT8.facebook

32.  http://wartaaceh.com/pebisnis-tambang-kanada-siap-kuliti-lagi-hutan-aceh/

33.  http://www.bisnisaceh.com/umum/penetapan-rtrw-provinsi-terganjal-pemetaan-hutan/index.php

34.  http://www.bisnisaceh.com/umum/kemenhut-bantah-buka-12-juta-hektar-hutan-di-aceh/index.php

35.  http://acehterkini.com/ptun-menangkan-gugatan-kalista-alam-lawan-gubernur-aceh-zaini-abdullah/

36.  http://acehterkini.com/kabulkan-gugatan-pt-kalista-alam-walhi-dan-pemerintah-aceh-akan-banding-ke-pttun-medan/

37.  http://acehterkini.com/walhi-akan-banding-desak-pemerintah-agar-tak-menyerah-lawan-perusak-lingkungan/

38.  http://acehterkini.com/walaupun-menang-kalista-alam-belum-boleh-garap-lahan-1-600-hektar/

39.  http://acehterkini.com/kalah-dengan-pt-kalista-alam-pemerintah-aceh-banding-hakim-ptun-tak-paham-aturan-mahkamah-agung/

40.  http://atjehlink.com/fakta-lapangan-terkait-sengketa-lahan-singkil-versi-takpas/

41.  http://www.acehnationalpost.com/acehupdate/534-sengketa-tanah-singkil-mprs-gelar-aksi-di-bundaran-simpang-lima-banda-aceh.html

42.  http://pemerintah.atjehpost.com/read/2012/08/04/16727/5/5/Empat-Warga-Singkil-yang-Terlibat-Sengketa-Lahan-PT-Nafasindo-Jalani-Sidang-Perdana

43.  http://dinamisator.wordpress.com/page/2/

44.  www.analisadaily.com

45.  http://dinamisator.wordpress.com/page/2/

46.  http://www.aceh.atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/21/40966/15/5/4-Solusi-penyelesaian-konflik-lahan-Singkil-di-Pendopo-Aceh

47.  http://www.downtoearth-indonesia.org/id/story/ketika-masyarakat-adat-memperjuangkan-hak-atas-tanahnya

48.  http://gayoaceh.wordpress.com/2012/04/27/pengelolaan-sm-rawa-singkil-berbasis-masyarakat-adat/

49.  http://www.leuserfoundation.org/index.php?option=com_content&view=article&id=25:singkil&catid=1:latest-news&Itemid=86

50.  http://leuserecosystem.org/id/berita/berita-terbaru/306-many-bolder-blocks-in-singkil-swamp-are-no-longer-accurate.html

51.  http://silefound.blogspot.com/2010/10/ketua-yli-kawasan-hutan-rawa-singkil.html

52.  http://www.waspada.co.id/index.php?option=com_content&view=article&id=51058:bksda-operasi-ilegal-logging-di-rawa-singkil&catid=13&Itemid=28

53.  http://aceh.tribunnews.com/2012/05/08/rawa-tripa-dan-pemahaman-keliru

54.  http://gayoaceh.wordpress.com/2012/04/27/pengelolaan-sm-rawa-singkil-berbasis-masyarakat-adat/

55.  http://www.leuserfoundation.org/index.php?option=com_content&view=article&id=25:singkil&catid=1:latest-news&Itemid=86

56.  http://leuserecosystem.org/id/berita/berita-terbaru/306-many-bolder-blocks-in-singkil-swamp-are-no-longer-accurate.html

57.  http://atjehpost.com/read/2013/03/14/43794/5/5/PT-Kalista-Alam-bakal-hadirkan-tiga-saksi?utm_source=twitterfeed&utm_medium=facebook

58.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/03/14/43791/40/5/Sidang-gugatan-PT-Kalista-Alam-ditunda-dua-pekan

59.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/03/13/43657/40/5/Sidang-mediasi-Kalista-Alam-belum-hasilkan-keputusan

60.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/28/41854/40/5/Kementerian-Lingkungan-Hidup-tolak-damai-dengan-PT-Kalista-Alam

61.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/27/41792/15/5/Tim-Pemerintah-Aceh-tinjau-lokasi-lahan-Kalista-Alam

62.  http://aceh.tribunnews.com/m/index.php/2012/01/13/16-organisasi-sipil-demo-kantor-gubernur

63.  http://sahara-aceh.org/lbh-kejahatan-hukum-lingkungan-di-aceh-tidak-ditangani-secara-baik/

64.  http://atjehlink.com/aceh-butuh-komisi-penyelesaian-sengketa/

65.  http://wwww.atjehpost.com/read/2012/06/18/12353/1/1/Kasus-Sengketa-Tanah-Singkil-YLBHI-Minta-Kapolri-Periksa-Kapolda-Aceh-dan-Kapolres-Singkil

66.  http://acehterkini.com/?p=296

67.  http://www.acehsingkilkab.go.id

68.  http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37

69.  http://id.wikipedia.org/wiki/Daftar_kabupaten_dan_kota_di_Indonesia

70.  http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5786

71.  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5

72.  http://www.thaijusticereform.com/index.php?option=com_content&view=article&id=4:2009-12-23-06-42-01&catid=2:2009-12-23-06-07-01&Itemid=16

73.  http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2

74.  http://www.scribd.com/doc/93979949/hutan

75.  http://www.antaranews.com/berita/336634/2145-hektar-kawasan-hutan-rawa-tripa-hilang

76.  http://www.fire.uni-freiburg.de/Globa­­­lNetworks/PeatlandFireNetwork/Sumatera-peatland-fire-proc-Part-4.pdf

77.  http://2012.acehinvestment.com/Perusahaan-PMDN.html

78.  http://id.wikipedia.org/wiki/Daftar_kabupaten_dan_kota_di_Indonesia

79.  http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37)

80.  http://www.ksmecare.com/Article/82/28155/%EO%...

81.  http://www.rmol.co/read/2012/09/22/79005/Perkebunan-Sawit-Indonesia-Dikuasai-Tujuh-Negara-

82.  http://2012.acehinvestment.com/Perusahaan-PMDN.html

83.  http://intisawit.blogspot.com/2012/11/standart-gaji-untuk-perkebunan-dan.html

84.  http://2012.acehinvestment.com

85.  http://intisawit.blogspot.com/2012/02/daftar-nama-perusahaan-kelapa-sawit.html

 

 

 



[1] ขบวนการอาเจะห์เสรี (อังกฤษ: Free Aceh Movement ; อินโดนีเซีย: Gerakan Aceh Merdeka; GAM) หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะห์สุมาตรา (อังกฤษ: Aceh Sumatra National Liberation Front) เป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่เรียกร้องเอกราชในบริเวณอาเจะห์ที่อยู่ในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย การต่อสู้ด้วยความรุนแรงขององค์กรยุติลงหลังจากการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ. 2548 ปัจจุบันรัฐบาลอินโดยนีเซียเรียกกลุ่มนี้ว่า ขบวนการก่อกวนความปลอดภัยในอาเจะห์ (Aceh Security Disturbance Movement)

[2] กฎหมายจารีตประเพณี (Adat Law) กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะชาวชนเผ่าต่างๆ ในอินโดนีเซียจะมีกฎหมายจารีตประเพณีของตนเอง ซึ่งบางเรื่องมีผลบังคับในฐานะเป็นกฎหมายของรัฐ แต่บางเรื่องก็สิ้นผลบังคับไปแล้ว เพราะถูกทดแทนด้วยกฎหมายของรัฐ ชนเผ่าพื้นเมืองใช้ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีในด้านการถือครองที่ดินและการรับมรดก 

 

[4] Population Statistics According To Gender in Province Aceh, 2010 (http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37)

[5]Th.wikipedia.org/wiki/ เขตปกครองพิเศษอาเจะห์  และ  th.wikipedia.org/wiki/ ขบวนการอาเจะห์เสรี

[6]1 เฮกต้าร์ = 6.25 ไร่

[7] Hasil Sensus Penduduk, 2010. Data Agregat Per Kecamatan Aceh Barat Daya, Banda Pusat Statistik Kabupatan Aceh Barat Daya.

[8] สัมภาษณ์ Teuku Muhammad Zulfikar ผู้อำนวยการบริหารวาลฮีอาเจะห์ (WALHI Aceh) เมื่อ วันที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2556

[9] ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย,ธุรกิจปาล์มน้ำมันหลังก้าวเข้าสู่ AEC. http://www.ksmecare.com/Article/82/28155/%EO%...

[10] ที่เดียวกัน

[11] http://www.rmol.co/read/2012/09/22/79005/Perkebunan-Sawit-Indonesia-Dikuasai-Tujuh-Negara-

[13] สัมภาษณ์ Rusliadi เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนเครือข่ายสิทธิชุมชนและคนพื้นเมือง (Jaringan Komunitas Masharakat Adat)

[14]President decree No.32/1990 on Environmental Management, article 9

[15] สัมภาษณ์ Teuku Muhammad Zulfikar ผู้อำนวยการบริหารวาลฮีอาเจะห์ (WALHI Aceh) เมื่อวันที่ 3 เดือนมิถุนายน 2556

[16] สัมภาษณ์ Nurdin ประธานกลุ่มตำบลซานาอันตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เมื่อวันที่ 11 เดือนธันวาคม 2555

[17] สัมภาษณ์ Abdul Majid ประธานกลุ่มตำบลซานาอันตะวันตก (Sanaan Barat) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เมื่อวันที่ 11 เดือนธันวาคม 2555

[18]  Nurdin แบะ Abdul Majid. อ้างแล้ว

[19] สัมภาษณ์ Suratman ชาวบ้านจากหมู่บ้านซูคาดาไม (Suka Damai) ตำบลซานาอันตะวันออก(Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556

[20] สัมภาษณ์ Idin จากหมู่บ้านพานตอนบายู(Panton Bayu)ตำบลซานาอันตะวันอ (อก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556

[21] สัมภาษณ์ Ansari จากหมู่บ้านคาเยออูโน (Kaye Uno) ตำบลซานาอันตะวันออก (Sanaan Timur) อำเภอนากันรายา (Nagan Raya) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556

 

[22] http://acehterkini.com/huma-catat-10-kasus-konflik-sda-terjadi-di-aceh/

 

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

 

Investigating the Problem of Land Grabbing by Oil Palm Plantation in Aceh: Impact on Local Ecosystem and Community Rights

 

Ruayrin Pedsalabkaew

 

Abstract

Research study topic is investigating the problem of land grabbing by oil palm plantation in Aceh: impact on local ecosystem and community rights. This research aims to investigate impacts of huge oil palm company in Aceh Province on local people and surrounding resources utilization. Additionally, it objects to study community based strategic impacts resolutions guidance. Practically, time duration will be used for twelve months to data investigation, field studies, observation, relevant key informant in depth interviews, and then news articles documentation will be published via website.

Research key findings shown that Indonesian government policy is a core factor to larger oil palm plantation companies spread. Indonesian government is targeted to be a largest palm producer as clearly seen in strategic plan to openly supportive both domestic and international investments in national forestry. Moreover, increases oil palm consumption and industry as raw materials, as well as renewable energy production in the future. Consequently, fertile forestry have been concessional and destroyed rapidly. As the results, environment and local ecology systems dramatically destructed. Nevertheless, community economy and local people rights based were invade.  Hence, affected communities have moved forward to demand, campaign, protest, including judgment processing to key problems root. Institutional support from NGOs and social sector are delivered to people movement. Unfortunately, weaknesses of governmental law itself lead to unprotect and ensure their citizen rights as expected.

Key recommendation based on research results is advocate to relations amendment, to provide equally community welfare systems, to make balance public policy as sustainability of economic growth and environmental protection.

 

Introduction

Aceh Province has plenty of natural resources particular forest and lands as well as conflicts disputes and violence have been spreading across Aceh areas. Since 2005, peace returns after civil conflict between Free Aceh Movement[1] and Government of Indonesia have been finished and become autonomous government of Aceh. Besides, completely power to manage all resources is also allocated to local government. This new sphere lets domestic and international businesses to heavily invest particular for huge cash crops plantation in Aceh.  

Such changes cause land usage reversely. It has been turning lands use for small-scale farmer (small plots farm) to be a large mono cash crops plantation, which consumes a vast of land as oil palm business instead.

While huge companies are investing and accessing to lands, local people are facing more difficulty to utilize their lands. In fact, local people, who have own and access particular lands, are forced to move out from their lands. In the past, local people have rights to access and use land resources through various communities’ rules. Lands could be transferred as heritage to intergeneration as keep practicing via Adat Law[2]. Over ten years, changes have been taking places and its impacts on Aceh people have been widely and deeply clashed. Obviously, lands use and residence have been grabbing and its occupation, livelihoods, as well as culture have been lost. Moreover, government itself has neglected for rights and welfare of local people security, leading to rise up of people movement to fight against. Eventually, killed people and damages arrived from conflict and violence duration.   

Changes occurred in Aceh is similar to around the world as invasive capitalism with facilitating of national government themselves. In theory, under an ideology as well as direction of capitalism development, statistical economic growth is a core foundation to be achieved.   Considerably, investors regularly cooperate with government to use structural power in order to take abundant advantages form resources. Government power is directly exercised over local people rights base. It is overlapping of customary practices (Adat Law), which officially prioritizes right to primitive settlement to access and use lands as first come, first utilize. Interestingly, government itself has not played significant role to protect disadvantaged citizen who is powerless to negotiation. Instead, greater benefits cooperate together with businesses made, leads conflicts disputes and infringed community’ rights ongoing. Still, local communities themselves are weak to fight against with opponents alone, therefore, networking for social partnership in order to supportive struggle movement is needed.

This research has significant three objectives. Firstly, it aims to investigate impacts on relevant lands utilization people. Secondly, to study on impacts resolutions strategic plan guideline in Aceh Province. Thirdly, it objects to share and educate facts and information amongst Asian Public Intellectual Fellows. Finally, it leads to future learning and inter-cooperated networking between affected local communities’ lands grabbing based in the Southern provinces, Thailand and Aceh Province, Indonesia.

Research studies on how does a land grabbing phenomena in Aceh Province affect to local people who relatively access and utilize land resources? And how have local communities in Aceh Province been managing or measuring on such impacts?  

Methodology of study is firstly filed study on targeted areas based in Aceh province for first two months. It is regarding to introduction and explanation of researcher and research objectives and procedures as data collection and fields’ interview. It is necessary to know and learn about local tradition and people’s ways of life, which data gathering and locality interviewing will be easier than normal.  Regarding data collection, after targeted areas are identified, data, and photos have been collected, as well as in depth interview for relevant institutes, lands lost communities, and affected people are being questioned. Besides, secondary documentation from printed media and internet searching are accumulated. Later, all collected data will process in analysis, synthesis and documentation to be news articles. Finally, it publishes via website namely www.prachatai.com , ten pieces of articles will be published in bilingual (Thai and English). Moreover, those news articles will be translated in Indonesian language, published via website called http://theglobejournal.com as well as Aceh’s language, published via http://acehclimatechange.org. After all significant articles have been completely published, pocketbook will be documentation and dissertation for sharing and information and educating people through this channel. Finally, total duration of research study is twelve months. 

 

General Information of Aceh Province and Tripa Swamp Forest

1. Information of Aceh Province

Aceh province has official name as Nanggroe Aceh Darussalam Province. Capital city is Banda Aceh city with total 23 districts administration[3]. There is a one of thirty three provinces in Indonesia, where is located in the deep west tail of Sumatra Island and Malacca Strait, the north is close to Malacca Strait, the south is close to northern Sumatra Island, the west is close to Malacca Strait, and the west is close to Indian sea. Total areas are covered 58,375.83 square kilometers, total population are 4,494,410 people (male are equal 2,248,952 people, and female are equal 2,245,458 people). Aceh people practice in Islam religion, is the most religion believe as seen 98.6 %, followed by Christ Protestant and Catholic are seen 0.70%, Hindu is seen 0.08%, Buddhist is seen as 0.55%, as well as Hong Hoo Soo and others.  Aceh people are comprised of various ethnicities likely Acehnese is seen as 79% ,Kayo Lut is seen as 7% , Kayo Luwes is seen as 5%, Alas is seen as 4%, Singkil is seen as 3%, and Simeulue is seen as 2%. Aceh language is common dialectic across lands and Indonesian is official language[4].

Since 2005, Aceh Province is specifically an autonomous area under Indonesia. In the past, Aceh historical used to be autonomous state as key player for international trading and maritime. Since 13rd century, Aceh state has been adapting and practicing in Islam rituals as well as establishing Sultan administrative government finally. It is influenced government, spreading across Sumatra Island and Malaya peninsula. In fact, it is well-known in Southeast Asia as Islam Center, as where is “A Gate to Mecca”. Later 1877, Aceh had been seized by Netherland and it was dramatically declined state, yet old power clique combated to the colonist as guerilla style.  After the World War II, Indonesia was free and Aceh decided to unite the Indonesia in 1959. Moreover, the Indonesian government has agreed to remain identity of Aceh, regarding Islamic rituals as well as Islamic Law. However, there was attempting to centralization by the longest terms president, Suharto, leading to militate and establish of Free Aceh Movement in 1976 and they has been continuous fighting against the Indonesian government since then. Unfortunately, after damages of tsunami disaster in 2004, the movement has declared to finish struggling.  Hence, peace talks have come across and agreements were made to basic foundation Aceh autonomous government and finally first selection has been organizing for local government, on December 11st, 2006[5].

Obviously, Aceh has full of resources such as forest, land, mine, natural gas, and oil. Before agreements to be autonomous area, incomes generating of Indonesian government comes from oil and natural gas trading more than 5 %, where is directly derived from Aceh areas. Yet, its great benefits would not be distributed to Aceh people so that this is a key factor for Aceh people to stand and set up such movement in order to be free and bring autonomy to Aceh finally.

Regarding forest management in Aceh, after peace talks and Aceh are free to be autonomous government under the Indonesia Public, Aceh local government has been democratically selected. Contextually, the government itself has established advanced and proper forest and land regulations. In fact, there are some mistakes occurred, Aceh government using their power to license mining company and cash crop plantation company, heading to land clearing and unfortunately massive deforestation taken places.

According to regulation No.170/kpts-II/2000, this is declaration of the Minister of Forestry in June 29th, 2000. It specifies to total coverage areas of Aceh as 5,774,788.92 hectares[6], with divided into conservative and protective areas as well as production areas. However, it is expired data compared to nowadays, which forestry scales have been large declining. Presently, Aceh government is proposing spatial areas planning with showing      update forest areas covered by 3,998,662.45 hectares as obviously seen in reduction.

2. Tripa Swamp Forest

Regarding to Tripa swamp forest, it is located in Nagan Raya District and Aceh Barat Daya District. Total areas are 61,803 hectares, located in west tail of Sumatra Island up to 60% of total swamp forest in Darul Makmur Sub-District. In fact, Nagan Raya District has total population as seen 46,954 people in Babahrot Sub-District, and total population in Aceh Barat Daya District are 16,371 people[7].

This swamp forest is located in Leuser Ecosystem Zone, where areas are targeted into national strategic plan in order to protect environment. Besides, spatial planning of Aceh according regulation No. 9/1995 indicates that the depth of the swamp from 3 meters to a protected area.

General speaking, Tripa swamp forestry has abundant and diversity of natural resources as plants and animal species as well as forest products. There is also a source of local people incomes generating. It is a good place for costly plants and animal habitat in terms of economic aspect.  

“Particular Tripa swamp forest, there are at least forty costly aquatic species such as catfishes, snake-head fishes, eels, snails and others. Moreover, there is constructed timber and fuel forest, including diversity of animal species as orangutans, boa constrictor, Sumatra tigers, crocodiles, giant birds, and wild bees. Nevertheless, it is a key mechanism for ecology systems as function to buffer giant wave likely tsunami, recycle water, protect flooding, areas of carbon dioxide pull and sink, and exist of biodiversity”[8]

Furthermore, Tripa swamp forest is targeted to be specific areas of orangutans’ conservation by Great Apes Survival Partnership (GRASP) together with the United Nations for Environment Programme (UNEP) and the UNESSCO. As identified that if Tripa swamp forest have been commonly continuous growing, 1,000 orangutans as the most population in the world will be grounded.

Regarding surrounding Tripa swamp forestry communities, it used to be glorious ancient kingdom land in the past. Obvious evident has been seen through dried hill lands approximately one hectare coverage. Based on evident found, there is inscribed rocking namely “H.Nyak Dom” it can possibly be claimed as cemetery areas. Particular areas might assume that primitive dwelling would have settled down since 18th century. Nowadays, local people named that area as “Ujung Raja”.

In general, locality settlement has been located and livelihoods are continuous maintained through natural resources utilization. Seasonal activities are generated specific ways of people livelihoods. However, rapid shocks and massive uncertainty arrived from natural disaster as well as human disaster as land grabbing and finally lost from the primitive owners into huge invested companies, have been facing by local people.

 

Huge Oil Palm Plantation Business and Its invasive on Aceh Forestry

1.      Oil Palm Plantation Business

Regarding oil palm, it is a cash crop for business oil palm, which has significantly accumulative in nowadays due to food production ingredient and other goods components as well as key player on renewable energy. Additionally, a good example can be seen via Thailand as proportion usage of oil palm as oil is up to 42 %, followed by food industry is seen 17 %, comprising of biodiesel is seen 28% , soap industry is seen 7 %, and other is seen 6%[9].

Asian region is a part of largest oil palm plantation in the world. Largest coverage areas is located in Indonesia, its raw oil proportion in 2012 is up to 51.7 %. It followed by Malaysia is seen 35.4 %, Thailand is the third largest plantation as seen 3.3%, Columbia has 1.7%, Nigeria has 1.6 %, and other is 6.4%[10]. These figures show for production areas but not present in investors’ nationalities. It is significantly directed to oil palm production capacity in Indonesia. To be considering, productive advantages belong to Indonesia and Malaysia in terms of vast of land resources. It leads to huge investment plantation as well as more cost effectiveness and well management than Thailand as mostly produced by small scale farming.

General speaking, recently, all oil palm plantation routs are going to Indonesia particular in Aceh Province is strategic areas for investments. In fact, there are seven prioritized foreign investors in Indonesia as presents below.

1. Malaysia, the most oil palm plantation concessional company is Gutrhrie Berhad Company. Its operational areas are variously in Sumatra Island, Kalimantan, Sulawesi, and Aceh Province. Total areas of plantation are 220,204 hectares. Followed by company named Kulim Berhad, planted areas are located in Sumatra Island and Kalimantan, where total areas are 92,263 hectares. According with Golden Hope Berhad Company, all planted areas covers in Kalimantan Island up to 96,000 hectares as well as Kuala Lampur Kepong Berhad Companys is operated in Riau Island and Kalimantan Island up to 91,170 hectares.

2. Singapore, company named Wimar Holding is operating based in Sumatra and Kalimantan Island, coverage areas are 198,282 hectares.

3. United Kingdom, company operated name is Rea Holding. Its planted areas are located in Kalimantan, areas coverage are 66,136 hectares. Another is MP Evans Group, operational site is located in North Sumatra Province and Aceh Province, and total areas are 47,290 hectares. The last is Anglo Easter Company, productive lands based in Sumatra Island, and total areas are 37,502 hectares. 

4. Belgium, company named SA Slpef NV has been implementing based in Aceh Province and Sumatra Province, and total areas are 65,993 hectares  

5. Luxembourg, Socfianisa Luxemburg SA Company has been operating based in North Sumatra Island, and total areas are 44,992 hectares.

6. Hindoli-Cargill Inc Company is implementation on Sumatra Island, and total areas up to 10,000 hectares.

7. Sri Lanka, company named Carson Cumberbatch & Co.Ltd has been operating based in Kalimantan Island, and total areas are 27,500 hectares[11].

Regarding Aceh Province itself, there are up to 51 firms come to invest oil palm plantation, from both domestic and multinational companies. Many companies have been concessional for more than one plot land. In fact, Perkebunan Nusantara 1 Company has been concessional up to 13 lands[12].

Particularly, Aceh Singkil District, in Aceh Province has total seven oil palm plantations as followed by. Firstly, company named Socfindo has been licensed lands based in Gunung Meriah Sub-District up to 4,414.18 hectares. Palm trees were planted in 4,210 hectares. Secondly, Lemban Bakit Company has also licensed to lands based in Singkil Utara Sub-District up to 6,570 hectares. Total palm trees planted are 5,923 hectares. Thirdly, Delima Makmur Company has been concessional based in Danau Paris Sub-District up to 12,173.47 hectares and planted areas are 8,969 hectares. Fourthly, Ubertraco Company has concessional land in Kota Baharu Sub-District up to 13,924.68 hectares, and palm trees were planted as 5,869 hectares. Fifthly, Lestari Tunggal Pratama Company has rights to operation based in Danau Paris Sub-District up to 1,861 hectares, and palm trees were planted as 1,200 hectares. Sixthly, Telaga Zam-zam Company has been concessional land based in Gunung Meriah Sub-District up to 100.05 hectares with all trees are plated in areas. Seventhly, Jaya Bahni Utama Company has concession to land in Danau Paris Sub-District up to 1,800 Hectares with palm trees all are planted in areas[13].

In fact, oil palm plantation investment is coming while the Indonesian government is lunching policy to wide lands opening. Obviously, well promote and facilitating investors as concession to lands and forest based in Sumatra Island. Yet, forest law is reckless as separate forestry maps in Indonesia, which completely different of four forest mapping versions, up to date.  

Based in particular areas, forestry problems resolutions have been ongoing uncontrolled.  Possibly illegal logging exists with assisting of central government agents, who is hidden for license approval. There is a simply and convenient method to exchange forestry in publicity due to no completely checks procedures for forestry bookkeeping as well as no standardization for timber logging license fees. While law and law enforcement have been confusing, National Lands Office in Aceh Province has continuing opened for lands concession without any proof of truths. In fact, many licenses have been left behind from company after logging and clearing lands.

Regarding missions of forestry management, it must be established and located in one institute due to well-management and effectiveness instead of disrupting arrangements. Accordingly, forestry mapping, concession licenses, and lands occupation must be issued at one organization. All of these seem to be a greater hole of administration, which has never been revealed to publicity. In fact, geographical data systems have been incorrect formulating according to its regulations. As the results, artificial documents are published by National Land Office. Regarding lands use fees payment and encroachments penalty are also unclear and unknown in public. This is a big black hole for Indonesia government to handle with encroachment and deforestation.  

Based in sited areas, after concessional company licensed, lands were clear, cut, and burned in order to plant palm trees. This circumstance is not only overlapping community, but many damages are also affected, importantly, government regulation systems not even protect for their environment and community as expected.

2. Domestic Capital Conflict Disputes: A Case Study of Tripa Swamp Forest

Since 1980, conflict disputes over oil palm plantation concessional areas in Tripa swamp forest have taken places. The Aceh government has approved concession to Kalista Alam Company in order to access and utilize lands for plantation. It leads to over capability of swamp forestry regarding large palm plantation. Later 2010, Aceh government provided concessional lands to particular company up to 1,605 hectares, where increased land is located in conservation areas as conserved lands can be used exceed 0.5-1.5 meters in depth.[14]

Tripa swamp forest has been harm and damaged from invasive land opened by plantation as well as encroached by local people. Based on latest assessment, Tripa swamp forest areas have been reducing up to 50% of coverage total areas as 61,803 hectares. In case, 36,185 hectares have become concessional areas. In fact, Surya Panen Subur Company (SPS) has total concessional lands as 13,177 hectares, and Kalista Alam Company has total concessional lands as 6,888 hectares. Followed by Gelora Sawita Makmur Company, total concessional lands are 8,604 hectares, and Cemerlang Abadi Company, total concessional lands are 7,516 hectares. The total concessional areas are 20,200 hectares with ongoing through first and second operational steps only[15].

Regarding conflict disputes over Tripa swamp forest areas, Kalista Alam Company are allowed to access lands exceed three meters in depth from the surface as well as illegal fired forestry. All cases are directly related to law violation has been proposing into juristic methods.   

Another case of licensing to access over Tripa swamp forest areas, located in various communities, is company named Surya Panen Subur II, which ongoing business under company named Amara.

3. Multinational Capital Conflict Disputes: A Case Study of Aceh Singkil District

In 1986, Ubertraco Company, which owner is villager from Trumon Sub-District, Aceh Selatan District, named Tengku Muslim. Palm plated areas were starting from Simpang Kiri Sub-District. Later in 1988, particular company has license to utilize land, according to document No.1/1988, total used areas are 10,917 hectares, based in Kota Baharu Sub-District, together with Gunung Meriah, Singkil Utara, and Singkil Sub-District, Aceh Singkil District. Six years later, nearly 1994, the company has secondly lands license approved by document No.2/1994, total areas are 3,000 hectares, where is ten kilometers far from Singkohor Sub-District, Aceh Singkil District. In 1998, particular company has been transferred business to Malaysian entrepreneur named Haji Muhammad Sobri due to unreachable production target in terms of cultivating management and left uncultivated lands behind since then.

            4. Impacts on health and ecology systems

Previously, Tripa swamp forest used to be a source of food gathering for surrounding communities, and livelihoods are relied on and boned with that forestry. Former period, transportation was used through river as boating as convenient channel to travel. Things change after implementation of company in particular areas, fewer fish and snails species, rotten destroyed, deforested, water polluted, aquatic animal dead, as long as rarely food collected in nowadays[16].

Abdul Majid has described about impacts of Surya Panen Subur II Company, which plantation operating in surrounding communities. As the results, things likely weather change, dust is mixed in the air, leading to breathe system problems and eyes disease emerging, which so far three eyes illness are found in community.

General speaking, climate changes taking places likely flooding will be caused by all day long raining, in contrast, drought situation will be caused by two week water shortage.  Normally, raining season is started from September to January; so far seasonal cannot be expected as regular existing. When raining time is arriving, sufficient rainfall with nice weather are proper to grow rice as well-known areas as ever buy only memorial remains.

Water pollution is a core problem that community has prioritized to be solved. Regarding to water polluted, trash and toxic composed are discharged into river. Although harm substance is not directly thrown into river, rainfall will accumulate matters as pesticide and chemical fertilizer down to river and sea finally.[17]

Tripa swamp forest has played important role to maintain ecology systems. It functions to buffer huge weave as tsunami, to recycle water, to protect flood, and to be biodiversity habitat. On the other hands, lands clearing processes toward cash crops plantation lead to ecological lost and natural disaster such as tsunami, flooding, drought, water shortage, and imbalance natural sources of food production. Deforestation impacts through massive flooding which surrounding communities were affected and damaged. 

Regarding cash crops as oil palm and its plantation, it requires to all large lands cleared in order to be ready for plantation. It is key rout to forest destruction accordance with water draining out, and burning forestry, leading to carbon dioxide (CO2) emission while Tripa swamp forest as well container for CO2.

Over next twenty years, the Tripa swamp forest areas will subside one meter in deep.   It can be projected that some areas of Nagan Raya District particular in Darul Makmur Sub-District and Babahrot Sub-District will be simply flooding as frequently taken places due to lower sea level areas.  

            5. Impacts on Social and Economic aspects

All related problems are directly affected on communities’ economy as local people possibly maintain for their traditional ways of lives. Although concessional lands compensation has been paid, no land titles are unpaid actually.

Comparatively, before oil palm plantation companies came, there was simply and peaceful community. In fact, local people have been working for plantation companies and left activities involvement such as community marriage ritual behind.  As the results, intercommunication and relationships amongst people have been wider gaps[18].

Regarding labor wages, there are sixty labors from five various communities hired by the companies. All labor forces are adult and being paid in daily instead salary. Practically, female labor work is seen in fertilizing palm trees and praying pesticide compared to male labor work is seen through heavier tasks in plantation sites. Nevertheless, there are 100 temporary daily workforces employed by the companies. Those employed will do daily cutting palm trees, weeding and fertilizing. In this case, they need to go for work every day otherwise wages would not be paid if missing. In fact, there are some permanent staffs with permission to leave only in official holiday.  

In the past, communities have common lands according to traditional rules with together pool of management. Before conflicts taking place in Aceh, land had been arranged by communities as every household is allowed to own exceed two hectares land.  During conflict time, lands have been left behind. After free Aceh, lands were sold with no payment and later then companies have concessional palm trees plantation instead. Sadly, brokers who sell lands to the companies are local people.  

“In 1980, the company has bought lands up to 800,000 Indo Rupee per hectare. Brokers come to us and ask to buy our lands but many of us insist to not sale. In my case, I planted cocoa trees in the garden, after one week talked the brokers, cocoa trees were destroyed and palm trees were planted instead.”[19]

“In my village, there are 100 hectares of lands and some are common lands for people to grow rice together. We are not allowed to sale our lands according to customary rules.  During serious conflicts time, lands were left and uncultivated, later Ache is free, we return back to grow rice again, then couple months later, those lands were sold with compensation and official farmers’ were signed.”[20]

Ansari stressed that in 1980, we received community lands regarding traditional rules, total received areas are 2,000 hectares for growing cotton, coconuts, cocoa, and other plants. However, lands were left and uncultivated according to conflicts occurred.  Later in 2008, Aceh free, villagers returned to their homelands and found that their lands were completely plowing and clearing and being ready to palm trees plantation by Surya Panen Subur II Company, which operating under company named Amara at the time.

In case of Surya Panen Subur II Company, it has concession to plant palm trees in Tripa swamp forest areas, located across various communities. In fact, some communities have well agreed to be paid for land compensation instead. Differently, Suka Damai Village, Panton Bayu Village, and Kaye Uno Village have neither refused for compensation nor still losing their lands to particular company. Moreover, affected people have demanded to Aceh government regarding their troubles and answer so far is waiting as well as being told to not cause any conflict disputes accordingly.  There are some villages, local people returned to access their lands but troubles still emerging in every month. Leaders of farmer group were notified and caught by police regarding damaged palm trees surrounding farmer’s fields.[21]

Regarding conflict disputes between Ubertraco Company, which later changed the name into Nafasindo Company and villagers from Aceh Singkil District, is the most sever and ashamed case in the timing. Interestingly, company license has been overlapping with community rights in terms of land ownerships. The unclear edge amongst concessional lands, abandoned land, and community event government offices, barrack, detention center, roads, and communities are settled in company concessional land.  

Obviously, after people protested in 2006, there were testified and classified land boundaries and rights ownerships by using map based National Lands Office in Aceh Province. As the results, total areas of communities are 1,997.5 hectares with company has access to use as well as illegal land ownership up to 1,158.24 hectares. Later, the governor of Aceh has commanded to Aceh Singkil District to return communities lands, where particular company has been concessional as well as areas encroached over, including unlawful areas.  Nevertheless, local government provided communities all relevant supports, reset forest boundary fences were permanent changing with expenditures paid by company. However, particular company has been defending and proposing to the Administrative Court in Aceh, in September 24th, 2011. Recently, there was an appeal to Medan Administrative Court, which day after local people and students were protest, eventually led to fire District Office. Consequently, leaders were caught and litigation and two leaders were in jail.

In fact, WALHI Aceh is environmental NGOs, working in Aceh Province and across Indonesia, has recorded all juristic cases. There are apparently eight cases due to unlawful utilization Tripa swamp forest areas. Company suits the governor of Aceh Province due to illegal cancelation of license, Ministry of Environment Suits Company due to prohibited burning forest, villagers suits the governor of Aceh Province due to spatial development plan rules break, Tripa swamp forest conservation network suits License Issued Office due to artificial documents made and false Tripa swamp forest information informed. Actually, judgment process takes long time with full of law tactics, as long as processing, still, plantation company is operation, environment is destroyed, and community rights is violated.

Society for Community-Based Law Reform and Ecological has been recording cases regarding natural resources and agriculture usage conflict disputes in last three years. In fact, there are 232 conflict cases in Aceh province, and significantly ten cases have invaded lands totally 28,522 hectares[22].

Even though unofficial document presents damages costs of deforestation and land degradation in Aceh Province, approximated costs on resources base are assessment. Evidently, non timber logging and transferring can be appraisal through reforestation. Besides, damages basic infrastructure and lost eco-tourism are estimated. General speaking, all significant relevant aspects as well as impacts as social disparity and culture destruction, are invaluable costs to be paid over. 

 

 

Conclusions

Invasion of oil palm plantation companies throughout Aceh land are arrived according to core factors. Firstly, strategic government policy to be the largest producer of oil palm plantation, widely and openly supportive policies are established for incentive domestic and multinational capitals to invest in capability areas under government regulation legally. Secondly, increases oil palm consumption and industry as raw materials, as well as renewable energy production in the future.

Doubtless, tropical rainforest as rainforest and swamp forest, are a part of productive and largest land in the world, were cut, plowed, and burned rapidly by advanced technology from plantation business. These are directly destructed tropical rainforest ecology systems, where is function to maintain climate equilibrium, originate headwater and water resources, protect floods and natural disaster. After large plantation operated, local communities in Aceh are completely affected through, as well as chemical and dusts composing from operation were facing by local people. In fact, forest law and regulation are apparently weak and uncontrolled over land usage, leading to ineffective protect people rights as well as local ecology systems as expected.

Regarding strategic resolution plan, affected people seems experiences less particular in negotiation with state and capitals. However, accumulated practices as demands, results evaluation, advocates and campaign, processes in judgment, as well as technical assistance from NGOs and civil society provide people movement more experiences and powerful.

Recommendations in long terms aspect, communities and civil society must take lessons learned and best practices movement into account. Advocate public policy and regulations on sustainable and governance economic development and environmental protection. Importantly, provides and serves local community welfare and its equally distribution to primitive owners as well as their intergeneration must be deserved.

 

References

Interviews

1.      Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, May 1st, 2013

2.      Rusliadi, officer of Non-Governmental Organizations named Community and Indigenous People Network (Jaringan Komunitas Masharakat Adat), July 1st, 2013

3.      Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, June 3rd, 2013

4.      Nurdin, group leader of Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District,  December 11st , 2012

5.      Abdul Majid, group leader of Sanaan Barat Sub-District, Nagan Raya District, December 11st , 2012

6.       Chanathip Sooksai, expert at ASEAN Energy Center, September 2nd, 2010

7.      Khairul Mahalli, Indonesian businessman, September 2nd, 2010

8.       Irsadi  Aristora, Irsadi Aristora, Deputy Manager of Transparency International (TI),August 12nd, 2012

9.      Suratman, villager from Suka Damai Village, Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District, May 30th, 2013

10.   Idin villager, from Panton Bay Village, Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

11.   Ansari, villager from Kaye Uno Village , Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

12.  Muhammad Nizar Abdurrani, deputy director of WALHI Aceh, December 1st, 2012

13.  Firman Hidayat, An environmental reporter from The Globe Journal, December 1st, 2012

14.  Syafruddin SH, A lawyer of WALHI Aceh, December 12nd, 2012

15.  Dr.M.Nasir, A lecturer at faculty Economic Environment, Syiah kuala University in Aceh Province, May 2nd, 2012

 

Books, Journals

 

1.      Banda Pusat Statistik (BPS)–Statistik.2005. Population of Nanggroe Aceh Darussalam .

2.      Bhuwadon Songprasert. 2004. Indonesia: Past and Present.

3.      Derek Hall, Philip Hirsch, and Tania Murray Li. 2011. Powers of Exclusion: Land Dilemmas in Southeast Asia.

4.      Gellert K. Paul. 1998. A Brief History and Analysis of Indonesia’s Forest Fire Crisis. Indonesia. 65: 63–85.

5.      Hasil Sensus Penduduk. 2010. Data Agregat Per Kecamatan Aceh Barat Daya, Banda Pusat Statistik Kabupatan Aceh Barat Daya.

6.      Khor Khon Magazine, Vol. 7, No. 10 (82), September 2012, p. 11.

7.      McCarthy, John F. 2010. Processes of inclusion and adverse incorporation: Oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia. Journal of Peasant Studies. 37: 4, 821–850.

8.      President decree No.32/1990 on Environmental Management, article 9

9.      Suphapan Tangtronpairote. 2007. The State and Muslim Society in Indonesia.

10.  WALHI Aceh. Statistik Deforestasi Hutan Aceh 2006–2009

 

News and Website

 

1.      Sophon Pornchokchai, Thansetthakit, 27–29 May 2010, p. 37.

2.      Matichon Daily, Monday 13 August 2012, Vol. 35, No. 12574, page 16.

3.      Matichon Daily, Wednesday 15 August 2012, Vol. 35, No. 12576, page 15.

4.      http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=902)

5.      http://sains.kompas.com/read/2012/06/04/08465072/Rawa.Tripa.di.Ambang.Kemusnahan.Bagian.1

6.      http://acehterkini.com/huma-catat-10-kasus-konflik-sda-terjadi-di-aceh/

7.              http://eksposnews.com/view/6/46079/Tak-Punya-Surat-Kuasa-Sidang-Kasus-Rawa-Tripa-Ditunda-Lagi.html#.UOUvX-TG_ko

8.              http://nasional.kompas.com/read/2012/05/18/03150893/Kasus.Rawa.Tripa.Jalan

9.      http://atjehpost.com/read/2013/01/30/37659/40/5/Kalista-Alam-Dituntut-Ganti-Rugi-Rp300-Miliar

10.  http://atjehpost.com/read/2013/01/30/37633/5/5/Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Berharap-Ada-Solusi-dalam-Mediasi-Soal-Rawa-Tripa

11.  http://atjehpost.com/read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

12.  http://diliputnews.com/tak-bisa-tunjukkan-kartu-beracara-sidang-pt-kalista-alam-di-tunda.html

13.  http://acehonline.info/mobile/detail.php?no_berita=1533

14.  http://atjehlink.com/sidang-ptun-kasus-rawa-tripa-dengarkan-jawaban-tergugat/

15.  http://www.acehkita.com/berita/ini-alasan-irwandi-keluarkan-izin-rawa-tripa/

16.  http://eksposnews.com/view/6/48373/Sidang-Gugatan-PT-Kalista-Alam-vs-Gubernur-Ditunda.html

17.  http://atjehpost.com/readnanggroe/2013/01/30/37659/40/5/Kalista-Alam-Dituntut-Ganti-Rugi-Rp300-Miliar

18.  http://atjehpost.com/read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

19.  http://atjehpost.com/media_read/2013/01/07/34461/40/5/Sidang-Gugatan-Rawa-Tripa-Kuasa-Hukum-Kalista-Alam-Tidak-Bisa-Tunjukkan-Kartu-Beracara

20.  http://acehterkini.com/klh-gugatan-perdata-terhadap-pt-sps-mulai-disidangkan/

21.  http://acehterkini.com/bakar-lahan-gambut-tripa-gugatan-klh-terhadap-pt-sps-di-jakarta-masuk-tahap-mediasi/

22.  http://acehterkini.com/hakim-percepat-gugatan-klh-vs-kalista-alam-duplik-tergugat-3-juni/

23.  http://acehterkini.com/22-mei-kementerian-lingkungan-hidup-tanggapi-jawaban-kalista-alam-di-meulaboh/

24.  http://acehterkini.com/dalam-tata-ruang-hutan-lindung-kawasan-rawa-tripa-13-000-hektar/

25.  http://www.thejakartapost.com/news/2013/05/19/global-calls-save-aceh-forest.html

26.  http://www.ptun-samarinda.go.id/index.php?option=com_content&view=article&id=558:walhi-aceh-desak-ptun-tolak-kasasi-kalista-alam&catid=44:artikel-a-liputan&Itemid=126

27.  http://regional.kompas.com/read/2012/04/03/19564898/Walhi.Aceh.Siap.Banding

28.  http://atjehpost.com/read/2012/09/10/20579/0/1/Keputusan-PTTUN-Medan-Perkara-PT-Kalista-Alam-Tidak-Dapat-Dikasasi

29.  http://theglobejournal.com/lingkungan/rtrw-aceh-sarat-kepentingan-pemilik-modal/index.php

30.  http://wartaaceh.com/selamatkan-hutan-lindung-aceh-dari-pertambangan/#.UXV1L7GiDOU.facebook

31.  http://www.bisnisaceh.com/umum/protes-kerusakan-hutan-terbanyak-di-aceh-dan-riau/index.php#.UXWDevOudT8.facebook

32.  http://wartaaceh.com/pebisnis-tambang-kanada-siap-kuliti-lagi-hutan-aceh/

33.  http://www.bisnisaceh.com/umum/penetapan-rtrw-provinsi-terganjal-pemetaan-hutan/index.php

34.  http://www.bisnisaceh.com/umum/kemenhut-bantah-buka-12-juta-hektar-hutan-di-aceh/index.php

35.  http://acehterkini.com/ptun-menangkan-gugatan-kalista-alam-lawan-gubernur-aceh-zaini-abdullah/

36.  http://acehterkini.com/kabulkan-gugatan-pt-kalista-alam-walhi-dan-pemerintah-aceh-akan-banding-ke-pttun-medan/

37.  http://acehterkini.com/walhi-akan-banding-desak-pemerintah-agar-tak-menyerah-lawan-perusak-lingkungan/

38.  http://acehterkini.com/walaupun-menang-kalista-alam-belum-boleh-garap-lahan-1-600-hektar/

39.  http://acehterkini.com/kalah-dengan-pt-kalista-alam-pemerintah-aceh-banding-hakim-ptun-tak-paham-aturan-mahkamah-agung/

40.  http://atjehlink.com/fakta-lapangan-terkait-sengketa-lahan-singkil-versi-takpas/

41.  http://www.acehnationalpost.com/acehupdate/534-sengketa-tanah-singkil-mprs-gelar-aksi-di-bundaran-simpang-lima-banda-aceh.html

42.  http://pemerintah.atjehpost.com/read/2012/08/04/16727/5/5/Empat-Warga-Singkil-yang-Terlibat-Sengketa-Lahan-PT-Nafasindo-Jalani-Sidang-Perdana

43.  http://dinamisator.wordpress.com/page/2/

44.  www.analisadaily.com

45.  http://dinamisator.wordpress.com/page/2/

46.  http://www.aceh.atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/21/40966/15/5/4-Solusi-penyelesaian-konflik-lahan-Singkil-di-Pendopo-Aceh

47.  http://www.downtoearth-indonesia.org/id/story/ketika-masyarakat-adat-memperjuangkan-hak-atas-tanahnya

48.  http://gayoaceh.wordpress.com/2012/04/27/pengelolaan-sm-rawa-singkil-berbasis-masyarakat-adat/

49.  http://www.leuserfoundation.org/index.php?option=com_content&view=article&id=25:singkil&catid=1:latest-news&Itemid=86

50.  http://leuserecosystem.org/id/berita/berita-terbaru/306-many-bolder-blocks-in-singkil-swamp-are-no-longer-accurate.html

51.  http://silefound.blogspot.com/2010/10/ketua-yli-kawasan-hutan-rawa-singkil.html

52.  http://www.waspada.co.id/index.php?option=com_content&view=article&id=51058:bksda-operasi-ilegal-logging-di-rawa-singkil&catid=13&Itemid=28

53.  http://aceh.tribunnews.com/2012/05/08/rawa-tripa-dan-pemahaman-keliru

54.  http://gayoaceh.wordpress.com/2012/04/27/pengelolaan-sm-rawa-singkil-berbasis-masyarakat-adat/

55.  http://www.leuserfoundation.org/index.php?option=com_content&view=article&id=25:singkil&catid=1:latest-news&Itemid=86

56.  http://leuserecosystem.org/id/berita/berita-terbaru/306-many-bolder-blocks-in-singkil-swamp-are-no-longer-accurate.html

57.  http://atjehpost.com/read/2013/03/14/43794/5/5/PT-Kalista-Alam-bakal-hadirkan-tiga-saksi?utm_source=twitterfeed&utm_medium=facebook

58.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/03/14/43791/40/5/Sidang-gugatan-PT-Kalista-Alam-ditunda-dua-pekan

59.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/03/13/43657/40/5/Sidang-mediasi-Kalista-Alam-belum-hasilkan-keputusan

60.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/28/41854/40/5/Kementerian-Lingkungan-Hidup-tolak-damai-dengan-PT-Kalista-Alam

61.  http://atjehpost.com/nanggroe_read/2013/02/27/41792/15/5/Tim-Pemerintah-Aceh-tinjau-lokasi-lahan-Kalista-Alam

62.  http://aceh.tribunnews.com/m/index.php/2012/01/13/16-organisasi-sipil-demo-kantor-gubernur

63.  http://sahara-aceh.org/lbh-kejahatan-hukum-lingkungan-di-aceh-tidak-ditangani-secara-baik/

64.  http://atjehlink.com/aceh-butuh-komisi-penyelesaian-sengketa/

65.  http://wwww.atjehpost.com/read/2012/06/18/12353/1/1/Kasus-Sengketa-Tanah-Singkil-YLBHI-Minta-Kapolri-Periksa-Kapolda-Aceh-dan-Kapolres-Singkil

66.  http://acehterkini.com/?p=296

67.  http://www.acehsingkilkab.go.id

68.  http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37

69.  http://id.wikipedia.org/wiki/Daftar_kabupaten_dan_kota_di_Indonesia

70.  http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5786

71.  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5

72.  http://www.thaijusticereform.com/index.php?option=com_content&view=article&id=4:2009-12-23-06-42-01&catid=2:2009-12-23-06-07-01&Itemid=16

73.  http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2

74.  http://www.scribd.com/doc/93979949/hutan

75.  http://www.antaranews.com/berita/336634/2145-hektar-kawasan-hutan-rawa-tripa-hilang

76.  http://www.fire.uni-freiburg.de/Globa­­­lNetworks/PeatlandFireNetwork/Sumatera-peatland-fire-proc-Part-4.pdf

77.  http://2012.acehinvestment.com/Perusahaan-PMDN.html

78.  http://id.wikipedia.org/wiki/Daftar_kabupaten_dan_kota_di_Indonesia

79.  http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37)

80.  http://www.ksmecare.com/Article/82/28155/%EO%...

81.  http://www.rmol.co/read/2012/09/22/79005/Perkebunan-Sawit-Indonesia-Dikuasai-Tujuh-Negara-

82.  http://2012.acehinvestment.com/Perusahaan-PMDN.html

83.  http://intisawit.blogspot.com/2012/11/standart-gaji-untuk-perkebunan-dan.html

84.  http://2012.acehinvestment.com

85.  http://intisawit.blogspot.com/2012/02/daftar-nama-perusahaan-kelapa-sawit.html

 

 

 

 



[1]  Free Aceh Movement, (“Gerakan Aceh Merdeka; GAM”, Indonesian Language) or Aceh Sumatra National Liberation Front), this movement is a separatism, demands for autonomy of Aceh, where is located in Sumatra Island, Indonesia. In 2005, violence conflicts have been finished after peace talks with central Indonesian government. Recently, the central Indonesian government calls particular movement as Aceh Security Disturbance Movement

 

[2] Adat Law: it is unwritten law because Indonesian tribes have their own specific Adat Laws. In fact, some rules are being enforced via their local authorities and some are expired with replacing by government law. Practically, tribes’ people have carried Adat Law regarding to lands ownerships and inherited. 

 

[4] Population Statistics According To Gender in Province Aceh, 2010 (http://regionalinvestment.bkpm.go.id/newsipid/demografipendudukjkel.php?lang=en&ia=11&is=37)

[5]Th.wikipedia.org/wiki/ Aceh autonomous government and  th.wikipedia.org/wiki/ Free Aceh Movement

[6] 1 hectare = 6.25 Rai

[7] Hasil Sensus Penduduk, 2010. Data Agregat Per Kecamatan Aceh Barat Daya, Banda Pusat Statistik Kabupatan Aceh Barat Daya.

[8] Interviews Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, May 1st, 2013

[9] Kasikorn Research Center, Palm Oil Business after joined Asian Economic Community (AEC). http://www.ksmecare.com/Article/82/28155/%EO%...

[10] Kasikorn Research Center, Palm Oil Business after joined Asian Economic Community (AEC). http://www.ksmecare.com/Article/82/28155/%EO%...

[11] http://www.rmol.co/read/2012/09/22/79005/Perkebunan-Sawit-Indonesia-Dikuasai-Tujuh-Negara-

[13] Interviews Rusliadi, officer of Non-Governmental Organizations named Community and Indigenous People Network (Jaringan Komunitas Masharakat Adat), July 1st, 2013

[14] President decree No.32/1990 on Environmental Management, article 9

[15] Interviews Teuku Muhammad Zulfikar, executive director of WALHI Aceh, June 3rd, 2013

[16] Interviews Nurdin, group leader of Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District,  December 11st , 2012

[17]  Interviews Abdul Majid, group leader of Sanaan Barat Sub-District, Nagan Raya District, December 11st , 2012

[18]  Nurdin and Abdul Majid. Referenced

[19] Interviews Suratman, villager from Suka Damai Village, Sanaan Timur Sub-District, Nagan Raya District, May 30th, 2013

[20] Interviews Idin villager, from Panton Bay Village, Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

[21] Interviews Ansari, villager from Kaye Uno Village , Sanaan Timur Sub-district, Nagan Raya District, May 31st, 2013

 

 

บล็อกของ รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
 รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว  
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว 
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
รวยริน เพ็ชรสลับแก้วโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
  รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย     
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
บทบันทึกเริ่มต้นของประสบการณ์บนผืนแผ่นดินอาเจะห์ จากผู้ได้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย