Skip to main content

 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆทางการเมืองมาอย่างมากมาย และยาวนาน จนเป็นที่กล่าวขวัญของพสกนิกรชาวกัมพูชา และชาวโลก

นอกจากความเป็นนักการเมืองแล้ว พระองค์ยังทรงเป็น อัครศิลปินของชาวกัมพูชา ด้วยหนึ่งในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ที่สำคัญ คือ ทรงภาพเขียนฝีพระหัตถ์ การทรงดนตรี ขับร้องเพลง พระราชนิพนธ์บทเพลงต่างๆ ทรงแสดง และทรงอำนวยการสร้างภาพยนตร์ด้วยพระองค์เอง นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถด้านศิลปะ และการดนตรี ที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระราชอาณาจักรกัมพูชา และของโลกด้วย

แม้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ต้องหยุดชะงักลงไป ในระหว่างปี 1975 – 1980 เนื่องจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทั้งจากการรัฐประหารเพื่อโค่นล้มพระราชอำนาจของพระองค์ ซึ่งก่อการโดยนายพลลอน นอน ที่ได้รับการหนุนหลังอย่างลับๆจาก สหรัฐอเมริกา จนถึงการขึ้นมามีอำนาจของเขมรแดง ที่มีซลอต ซา หรือพล พต เป็นผู้ก่อการ และเมื่อฟ้าหลังฝนของกัมพูชา หลังจากที่เหตุการณ์เลวร้ายทางการเมือง ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ได้ผ่านพ้นไป พระองค์ได้เสด็จนิวัติเพื่อกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ของกัมพูชา เพื่อสานต่อพระราชกรณียกิจหลายๆด้าน รวมไปถึงพระราชกรณียกิจด้านงานดนตรี และศิลปะของพระองค์

สำหรับพระราชปรีชาสามารถทางด้านการศิลปะดนตรี ที่น่าสนใจ และควรค่าศึกษา คือ ด้านการดนตรี และภาพยนตร์...

พระปรีชาสามารถทางดนตรี

พระปรีชาสามารถทางดนตรีของพระองค์ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงสำหรับการขับร้องที่มีชื่อเสียงไว้จำนวนมาก บทเพลงพระราชนิพนธ์หลายๆบทเพลง ได้กลายเป็นบทเพลงที่ทรงคุณค่า ความไพเพราะด้วยภาษาทรงทรงใช้ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ นับได้ว่าบนเพลงที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารแนวคิดเชื่อมโยงความผูกพัน ระหว่างพระองค์กับ พสกนิกรชาวกัมพูชา จะขอยกตัวอย่างบทเพลงที่มีชื่อเสียงที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ที่น่าสนใจ คือ บทเพลง Reatry Baan Joub peak  ซึ่งแปลว่า “ราตรีนี้ได้พบพักตร์”ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆบทเพลงพระราชนิพนธ์ ที่ได้รับความนิยม และขับร้องกันหลายๆเวอร์ชั่น

สิน สีสามุต และ แก้ว สิทธา

ขับร้องโดย เปรียบ โสวัตถิ และสุคนธ์ นิสา

 Adda & Abby

 

 ต่อไปนี้ คือ สรุปความเนื้อเพลง "ราตรีพบพักตร์" ถอดความในภาษาไทย  

ราตรีพบพักตร์

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาทนโรดมสีหนุ

 (ช.) ยามราตรีได้พบที่รักคู่เสน่หา

นี้ คือ เป็นวาสนา

ซึ่งได้สร้างจากบุพเพ

 (ญ.)ใจรู้สึก ว่าสิ้นกังวล.... 

ใจน้องไม่แตกสลาย

ชายที่รักจงรอคอย

 (ช.)ไม่เหมือนนาวาล่องตามสายลม พัดนำไปไกล

เพราะตัวพี่รูปงามโสภา

ลักขณาแสนเฉิดฉาย

 (ญ.)พี่เอย น้องสบาย

เพราะน้องได้

...เหมือนทำให้ผูกพัน

ซึ่งหมายปองเป็นคู่ครอง

ลุครั้งอวสาน

นอกจากการพระราช ก็ยังมีบทนิพนธ์บทเพลงแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระอัจฉริยะภาพในการขับร้องเพลงไว้อย่างมากมายทั้งบทเพลงภาษาเขมร ภาษาฝรั่งเศส  และเป็นที่น่าแปลกใจ ที่ (1) พระองค์สามารถทรงขับร้องเพลงไทย ได้ดีไม่แพ้บทเพลงภาษาเขมร อันเป็นภาษาประจำชาติ ได้อย่างไพเพราะ ด้วยพระองค์เอง บทเพลงนี้ คือ “รักเธอเสมอ” เป็นเพลงไทยสากลของนักร้องไทย “สวลี ผกาพันธ์”  ซึ่งพระองค์ได้บันทึกพระสุรเสียงขับร้องในช่วงก่อนปี 2008 เป็นบทเพลงที่พระองค์ทรงบันทึกเสียงก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระอาการประชวรที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

นอกจากผลงานบทเพลงพระราชนิพนธ์สำหรับการขับร้องแล้ว พระองค์ยังทรงมีผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ประเภทบทเพลงบรรเลงอีกมากมาย

พระปรีชาสามารถด้านภาพยนตร์ (2)

พระองค์ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ที่สร้างภาพยนตร์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ในปี 1963) แม้ว่าภาพยนตร์ของพระองค์ถ้ามองผ่านๆโดยไม่พิจารณาแล้ว ก็อาจจะเป็นเพียงภาพยนตร์แนวรักๆใคร่ๆ ธรรมดา แต่สิ่งที่พระองค์ได้สอดแทรกผ่านบทภาพยนตร์ ฉากในการถ่าย รวมไปถึงมุมกล้อง ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์ต้องการสื่อสารความเป็นกัมพูชาทั้งศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแง่มุมคิด และวิวทิวทัศน์ภายในประเทศของพระองค์เอง สู่สายตาอารยะประเทศผ่านโลกของเผยฟิลม์ ได้อย่างแยบคาย ดังที่ (3) พระราชดำรัสของพระองค์ที่ได้พระราชทานแด่ทีมงานสร้างภาพยนตร์สารคดี Sihanouk King and Film maker ว่า 

 "ผู้กล่าวถึงข้าพเจ้าว่าสร้างแต่หนังรัก หากที่จริงแล้วเป็นเพียงฉากหน้า ในการนำผู้คนให้หันมาสนใจกัมพูชา ไม่เพียงเห็นภาพของวัดสาอารามเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงวิธีคิด และวิถีชีวิตของพวกเราชาวกัมพูชา เช่นเดียวกับปัญหาที่พวกเรากำลังประสบ"

 หนึ่งในภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ของพระองค์ที่น่าสนใจ ที่ผู้เขียนอยากแนะนำให้ชม คือ Crepusclue หรือที่แปลว่า ยามพลบค่ำ ที่นำเสนอภาพของปราสาทนครวัด สภาพบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ในปี 1969 ในยุคที่ยังสงบเงียบ และยังไม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากประชาคมโลกในสมัยนั้น ไปพร้อมๆกับสอดแทรกเอกลักษณ์ความเป็นชาติกัมพูชา ผ่านตัวแสดงพระนางได้อย่างลงตัว และเป็นภาพยนตร์ที่ พระองค์ท่านทรงแสดงนำด้วยพระองค์เอง

จะเห็นได่ว่าพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศิลปินแห่งกัมพูชาอย่างแท้จริง ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ท่านได้ และในวันที่ 15 เดือนตุลาคม ปี 2012 นับเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวกัมพูชา เป็นวันที่พระองค์ได้เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคชรา ในพระชนมายุ 90 พรรษา นำความเศร้าโศกเสียใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ คณะรัฐบาล และประชาชนชาวกัมพูชาทุกหมู่เหล่า ผู้เขียนขอเป็นตัวแทนชาวไทยน้อมส่งดวงพระวิญญาณของพระองค์เสด็จสู่สรวงสวรรคลัย

 

 ...........

อ้างอิง

(1) Incredible Cambodia : สมเด็จ นโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ทรงร้องเพลง "รักเธอเสมอ"

http://blogazine.in.th/blogs/charnvit-kasetsiri/post/3684

(2) Films on and by His Royal Majesty, King Norodom Sihanouk, on the Occasion of his 87th Birthday

NOVEMBER 1, 2009

http://southeastasiancinema.wordpress.com/2009/11/01/films-on-and-by-his-royal-majesty-king-norodom-sihanouk-on-account-of-his-87th-birthday/

(3) สกู๊ปสารคดี เจ้านโรดมสีหนุ กับวงการภาพยนตร์ จาก Thaibunterng  Thaipbs (youtube channel)

 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง