Skip to main content

สาละวิน,ลูกรัก


แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน


มันเป็นพิธีกรรมที่สานสายใยแห่งความรักของครอบครัวของเราที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย ที่มีครอบครัวเดี่ยวเกิดขึ้นมากกว่าครอบครัวขยาย พิธีกรรมที่ว่าก็คือ “การอยู่ไฟ” นั่นเอง


พิธีกรรมที่สำคัญของสตรีหลังคลอดบุตร ซึ่งไม่ใช่จะมีเฉพาะชาวกระยันเท่านั้น แต่คนไทยสมัยก่อนก็ยังถือว่า การ “อยู่ไฟ” เป็นสิ่งที่หญิงหลังคลอดทุกคนต้องปฏิบัติ เพราะว่ากันว่า หากผู้เป็นแม่อยู่ไฟอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้น้ำนมที่ออกมาดี เป็นการขับน้ำคาวปลาและส่งผลต่อสุภาพที่ดีในยามแก่เฒ่าด้วย


แม่ไม่รู้หรอกว่า การอยู่ไฟของประเพณีไทยเป็นอย่างไร แต่แม่คิดว่า การอยู่ไฟของกระยันก็คงจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก


สำหรับการอยู่ไฟของชาวกระยัน มีอยู่สองแบบ แบบแรกจะเป็นแบบที่โบราญมาก ผู้อยู่ไฟจะต้องใช้ความอดทนอย่างสูง และต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยต้องใช้หินที่อังไฟร้อนๆแทนการใช้น้ำสมุนไพรต้มเดือด


ส่วนอยู่แบบที่สองคือการอาบสมุนไพรต้มเดือด ซึ่งขั้นตอนน้อยกว่า แต่ได้ผลไม่ต่างกัน แม่จึงเลือกแบบที่สอง

สำหรับสมุนไพรที่ใช้ในการต้มอาบนั้น ปัจจุบันหายากและต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องสั่งซื้อจากหมอสมุนไพรไว้ล่วงหน้า เพื่อนำมาตากจนแห้ง ซึ่งย่าเป็นผู้เตรียมไว้ให้แม่ก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้ว


ในทุก ๆ เช้าหลังจากที่แม่ให้นมลูกเสร็จแล้ว ก็จะลงมาใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นสถานที่อยู่ไฟ พ่อของลูกได้เตรียมไว้ก่อนหน้าที่จะเกิดลูกแล้วอีกเช่นกัน


สถานที่ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยกระโจมผ้าเป็นรูปวงกลม มีเก้าอี้สำหรับนั่งซึ่งจะเจาะรูไว้ตรงกลาง เมื่อแม่ขึ้นไปนั่งคร่อมบนเก้าอี้ จะใช้ผ้าคลุมตัวอีกหนึ่งผืน  จากนั้นพ่อของลูกก็จะยกหม้อยาสมุนไพรที่ต้มจนเดือด วางไว้ข้างใต้ของเก้าอี้ หม้อยาจะส่งไอร้อนผ่านรูที่เจาะไว้ อบรมตัวแม่จนเหงื่อไหลไคลย้อย  พ่อจะคอยคนให้น้ำยาถ่ายเทความร้อนขึ้นมา ซึ่งแม่จะรู้สึกร้อนมาก แม้ว่าจะเป็นฤดูหนาวบางครั้งถึงกับจะหน้ามืดเป็นลมเลยทีเดียว การรมยาจะใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งความร้อนของไอลดลง


เมื่อการรมยาเสร็จสิ้นลง แม่ต้องใช้น้ำยาที่เย็นลงแล้ว มาอาบอีกรอบ ขั้นตอนนี้จะยิ่งทรมานมากกว่า เพราะต้องรีบอาบน้ำยาที่ร้อนๆ ขัดถูเนื้อตัวโดยเฉพาะหน้าท้องซึ่งจะทำให้หน้าท้องไม่ยุ้ยยื่นจนเกินไป


ย่าของลูกจะเป็นผู้อาบน้ำร้อนให้ ด้วยความตั้งอกตั้งใจ จนแม่ที่เคยคิดเหนียมอาย ก็ต้องรู้สึกว่าแม่ของพ่อก็ไม่ต่างจากแม่ของแม่ที่คอยเอาใจใส่ลูกสาวคนหนึ่งด้วยความรัก เมื่ออาบน้ำร้อนเสร็จจึงจะถือว่าเสร็จกระบวนการอยู่ไฟในภาคเช้า แต่พอตกบ่าย แม่ก็ต้องมาทำกาอยู่ไฟอีกครั้ง เช่นนี้เรื่อยไปจนครบหนึ่งเดือน


หลังจากการออกไฟแม่จะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวลดลง ผิวพรรณผุดผ่องขึ้น ผิดกับเมื่อตอนตั้งท้อง  ที่สำคัญแม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลได้ดีไม่คัดตึงความปวดเมื่อยก็ทุเลาลง นี่เป็นเพียงผลประโยชน์ในด้านร่างกาย


แม่รู้สึกว่าภูมิปัญญาการอยู่ไฟแบบโบราณเช่นนี้  คนที่ช่วยเหลือแม ไม่ว่าจะเป็นย่าที่คอยอาบน้ำร้อนให้  พ่อที่ต้องต้มน้ำเดือดต้องใช้ความอดทนอยู่กับเตาไฟ คอยเติมฟืนอยู่ตลอดเวลา และยังต้องดูแลขณะที่แม่อบรมไอน้ำอยู่ไม่ให้เป็นลมเป็นแร้งไปเสียก่อน  ยังมีน้องสาวที่ต้องคอยดูลูกในยามที่ห่างแม่ไม่ให้ร้องงอแง หรือมีสิ่งมารบกวน


การอยู่ไฟจึงเสมือนบททดสอบความรักของคนในครอบครัว  มันได้สร้างไออุ่นแห่งความผูกพันขึ้นระหว่างกัน โดยเฉพาะระหว่างแม่กับย่า ที่ช่องว่างและความรู้สึกที่ห่างเหินถูกขจัดไปจนหมดสิ้น


แม่รู้สึกโชคดีที่ได้อยู่ไฟแบบโบราณ ในชุมชนโบราณที่หลายคนอาจจะดูถูก  แม้มันจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ กลับทำให้แม่รู้สึกว่าแม่มีแม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
.

รักลูก
,
แม่


บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามชมละครเรื่องเมียหลวง ที่ถ่ายทอดทุกวันจันทร์-อังคารทางช่องเจ็ด เป็นละครไม่กี่เรื่องที่ฉันชอบดู ด้วยพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสัญญาณโทรทัศน์ได้เพียงไม่กี่ช่อง  และอีกเหตุผลหนึ่งคือละครดีๆ มีไม่กี่เรื่อง  แม้หลายคนจะเหมารวมละครทีวีของไทยว่าเป็นละครน้ำเน่าเสียส่วนใหญ่ แต่ฉันก็เชื่อว่าละครที่สร้างมาจาก นวนิยาย ก็น่าจะมีเนื้อหาสาระบางอย่างสอนใจคนดูได้บ้าง ไม่ใช่จะดูแต่เพียงฉากตบกันของบรรดาเมียน้อยของคุณอนิรุจเท่านั้น
เจนจิรา สุ
เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่ “ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว
เจนจิรา สุ
 "ไตรบานา" แม่เฒ่ากล่าวขอบคุณเป็นภาษากระยัน เมื่อเราบอกลาเป็นภาษาเดียวกัน ยังมีครอบครัวพี่สาวของสามีที่อยู่ถัดไปอีกสามป็อก เราตั้งใจว่าจะเยี่ยมก่อนที่จะไม่ได้พบหน้ากันอีก เพราะทางยูเอ็นฯ ได้แจ้งว่า ครอบครัวของเธอจะได้ไปประเทศที่สามในอีกไม่ช้า เราเดินเท้าไปตามทางเดินอันแสนพลุกพล่าน ราวกับว่าผู้คนเร่งรีบเดินทางสู่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนสักแห่ง ความแออัดของผู้คนซึ่งมีอยู่ราวๆ สองหมื่นคน ทำให้บนทางเท้าและที่สาธารณะต่างๆ ดูครึกครื้น กลบบังความทุกข์ของคนพลัดบ้าน
เจนจิรา สุ
บนถนนที่ทอดยาวสู่หุบเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางที่ห่างออกมาเพียงสามสิบกิโลเมตรเศษ ลัดเลาะไปตามภูเขาบนถนนสายรพช. ซึ่งค่อยๆ แปรสภาพเป็นดินและหินลูกรังก่อนจะถึงสุดสายปลายทาง อันเป็นสถานที่คล้ายด่านกักกันมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ไร้ประเทศและเสรีภาพ หมู่บ้านกลางป่าที่ปลูกเบียดเสียดเรียงรายทุกซอกหลีบของพื้นที่จัดสรร คนนับหมื่นอัดแน่นในที่อาศัยกว้างกว่าเท้าและหัวจะพาดวางเพียงไม่กี่วา ที่นี่คือศูนย์ผู้พักพิงบ้านในสอย
เจนจิรา สุ
 มีใครเคยใช้ชีวิตในบ้านนอกโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เมื่อประมาณสัก 20 ปีก่อน อาจจะมีความทรงจำเกี่ยวกับวัดที่แตกต่างจากปัจจุบัน ฉันจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราแทบจะก้มลงกราบที่เท้าพระ เมื่อท่านเดินผ่านด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ฉันเป็นชาวพุทธมาแต่อ้อนแต่ออก ด้วยหมู่บ้านที่มีวัดป่า พระเณรเพียงไม่กี่รูปหนึ่งในนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องฉันเอง เราจึงเที่ยวเล่นแวะเวียนมาที่วัดทุกครั้งที่มีโอกาส ฉันยังจำไม่ลืมที่พระหลวงพี่ จับเราพี่น้องนั่งเรียงแถวทำสมาธิ เทศน์สอนประวัติความเป็นมาของพุทธเจ้าให้ฟัง ความที่ท่านบวชตั้งแต่อายุยังน้อย ตอนนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าอาวาสไปแล้ว
เจนจิรา สุ
เราทยอยออกจากบ้านร้างด้วยดวงใจที่ปวดร้าว ตรอกเล็กๆ ยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนจากหมู่บ้านกลางป่าไปสู่บ้านห้วยปูแกงเก่า บัดนี้ถูกย่ำไปด้วยรอยของสัตว์สี่เท้า “เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่ง เราเคยช่วยกันขนทรายจากแม่น้ำข้างล่างมาถมตรอกแห่งนี้ กระสอบทรายนับร้อยจากจำนวนคนเพียงหยิบมือเพื่อ....” ฉันหยุดคำพูดเพียงบางแค่นั้น ทิ้งบางส่วนค้างไว้ในความทรงจำ “เพื่ออะไรล่ะ” ใครคนหนึ่งยังคงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ค้างคา “เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากหมู่บ้านข้างนอกเขามาเห็นวิถีชีวิตเรา มาเห็นหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านจริงๆ ไม่ใช่มีแต่ร้านขายของ แต่มันคงไกลเกินไป…
เจนจิรา สุ
สมรภูมิแห่งนี้เรารบกับอะไร ที่ผ่านมาเราถูกจองจำไว้ในกรงที่มองไม่เห็น เรามีอาหาร มีที่อยู่หลับนอน แต่เราไม่สามารถเป็นคนเต็มคนได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์คิดหรือแสดงความคิดเห็น ไม่สามารถรู้สึกเจ็บแค้นร้อนหนาว เราต้องทำหน้าที่อันถูกกำหนดมาจากผู้คุม ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับนาย เพียงเพื่อส่วนแบ่งที่ถูกเจียดให้พอประทังชีวิต แล้ววันหนึ่งเราต้องการปลดแอก เราต้องการตั้งอาจักรของตนเอง มีบ้านและที่ดินที่เป็นของเราจริงๆ ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจากสมองและแรงกายของตนเอง
เจนจิรา สุ
ตุลาคม 2551"พร้อมหรือยัง"ใครคนหนึ่งตะโกนประโยคซ้ำเมื่อห้านาทีที่แล้ว เมื่อขบวนหนุ่มสาวต่างถิ่นยังคงง่วนอยู่กับการกดชัตเตอร์เก็บภาพแสงแดดยามเก้าโมงเช้า ช่างยวนใจให้ไม่อาจละสายตาจากหญิงกระยันที่ปะแป้งแต่งตัวกันจนเป็นที่เรียบร้อย หลายคนจึงยังเสียดายที่จะละกล้องแล้วออกเดินทาง "หากไปสายกว่านี้เราจะร้อนมากเมื่ออยู่กลางป่า" ฉันเตือนเพื่อนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเดินเท้าสู่หมู่บ้านกลางป่าที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ราวๆ สามกิโลดอย
เจนจิรา สุ
เสียงโหม่งขนาดใหญ่ประสานกับเสียงกลอง ฆ้อง ฉาบ แม้ฟังดูอึกทึกครึกโครม แต่ก็พลิ้วไหวไปตามทำนองขุล่ยมั้งที่เป็นขลุ่ยเฉพาะของชาวกระยัน ได้เริ่มขับประโคมหมู่บ้านราวป่า ส่งสัญญาณการเริ่มต้นของงานประเพณีต้นที “กะควาง” ในภาษากระยันถูกแปรออกมาเป็นภาษาเรียกอีกอย่างว่า “ต้นที” ซึ่งหมายถึงเสาไม้สีขาวแกะสลักปลายเสาให้เป็นรูปร่างคล้ายกับศิวลึงค์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในหมู่บ้านชนเผ่ากระยัน(กระเหรี่ยงคอยาว) และชนเผ่ากระยา(กระเหรี่ยงแดง) ชาวกระยันเชื่อว่า ต้นทีเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกบนโลกมนุษย์ การบูชาต้นทีก็เพื่อให้บรรพบุรุษของกระยัน…
เจนจิรา สุ
มีนาคม 2551 ฉันตอบจดหมายแฟนนักอ่านคอลัมน์ของฉันคนหนึ่ง เธอเป็นคนปักษ์ใต้ นานเป็นเดือนที่จดหมายมาถึงพร้อมเสื้อผ้าและข้าวของกล่องใหญ่ ด้วยเจตนาทดแทนความขาดแคลนตามความรู้สึกของเธอ ที่สัมผัสจากการอ่านในบันทึกของฉันอยู่สองสามฉบับ เธอบอกว่าอิจฉานิดๆ ในชีวิตที่เรียบง่ายที่ฉันเลือกเดิน ฉันจึงตอบเธอไปว่าฉันเป็นเพียงนกที่บินหลงทางมา ก่อนหน้านี้ฉันก็ได้รับจดหมาย เสียงโทรศัพท์ และหนังสือดีๆ ที่ถูกส่งมาจากคนเมืองไกลจากเพื่อนที่ห่างหายการติดต่อมานานแสนนาน และจากมิตรร่วมความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นหน้า อาจดูเป็นเรื่องแปลกหรือมีเปอร์เซ็นต์น้อยเหลือเกิน ที่คนปกติธรรมดา เกิด และเติบโตในสังคมเมือง…
เจนจิรา สุ
20 พฤศจิกายน 2550 คืนนี้แสงจันทร์กำลังโผล่พ้นเหลี่ยมเขาทิศเหนือ ดาวพราวแต้มเต็มฟ้า เหล้าดีกรีแรงทิ้งก้นจอกตั้งวางเคียงดวงเทียนที่ถูกจุดขึ้นโดยแม่เฒ่า ฉันกระชับเสื้อกันหนาวอีกนิด เมื่อลมหนาวพรูมาทางหน้าต่างบานกว้าง แม่เฒ่าบอกให้ยกดื่มอีกสักจอกแล้วจะอุ่นขึ้น ฉันรินคืนให้แม่เฒ่าพลางถามถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่เมืองดอยก่อ รัฐคะยา ประเทศพม่า “ตอนนั้นแม่ทำนามาได้ก็ต้องแบ่งให้กับเจ้าของนา ที่เหลือก็แทบไม่พอกิน ทหารพม่าก็ยังมาขูดรีดเอาอีก บางทีถ้าไม่ให้ก็ทุบตี พวกผู้ชายต้องพากันไปหลบซ่อนตัว  ไม่อย่างนั้นมันจะเกณฑ์ให้ไปขนระเบิดที่ชายแดน” “…
เจนจิรา สุ
10 พฤศจิกายน 2550 ฉันว่างเว้นจากการเขียนบันทึกไปนานด้วยทั้งภารกิจส่วนตัวที่ต้องยุ่งวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างสูง และภารกิจของชุมชนที่ต้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานราชการ ทั้งงานประสานงาน งานประชุม ส่วนเวลาที่เหลือฉันก็ยกให้กับการคิดในเรื่องต่างๆ ฉัน สามี และลูกต้องเดินทางทุกๆ 3-5 วัน จากบ้านของตนเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองไปบ้านห้วยเสือเฒ่าและบ้านใหม่ห้วยปูแกง การพักอาศัยที่บ้านของตัวเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวคือความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะการเดินทาง อยู่ใกล้โรงพยาบาล มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำงาน หรือพักผ่อนด้วยการดูทีวี ติดตามข่าวสารโลกภายนอก…