Skip to main content

 

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน



 

ในส่วนของรายละเอียดพระราชพิธี ถ้าอธิบายตรงนี้อาจจะเป็นอะไรที่ยืดยาวมาก(มากจริงๆๆ) ผู้เขียนขอสรุปย่อๆ ไปพร้อมกับชมวิดิโอคลิบบันทึกภาพพระราชพิธีถวายพระพลิงพระบรมศพ ของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติกัมพูชา หรือ TVK  โดยทางผู้เขียนขออนุญาติลงเป็นบางคลิบเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการนำเสนอ

ขบวนแห่พระบรมศพได้เริ่มจาก (1) พระที่นั่งเขมรินทร์ ในพระบรมมหาราชวังของกัมพูชา ในเวลา  08.30น. เคลื่อนไปตามท้องถนน จะแห่รอบเมืองเป็นระยะทางกว่า 6 กิโลเมตร  มีพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนี พระโอรส และสมเด็จพระราชินีนโรดม มุนีนาถ พระอัครมเหสี รวมเสด็จในขบวนแหพระบรมศพ โดยริ้วขบวนจะประกอบด้วยพระสงฆ์สวดสดับปกรณ์ถวายดวงพระวิญญาณ กองทหารราชองครักษ์ ทหารสามเหล่าทัพของกองทัพกัมพูชา ยุวกาชาดกัมพูชา ริ้วขบวนกลองใหญ่ 3 ใบ ปี่กลองชนะ


ที่แปลกตาสำหรับท่านผู้อ่านชาวไทย ก็ คือ ขบวนของกลุ่มชนชาติต่างๆในประเทศกัมพูชา ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาณมาตั้งแต่สมัยที่พระสามเด็จนโรดมสีหนุยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้แก่ ชาวจีน ชาวเวียดนาม ชาวจามที่นับถือศาสนาอิสลาม (2)ชาวไพรชาวป่า ซึ่งนับได้ว่า ทางรัฐบาลกัมพูชาได้เล่งเห็นความสำคัญของกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่ได้ร่วมสร้างแผ่นดินกัมพูชาให้เป็นปึกแผ่น จึงได้เชิญมาเข้ามามีส่วนร่วมในงานพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญยิ่งสำหรับชาวกัมพูชา

ขบวนแห่พระศพ เคลื่อนไปจนถึงทุ่งพระเมรุมาศ อันเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีการแห่รอบพระเมรุมาศ 3 รอบ เมื่อครบแล้วจึงอันเชิญ (3)หีบพระบรมศพขึ้นสู่จิตการธาร ในเวลา 16.00 น. ได้ประกอบพระราชพิธีวางดอกไม้จันท์(เผาหลอก) พร้อมยิงสลุต 101 นัด โดยมีผู้นำ และผู้แทนผู้นำประเทศต่างทั้งจากในภูมิภาคอาเซียน และนอกภูมิภาคมาร่วมถวายความอาลัย พร้อมกับพสกนิกรชาวกัมพูชา อย่างล้นหลาม ก่อนจะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ(เผาจริง) ในช่วงเวลาค่ำ ในส่วนของพลับพลาพระเมรุมาศนั้น ทางรัฐบาลกัมพูชาได้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 1,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินเรียล ประมาณ 4,800,000,000 เรียลของกัมพูชา (เงินไทย 39,600,00 บาท) จะเท่ากับว่า พลับพลาพระเมรุมาศแห่งนี้ ใช้เงินของประชาชนชาวกัมพูชาทั้งประเทศ 14 ล้านคน เป็นงบประมาณในการก่อสร้าง เฉลี่ย ตกอยู่ราวๆ  0.8 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 342 เรียล(เงินไทย 2.50 บาท) ต่อประชาชาชนชาวกัมพูชาหนึ่งคน จึงจะจัดสร้างพระเมรุมาศได้สมพระเกียรติยศของพระองค์

จึงนับได้ว่า รัฐบาล และพสกนิกรชาวกัมพูชาได้ร่วมส่งเสด็จพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุสู่สวรรคาลัยอย่างสมพระเกียรติแล้ว แม้ว่าทางรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการจัดพระราชพิธีอย่างมโหฬาร เมื่อเทียบกับกำลังทรัพย์ของประเทศที่เพิ่งฟื้นฟูจากความเจ็บปวดจากสงครามกลางเมือง และปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับกัมพูชาคงมีบรรยากาศแบบนี้ ที่ใช้งบประมาณมหาศาล ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับบางประเทศในโลกใบนี้???

 

_______________________________________________________________________________
 

อธิบายเพิ่มเติม

(1)โดยมากสื่อไทย มักจะเรียกชื่อพระที่นั่งเขมรินทร์ เป็น “พระราชวังเขมรินทร์” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ผิด

(2)ชาวไพร เป็นชนเผ่าในที่สูงของกัมพูชา มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดสตึงแตรง กระแจะ รัตนคิรี มณฑลคิรี ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลมอญ – เขมร เหมือนชาวกัมพูชา แต่โดยมากนับถือผี ซึ่งต่างจากชาวกัมพูชาที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท

(3)ธรรมเนียมการบรรจุพระศพของเจ้านายเขมร จะใส่ลงโลงพระศพที่รูปทรงคล้ายๆเรือ จะต่างกับเจ้านายไทย ที่นำพระศพใส่ลงในพระบรมโกฐิ


ที่มารูปภาพ

http://bigstory.ap.org/article/cambodians-mourn-former-king-funeral-procession
http://www.khmer.rfi.fr/Khmers-invites-etrangers-attente-la-ceremonie-d-incineration-depouille-Sihanouk


ที่มา

-http://thai.cri.cn/247/2013/01/28/123s206547.htm
-http://www.ecokhmer.com/newdetail.php?newid=653&catid=4

-http://www.khmer.rfi.fr/Khmers-invites-etrangers-attente-la-ceremonie-d-incineration-depouille-Sihanouk

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง