08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า
ผลจาก Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...
ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...
“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด
“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า ‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...
คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ
นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า 40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...
ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง
คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว
ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี
ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน
ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน
“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน
มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์
ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ
คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน
บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สะเปะสะปะทำให้ชาวบ้านหลายคนทิ้งชีวิตเรือกสวนไร่นา หันมาเป็นผู้ประกอบการอย่างไร้ทิศทาง ไร้การจัดการ ไร้ความคิด ในสังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอาที่ต้องการแต่ประโยชน์ส่วนตน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดยามบ่ายกระทบสายน้ำเป็นริ้วเต้นระริกรินไหลไปตามแก่งหินน้อยใหญ่ ทิวไม้สองฝั่งแน่นขนัดทอดกายยึดผืนดินไม่ให้น้ำกัดเซาะ ราวกับมืออันอบอุ่นของแม่ที่โอบอุ้มทารกแนบอก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนงานบนเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ริมฝั่งโขง กำลังทำงานของพวกเขา
เรือขุดทรายตักทรายจากกลางลำน้ำ ชายชราหาปลาอยู่บนเรือท้องแบน
ธุรกิจการค้าคึกคัก
...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชียงคานเมืองริมฝั่งโขง ถูกพูดถึงมากมายในหมู่นักท่องเที่ยว
นักเดินทางหลายคนหยุดเวลาเอาไว้ที่นั่นด้วยการนอนอ่านหนังสือเป็นอาทิตย์
...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทุกเช้าๆ คุณแม่ชาวปกาเกอญอจะออกมาสะพายลูก ...
ระหว่างเดินไปตามถนนกลางหมู่บ้าน
ระหว่างอาบน้ำริมห้วยแม่แงะ
ระหว่าง รอ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในลมหนาวมีใบหน้าใสซื่อ
ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วอย่างยิ่ง ที่จะต้องถ่ายภาพใบหน้าคน ...
ทุกปีที่ไปงานวันเด็กไร้สัญชาติ รอยยิ้มของคนหลังภูเขา อ่อนโยนแบบเด็กๆ ..
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ห้องทะเบียนราษฏรเคลื่อนที่ถูกจำลองขึ้นบนลานโล่งบริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ,คนไร้รัฐบ้านแม่แพะมารวมตัวกันเพื่อทำประชาคม ,ยกมือรับรองสถานะบุคคลเป็นพยานรู้เห็นว่าครอบครัวที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดอยู่บนผืนดินแห่งนี้มานาน ก า เ ล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือความคิดฝัน ,เทือกเขาและดวงตะวันนิ่งงัน ราวกับภาพวาด
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มุมหนึ่งของเชียงคาน จ.เลย ,หากใครเคยไปเชียงคานจะเห็นแม่น้ำโขงยาวสุดลูกหูลูกตา ก่อนจะลับหายเข้าไปยังฝั่งลาวตรงแก่งคุดคู้ ,ในภาพมองเห็นเรือดูดทรายเอกชน ,แนวโน้มการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ,คนที่นั่นออกปากปฏิเสธเป็นพัลวันถึงความไม่ต้องการให้เจริญขีดสุดแบบปาย ,แต่ขณะเดียวกันก็อ้าแขนต้อนรับนักท่องเที่ยว ,รวมถึงนักเก็งกำไรเข้ามาหาซื้อที่ดิน ,หลับตาก็พอมองออกว่าภายในระยะ 5-10 ปี เชียงคานจะอยู่ในสภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เสนอสนองความต้องการของคนในทุกระดับชั้น ,แต่ความเห็นส่วนตัว ผมชอบปายคับ
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายภาพ)