Skip to main content

"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"

แล้วท่านเชื่อไหมว่าความรัก ว่าสามารถข้ามเส้นแบ่งทุกๆเส้นบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งเส้นแบ่งทางภาษา เชื้อชาติ สัญชาติ ก็ไม่อาจขวางกั้นความรักระหว่างกันได้ ถ้าหัวใจของคนสองคน ประเทศสองประเทศ เปิดหัวใจเชื่อมหากันได้ ไปมาหาสู่กันดุจญาติพี่น้อง แม้บางยุค บางสมัย อาจจะมีปัญหาอุปสรรคจากความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้นำทางการเมืองทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค อาจจะรวมไปถึงระดับโลกด้วยก็ได้ ที่ทำให้ความรัก ความสมัครสมานสามัคคีต้องหยุดชะงักลง จนเกือบกลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรง อันนำมาซึ่งความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ ใช่แล้ว ผู้เขียนกำลังพูดถึงปัญหาระหว่างกัมพูชา และไทยที่กำลังจะประทุขึ้นอีกครั้ง จากความพยายามของคนบางกลุ่มที่นำเอา ปราสาทพระวิหารมาเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความร้าวฉานขึ้น ซึ่งอาจจะนำความสูญเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนตามแนวชายแดนอีกครั้งถ้าไม่ยุติปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

 
ถึงสถานการณ์ความไม่เข้าใจกันจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งสองประเทศในระดับประชาชน ก็ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ ในหลายๆมิติ ทั้งการค้าตามแนวชายแดน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมไปถึงวงการบันเทิงด้วย ที่มีความร่วมมือกันหลายๆโอกาส หลายวาระที่น่าสนใจ ดังเช่น ภาพยนตร์เรื่อง รักข้ามขอบฟ้า ในปี 1971

 
ภาพยนตร์เรื่อง รักข้ามขอบฟ้า ซึ่งเป็นภาพยนต์ความร่วมมือระหว่างพระราชอาณาจักรไทย และพระราชอาณาจักรกัมพูชา ที่สร้างในปี 1971 นำแสดงโดย นักแสดงจากประเทศไทย สมบัติ เมทะนี และอรัญญา นามวงศ์ พร้อมทั้งนักแสดงจากกัมพูชา เจีย ยุทโธ และ ดี สาเวต กำกับการแสดงโดย ส.อาสนจินดา อำนวยการผลิตโดยบริษัท เอเชียฟิลม์ เป็นเรื่องราวของ “แมนสรวง” ชายหนุ่มชาวไทย ที่ได้พบรักกับ หทัย นางละครสาวชาวกัมพูชา ที่เขาได้พบรักกับเธอ และได้มีลุกกับเธอชื่อ ฤดี(สาเวต) ในช่วงที่เขาได้ไปท่องเที่ยวในพนมเปญ แต่โชคไม่ดีเมื่อเขากลับเมืองไทย เขาถูกบังคับให้แต่งงานกับจิตรา ผู้หญิงที่พ่อของเขาเลือกให้ จนเกิดลูกหนึ่งคนชื่อ จูบใจ(อรัญญา)
ส่วนหทัยก็ ได้เลี้ยงดู ฤดี(สาเวต)ให้เป็นนางรำละครเลี้ยงชีพ และรับเชน (ยุทโธ) มาเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งได้ประกอบอาชีพชกมวยตามเวทีต่างๆโดยทั้งหทัย และฤดี(สาเวต) เชนนับถือเหมือนเป็นคนร่วมสายโลหิต และปกป้องคุ้มครองสองแม่ลูกเสมอๆ และด้วยความรักและความคิดถึงแมนสรวง หทัยจึงเดินทางจากกัมพูชาออกตามหาคนรักเก่าพร้อมกับลูกสาว ฤดี(สาเวต) จึงทำให้ ฤดีได้พบรักกับ ร.ต.อ.ยิ่งศักดิ์(สมบัติ) นายตำรวจหนุ่มที่ประจำอยู่อ.อรัญประเทศ (สมัยนั้นขึ้นกับ จ.ปราจีนบุรี) และเชนจึงจำเป็นต้องเดินทางตามหาสองแม่ลูก หทัย และฤดี(สาเวต) จนได้มาพบรักกับ จูบใจ(อรัญญา) ในเมืองไทย จนเกิดเป็นเรื่องราวความรักระหว่างคนสองรุ่น สองประเทศ ที่ผูกพันกันอย่างหวานซึ่งและกินใจ
แม้ว่าเรื่องราวความรักของคนทั้งสองคู่จะดูยุ่งเยิงและวุ่นวาย (หรืออาจจะเป็นผู้เขียนที่เล่าเรื่องย่อแบบงงๆ???) แต่ก็เป็นหนึ่งใน เรื่องราวในอดีตที่สะท้อนถึงตัวแบบความสัมพันธ์ของผู้คนสองประเทศ ทั้งไทย และกัมพูชา โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ที่ทำมาหากิน ใช้ชีวิตร่วมกัน และแต่งงานกันข้ามเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศ ที่แม้จะมีสถานการณ์ใดๆ ระหว่างประเทศ ความผูกพันระหว่างผู้คนทั้งสองประเทศ ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยกัน และดำเนินต่อไป
 
 
เป็นที่น่าเสียดายว่าทางผู้เขียนไม่สามารถหาต้นฉบับภาพยต์มาให้ชมได้ มีแต่เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดยนักร้องชาวกัมพูชา ทั้งภาคภาษาเขมร และภาษาไทย โดยสิน สีสามุต ดี สาเวต และรส เสรีสุทธา นำมาให้ท่านผู้อ่านได้ชมได้ฟังกัน และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะใช้ความรัก สันติภาพ และภราดรภาพ เป็นเครื่องมือในการยุติปัญหาระหว่างไทย และกัมพูชา แทนที่ความคลั่งชาติ กระหายสงครามแบบขาดสติของคนบางกลุ่ม และไม่ว่าสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า ปราสาทพระวิหาร จะเป็นของประเทศใดตามข้อตกลงในอดีต แต่สิ่งก่อสร้างนี้ ก็ยังคงเป็นสมบัติร่วมกันของคนสองประเทศ เพราะ “เราไม่สามารถยกประเทศหนีจากกันได้”
 
 
 
Snaeh chlong veha : Sin Sisamouth & Dy Saveth (Khmer Version)

 
 
รักข้ามขอบฟ้า : สิน สีสามุต & ดี สาเวต (Thai Version)

 
 
Promden jet : Sin Sisamouth & Ros Sereysuthea (Khmer Version)

 
พรมแดนใจ : สิน สีสามุต & ดี สาเวต (Thai Version)

 
 
หมายเหตุ
- เนื่องจากเนื้อเพลงทั้งเพลงรักข้ามขอบฟ้า และเพลงพรมแดนใจ ทั้งสองภาษามีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน จึงไม่ได้ลงรายละเอีกเปรียบเทียบเนื้อเพลงเอาไว้ในบทความนี้
 
 
ที่มา
 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง