Skip to main content

มีนาคม 2551


ฉันตอบจดหมายแฟนนักอ่านคอลัมน์ของฉันคนหนึ่ง เธอเป็นคนปักษ์ใต้ นานเป็นเดือนที่จดหมายมาถึงพร้อมเสื้อผ้าและข้าวของกล่องใหญ่ ด้วยเจตนาทดแทนความขาดแคลนตามความรู้สึกของเธอ ที่สัมผัสจากการอ่านในบันทึกของฉันอยู่สองสามฉบับ เธอบอกว่าอิจฉานิดๆ ในชีวิตที่เรียบง่ายที่ฉันเลือกเดิน ฉันจึงตอบเธอไปว่าฉันเป็นเพียงนกที่บินหลงทางมา



ก่อนหน้านี้ฉันก็ได้รับจดหมาย เสียงโทรศัพท์ และหนังสือดีๆ ที่ถูกส่งมาจากคนเมืองไกลจากเพื่อนที่ห่างหายการติดต่อมานานแสนนาน และจากมิตรร่วมความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นหน้า


อาจดูเป็นเรื่องแปลกหรือมีเปอร์เซ็นต์น้อยเหลือเกิน ที่คนปกติธรรมดา เกิด และเติบโตในสังคมเมือง ได้รับการศึกษาเต็มความสามารถที่จะไปถึง ตัดสินใจทิ้งสังคมศิวิไลซ์มาใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ไร้ความสะดวกสบาย และเก็บงำตัวเองออกจากโลกภายนอก


เมื่อมองย้อนกลับไป ฉันพบตัวเองก้าวข้ามสะพานเล็กๆ ด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงนัก สะพานที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน หากแต่อีกฟากหนึ่งของสะพานกลับเป็นโลกอีกใบที่แตกต่าง ราวกับตัดขาดหมู่บ้านที่ห่างออกมาไม่ถึงร้อยเมตร


บนถนนเส้นเดียวที่ตัดเข้าหมู่บ้าน ฉันย่างเท้าด้วยความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่กล้าแม้แต่จะเพ่งสายตาไปยังจุดใด เท้าสั่งให้ก้าวย่างไปข้างหน้าอย่างระมัดระวังตัว


ฉันมองเห็นทุกอย่างถูกทำให้เป็นสินค้าแม้กระทั่งตัวเธอเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางข้าวของที่ระลึก การยืนหลังร้าน ยิ้มแบบเดียวกัน เพื่อเชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูป และมีแก่ใจซื้อของในร้าน


เมื่อเวลาผ่านไป ฉันได้ค้นพบสิ่งที่อยู่หลังร้านขายของเหล่านั้น มันคือครรลองชีวิตและสีสันที่แตกต่างจากที่เคยรู้สึก มันซ่อนอยู่วิถีชีวิตประจำวันของพวกเขา อยู่บนเตาไฟควันโขมง อยู่ในวงแขนที่กรำงานหนัก อยู่ที่ปลายควันกระบอกปืนยามเข้าป่าล่าสัตว์ หรือแม้แต่ยามตะวันตกดินบนเสื่อที่นอนแข็งชา


ลึกลงไปในความรู้สึกของหญิงชราที่หาบห่วงทองเหลืองอันหนักอึ้งไว้บนไหล่ ห่วงสีทองยังคงคุณค่าตั้งแต่เริ่มใส่และงดงามเสมอมาจนถึงวันนี้ แม่เฒ่าปฏิญาณว่าจะไม่ถอดออกแม้ถึงวันที่ดินกลบหน้า


ทว่าห่วงโซ่แห่งความรู้สึกย่อมมีวันเก่าผุพัง ห่วงสีทองกลายเป็นพันธนาการแห่งชีวิตที่ไม่อาจปฏิเสธ ในความรู้สึกของกระยันแรกรุ่น ที่ความเชื่อถูกสั่นคลอนด้วยตู้สี่เหลี่ยม ถ่ายทอดโลกภายนอกที่ทะลักล้นเข้ามาในหมู่บ้านอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน



หญิงกระยันวัยรุ่นไม่น้อย ปลดปล่อยตัวเองในชุดยีนหลังพระอาทิตย์ตกดิน แต่เมื่อยามเช้ามาถึงพวกเธอก็พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเสื้อกระสอบ ผูกผมหน้าม้า ยืนอยู่ในที่ประจำ ก่อนจะสลัดชุดทำงานเมื่อแขกคนสุดท้ายลากลับ


ในขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะทิ้งห่วงทองเหลือง หันหลังกลับคืนสู่ศูนย์อพยพ พวกเธอหวังว่าจะได้บินไกลไปอยู่ประเทศที่สามตามโครงการของ UNDP


หากย้อนกลับไปเมื่อสามสิบปีก่อน ชุมชนกระยันแห่งนี้ยังคงอาศัยในอีกฝั่งของแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยา ประเทศพม่า วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพวกเขา ยังไม่พบกับการเปลี่ยนแปลงที่บ่าไหลมากับผู้คนแปลกหน้าที่เข้ามาทักทายถึงบันไดบ้าน


ชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายไปตามท้องไร่ท้องนา วิถีชีวิตผูกพันอยู่กับการทำกสิกรรม ครรลองชีวิตดำเนินไปอย่างเนิบช้าและเรียบง่าย


ชาวกระยันได้เริ่มอพยพเข้ามาในประเทศไทยราวกับนกอพยพที่คอยส่งข่าวให้กันถึงโอเอซีสแห่งใหม่ และจนกระทั่งปัจจุบันเราสามารถพบเห็นชาวกระยันได้เกือบทั่วภาคเหนือของไทย


เหตุอันใดที่นกพลัดถิ่นเช่นพวกเขาตัดสินใจทิ้งรังที่อยู่มาค่อนชีวิต บินลัดฟ้ามาไกลถึงแดนสยาม คงจะเป็นคำตอบเดียวกันกับผู้ลี้ภัยอีกหลายๆชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยที่รักสงบ ถูกรุกรานจากระบบการปกครองที่ไม่เหลือที่ว่างให้กับผู้อ่อนแอ


จากทุ่งหญ้ากว้างใหญ่สู่กรงทองที่พร้อมพรั่งไปด้วยอาหาร สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้พวกเขาต้องปรับตัวในการดำรงชีวิต


หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า ที่ไม่มีแม้แปลงผักหลังบ้าน กระท่อมหลังเล็กๆ นับสิบหลังปลูกเบียดเสียดกันบนผืนนาเพียงสิบไร่เศษ มองเห็นคนแปลกหน้าย่ำเท้าเข้ามามากมายเสียยิ่งกว่าข้าวในนา


พวกเขาหว่านเพาะเม็ดเงินแทนเม็ดข้าว ใช้วัฒนธรรมที่เข้มแข็งแทนปุ๋ย บนที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความกระหายใคร่รู้ของนักท่องเที่ยว ถึงกับทำให้บางคนร่ำรวยมั่งคั่ง


แต่สิ่งที่มีค่ามากไปกว่าเงินทอง การกินอิ่มนอนอุ่น คือการฝันถึงอิสรภาพ นกในกรงทองที่มีค่าตัวแพงลิ่ว มีอาหารคอยป้อนเช้าเย็น แต่ไร้ซึ่งเสรีภาพที่จะโผบิน


ประเทศไทยซึ่งมีชนกลุ่มน้อยมากมาย อาจพบเห็นเดินสวนทางกันไปมาบนทางเท้า ร้านค้า ร้านอาหารหรือแม้แต่มหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้หมายถึงชนเผ่ากระยันที่ไร้แม้กระทั่งสัญชาติ ไม่มีโอกาสทางการศึกษา และดูเหมือนว่าจะถูกแถมพ่วงด้วยการดูหมิ่นทางวัฒนธรรมมากกว่าชนเผ่าทั่วไป


แม้ชาวกระยันจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน บางครอบครัวอาจนานกว่ายี่สิบปี เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศและเกือบทั่วโลก แต่ก็ไม่อาจระบุสถานะที่ชัดเจนได้ เพราะหากเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ ก็ต้องอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพบ้านในสอย


พวกเขาได้อิสรภาพเต็มที่หากยังอยู่ในเขตชุมชนและผืนป่าที่จัดไว้สำหรับการท่องเที่ยว แต่ไม่มีที่ว่างแม้เพียงนิดหากก้าวล้ำเข้ามาสู่เขตเมือง


วันหนึ่งนกที่ฝันแต่จะบิน กับนกที่บินมาจนเหนื่อยได้มาเจอกัน นกตัวหนึ่งพยายามปลดปล่อยนกอีกตัวเพื่อให้สามารถกระพือปีกเคียงข้างกันไปในท้องฟ้า แต่มันก็ยากเกินกว่าที่จะทำได้


นกตัวนั้นจึงหักปีกตัวเองเพื่อเข้าไปอยู่เคียงข้างนกในกรงทอง เพื่อจะไม่รู้สึกอย่างโดดเดี่ยวเช่นที่ผ่านมา และรอคอยว่าสักวันจะได้บินไปในท้องฟ้าอีกครั้งกับคู่ของมัน หากวันใดกรงที่กักขังเปิดอ้าและคืนอิสรภาพให้นกในกรงทอง.


บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามชมละครเรื่องเมียหลวง ที่ถ่ายทอดทุกวันจันทร์-อังคารทางช่องเจ็ด เป็นละครไม่กี่เรื่องที่ฉันชอบดู ด้วยพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสัญญาณโทรทัศน์ได้เพียงไม่กี่ช่อง  และอีกเหตุผลหนึ่งคือละครดีๆ มีไม่กี่เรื่อง  แม้หลายคนจะเหมารวมละครทีวีของไทยว่าเป็นละครน้ำเน่าเสียส่วนใหญ่ แต่ฉันก็เชื่อว่าละครที่สร้างมาจาก นวนิยาย ก็น่าจะมีเนื้อหาสาระบางอย่างสอนใจคนดูได้บ้าง ไม่ใช่จะดูแต่เพียงฉากตบกันของบรรดาเมียน้อยของคุณอนิรุจเท่านั้น
เจนจิรา สุ
เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่ “ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว
เจนจิรา สุ
 "ไตรบานา" แม่เฒ่ากล่าวขอบคุณเป็นภาษากระยัน เมื่อเราบอกลาเป็นภาษาเดียวกัน ยังมีครอบครัวพี่สาวของสามีที่อยู่ถัดไปอีกสามป็อก เราตั้งใจว่าจะเยี่ยมก่อนที่จะไม่ได้พบหน้ากันอีก เพราะทางยูเอ็นฯ ได้แจ้งว่า ครอบครัวของเธอจะได้ไปประเทศที่สามในอีกไม่ช้า เราเดินเท้าไปตามทางเดินอันแสนพลุกพล่าน ราวกับว่าผู้คนเร่งรีบเดินทางสู่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนสักแห่ง ความแออัดของผู้คนซึ่งมีอยู่ราวๆ สองหมื่นคน ทำให้บนทางเท้าและที่สาธารณะต่างๆ ดูครึกครื้น กลบบังความทุกข์ของคนพลัดบ้าน
เจนจิรา สุ
บนถนนที่ทอดยาวสู่หุบเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางที่ห่างออกมาเพียงสามสิบกิโลเมตรเศษ ลัดเลาะไปตามภูเขาบนถนนสายรพช. ซึ่งค่อยๆ แปรสภาพเป็นดินและหินลูกรังก่อนจะถึงสุดสายปลายทาง อันเป็นสถานที่คล้ายด่านกักกันมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ไร้ประเทศและเสรีภาพ หมู่บ้านกลางป่าที่ปลูกเบียดเสียดเรียงรายทุกซอกหลีบของพื้นที่จัดสรร คนนับหมื่นอัดแน่นในที่อาศัยกว้างกว่าเท้าและหัวจะพาดวางเพียงไม่กี่วา ที่นี่คือศูนย์ผู้พักพิงบ้านในสอย
เจนจิรา สุ
 มีใครเคยใช้ชีวิตในบ้านนอกโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เมื่อประมาณสัก 20 ปีก่อน อาจจะมีความทรงจำเกี่ยวกับวัดที่แตกต่างจากปัจจุบัน ฉันจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราแทบจะก้มลงกราบที่เท้าพระ เมื่อท่านเดินผ่านด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ฉันเป็นชาวพุทธมาแต่อ้อนแต่ออก ด้วยหมู่บ้านที่มีวัดป่า พระเณรเพียงไม่กี่รูปหนึ่งในนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องฉันเอง เราจึงเที่ยวเล่นแวะเวียนมาที่วัดทุกครั้งที่มีโอกาส ฉันยังจำไม่ลืมที่พระหลวงพี่ จับเราพี่น้องนั่งเรียงแถวทำสมาธิ เทศน์สอนประวัติความเป็นมาของพุทธเจ้าให้ฟัง ความที่ท่านบวชตั้งแต่อายุยังน้อย ตอนนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าอาวาสไปแล้ว
เจนจิรา สุ
เราทยอยออกจากบ้านร้างด้วยดวงใจที่ปวดร้าว ตรอกเล็กๆ ยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนจากหมู่บ้านกลางป่าไปสู่บ้านห้วยปูแกงเก่า บัดนี้ถูกย่ำไปด้วยรอยของสัตว์สี่เท้า “เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่ง เราเคยช่วยกันขนทรายจากแม่น้ำข้างล่างมาถมตรอกแห่งนี้ กระสอบทรายนับร้อยจากจำนวนคนเพียงหยิบมือเพื่อ....” ฉันหยุดคำพูดเพียงบางแค่นั้น ทิ้งบางส่วนค้างไว้ในความทรงจำ “เพื่ออะไรล่ะ” ใครคนหนึ่งยังคงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ค้างคา “เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากหมู่บ้านข้างนอกเขามาเห็นวิถีชีวิตเรา มาเห็นหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านจริงๆ ไม่ใช่มีแต่ร้านขายของ แต่มันคงไกลเกินไป…
เจนจิรา สุ
สมรภูมิแห่งนี้เรารบกับอะไร ที่ผ่านมาเราถูกจองจำไว้ในกรงที่มองไม่เห็น เรามีอาหาร มีที่อยู่หลับนอน แต่เราไม่สามารถเป็นคนเต็มคนได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์คิดหรือแสดงความคิดเห็น ไม่สามารถรู้สึกเจ็บแค้นร้อนหนาว เราต้องทำหน้าที่อันถูกกำหนดมาจากผู้คุม ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับนาย เพียงเพื่อส่วนแบ่งที่ถูกเจียดให้พอประทังชีวิต แล้ววันหนึ่งเราต้องการปลดแอก เราต้องการตั้งอาจักรของตนเอง มีบ้านและที่ดินที่เป็นของเราจริงๆ ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจากสมองและแรงกายของตนเอง
เจนจิรา สุ
ตุลาคม 2551"พร้อมหรือยัง"ใครคนหนึ่งตะโกนประโยคซ้ำเมื่อห้านาทีที่แล้ว เมื่อขบวนหนุ่มสาวต่างถิ่นยังคงง่วนอยู่กับการกดชัตเตอร์เก็บภาพแสงแดดยามเก้าโมงเช้า ช่างยวนใจให้ไม่อาจละสายตาจากหญิงกระยันที่ปะแป้งแต่งตัวกันจนเป็นที่เรียบร้อย หลายคนจึงยังเสียดายที่จะละกล้องแล้วออกเดินทาง "หากไปสายกว่านี้เราจะร้อนมากเมื่ออยู่กลางป่า" ฉันเตือนเพื่อนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเดินเท้าสู่หมู่บ้านกลางป่าที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ราวๆ สามกิโลดอย
เจนจิรา สุ
เสียงโหม่งขนาดใหญ่ประสานกับเสียงกลอง ฆ้อง ฉาบ แม้ฟังดูอึกทึกครึกโครม แต่ก็พลิ้วไหวไปตามทำนองขุล่ยมั้งที่เป็นขลุ่ยเฉพาะของชาวกระยัน ได้เริ่มขับประโคมหมู่บ้านราวป่า ส่งสัญญาณการเริ่มต้นของงานประเพณีต้นที “กะควาง” ในภาษากระยันถูกแปรออกมาเป็นภาษาเรียกอีกอย่างว่า “ต้นที” ซึ่งหมายถึงเสาไม้สีขาวแกะสลักปลายเสาให้เป็นรูปร่างคล้ายกับศิวลึงค์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในหมู่บ้านชนเผ่ากระยัน(กระเหรี่ยงคอยาว) และชนเผ่ากระยา(กระเหรี่ยงแดง) ชาวกระยันเชื่อว่า ต้นทีเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกบนโลกมนุษย์ การบูชาต้นทีก็เพื่อให้บรรพบุรุษของกระยัน…
เจนจิรา สุ
มีนาคม 2551 ฉันตอบจดหมายแฟนนักอ่านคอลัมน์ของฉันคนหนึ่ง เธอเป็นคนปักษ์ใต้ นานเป็นเดือนที่จดหมายมาถึงพร้อมเสื้อผ้าและข้าวของกล่องใหญ่ ด้วยเจตนาทดแทนความขาดแคลนตามความรู้สึกของเธอ ที่สัมผัสจากการอ่านในบันทึกของฉันอยู่สองสามฉบับ เธอบอกว่าอิจฉานิดๆ ในชีวิตที่เรียบง่ายที่ฉันเลือกเดิน ฉันจึงตอบเธอไปว่าฉันเป็นเพียงนกที่บินหลงทางมา ก่อนหน้านี้ฉันก็ได้รับจดหมาย เสียงโทรศัพท์ และหนังสือดีๆ ที่ถูกส่งมาจากคนเมืองไกลจากเพื่อนที่ห่างหายการติดต่อมานานแสนนาน และจากมิตรร่วมความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นหน้า อาจดูเป็นเรื่องแปลกหรือมีเปอร์เซ็นต์น้อยเหลือเกิน ที่คนปกติธรรมดา เกิด และเติบโตในสังคมเมือง…
เจนจิรา สุ
20 พฤศจิกายน 2550 คืนนี้แสงจันทร์กำลังโผล่พ้นเหลี่ยมเขาทิศเหนือ ดาวพราวแต้มเต็มฟ้า เหล้าดีกรีแรงทิ้งก้นจอกตั้งวางเคียงดวงเทียนที่ถูกจุดขึ้นโดยแม่เฒ่า ฉันกระชับเสื้อกันหนาวอีกนิด เมื่อลมหนาวพรูมาทางหน้าต่างบานกว้าง แม่เฒ่าบอกให้ยกดื่มอีกสักจอกแล้วจะอุ่นขึ้น ฉันรินคืนให้แม่เฒ่าพลางถามถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่เมืองดอยก่อ รัฐคะยา ประเทศพม่า “ตอนนั้นแม่ทำนามาได้ก็ต้องแบ่งให้กับเจ้าของนา ที่เหลือก็แทบไม่พอกิน ทหารพม่าก็ยังมาขูดรีดเอาอีก บางทีถ้าไม่ให้ก็ทุบตี พวกผู้ชายต้องพากันไปหลบซ่อนตัว  ไม่อย่างนั้นมันจะเกณฑ์ให้ไปขนระเบิดที่ชายแดน” “…
เจนจิรา สุ
10 พฤศจิกายน 2550 ฉันว่างเว้นจากการเขียนบันทึกไปนานด้วยทั้งภารกิจส่วนตัวที่ต้องยุ่งวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างสูง และภารกิจของชุมชนที่ต้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานราชการ ทั้งงานประสานงาน งานประชุม ส่วนเวลาที่เหลือฉันก็ยกให้กับการคิดในเรื่องต่างๆ ฉัน สามี และลูกต้องเดินทางทุกๆ 3-5 วัน จากบ้านของตนเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองไปบ้านห้วยเสือเฒ่าและบ้านใหม่ห้วยปูแกง การพักอาศัยที่บ้านของตัวเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวคือความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะการเดินทาง อยู่ใกล้โรงพยาบาล มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำงาน หรือพักผ่อนด้วยการดูทีวี ติดตามข่าวสารโลกภายนอก…