Skip to main content

รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม

\\/--break--\>

 

ผมเลือกเอาเพลง “แบแล” มาแจมกับวงเพื่อความสนุกสนาน โดยมีการส่งซีดีเพลงให้นักดนตรีได้ฟังก่อนหน้านั้น เมื่อถึงเวลาซ้อมวงปรากฏว่าไม่มีใครไปแกะเพลงผมเลย ผมเซ็งนิดหน่อยเพราะรู้สึกว่าไม่ค่อยมีการใส่ใจเพลงผมที่ส่งไปให้เท่าที่ควร ผมไม่แน่ใจว่ามีการเอาไปฟังบ้างหรือเปล่า อย่างไรก็แล้วแต่ต้องนั่งวาดโครงเพลงให้นักดนตรีในวง ณ บัดนั้น

 

เริ่มต้นจากกลอง เพราะในเพลงมีท่อนย้ำมากแต่คอร์ดมีไม่กี่คอร์ด กว่าจะเข้าใจและเล่นกันได้จบเพลงเล่นเอาเหงื่อตกเหมือนกัน เพราะนักดนตรีต้องทำงานหนัก พวกเขามิได้มีเพียงเพลงผมอย่างเดียว แต่มีเพลงอื่นๆอีกเกือบยี่สิบเพลง เพลงของผมจึงถูกลืมแกะไป แต่สุดท้ายก็สามารถเล่นจนจบเพลงได้

 

ขอบคุณพี่ๆนักดนตรีทุกคนครับ ที่ร่วมเล่นเพลงและให้เกียรติเพลงปกาเกอะญอของผม” ผมยกมือไหว้ขอบคุณสมาชิกวงทุกคนที่ร่วมบรรเลง

 

ขบวนรถตู้สามคันได้พาคณะเดินทางออกจากสแครนตันมุ่งสู่นิวยอร์ก ระหว่างทางฝนตกหนัก กระทั่งข้ามสะพานแม่น้ำก่อนเข้าเมือง ฟ้าปิดมืดจนมองไม่เห็นอะไรนอกจากแสงไฟ รถค่อยๆเลื่อนล้อไปหาเป้าหมาย กว่าจะหาเจอต้องวนหากันหลายรอบ

 

Dorm ร้านแนว World music วันนี้มีการจัดงานรำลึก 8 ปีเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดฯ กับตึกเพนทากอนที่นิวยอร์ก ซึ่งตามกำหนด คณะเรามีนัดลองเครื่องเสียงในเวลา 5 โมงเย็น แต่เรามาช้าไปห้าสิบนาที มีอีกวงที่มีคิวลองเสียง 6 โมงเย็น เขามาตั้งแต่ 5 โมงครึ่งแต่เขาไม่ลองเครื่อง เขารอจนกว่าจะถึงเวลา เขาจึงขึ้นลองเสียง จังหวะที่ถึงเวลาของเขา ทางคณะเรายังตั้งเครื่องไม่เสร็จ

 

ขอโทษครับ ได้เวลาวงของผมลองเครื่องแล้วครับ” มือกีตาร์เข้ามาบอกทางคณะเรา

เรากำลังตั้งเครื่องอยู่ และขอเวลาลองซักสองเพลงได้มั้ยครับ?” พี่ทอด์ดบอกมือกีตาร์ฝรั่ง

ผมไม่รู้ แต่นี่เป็นเวลาของผม ผมมารอก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง ผมไม่แตะต้องเวลาคุณเลย เอาเป็นว่าผมให้เวลาคุณตั้งเครื่องให้เสร็จ แล้วผมจะเอาเวลาผมคืน” เขาบอกพร้อมเดินเข้าไปนั่งและหยิบเครื่องไม้เครื่องมือของเขาเพื่อเตรียมพร้อมในการลองเสียง

 

มองในแง่การรักษาเวลา การเคารพสิทธิผู้อื่น การรักษาสิทธิของตนเอง ยกมือไหว้ได้เลย แต่หากมองในแง่ความเห็นอกเห็นใจ การเสียสละ การยึดหยุ่น อาจต้องคุยกันใหม่ ยังไงก็แล้วแต่ทางคณะเราไม่ได้ลองเสียง ได้แต่ตั้งเครื่องแล้วรอเล่นอย่างเดียว

 

หนึ่งทุ่มตรง วงดนตรีที่ลองเสียงต่อจากเรา ได้ขึ้นเวทีพร้อมกับฉายภาพโปรเจ็คเตอร์ ตอนแรกผมนึกว่าจะเป็นเพลงประกอบภาพ เพราะมีมือกีตาร์ มือกลอง มือคีย์บอร์ดและมีคนจับไมค์ ตนตรีเริ่มต้นอย่างโหยหวนจากมือกีตาร์ ต่อด้วยคีย์บอร์ดและตามด้วยกลอง แต่ปราศจากเสียงร้อง

 

ภาพบนจอเริ่มปรากฏ คนจับไมค์เริ่มส่งเสียง แต่เป็นเสียงพากย์บรรยายตามภาพเป็นระยะๆ ดนตรีเริ่มเป็น Movie score bar เด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ภาพเหตุการณ์และเรื่องราว 11 กันยาวิปโยค 2001 ในเมืองนิวยอร์ก เมืองเทพีสันติภาพ ไม่อาจลบเลือนจากความทรงจำของคนทั้งหมดในเมืองนี้ ในอเมริกา และคนทั้งโลกได้ เพียง 600 เมตรเท่านั้นจากร้านที่เราเล่นกับตึกเวิลด์เทรดฯ

 

ประมาณ 40 นาที เรื่องราวการรำลึกเหตุการณ์ 11/09/09 ที่ถูกเล่าได้จบลง ในร้านมีทั้งฝรั่งและคนไทยในอเมริกามาร่วมงาน ผู้ดำเนินรายการประกาศแนะนำการแสดงดนตรีที่เดินทางมาพร้อมสีสันจากตะวันออกของโลก

 

หิมพานต์ 2nd world from Thailand” จบประโยคนี้ ทอด์ด ทองดี หรือทอด์ด ลาเวลล์ ได้ขึ้นเวที
คอนเซ็ปของ หิมพานต์ 2nd world คือการอยู่ร่วมกันของสัตว์ต่างๆ นานาในที่เดียวกันมีทั้งสิงห์ เสือ นก ปลา และอื่นๆ ผมคิดว่าคนก็เช่นเดียวกัน เรามีโลกที่หนึ่ง เรามีโลกที่สาม โลกใหม่ของเราน่าจะเป็นโลกที่สองที่มนุษย์ทุกสีมาอยู่ร่วมกันได้ พ่อผมเคยสอนผมว่าสีทุกสีมีคุณค่า มีความหมาย มีประโยชน์ ต้องรู้จักหยิบมาใช้ แล้วมันจะปรากฏเป็นพลังในตัวของมันเอง

 

วันนี้เรานำสีสันจากชาติพันธุ์บนดอยทางภาคเหนือของประเทศไทย มาพร้อมปรัชญาชีวิต บทเพลงและเครื่องดนตรีที่คนที่นี่ไม่เคยได้ยินได้เห็นมาก่อน คนไทยเรียกเขาว่า กะเหรี่ยง ฝรั่งเรียกคาเรน แต่เขาเรียกตัวเองว่าคนปกาเกอะญอ ขอเชิญพบกับเตหน่ากูและคนปกาเกอะญอ” หลังทอด์ดประกาศ เตหน่ากูได้ปรากฏโฉมบนเวทีเป็นการนำร่องของการแสดงในอเมริกา

 

สามเพลงที่เตหน่ากู ได้บอกเล่าเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ และชุมนตนเองจบลง เตหน่ากูยังไม่เสร็จงานเพียงเท่านั้นมีการแจมกับดนตรีจากภาคอื่นๆ  หลังจบงานคนไทยในนิวยอร์กต่างแห่กันมาถ่ายรูปกับดาราไทย ทั้งลานนา ซอ The sis และพี่ทอด์ด ทำให้เกิดบรรยากาศร้านชุลมุนนิดหน่อย

 

เตหน่ากูถอยฉากออกมา เก็บเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ดนตรีต่างๆ กระทั่งมีนักดนตรีฝรั่งสองสามคนเดินเข้ามาหา

This is the lute, you play lute oh! Beautiful, you are the man!” เขาพูดพร้อมชี้มือมาที่เตหน่ากูและมาจับมือผม

Yes I’m the man not woman.” ผมตอบเขา และเขาหัวเราะดังลั่น จนพี่ทอด์ดหันมามองที่ผมกับเขา

เวลาฝรั่งเขาพูดกับคุณว่า you are the man มันหมายถึงคุณสุดยอด หรือคุณทำได้ดีมากอะไรทำนองนั้น ไม่ใช่คุณเป็นผู้ชาย และที่คุณตอบเขาคุณกำลังบอกว่า ใช่ผมเป็นผู้ชาย ผมไม่ได้เป็นผู้หญิง เขาจึงขำมากเลย” พี่ทอด์ด อธิบายให้ฟัง

จริงๆ ผมรู้ แต่ผมพูดเพื่อเล่นมุกกับเขาเฉยๆ” ผมบอกพี่ทอด์ด

เอ้า เหรอ มุกคุณนี่ร้ายกาจนะ” พี่ทอด์ดหัวเราะ

แน่นอน” ผมบอกเขาพร้อมแลบลิ้นนิดหน่อย เพื่อให้เขารู้ว่าสิ่งที่ผมพูดจริงหรือไม่จริง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อนักดนตรีฝรั่งเห็นเตหน่ากู เขาไม่ได้เรียกว่า “Harp” หรือพิณ แต่เรียกว่า "Lute” เป็นสิ่งที่ต้องค้นหาต่อว่า Lute มันคืออะไรมีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร? และมันเกี่ยวข้องกับเตหน่ากูอย่างไร?

 


วงที่เล่นและเล่าเรื่องเหตุการณ์
11/09/01

 


ข้อความบนจอโปรเจ็คเตอร์ 1

 


ข้อความบนจอโปรเจ็คเตอร์
2

 


เรื่องดำเนินไปพร้อมภาพและเสียง

 


เวทีแรกของเตหน่ากู ใน
USA. กลางเมืองนิวยอร์ก

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…