แผ่นดินและผืนป่าที่อาเจะห์: (2) ในท่ามกลางม่านควันไฟป่า

 

รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย

 

  

ไฟป่า – ลักษณะไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ที่เกิดจาการเผาป่าเพื่อนำที่ดินมาใช้ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (ที่มา: http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2 เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555)

 

ไฟป่า ลักษณะไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ที่เกิดจาการเผาป่าเพื่อนำที่ดินมาใช้ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (ที่มา:http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555)

 

 

 

แดดเปรี้ยงกลางเดือนรอมฎอน อันเป็นช่วงถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม ประมาณกลางเดือนกรกฏาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม 2555 เหมือนจะซ้ำเติมร่างกายที่อ่อนเพลียจากการอดอาหารให้ทรุดฮวบลงกับพื้น

ทั่วเมืองบันดาอาเจะห์ ในอินโดนีเซีย บรรดาร้านอาหารต่างปิดประตูเงียบ คนจำนวนน้อยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม พลอยไม่ได้รับประทานอาหารในที่สาธารณะตามไปด้วย


ภาพผู้คนนั่งหลับใหลในที่ทำงาน จึงกลายเป็นเรื่องปกติของชาวอาเจะห์ ในช่วงเดือนแห่งศรัทธา ท่ามกลางความอิดโรยของผู้คน เครื่องมือสื่อสารอันทรงประสิทธิภาพ ยังคงทำหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วสารพัดช่องทาง ข่าวควันไฟปกคลุมหลายจังหวัดในภาคใต้จากเมืองไทย เดินทางมาถึงอาเจะห์ในชั่วพริบตา


ข่าวชิ้นแรกที่ผ่านตาระบุว่า วันที่ 11 สิงหาคม 2555 ท้องฟ้าในจังหวัดสงขลาสลัวตลอดเวลา โดยเฉพาะในทะเลและภูเขา รวมถึงในทะเลสาบสงขลา มีหมอกควันปกคลุมเต็มไปหมด (มติชนรายวัน, วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2555, ปีที่ 35, ฉบับที่ 12574, หน้าที่ 16)


ตามด้วยชิ้นที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 จังหวัดสงขลา รายงานสถานการณ์หมอกควันพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จากข้อมูลดาวเทียม NOAA–18 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 ว่า จำนวนจุดที่เกิดเพลิงไหม้บนเกาะสุมาตรา ลดลงจากวันที่ 11 สิงหาคม 2555 จาก 239 จุด เหลือ 163 จุด


สำหรับคุณภาพอากาศในวันที่ 13 สิงหาคม 2555 ในจังหวัดสงขลา นราธิวาส ยะลา และสตูล พบค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ลดลง คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มติชนรายวัน, วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2555, ปีที่ 35, ฉบับที่ 12576, หน้า 15)


อ่านข่าวจากเมืองไทยแล้ว ทำให้หันมาสนใจควันไฟที่ปกคลุมเทือกเขาบูกิตบาริซาน (Bukit Barisan) ตำบลเลิมบะห์เซอลาวะห์ (Lembah Selawah) อำเภออาเจะห์เบอซาร์ จังหวัดอาเจะห์ ด้วยเห็นควันกรุ่นอยู่บนเทือกเขาแห่งนี้ นับตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างแผ่นดินอาเจะห์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555


ด้วยทุกปีจะมีควันไฟพัดจากอินโดนีเซีย เข้าปกคลุมภาคใต้ของไทย รวมไปถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า ในหลายพื้นที่ของอินโดนีเซีย รวมถึงบนเกาะสุมาตรา ที่มีผืนป่าอาเจะห์อยู่ด้วย


นั่นนับเป็นแรงจูงใจมากเกินพอที่จะขอติดตาม Mohamad Burhanudi นักข่าวจากหนังสือพิมพ์คอมพาส (Kompas) ที่จะขึ้นไปเก็บภาพและข้อมูลไฟป่าบนเทือกเขาบูกิตบาริซาน เนื่องเพราะปีนี้ดูเหมือนฤดูกาลไฟป่าจะยาวนานเป็นพิเศษ คล้ายจะผิดปกติกว่าทุกปีที่ผ่านมา


เมืองบันดาอาเจะห์ เป็นที่ราบกลางหุบเขารูปตัว C เมื่อยืนหันหลังให้มหาสมุทรอินเดีย มองไปทางภูเขาด้านขวามือ จะเห็นควันไฟลอยอยู่หลายจุด นั่นคือจุดหมายปลายทางของเรา


เที่ยงตรงวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 คือวันเวลาที่ Mohamad Burhanudi ขับรถมุ่งหน้าไปยังเทือกเขาบูกิตบาริซาน รถวิ่งบนทางราบไม่กี่นาที ก็เริ่มไต่ขึ้นเนินลงเนินไปตามเส้นทางบันดาอาเจะห์–เมดาน ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง สองข้างทางมีต้นไม้งอกแซมไม่มากนัก แทบจะไม่มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ในป่าเขตร้อนชื้น นอกจากต้นไม้ตระกูลสนขนาดไม่ใหญ่ ทั้งหมดไม่ได้งอกตามธรรมชาติ แต่มาจากการปลูกป่า


ยามรถวิ่งผ่านย่านหมู่บ้าน ถึงจะมีสวนโกโก้และกาแฟปรากฏให้เห็นประปราย


ควันไร้ไฟปรากฏให้เห็นมากมายหลายจุดนับไม่ถ้วน ยิ่งใกล้จุดหมายยิ่งเห็นชัดขึ้น แต่ละจุดที่มีการเผา จะมีคนคอยตัดแต่งต้นไม้ ดูลักษณะแล้วเป็นแค่เผาหญ้าและต้นไม้เล็กๆ เพื่อเตรียมการเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ พื้นที่ไฟไหม้แต่ละจุดกินอาณาบริเวณไม่กว้าง เพราะอยู่ในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน


เมื่อกลับลงมาสู่พื้นราบ ณ เมืองบันดาอาเจะห์ สิ่งแรกที่ทำคืออ่านงานของ Gellert K. Paul. (1998). A Brief History and Analysis of Indonesia’s Forest Fire Crisis. Indonesia, 65, 63–85. ซึ่งปรากฏให้เห็นความเป็นมาของไฟป่าตั้งแต่ปี 1982–1983


ปีนั้นพื้นที่ป่าในกาลิมันตันตะวันออก ถูกเผาไป 3.2 ล้านเฮกตาร์ คนในหน่วยงานของรัฐและรัฐบาล ต่างเรียงหน้ากันออกมาตำหนิการทำไร่เลื่อนลอยของเกษตรกรรายเล็กรายน้อย พร้อมกับโยนบาปให้กับปรากฏการณ์เอลนีโญ่


บทบาทการทำลายป่าและการเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดไฟป่าของอุตสาหกรรมป่าไม้ ถูกยืนยันด้วยข้อมูลที่หนักแน่นในภายหลัง เนื่องเพราะหลังจากเกิดไฟป่ากลับพบว่า 69% ของพื้นที่ป่ายังคงถูกทำลายเพิ่มขึ้นทุกวัน ในจำนวนนั้นเป็นป่าที่ถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงต่อเนื่องถึง6ครั้ง


แตกต่างอย่างยิ่งกับพื้นที่ทำไร่ของชาวบ้าน ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ แต่ก็ไม่รุนแรงเท่ากับป่าในพื้นที่อุตสาหกรรมป่าไม้


เมื่อดูผลสรุปการเกิดไฟป่า ในปี 1982–1983 พบว่า พืชชั้นล่างถูกไฟไหม้เพียง 58% ไม่ถูกไฟไหม้สูงถึง 42% พืชชั้นกลางโดนไฟไหม้สูงถึง 84% ที่ไม่ถูกไฟไหม้มีเพียง 16% ส่วนพืชชั้นบน ที่เป็นต้นไม้สูงใหญ่ ถูกเผาไหม้สูงถึง 88% รอดพ้นไม่ถูกเผาไหม้เพียง 12%


ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษคือ บริเวณที่ถูกไฟไหม้มากที่สุดถึง 97% นั่นคือป่าพรุ ปลายปี 1990 เห็นได้ชัดว่า การบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณห้วยหนองคลองบึงในกาลิมันตันกลาง


ในปี 1997–1998 ไฟป่าลุกลามมากที่สุด จนมาเลเซียและสิงคโปร์ ต้องออกมาเรียกร้องอินโดนีเซียให้แก้ปัญหามลพิษทางอากาศ อันเนื่องมาจากควันไฟที่ถูกลมพัดพาไปจากอินโดนีเซีย


รัฐมนตรีกระทรวงป่าไม้อินโดนีเซีย ผู้รับผิดชอบต่อเสียงเรียกร้องของสองประเทศ สั่งห้ามไม่ให้บริษัทต่างๆ เข้าไปใช้พื้นที่ที่โดนไฟไหม้ ถึงกระนั้นตัวเลขความเสียหายที่เกิดจากไฟป่า ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับหน่วยงานของรัฐบาลอินโดนีเซีย ก็ยังแตกต่างกันอย่างมาก


ตัวเลขจากหน่วยงานรัฐระบุว่า มีพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้เพียง 80,000 เฮกตาร์ ขณะที่ข้อมูลขององค์กรพัฒนาเอกชนระบุตัวเลขประมาณ 2,000,000 เฮกตาร์ในปลายปี 1997


สิ่งที่มากกว่าไฟไหม้คือควันไฟ ที่ถูกลมพัดพาไปยังประเทศใกล้เคียง ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ อันเนื่องจากควันไฟจำนวนมาก


มีรายงานด้วยว่า มลพิษทางอากาศจากควันไฟที่ซาราวัก เคยอยู่ในระดับอันตราย ส่งผลให้ดร.มหาเธร์ มูฮำหมัด นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซียในขณะนั้น มีคำสั่งให้ประชาชนสวมหน้ากาก และประกาศภาวะฉุกเฉินในซาราวัก


ขณะที่สิงคโปร์เคยตีพิมพ์เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อแสดงให้เห็นถึงอันตรายที่เกิดจากควันไฟ อันเนื่องมาจากการเตรียมดินปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ป่าอินโดนีเซีย ส่งผลให้ประชาชนมาเลเซียร่วมพันคน มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและดวงตา จนต้องปิดโรงเรียนและธุรกิจหยุดชะงัก เที่ยวบินถูกยกเลิก


แน่นอน ลมได้พัดพาควันจากไฟป่าจากอินโดนีเซีย เข้ามายังภาคใต้ของไทยด้วย


ปลายปี 1997 หลายบริษัทในอินโดนีเซียหยุดเผาป่า เพราะถูกยึดใบอนุญาต ควันเริ่มเบาบางลง แต่ในช่วงต้นปี 1998 ไฟป่าก็กลับมาอีกครั้ง


ที่ประชุมอาเซียนในเดือนเมษายน 1998 เห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย ที่จะยุติกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดไฟป่าในกาลิมันตันตะวันตก ถึงกระนั้นข้อมูลความเสียหายจากรายงานของรัฐบาลอินโดนีเซียก็ยังคงคลุมเครือ ตัวเลขความเสียหายยังไม่ตรงกับความเป็นจริง สภาพปัญหาไฟป่าในอินโดนีเซียเป็นอย่างไร ต้องกลับไปมองประวัติศาสตร์การทำไม้ และรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย


เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติราคาน้ำมัน รัฐบาลอินโดนีเซียได้หันไปสนับสนุนธุรกิจที่มีฐานอยู่บนทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย ธุรกิจไม้อัด อุตสาหกรรมเนื้อเยื่อและกระดาษ ที่ขยายตัวสุดๆ คือ การปลูกปาล์มน้ำมัน โดยให้เหตุผลว่า เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ตั้งแต่ปี 1980 ไม้อัดเป็นสินค้าส่งออกของอินโดนีเซีย จนกระทั่งปี 1985 จึงเปลี่ยนไปเน้นการส่งออกไม้ซุงแทน เพราะให้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า ตามด้วยการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปไม้


บรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวิจารณ์ว่า บริษัทของญี่ปุ่นและอเมริกาทำให้ป่าในอินโดนีเซียลดลง Apkindo (Asosiasi Panel Kayu Indonesia) หรือ (Indonesian Wood Panel Producers Association)และ Mohamad Bob Hasan ประสบความสำเร็จในตลาดไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์จากไม้อัด จนตีตลาดญี่ปุ่นได้สำเร็จ สามารถครอบงำธุรกิจไม้อัดญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวันได้สำเร็จ อิทธิพลของ Apkindo เพิ่มขึ้น และเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับสัมปทานป่าไม้


ในช่วงที่การส่งออกไม้อัดกำลังเติบโต เกิดปรากฏการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบ ที่จะป้อนให้กับอุตสาหกรรมนี้ เพราะหลังจากเปิดให้ทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในกาลิมันตันและสุมาตราประมาณ 15 ปี ป่าก็เริ่มเสื่อมโทรมลง


ในปี 1990 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงมีนโยบายสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจ ในนามของการทำอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และทำให้ป่ากลับคืนสู่สภาพเดิม ด้วยเหตุผลง่ายๆ 2 ข้อคือ


หนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมป่าไม้เข้าสู่พื้นที่ป่า


สอง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน จากสถาบันการเงิน


การปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟป่า ในปี 1997 และ 1998 แรงกระตุ้นจากรัฐบาล ทำให้ราคาปาล์มน้ำมันสูงขึ้น มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การเผาป่า ทำให้เกิดไฟป่าอย่างรุนแรง


ในปี 1990 ที่กาลิมันตันตะวันออก มีการใช้พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจถึง 1.4 ล้านเฮกตาร์ เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันถึง 900,000 เฮกตาร์


การขยายพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากธนาคารโลก โดยในปี 1986 ได้เข้าไปสนับสนุนการอพยพประชากร 613,700 ครัวเรือน จากชุมชนหนาแน่นในชวา บาหลี และมาดูรา ให้เข้าไปบุกเบิกป่าในกาลิมันตัน


ภาวะความตึงเครียดทางการเงิน สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ และวิกฤตด้านการเมือง ทำให้อินโดนีเซียต้องลดค่าเงินรูเปีย กลายเป็นแรงกดดันให้ต้องเร่งใช้ผืนป่าปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยมีพ่อค้าและกลุ่มเพื่อนของประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ ได้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ จากการส่งออกปาล์มน้ำมัน


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พยายามยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยมีเงื่อนไขให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน


แม้หลักฐานจากดาวเทียม จะสามารถแสดงพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้ว่าอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ จนยากที่จะปฏิเสธ ถึงกระนั้นเมื่อถามว่าใครเป็นผู้เผาป่า จนถึงตอนนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่


เจ้าหน้าที่ของรัฐมักกล่าวโทษพวกทำไร่เลื่อยลอยว่า เป็นสาเหตุของการเกิดไฟป่า ในปี 1982–1983 อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวงป่าไม้ Sarwono Husumaatmadja และ Djamaluddin Suryohadikusumo ออกมาตำหนิอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ่ และพวกทำไร่เลื่อนลอยทำให้เกิดไฟป่า จนถูกตอบโต้ว่าไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น


จน  Djamaluddin Suryohadikusumo ต้องออกมาประกาศว่า 176 บริษัท จะต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ไฟป่าในสุมาตราและกาลิมันตัน และจะยึดใบอนุญาต 133 บริษัทที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ และ 28 บริษัท ที่ทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจ และ 15 บริษัทที่อพยพคนเข้าพื้นที่


คราวนั้นรัฐมนตรีป่าไม้ให้เวลาบริษัทเหล่านี้เพียง 1 เดือน แต่บริษัทต่างๆ กลับไม่เชื่อว่ารัฐมนตรีจะยึดใบอนุญาตจริงๆ เลยไม่ให้ความสนใจ เมื่อครบระยะเวลา 1 เดือน บริษัททั้งหมดจึงถูกยึดใบอนุญาต


จากการสอบสวนพบว่า 27 บริษัททำผิดกฎหมาย โดยบริษัท PT London Sumatra เป็นผู้เผาป่าขนาดใหญ่ใกล้กับทะเลสาบเจมปัง บทลงโทษสูงสุดคือจำคุกผู้บริหารบริษัท และปรับ 200 ล้านรูเปีย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นท่ามกลางความสงสัยว่า ผู้มีอิทธิพลบางคนอยู่เบื้องหลัง


ปัญหาใหญ่ของการเผาป่าคือ มลพิษจากควันไฟที่เกิดขึ้นผิดที่ผิดทาง จนมีคำแนะนำว่าควรยกเลิกกฎหมายที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้ รัฐบาลต้องวิเคราะห์และกำหนดว่า ควรทำอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ป่าได้เมื่อไหร่ ที่ไหน และควรเผาป่าอย่างไร ด้วยความเอาใจใส่มากกว่าที่ผ่านมา


ทว่า นโยบายของรัฐกลับไปเพิ่มอำนาจ สร้างกำไร และเพิ่มทรัพย์สินให้กับตัวเองและพวกพ้องในรัฐบาล โดยมี IMF และนักลงทุนต่างชาติเข้ามาแทรกแซงแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้ โดยละเมิดสิทธิของคนอยู่อาศัยในเขตป่า ที่ไร้อำนาจต่อรอง


การเอื้อให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคม เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ในอินโดนีเซีย มีเนื้อหาไม่แตกต่างไปจากเมืองไทย ที่ฝ่ายการเมืองร่วมมือกับชนชั้นนำ กำหนดนโยบายเอื้อกลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เครือข่ายของนักการเมือง ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ต่างได้รับประโยชน์กันอย่างเต็มที่


ไม่ว่าจะกำหนดนโยบายสนับสนุนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างอ้อย มันสำปะหลังในอดีต หรือเปิดทางให้กลุ่มทุนได้ใช้พื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส ที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสื่อมโทรมให้กับทรัพยากรในท้องถิ่น


ขณะที่อินโดนีเซียกำหนดนโยบายสนับสนุนกลุ่มทุน เข้าไปบุกเบิกป่าปลูกปาล์มน้ำมัน รัฐไทยก็สนับสนุนให้กลุ่มทุนทั้งในประเทศและจากมาเลเซีย เช่าที่ป่าหลายแสนไร่ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับกลุ่มทุนและรัฐอยู่ในขณะนี้


ภายใต้กรอบการจัดการป่าไม้ที่รวมศูนย์อยู่กับรัฐส่วนกลาง ที่ไม่เอื้อให้เกษตรกรรายย่อย และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้าถึงทรัพยากรป่าไม้และที่ดินทำกินอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความตึงเครียดในท้องถิ่น จนถึงขั้นปะทะกันอย่างรุนแรง รวมทั้งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร อันเป็นฐานการดำรงชีวิตอยู่รอดของประชาชนส่วนใหญ่อย่างที่เป็นอยู่


คำถามก็คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการไปสู่การกระจายอำนาจ ในการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน และการกระจายการเข้าถึงทรัพยากรอย่างทั่วถึง ควรจะเป็นอย่างไร       หมายเหตุ: ความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนความเห็นของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย มูลนิธิฯ สถาบันประสานงานกลาง และ/หรือสถาบันภาคี”

 

*************************************

 
(2) Amid the Smoke Screen of Forest Fire

 

Ruayrin Pedsalabkaew

Asian Public Intellectual

 

The scorching heat of Ramadan month, the fasting period of our Muslim sisters and brothers, from the middle of July to middle of August 2012, simply exacerbates the frail bodies that already bear the brunt from the refraining from taking food. 

In the entire city of Indonesia’s Banda Aceh, all eateries were in recess and a number of non-Muslim fail to find a place to take food in public places during the time. 

That people dozing off in various workplaces is thus not an uncommon scene during the months of faith of the Acehnese. 

Despite the tiring disappearance of people, efficient communication devices keep sending news rapidly through many channels about the bushfire and smoke that covered several provinces in Thailand and reached Aceh a brink of an eye. 

The first piece of news spotted was published on 11 August 2012 reported about the hazy sky in the province of Songkhla, particularly in the sea and on the mountain including in the Songkhla Lake where smoke was all over the place (Matichon Daily, Monday 13 August 2012, Vol. 35, No. 12574, page 16).

Followed by the second piece, whereby the Region 16 Environmental Officer of Songkhla reported the situation of smoke from forest fire in the lower part of Southern Thailand and according to satellite information from NOAA–18, on 12 August 2012, the number of bushfires on Sumatra Island has decreased from 239 spots on 11 August 2012 to 163 spots. 

As to the quality of air on 13 August 2012 in the provinces of Songkhla, Narathiwat, Yala and Satul, the amount of particulate matter pollution that is 10 microns in diameter or less (PM 10) has decreased, and the air quality is fair and causes no health impact (Matichon Daily, Wednesday 15 August 2012, Vol. 35, No. 12576, page 15).

Reading news from Thailand makes me feel interested in the forest fire smoke covering Bukit Barisan Mountains in Lembah Selawah, Aceh Besar, Aceh Province as the simmering smoke has become visible on the peaks since the first day I set my foot on Aceh on 4 July 2012.

Every year, smoke from Indonesia is blown toward Southern Thailand as well as Malaysia and Singapore. It is attributed to forest burning that takes place in various areas of Indonesia including Sumatra Island and forests in Aceh.

It suffices to prompt me to check out the reports by Mohamad Burhanudi, from Kompas who ventured to take photos and collect information about forest fire on the Bukit Barisan Mountains. The seasonal forest fire this year seems to have taken place longer than previous years. 

Banda Aceh lies in the c-shape low lying plain. Showing your back to the Indian Ocean, and gazing toward the Mountains on your right, you will find many spots where the smoke screens were hanging in balance. That’s where we are heading to. 

Noontime sharp on 30 July 2012, Mohamad Burhanudi set on driving towards the Bukit Barisan Mountains. After a few minutes on a smooth plain turf, the car started to climb up the elevation on the 45 kilometer long Banda Aceh Medan route, which took us almost two hours to get through. Trees were few and far between along the roadsides and no tropical vegetation diversity was visible along the way, except those big pine trees, which have been planted. 

Roving through villages, we found coco and coffee plantations sporadically. 

The flameless smoke appeared in countless spots, and the more we got closer to our destination, the more the smoke becomes more visible. In every burning spot, we found workers trimming the plants. It looked like they were burning away weeds and small plants to prepare for a new crop. Every burning spot was not so expansive since they were part of the residential area and farmland of local villagers. 

Returning to the low-lying plain of Banda Aceh, the first thing I did was read A Brief History and Analysis of Indonesia’s Forest Fire Crisis by Gellert K. Paul (1998) (pp. 63–85) which explained background of forest fire since 1982–1983.

In that year, 3.2 million hectares of forest in East Kalimantan were burned up, and in a row, officials from state agencies and the government came out to point their fingers to the “slash and burn” agricultural practice of small scale farmers and the El Niño.

The impact of agro-industry on deforestation and forest fire is strongly supported by information found later that after forest fire, 69% of forest area has been facing deforestation and degradation. Among them, there were at least six major forest fires that have happened successively. 

Forest burning is small scale farmers’ land was significantly less pronounced than forest fire found in the agro-industry plantations.

As a result of forest fire in 1982–1983, 58% of the undergrowth was burned down leaving 42% intact. Meanwhile, 84% of the intermediate layers suffered from burning, leaving only 16% intact. But 88% of the tall trees suffered from burning, leaving only 12% intact.

One issue that warrants special attention was the forest that suffered the most, or 97% of it, which is peat swamp forest. 

Since late 1990, commercial plantations have expanded rapidly, particularly around ponds and swamps in Central Kalimantan. 

1997–1998 saw the most severe forest fire that spread to Malaysia and Singapore. The neighboring countries came out to demand Indonesia be accountable for tackling air pollution since much of the smoke was blown from Indonesia.

As a result, yielding to the demand of neighboring countries, the Indonesian Minister of Forestry barred any company from entering the areas which suffered from forest fire. Yet, the estimations of the damage are widely different between those pushed forward by NGOs and those presented by the Government of Indonesia.

While the state insisted that only 80,000 hectares of forest suffered from forest fire, the NGOs insisted that two million hectares was burned down in late 1997.

What is worse than the fire itself is the emitting smoke that has been blown to neighboring countries causing air pollution. 

Reportedly, air pollution from forest fire in Sarawak used to be rated as dangerous prompting the then Prime Minister, Dr. Mahathir Mohamad to order his people to wear masks and declare an emergency situation in Sarawak. 

Meanwhile, Singapore once published a satellite image showing danger from the smoke as a result of the preparation for commercial plantations in Indonesia. More than a thousand people of Malaysia suffered respiratory system problem and eye problem as well as the closure of school and business as well as the cancellation of flights. 

Of course, smoke from Indonesia’s forest fire has been blown into Southern Thailand. 

In late 1997, several plantation companies had to stop burning the forest as their licenses were stripped off. As a result, the smoke intensity has gone down. But in early 1998, forest fire started to resume. 

It was agreed at the ASEAN Summit in April 1998 that the Indonesian Minister of Natural Resources and the Environment shall endeavor to halt activities that contribute to forest fire in West Kalimantan. Yet, information about the damage done from the report of the Government of Indonesia was way too vague and the figures were not accurate. 

To understand Indonesia’s forest fire and its problems, one has to trace back to the history of logging and the country’s economic development model. 

Owing to oil crisis, the Government of Indonesia shifted its emphasis to pushing forward its existing agro-industry and downstream industries including plied wood, pulp and paper. It has given rise to a boom in oil palm plantation and the government claims it is part of sustainable development. 

Plied wood used to be a major export product of Indonesia since 1980. It was then replaced by export of logs in 1985 due to its more economic value and followed by wood processing industry. 

Environmental critics claim that it was the Japanese and American corporations that have contributed to the dwindling forests in Indonesia.

                Apkindo (Asosiasi Panel Kayu Indonesia) or Indonesian Wood Panel Producers Association and Mohamad Bob Hasan achieved much success in wood processing market and plied wood products and managed to enter Japanese market and then dominated the market in Japan, South Korea and Taiwan. Apkindo’s influence has grown by leap and bound making it become involved with logging concession later. 

During the height of plied wood export, there was a shortage of raw material supplies due to severe deforestation in Kalimantan and Sumatra in the past 15 years since the industry has begun.

In 1990, the Government of Indonesia has shifted to promoting cash crop plantations calling it “sustainable agro-industry” in order to serve the need of wood processing industry and to restore the forests. They gave two simple reasons to push forward the policy;

(1) To give agro-industry operators access to forested area 

(2) To give agro-industry operators access to financial support from financial institutions

Thus, oil palm plantation has become a major reason contributing to the emergence of forest fire during 1997 and 1998. Due to the push from the government and the rising price of oil palm, the plantations have expanded rapidly and led to forest burning causing extreme forest fire.

In 1990, 1.4 million hectares of the total area in East Kalimantan was dedicated to plantations of cash crop including 900,000 hectares of oil palm plantation.

The expansion of cash crop plantation received full support from the World Bank. In 1986, it got involved with the relocation of 613,700 households from congested neighborhoods in Java, Bali and Madura to flung open the gate to Kalimantan forests. 

Amidst financial crash and economic and political crisis, Indonesia had to devalue its currency causing more pressure to replace natural forests with plantations. The schemes were pushed forward by investors and cronies of President Suharto who stood to reap huge profits from palm oil export. 

The International Monetary Fund (IMF) also extended its financial help based on one condition that forest investors must be encouraged to invest in Indonesia’s palm oil industry. 

Satellite images that show the burning areas are located in of the economic plantation zones make it difficult to deny who the real culprits of forest fire are, though the issue is still subjected to controversy. 

Governmental officials tend to blame slash and burn farmers for the occurrence of forest fire. During 1982–1983, the former Minister of the Environment and Minister of Forestry, Mr. Sarwono Husumaatmadja and Mrs. Djamaluddin Suryohadikusumo, came out to blame the industry for their contribution to the emergence of El Niño and blamed the slash and burn farmers for causing forest fire. Nevertheless, their statements were strongly contended and both were criticized for their lack of maturity to cope with the damage. 

Eventually, Mr. Djamaluddin Suryohadikusumo had to come out to declare that more than 176 corporations had to be held responsible for forest fire in Sumatra and Kalimantan. He threatened to revoke concessionary rights of 133 plantation companies, 28 companies involved with downstream cash crop industry and 15 companies involved with immigrating workers into the areas. 

Then, the Minister of Forestry gave one month for the companies to solve the problems. As they did not believe in the Minister’s word, they decided to stay complacent and after one month past, all their concessionary rights and permits were revoked. 

According to the government’s inquiry, 27 companies were found to have broken the law. PT London Sumatra was held responsible for burning a big chunk of forest near Jempang Lake and the maximum punishment for such an offence was imprisonment of the company’s executives and a fine of 200 million rupiah. Many people were suspecting that influential people were behind the incidence of forest fire. 

One major problem that entails forest burning is air pollution from smoke that spread everywhere. It was even advised that the government has to revoke the law that could not be enforced. The government had to review and set a new direction as to when and where to launch forest related industries, how forest burning should be conducted and more care should given to such an activity. 

Nevertheless, the government’s policy seems to be geared toward increasing power, profits and assets of its own cronies while allowing IMF and foreign investors to reap profits from forestry industry and allowing the trampling down of the rights of powerless people who dwell in the forest.

                How the social elites are given the chance to utilize forest resources in Indonesia is not so different from Thailand where the politicians in collusion with the elites set out policies favorable to big investors from inside and outside the country as well as the network of politicians at the local and national levels who set to enjoy the profits immensely.

                From the policy to promote monoculture such as sugar cane or cassava plantation in the past to the promotion of eucalyptus plantation by investors in recent time, all these policies render much impact on biodiversity and lead to degradation of local natural resources. 

                While the Indonesian government set out policy to promote palm oil plantations in the forests by investors, the Thai government allows investors from within the country and from Malaysia to lease hundreds of thousands of acres of land for palm oil plantations in the provinces of Suratthani and Krabi. Such schemes have led to unresolved conflicts between small scale farmers and the investors plus the government. 

                Under the centralized forestry management policy by the state which does not work in favor of small scale farmers and the majority of the people and impedes their access to forestry resources and land, it has led to tensions in various local communities and even given rise to violent clashes in various places. It has also led to degradation of natural resources which should be well preserved as a basis to enable sustainable living among the majority of the people. 

The question is how can we move toward decentralization and proper natural resource management in order to ensure sustainability and redistribution of resources?

 

(The views of the author do not reflect those of the API Fellowships Program, The Nippon Foundation, the Coordinating Institution, and / or the Partner Institutions.)

 

 

 

ความเห็น