Skip to main content

จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”

 
พระปทุมเถระ(โสม) ผู้ประพันธ์ตุมเตียว
 
 
“ตุมเตียว” เป็น ตำนานพื้นบ้านของจังหวัดกำปงจาม ที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 ในรัชกาลพระบาทรามาเชิงไพร ในอาณาจักรเขมรศรีสุนทร โดยถูกนำมาประพันธ์เป็นงานวรรณคดีจากปลายปากกาของพระปทุมเถระ(โสม) พระภิกษุชาวจังหวัดเปรยแวง ในปี 1915 และเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับให้เป็นสุดยอดวรรณคดีของกัมพูชาอีกเรื่องหนึ่ง
 
 
 
เรื่องย่อ
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมือง นางเตียว ลูกสาวท่านเจ้าเมือง ในวัยแรกสาวสะพรั่งเมื่อถึงเวลาต้อง(1)เข้าร่มอบรมสุภาษิตสอนหญิง เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่ศรีเรือน ต่อมาด้วยโชคชะตาได้ลิขิตให้นางพบกัน “สามเณรตุม” สามเณรหนุ่มนัก(2)เทศน์แหล่ ผู้มีเสียงอันไพเราะจนเป็นที่เลื่องลือ จนกระทั่งมารดาของนางเตียวนิมนต์สามเณรตุมมาเทศน์แหล่ถึงเรือนของนาง เมื่อสามเณรตุมเทศน์ไปได้ซักพัก พลันสายตาได้พบกับนางเตียว จึงเกิดจิตปฎิพัทธ์รักใคร่ขึ้นมา จนสามเณรตุมถึงกับ หยุดเทศน์เพื่อส่งสายตามองนางเตียว ด้วยหัวใจปรารถนาอย่างร้อนรุ่มยิ่ง ด้วยสายตาของนางเตียวที่ตอบรับรักสามเณรตุมด้วยใจปรารถนาเช่นเดียวกัน  เมื่อจบกัณฑ์เทศน์ นางตุมได้แอบประเคน ผ้าสไบ กับสีผึ้งทาปาก ไว้เป็นของขวัญแทนใจสามเณรตุม ต่อมาสามเณรตุม กับสามเณรเพชร สามเณรเพื่อนสนิทจึงปรึกษากัน แล้วหาทางแอบสึกขาลาเพศจากสามเณร เพื่อความรัก ที่สามเณรตุม มีต่อนางเตียว
 
 
หลังจากลาสิกขาบท ด้วยชื่อเสียงของนายตุมครั้งเป็นสามเณรได้ทำให้เขา ได้รับราชการเป็นจหมื่นอาลักษณ์ในพระเจ้าอยู่หัว แล้วจหมื่นตุมจึงพยายามลักลอบพบกับนางเตียว จนกระทั่งทั้งสองได้เป็นของกัน และกัน???   แต่ความรักของทั้งสองก็ถูกกีดกัน ถูกรังเกียจจากญาติผู้ใหญ่ของนางเตียวด้วยชาติกำเนิดที่ด้อยกว่า และเป็นลูกกำพร้าของจมื่นตุม จนนางถูกจับให้หมั่นหมายกับลูกชายคหบดีผู้มีฐานะ แต่นางก็ยืนกรานที่จะไม่ยอม แต่แล้วด้วยความบังเอิญอีกเช่นกัน ที่พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ของนางเตียวจำต้องยกเลิกการหมั่นกระทันหัน เพราะพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชบัญชาต้องการ พาตัวนางเตียว มาถวายตัวเป็นนางกำนัลในพระเจ้าอยู่หัว  จมื่นตุมจึงต้องร้องขอความรักที่มีต่อนางเตียวผ่านเพลงมโหรีกล่อมหอ จนพระเจ้าอยู่หัวเห็นใจในความรักของคนทั้งสองจนพระองค์ยอมยกเลิกพิธีถวายตัว และจัดพิธีสมรสพระราชทานให้กับจมื่นตุม และนางเตียว แล้วให้ทั้งสองอาศัยอยู่ในราชธานี ท่ามกลางความไม่พอใจของญาติผู้ใหญ่ของนางเตียว โดยเฉพาะแม่ของนาง
 
แต่ญาติผู้ใหญ่ของนางก็ดึงดันจะให้นางเตียว แต่งงานกับลูกชายคหบดีผู้มีฐานะที่ได้หมั้นหมายกันไว้ให้ได้ โดยการออกอุบายหลอกให้นางเตียว กลับมายังบ้านของตนแล้วจัดการบังคับให้นางแต่งกับลูกชายคหบดี แต่แล้วนางก็ไม่ยอม จนนางต้องแอบให้ม้าเร็วแอบส่งจดหมายไปหาจหมื่นตุม จมื่นตุมจึงขอพระบรมราชานุญาติออกมาช่วยนางตุม แต่ก็ถูกคนของท่านเจ้าเมืองผู้เป็นบิดาของนางเตียวฆ่าตายเสียก่อน เมื่อนางเตียวรู้ข่าวการตายของจมื่นตุม นางจึงฆ่าตัวตายตามด้วยความรัก และอาลัยอย่างสุดซึ้ง แล้วในท้ายที่สุดแล้วท่านเจ้าเมือง และคุณหญิง ผู้เป็นบิดามารดาของนางเตียว และบ่าวไพร่ จึงต้องรับพระราชอาญาในข้อหา ขัดพระราชบัญชาเรื่องสมรสพระราชทานที่ให้แด่จมื่นตุม และนางเตียว จนตายตกไปตามกัน
 
 
 
ตุมเตียว มีมุมมองเปรียบเทียบที่น่าสนใจในหลายๆแง่มุม 
ความคล้ายคลึงของตอนจบเรื่อง ตุมเตียว กับโรมิโอ แอน จูเรียส ของประเทศอังกฤษ จากบทประพันธ์ของวิลเลียม เช็ดเปีย ที่พระนางของเรื่องได้จบชีวิตไปพร้อมๆกัน ด้วยการฆ่าตัวตาย จากการถูกกีดกันความรักของญาติผู้ใหญ่
 
ความแตกต่างกันทางฐานะ ทางสังคม ทำให้ตุมเตียว มีส่วนคล้ายกับ ขวัญเรียม ของไม้เมืองเดิม ที่ความแตกต่างด้านชาติกำเนิด ฐานันดรศักดิ์ เป็นอุปสรรคสำคัญในการกีดกันความรักของคนทั้งคู่ แม้ภายหลังอดีตเณรตุมจะได้รับราชการเป็นจหมื่นอาลักษณ์ในพระเจ้าอยู่หัวแล้วก็ตาม แต่ด้วยฐานะเดิมของจมื่นตุม เป็นเพียงลูกกำพร้าที่ไต่เต้ามาจากชาววัด ก็ไม่อาจเทียบเท่าลูกสาวเจ้าเมืองอย่างนางเตียว
 
(3)การแหกคอกขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา คล้ายๆกับพลายแก้ว กับนางพิม ในเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ทั้งพลายแก้ว กับนางพิม ต่างก็ตกหลุมรักกัน ในขณะที่พลายแก้วยังเป็นเพศบรรพชิตจนทำให้พลายแก้วต้องหนีสึกเพื่อที่จะได้เสพสมกับนางพิม เช่นเดียวกับสามเณรตุมที่ยอมหนีสึกเพื่อที่จะมาเสพสุขกับนางเตียว

และสภาพทางการเมืองในยุคสมัยของตุมเตียว ในศตวรรษ ที่16 ได้สะท้อนถึงปัญหาของระบบศักดินา ที่ในบางครั้งขุนนางในท้องถิ่น ก็ไม่จำเป็นต้องยำเกรงพระราชอำนาจของ พระเจ้าอยู่หัว เพราะระยะทางจากราชธานี กับเมืองในแว่นแคว้นที่ห่างไกลห่างไกลกันมาก จำเป็นเหตุให้ข้าราชการในยุคศักดินาโดยเฉพาะ ข้าราชการเขมร สามารถร่วมไพล่พล จนสามารถแข็งข้อกับพระเจ้าอยู่หัวได้
 
 
ผลิตกรรมจากเรื่องตุมเตียว
สำหรับตัวอย่างผลิตกรรมจากวรรณคดีเรื่องตุมเตียว ที่ผู้เขียนจะนำมาให้ชม เป็นผลงานภาพยนตร์จากค่ายภาพยนตร์ SSB ในปี กำกับโดย Fan San Ang อำนวยการสร้างโดย Kan Socheat ในปี 2003 นำแสดงโดย Danh Monika ,Son Sophea ,Chan DaraThy
 
 
________________________________________________________________________________________________
 
อธิบายเพิ่มเติม
 
-  เป็นพระเพณีดั้งเดิมของเขมร คือเมื่อหญิงสาวมีระดูครั้งแรก จะทำพิธี "เข้าร่ม" นี้ โดยการให้เข้าไปอยู่ในห้อง ปิดประตูหน้าต่าง ห้ามออกมา เก็บตัวบ่มผิวให้สุกใส ระหว่างนั้นจะทาขมิ้นดินสอพอง เรียนธรรมะ สุภาษิตสอนหญิง การเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี จนกว่าจะออกมา ซึ่งระยะกว่าจะออกมานั้น ขึ้นอยู่กับฐานะของทางบ้าน ความอดทนของสาวเจ้า และมีคนมาขอ มีคนมาขอเร็วก็ออกเร็ว
 
-  ในกัมพูชาเรียกการเทศน์แหล่ว่า “สโมต” ซึ่งคล้ายๆกับการเทศน์แหล่ของสยามแบบโบราณ การสโมต เป็นที่นิยมแพร่หลายมากๆ เช่นเดียวกับสยาม โดยเฉพาะการสโมตมหาชาติพระเวสันดรชาดก ทั้ง 13 กัณฐ์
 
- ความรักของสามเณรตุม กับนางเตียว ในระหว่างที่เป็นเพศบรรพชิต ได้กลายเป็นคำแสลงที่เรียกขาน กรณีที่สามเณรพระภิกษุสงฆ์ละเมิดข้อสิกขาบทในเรื่องการห้ามเสพเมถุน จนถูกจับสึก และประนามจากพุทธศานิกชน ในคำว่า “ตุมเตียว” คำนี้เป็นที่นิยมใช้ทั้งในระดับชาวบ้าน และสื่อมวลชน คล้ายๆคำว่า “สมี” “อลัชชี” ของสยาม
 
ที่มา
 

 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง