Skip to main content

EIA ขัดขวางความเจริญ ? 

หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็นหัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)

มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม

นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง เพราะพูดอะไรมักต้องเป็นที่ฮือฮาป่าแตกเสมอ ดังเช่นการวิจารณ์ว่า อีไอเอ' หรือ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม' ที่เจ้าของโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต้องศึกษาแล้วส่งให้ สผ.พิจารณานั้นคล้ายๆ จะขัดขวางความเจริญ ทำให้การลงทุนล่าช้า สะดุด หยุดชะงัก....ทำนักลงทุนเดือนร้อน ใครรับผิดชอบ ฮึ !

---------------------------------------------

การตั้งโจทย์แบบนี้ออกจะพาสังคมไทยถอยหลังไปไกลสมัยที่ยังมีแนวการพัฒนาที่มุ่งแต่เรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งมักทำให้มีคำถามชนิดที่ให้เลือกเอาระหว่างสิ่งแวดล้อมและการลงทุนอยู่เสมอ ขณะที่ทุกวันนี้ การพัฒนา' และสิ่งแวดล้อม (และชุมชน และสุขภาพ และ....) ถูกผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืน'

นอกเหนือจากถ้อยคำสวยหรู ในทางปฏิบัติ เรายังต้องเผชิญกับการหาจุดสมดุลของทั้งสองสิ่งเสมอ และไม่ต้องตีความให้เมื่อยตุ้ม เพราะนายกรัฐมนตรีประกาศชัดเจนว่าเลือกเอาสิ่งแวดล้อม..ทิ้งไป ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีในยุคที่ชาวบ้านชักแข็งข้อกับรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังมีเครื่องมือที่พัฒนาไปพอควร เช่น รัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิต่างๆ ของพวกเขา ดูเอาแค่การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ หรือดูคดีที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาฟ้องร้องภาครัฐ ก็จะเห็นเค้ารางความน่าปวดหัวอันไม่จบสิ้น

แทนที่จะโยนอีไอเอทิ้งไปแล้วบังคับขืนใจพวกต่อต้าน การคงอีไอเอไว้ และใช้มันอย่างที่ควรใช้ ให้มันเป็นอีไอเอจริงๆ ไม่ใช่ ตรายาง' ต่างหาก จึงจะเป็นทางออกที่จะทำให้การพัฒนาเดินต่อไปได้

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คงต้องหันกลับมาทบทวนกันซักนิดว่าสิ่งที่คุณสมัครพูด จริงเท็จแค่ไหน อีไอเอมีน้ำยาถึงขนาดไปขัดขวางการพัฒนาเชียวหรือ ?

เช็คสภาพ อีไอเอ'

ทุกวันนี้อีไอเอถูกทำให้กลายเป็นพิธีกรรมส่วนหนึ่งที่โครงการขนาดใหญ่ต้องทำการศึกษา เพื่อจะดูว่าโครงการนั้นก่อผลกระทบด้านใดบ้าง และจะลดผลกระทบอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่อีไอเอของโครงการต่างๆ จะไม่ผ่าน ถ้าไม่ได้ผิดกฎหมาย ผิดกฎระเบียบจริงๆ เช่น โครงการที่ทำในพื้นที่อนุรักษ์

คำถามเหล่านี้อาจทำให้เห็นภาพอีไอเอชัดเจนขึ้น

 

ทุกโครงการต้องทำอีไอเอ ?

กระทรวงทรัพยากรฯ กำหนดประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำอีไอเอไว้ 22 ประเภท ถ้าอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ต้องทำ ที่ผ่านมามีการหลบเลี่ยงกันพอสมควร เช่นการปรับขนาดโครงการให้รอดหวุดหวิดไม่ต้องทำอีไอเอ

อีไอเอติดขัด ใช้เวลาพิจารณานาน ?

ที่ว่า โครงการนู้นโครงการนี้ติดปัญหาอีไอเอ จริงๆ ไม่ใช่เพราะภาครัฐพิจารณานาน เพราะมีข้อกำหนดไว้ว่า คณะผู้ชำนาญการ (คชก.) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต้องพิจารณาอีไอเอที่บริษัทที่ปรึกษาส่งมาภายใน 45 วัน หากมีคำถามก็ต้องตีกลับให้ทำรายงานเพิ่มและนำเสนอใหม่ ซึ่งรอบต่อๆ มานั้น คชก.ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ถ้าไม่คอมเมนท์อะไรภายในเวลาที่กำหนดจะถือว่าผ่าน ดังนั้น เรื่องระยะเวลา ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ปรึกษาจะส่งกลับมาให้ คชก.พิจารณาเมื่อไร

พิจารณาอีไอเอ ละเอียด เข้มงวด เกินไป ?

การกำหนดประเด็นว่าจะศึกษาอะไร หรือไม่ศึกษาอะไร บริษัทที่ปรึกษาจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยเลือกเอาจากรายการที่ สผ.กำหนดไว้เป็นร้อยๆ รายการ การเลือกเองนี้ทำให้ข้อห่วงกังวลจริงๆ ของชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้ถูกศึกษาประเมิน ท้ายที่สุดโครงการจึงตอบคำถามของชาวบ้านได้ไม่ชัดเจน หรือไม่ถูกจุด เช่น บางโครงการที่ทำในเมืองประเมินแล้วพบว่าไม่มีผลกระทบเรื่องสัตว์ป่าสงวน

นอกจากนี้ระบบในประเทศไทยยังพิเศษมาก หากภาครัฐยังไม่ได้กำหนดค่ามาตรฐานสารเคมี หรือมลพิษตัวใด ก็เท่ากับไม่ต้องทำการศึกษาเรื่องนั้น ประเด็นนี้เป็นปัญหาอย่างมากในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพราะมีปัญหาเรื่องสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOCs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ไม่มีการศึกษากันเรื่องนี้เพราะประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน VOCs

ใครจัดทำอีไอเอ ?

บริษัทที่ปรึกษาจะเป็นผู้ศึกษาอีไอเอ โดยรับจ้างกับเจ้าของโครงการโดยตรง บริษัทที่ว่าต้องได้รับใบอนุญาตจาก สผ. ซึ่งก็มีกันอยู่ไม่กี่บริษัท และการจ่ายค่าตอบแทนนั้น โดยส่วนใหญ่ เงินก้อนใหญ่ที่สุดจะจ่ายเมื่ออีไอเอผ่านแล้ว

เปิดเผยข้อมูลได้แค่ไหน ?

เกือบร้อยทั้งร้อย อีไอเอ จะเปิดเผยให้ชาวบ้านหรือผู้ต้องการมีส่วนร่วมเข้าถึง ต่อเมื่อมันผ่านการพิจารณาแล้วเท่านั้น เรื่องนี้ยังไม่มีกฎหมายระบุชัดเจนให้เปิดเผยตัวรายงานระหว่างที่ทำการศึกษา และยังเป็นที่รู้กันว่าการขอดูอีไอเอตอนที่ยังไม่ผ่านนั้นเป็นเรื่องลำบากยากเข็ญ สผ.จะบอกให้ไปขอที่เจ้าของโครงการ และเจ้าของโครงการจะบอกให้ไปขอที่ สผ.

ชาวบ้านมีส่วนร่วมตอนไหน ?

สิ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน คือ ต้องมีการเวทีรับฟังความเห็นจากชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบรายงาน แต่ยังมีปัญหาหลายประการ เช่น เวทีรับฟังจัดอย่างกระชั้นชิด ให้ข้อมูลด้านเดียว และข้อคิดเห็นของชาวบ้านไม่มีการตอบสนอง นำไปสรุป พิจารณาอย่างแท้จริง

ผ่านแล้วไง ?

ผ่านแล้วก็แล้วกัน เพราะระบบตรวจสอบยังมีช่องโหว่ ในอีไอเอเองจะมีการนำเสนอมาตรการลดผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องนำส่วนนี้ไปแนบกับการยื่นขอใบอนุญาต แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผย นอกจากนี้หน่วยงานตรวจสอบ เช่น กรมโรงงาน ก็มักจะอ้างถึงปัญหาไม่มีมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบที่ครอบคลุมถึงมาตรการทั้งหมด ซึ่งมีหลากหลายด้านในหลากหลายโครงการ

 

ข้อเสนอ ยกเครื่อง' อีไอเอ เพื่อหนุนการพัฒนา

 

ทะเล แม่น้ำ ภูเขา สัตว์ป่า ฯลฯ คงไม่ได้เย้วๆ ขัดขวางโครงการโดยตรง แต่สิ่งที่พูดได้ ชุมนุมได้ ฟ้องศาลปกครองได้ คือ ชาวบ้านในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพจากโครงการ และในการต่อสู้ของพวกเขาก็มักใช้อีไอเอเป็นเครื่องมือสำคัญ แม้จะเป็นเครื่องมือที่ชำรุดทรุดโทรมเหลือทนก็ตามที

การตัดกระบวนการอีไอเอทิ้ง หรือการทำให้มันรวบรัดตัดตอนยิ่งขึ้น ไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ เพราะมันจะยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรม ผลักภาระต่างๆ ให้กับคนเล็กคนน้อย อีกทั้งอีไอเอยังแทบจะเป็นช่องทางเดียวในขณะนี้ที่จะสร้างพื้นที่ในการคุยกันอย่างมีเหตุมีผลในรายละเอียดต่างๆ หากแก้ไขความบิดเบี้ยวของมันได้ ทำให้อีไอเอเป็นกระบวนการ' ที่เปิดให้ทุกฝ่ายมาหารือข้อห่วงกังวล และทางออกที่เป็นที่ยอมรับ

ข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น การปรับปรุงกระบวนการให้ แฟร์'

การเปิดเผยข้อมูลและการมีส่วนร่วม ควรทำตั้งแต่ยังไม่ทำการศึกษา เพื่อจะได้ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดูร่วมกันว่าควรจะประเมินเรื่องอะไรบ้าง เรื่องความลับทางการค้าเป็นข้ออ้างที่สามารถจัดการนำส่วนนั้นแยกออกไปได้ แต่ไม่ใช่ปิดข้อมูลทั้งหมด ขณะที่ก่อนเปิดเวทีรับฟังความเห็นควรเปิดเผยข้อมูลระยะเวลาหนึ่งที่ให้เวลาส่วนต่างๆ ได้ศึกษาข้อมูลนานพอ และการสรุปเวทีก็ควรนำความเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อท้วงติงของชาวบ้านไปพิจารณาจริงๆ

การมีส่วนร่วมยังควรคลอบคลุมไปถึงการติดตามตรวจสอบ เมื่ออีไอเอผ่านแล้ว ชาวบ้านก็ควรร่วมติดตามร่วมกับราชการด้วย ทาง สผ.เองเคยเสนอว่าควรทำฐานข้อมูล EIA เพื่อให้มาตรการลดผลกระทบของโครงการต่างๆ เป็นที่เปิดเผย

องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม' ก็ถูกพูดถึงมากในระยะหลัง โดยเฉพาะเมื่อมันบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 ด้วย เพราะองค์กรดังกล่าวจะทำหน้าที่เสริมสร้างความสามารถของประชาชน หนุนเสริมระบบที่มีปัญหา เช่น การเป็นตัวกลางประสานการศึกษาอีไอเอ เจ้าของโครงการทำหน้าที่เพียงเป็นคนจ่ายเงิน ให้ข้อมูล แล้วให้องค์การอิสระฯ เป็นคนดีลกับบริษัทที่ทำการศึกษา กรณีของเนเธอร์แลนด์เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะมี EIA Commissioner เป็นตัวกลางประสาน และควบคุมแต่ละโครงการ

นอกจากนี้องค์การอิสระฯ ยังมีประโยชน์ในแง่ที่จะมีบทบาทในการเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม รวมทั้งให้ความคิดเห็นต่ออีไอเอโครงการต่างๆ ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรับผิดชอบด้วย

ความพยายามอุดช่องโหว่ทั้งหมดนี้กำลังถูกรวบรวมไว้ในร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ของภาคประชาชน รวมไปถึงเรื่องการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์นโยบาย หรือ SEA ซึ่งจะทำให้การตอบปัญหาทำได้กว้างขวางมากขึ้น เพราะอีไอเอเป็นการตอบคำถามระดับโครงการว่า โครงการนี้มีผลกระทบอย่างไร จะลดผลกระทบได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเป็น SEA มันจะถามว่าทางเลือกที่ดีกว่ามีไหม คืออะไร และว่ากันระดับนโยบาย

ร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนนี้กำลังอยู่ระหว่างการระดมสมองในการแก้ไขร่างสุดท้าย และเตรียมจะล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายดังกล่าว เพื่อไปพิจารณาแข่งกับร่างของกระทรวงทรัพฯ เอง ที่มีการปรับแก้กันในรัฐบาลชุดที่แล้ว หัวเรือใหญ่คือ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ ซึ่งได้รับการวิพากษ์มากพอสมควรว่า ยังปรับไม่ถูกจุด ไม่โดนใจ เพราะเน้นการตอบโจทย์หน่วยงานภาครัฐให้ทำงานสะดวกมากขึ้นมากกว่า

ในส่วนของ สผ.เองมีการประชุมระดมความเห็นกันหลายครั้งเพื่อจะปรับกฎหมาย ระบบอีไอเอให้รองรับกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่รับรองสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อมไว้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ม.67 ที่ระบุให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม แว่วมาว่า สผ.กำลังพยายามจะปรับให้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ เอชไอเอ ผนวกเข้าไปกับอีไอเอด้วย และจะปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่กรมกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็กำลังจัดระดมความเห็นว่า ด้วยการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องยกร่างกฎหมายภายในหนึ่งปีตามรัฐธรรมนูญกำหนด

นี่จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญว่าจะใช้อีไอเอ' ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาได้อย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นอาจทำให้โครงการเดินไปช้าในช่วงแรกที่ต้องใช้ความรอบคอบ และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับ แต่ก็อาจจะเป็นการ "go slow to go fast" อย่างที่หลายคนว่า เพื่อที่สุดท้ายแล้วจะได้ไม่ต้องเผชิญกับการต่อต้านแบบที่ไม่มีทางออก และทำให้สังคมไทยพ้นไปจากปลักโคลนของโจทย์เดิมๆ ว่าจะเอา สิ่งแวดล้อม-ชุมชน หรือ อุตสาหกรรม-การพัฒนา...

 

ความเห็นชาวบ้านผู้คลุกคลีกับ อีไอเอ'

สุทธิ อัฌชาสัย เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

"การทำรายงานอีไอเอต้องรายงานให้ สผ.ทราบทุกปี แต่ว่ากระบวนการรายงานบริษัทก็ไปจ้างบริษัทเอกชนมาอีกที เค้าทำของเค้าเอง ซึ่งก็แน่นอนว่ามันจะไม่ผิดหรือเกินค่ามาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น งานอีไอเอเค้าทำถูกต้องตามขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้น แต่ว่าในความเป็นจริงรายงานนั้นเค้าเป็นคนทำเอง ทำให้ความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบไม่มีจริง ในขณะเดียวกันการเอาจริงของหน่วยงานที่ให้อนุญาตก็ไม่มีจริงด้วยเช่นกัน"

"อีไอเอเป็นแค่ใบประทับตราว่าโรงงานไหนสะอาด เพราะไม่เคยมีโรงงงานไหนถูกสั่งเพิกถอนอีไอเอ พอได้ไปแล้วถึงจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีการเพิกถอด แล้วแนวทางการพัฒนาอีไอเอก็ยังมีรูปแบบเดิมๆ ที่เจ้าของกิจการเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการ แต่ถึงอย่างไรในความคิดผม อีไอเอยังมีความจำเป็น แต่ต้องปรับปรุงหรือสังคายนารูปแบบการทำอีไอเอให้มีความรอบครอบมากกว่าเดิม โดยขบวนการจัดทำควรให้นักวิชาการที่มีความเป็นกลางเชื่อถือได้ หรือให้มีองค์กรอิสระที่มีความเป็นธรรมเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำอีไอเอ ไม่ควรให้บริษัทเจ้าของโครงการหรือรัฐเป็นผู้จัดทำอีไอเอเอง และต้องจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ถ่องแท้และแท้จริง เพื่อจะนำไปสู่การถกเถียงแลกเปลี่ยน และนำไปสู่การตัดสินใจอย่างเข้าใจของพี่น้องชาวบ้านด้วย"

"การทำอีไอเอไม่ได้ขวางความเจริญ แต่จะทำให้การพัฒนาประเทศมีมาตรฐานมากขึ้น ถ้าเรายังหวังว่าเราอยากเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเราก็ต้องตั้งมาตรฐานที่ดี ไม่เช่นนั้นพอเราผลิตสินค้าอะไรไปพอการจัดการไม่ได้มาตรฐาน ก็จะถูกกีดกันทางการค้า เกิดความเสียหายอยู่ดี เพราะฉะนั้นประเทศชาติต้องมีความเจริญท่ามกลางมาตรฐาน ทั้งนี้อีไอเอไม่ได้ขวางความเจริญ แต่ขึ้นอยู่กับมุมมองคนคนนั้นว่ามองเรื่องสิ่งแวดล้อมแบบไหน ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าเราก็มองว่าขวาง ถ้ามองว่ามีคุณค่าสำคัญกว่าการพัฒนาที่อยู่อย่างไม่ยังยืน ก็จะเห็นว่าการทำอีไอเอที่ก้าวหน้าและรอบคอบสำคัญกว่า"

 

สุพจน์ ส่งเสียง กลุ่มอนุรักษ์ฯ แม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

"ในความรู้สึกชาวบ้าน อีไอเอจะต้องเป็นตัวสำคัญที่สุดในการที่จะกลั่นกรองในการที่จะมีโครงการนี่ตรงนี้หรือไม่ หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมันคุ้มกับสิ่งที่ลงทุนไปหรือไม่ในระยะยาว แต่พอเรามาลงลึกเรื่องอีไอเอแล้วเนี่ย มันไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่เดิม กลับกลายว่าอีไอเอเหมือนเป็นการพยายามหาหนทางเพื่อให้บรรลุการทำโครงการได้ โดยวิธีการบิดเบือนต่างๆ คล้ายว่ามันลืมบทบาทหน้าที่ของอีไอเอไป เป็นการโกหกตัวเองเพื่อให้โครงการเกิด ผมว่าแนวความคิดที่เริ่มต้นของอีไอเอมันดี แต่ขบวนการ ขั้นตอนในการจัดทำอีไอเอมันยังไม่สมบูรณ์"

"พอประชาชนหรือชาวบ้านที่อยู่ในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบเกิดเท่าทันข้อมูล มันก็เลยต้องเข้าไปขัดขวาง และกลายเป็นปัญหาขัดขวางการพัฒนาประเทศไป ซึ่งมันโทษไม่ได้ เมื่อในตอนแรกคุณสร้างปัญหาให้อีไอเอมันมีขั้นตอนมากมาย ทำให้ชาวบ้านรู้สึกมึนงงว่าอีไอเอคืออะไร มีเพื่ออะไร และก่อนหน้านี้อาจจะมองว่าไม่มีปัญหาเรื่องอีไอเอเลย แต่พอยุคหนึ่งเมื่อชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการศึกษาเท่าทันข้อมูล รัฐก็บอกว่า อีไอเอเป็นตัวปัญหา แต่จริงๆ อีไอเอไม่ใช่ตัวปัญหา อีไอเอ ดีแล้ว แต่ทุนกับรัฐคือตัวปัญหา ปัญหาใหญ่มันอยู่ที่คนไม่ใช่ที่ระบบ"

"ขบวนการมีส่วนร่วมในอีไอเอในระดับชาวบ้านเรียกได้ว่าบอดสนิท คือเราไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบหรือมีส่วนร่วมในการทำอีไอเอได้ เริ่มต้นตั้งแต่การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบของบริษัทที่ชาวบ้านไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม บริษัทเข้ามาเหมือนแอบทำ คณะกรรมการที่เข้ามาทำอีไอเอแต่ต้นเราไม่ได้รับรู้ เมื่อมาเป็นรูปเล่มของอีไอเอแล้ว ทาง สผ. ก็บอกว่าไม่สามารถให้ดูได้เพราะรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทไม่สามารถให้รู้รายละเอียดได้ ซึ่งเราจะรู้ได้ก็เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้วเราจะไปรู้ทำไม่ หากเราตรวจสอบภายหลังแล้วว่ามันไม่ตรง หรือเราจับเท็จได้ แต่ในฐานะประชาชนเราก็ยกเลิกไม่ได้"

"อีไอเอที่ผ่านมาไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ รัฐและทุนก็แฮปปี้มาตลอด แต่มามีปัญหาชัดเจนก็กรณีโรงถลุงเหล็กที่บางสะพาน ซึ่งในส่วนตรงนี้ชาวบ้านเองพยายามจะบอกว่าพื้นที่ตรงนี้มันไม่เหมาะสม ไม่ใช่จะไปหาเรื่องในอีไอเอ และความไม่เหมาะสมตรงนี้ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ชาวบ้านสร้างขึ้นเอง ทั้งที่เป็นแหล่งวางไข่ปลาทู หรือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีการปิดอ่าวมาตั้งแต่ปี 2500 และไม่ใช่ว่าเรามานั่งกินอย่างเดียว หรือให้ไม่กินก็ได้ แต่มันคืออาหารของประเทศและอาชีพของชาวประมง"

"ถ้าจะพูดว่าการให้แก้อีไอเอมันคือชัยชนะก็เป็นเพียงในระดับหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่น่าวิตกมากกว่า คือถ้าเรารู้ไม่เท่าทันแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น เพราะว่าภาครัฐ และเอกชนที่เป็นนายทุนเองล้วนแล้วแต่พยายามจะทำในสิ่งที่มองประชาชนเป็นคนโง่ ยกตัวอย่างอีไอเอของโรงถลุงเหล็กล่าสุด ที่พอเรื่องราวมันดังขึ้นมาแล้ว และชาวบ้านร้องเรียนมาตลอด จากการศึกษาพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมปี 35 โครงการเหล่านี้ต้องรอให้มีรายงาน อีไอเอ ผ่านความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ในพื้นที่ แต่เรื่องนี้เราร้องเรียนกับ สผ.มาเป็นปี แต่เมื่อมีการดำเนินการขุดถมดินของบริษัทในพื้นที่ก่อสร้างโรงถลุงเหล็กเค้าก็ไม่ได้สั่งการให้ยุติ โครงการจึงเดินหน้าต่อ เกิดเป็นฉนวนเหตุให้มีความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตขึ้น"

 

 

 

*ขอขอบคุณข้อมูลการให้สัมภาษณ์จาก บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ ศุภกิจ นันทะวรการ จากมูลนิธินโยบายสุขภาวะ

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคมขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100…
หัวไม้ story
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ช่วงนี้ตรงกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างมากครั้งหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ประชาไทจึงเลือกพาด ‘หัวไม้' เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สำคัญตอนนี้หากกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด คือ ใน ‘เดือนพฤษภา พ.ศ. 2535' เกิดการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือการต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ผู้ใช้วาทะ ‘เสียสัตย์เพื่อชาติ' มานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลงไปให้ถึงรายละเอียด เหตุการณ์พฤษภาคม 2535…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burmaคณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น…
หัวไม้ story
พิณผกา งามสมปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์ นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า…
หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว…
หัวไม้ story
  ช่วงเวลาแห่งสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว การกระหน่ำสาดน้ำในนามของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามยุติลง (ชั่วคราว) หลายคนที่เคยดวลปืน (ฉีดน้ำ) หรือแม้แต่จ้วงขันลงตุ่มแล้วสาดราดรดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ล้วนวางอาวุธและกลับเข้าสู่สภาวะปกติของชีวิตแน่นอนว่า สงคราม (สาด) น้ำที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ละปี เป็นห้วงยามแห่งความสนุกสนานและการรวมญาติในแบบฉบับไทยๆ แต่ในขณะที่คนมากมายกำลังใช้น้ำเฉลิมฉลองงานสงกรานต์จนถึงวันสิ้นสุด แต่สงคราม (แย่งชิง) น้ำที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของโลก และมักจะมีสาเหตุจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศ…
หัวไม้ story
จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง ยุคที่น้ำมันแพง ราคาเบนซินกระฉูดไปแตะที่ลิตรละ 35 บาท ส่วนดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 31 บาทกว่า การเดินทางในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ รถโดยสารสาธารณะที่มีเส้นทางขนส่งประจำทางข้ามจังหวัดดูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเดินทางไม่มากนัก ด้วยเหตุผลเรื่องราคาที่พอจ่ายได้ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยจากผู้ให้บริการที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งมีเส้นทางเดินรถจากสถานีต่างๆ ในกรุงเทพฯ กระจายไปทั่วประเทศ  การเดินทาง 1. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)" หรือ "หมอชิต" สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปภาคเหนือ…
หัวไม้ story
 พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  หากย้อนดูปรากฏการณ์การเคลื่อนขบวนของประชาชนออกมาแสดงพลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย ที่ผ่านมานับแต่การเริ่มต้นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งแรก…
หัวไม้ story
หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์) 
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  เพียงไม่นานหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช พูดออกอากาศในรายการ ‘สนทนาประสาสมัคร' ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ว่า อยากให้มี ‘บ่อนการพนันถูกกฎหมาย' เกิดขึ้นในประเทศ…