Skip to main content

ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดังกล่าว คือ ละครยี่เก

 
 
ประวัติความเป็นมา
ละครยี่เก เป็นการแสดงที่เก่าแกมาแต่โบราณของกัมพูชา ซึ่งต้นกำเนิดของละครยี่เก ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ครูบาอาจารย์ด้านนาฎศิลป์ของกัมพูชาว่า มีต้นกำเนิดมาจากแหล่งใดกันแน่ ซึ่งแบ่งข้อสันนิษฐานถึงแหล่งกำเนิด ไว้สามแห่ง คือ
 
- อาณาจักรชวา : หรือประเทศอินโดนิเซีย ในปัจจุบัน  ซึ่งในยุคนั้น ตรงกับรัชสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ.770–850) เป็นยุคที่อาณาจักรเขมร ขึ้นกับอาณาจักรชวา ทำให้จำเป็นต้องค้าขายส่งส่วยต่อกัน  ครั้นนั้นพระองค์ได้ไปราชการที่อาณาจักรชวา ก็ได้ทอดพระเนตรการร้องสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของชาวชวา และการแสดงดังกล่าวเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของพระองค์ จึงทรงโปรดให้ลอกเลียนรูปแบบการแสดงดังกล่าวในอาณาจักรของพระองค์เอง 
 
- มาเลเซีย : ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นศิลปะการแสดงที่มีต้นกำเนิดจากการร้องสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ประกอบการตีกลองหน้าเดียว ของชาวมลายู จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้เผยแพร่ม่สู่ประเทศไทย แล้วศิลปะการแสดงนี้ได้ตกทอดมาถึงชาวกัมพูชาอีกทอดหนึ่ง โดยชื่อเดิมคือ ลิเก แต่ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น ยี่เก ในภายหลังเมื่อมาถึงกัมพูชา (ในบทความต้นฉบับดังกล่าวได้แสดงความคิดเห็นว่า ศิลปะการแสดงลิเก กับยี่เก เป็นศิลปะการแสดงคนละชนิดกัน โดยพิจราณาจากเครื่องดนตรีประกอบการแสดง  แต่ทางผู้เขียนเอง เห็นแย้งกับความเห็นของบทความต้นฉบับ เพราะว่าทั้งยี่เก และลิเก ต่างมีรากกำเนิดที่คล้ายคลึงกัน มีรูปแบบในชั้นต้นเหมือนๆกัน เพียงแต่วิวัฒนาการ และสภาพสังคมในท้องถิ่น ได้ทำให้ศิลปะการแสดงทั้งสองชนิด มีรูปแบบหน้าตาแตกต่างกัน โดยจะอธิบายในหัวข้อต่อไป)
 
- (1)ชาวจาม ในอาณาจักรจามปา : ข้อสันนิษฐานเรื่องยี่เกมากจากชนชาติจาม เป็นข้อสันนิษฐาน ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่าศิลปะการแสดงยี่เกนี่ เข้าสู่ประเทศกัมพูชาตั้งแต่ยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ค.ศ.1181-1218) ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักเขมร กับอาณาจักจามปา มักพุ่งรบทำสงครามกวาดต้อนผู้คน รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนไปมาระหว่างสองอาณาจักร จึงทำให้ศิลปะการแสดงยี่เกของอาณาจักจามปา หรือชาวจามเข้าสู่กัมพูชามาพร้อมๆกับชาวจาม และได้เผยแพร่จนเป็นที่นิยมในหมู่ชาวกัมพูชา จนถึงทุกวันนี้
 
จนมาถึง(2)ยุคสังคมราษฎร์นิยม ซึ่งเป็นยุคหลังจากที่กัมพูชาได้รับเอกราช การแสดงยี่เก ก็ได้รับเกียรติให้แสดงกันในโอกาสสำคัญๆ ทั้งในระดับรัฐพิธี ไปจนถึงพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งในรูปแบบการแสดงเป็นโรงละคร ไปจนถึงแสดงร่วมในขบวนแห่ต่างๆ อีกด้วย นอกจากนี้การแสดงละครยี่เกยังได้รับความนิยมจากประชาชนชาวกัมพูชาทั้งในราชธานี ไปจนถึงตามชนบท จนเกิดเป็นคณะการแสดงนาฎดนตรีละครยี่เกตามจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดตาแก้ว จังหวัดกำปอต จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดกัมปงจาม จังหวัดกอนดาล ฯลฯ
 
สตรี และเด็กชนชาติจาม หน้ามัสยิดในกัมพูชา (ภาพจาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Cham_Muslims_Cambodian.JPG )
 
 
 
รูปแบบการแสดง
การแสดงละครยี่เกสามารถแสดงได้ทั้งแบบการขับร้องเดี่ยว ไปจนถึงการขับร้องตอบโต้กันแบบกลอนเพลงปฎิพาทย์ระหว่างชายหญิง แต่ที่ได้รับนิยมกันมาก คือ การแสดงในรูปแบบละครยี่เก ซึ่งแสดงเป็นเรื่องยาว เป็นรูปแบบการแสดงที่นิยมกันมากหมู่ประชาชนชาวกัมพูชา อีกรูปแบบหนึ่ง
 
ในส่วนของ(3)ลำดับการแสดงนั้น จะเริ่มด้วยการแสดงโหมโรงยี่เก ซึ่งจะใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน จะแต่งกายด้วยมงคล หรือมงกุฎสวมศรีษะ สวมเล็บมือ ออกมาร่ายรำประกอบบทร้องเพลงโหมโรงยี่เก ซึ่งจะเริ่มบทเพลงโดยมีกลองยี่เกให้จังหวะ  โดยเป็นการแสดงเพื่อเบิกโรง พร้อมกับถวายเครื่องสักการะบวงสรวงขอพรแด่เทพยาดาอารักษ์ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา รุกขเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา ผีบรรพชนยายตา ตลอดจนดวงวิญญาณของครูบาอาจารย์ เพื่อให้การแสดงละครยี่เก ไม่มีอุปสวรรคใดๆมาแพ้วพาล หรือถ้ามีก็ขอให้การทำการแสดงผ่านลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ชมการแสดงทราบว่า จะได้เริ่มทำการแสดงละครยี่เกแล้ว
 
เมื่อทำพิธีโหมโรงละครยี่เกแล้ว โต้โผ้จะการประกาศเรื่องที่จะทำการแสดง แล้วเบิกตัวแสดงออกมาร้องรำ แล้วกล่าวบทเจรจา โดยมากเอามาจากบทร้องละครแบบโบราณของเขมร แต่เครื่องแต่งกายไม่เน้นความสวยงามปราณีตตามแบบโบราณมากนัก แต่ตรงกันข้าม เป็นเครื่องแต่งกายง่ายๆ ตามแบบฉบับพื้นบ้าน ในบางเรื่องที่นำมาทำการแสดง ถ้าตัวละครที่แต่งหน้าเป็นยักษ์ ลิง ฤษี ถ้าเวลาใดต้องการเจรจา จะใช้วิธียกเครื่องประดับใบตัวละครหน้าขึ้นเหนือศรีษะ แล้วจึงร้องรำ หรือว่าบทเจรจา
 
นักแสดงหญิงร่ายรำในพิธีโหรมโรงละครนี่เก
 
 
 
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง
อุปกรร์ดนตรีที่ใช้ในการแสดงละครยี่เก เครื่องดนตรีหลักที่ใช้กัน คือ กลองยี่เก หนึ่งใบ ทำหน้าที่ตีให้จังหวะหลักในการขับร้องบทเพลงยี่เก แต่บางคณะก็ใช้สองใบ เพื่อตีจังหวะลูกล้อลูกขัดกับ กลองยี่เกใบหลักซึ่งตียืนจังหวะ หรืออาจจะใช้มากกว่าสองใบ ขึ้นอยู่กับจำนวนนักดนตรี และสถานที่ทำการแสดง  นอกจากนี้ยังมีเครื่องดำเนินทำนองเพลงหลักๆ คือ (4)ซออู้จอมเหียง นอกจากซออู้จอมเหียงแล้ว ยังมีเครื่องดำเนินทำนองอื่นๆเสริมด้วยก็ได้ เช่น (5)ปี่ชวา จะเข้ ขิม ฯลฯ
 
นักดนตรีบรรเลงกลองยี่เก ในรายการประกวดการขับร้องเพลงยี่เก ในรายการศิลปะ วัฒนธรรม ทางสถานีโทรทัศน์บายอน ทีวี 
 
 
 
ศิลปะการแสดงของประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงกัน
นอกจากในประเทศกัมพูชาแล้ว ในประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีการแสดงที่คล้ายๆกับละครยี่เกของกัมพูชา เช่น ในมาเลเซีย อินโดนิเซีย ไทย ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ
 
เฉพาะในส่วนของประเทศไทย ก็มีการแสดงที่มีชื่อเรียกคล้ายๆกับยี่เก ว่าลิเก ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันรูปแบบการแสดงลิเกของไทยจะใช้วงปี่พาทย์ประกอบการแสดง แต่โดยรากเดิมการแสดงลิเกของไทย ใช้กลองรำมะนา ซึ่งคล้ายๆกับกลองยี่เกของกัมพูชา เล่นประกอบการแสดง และมีการตี(6)จังหวะหน้าทับโหมโรงด้วยรำมะนา คล้ายคลึงกับการโหรโรงของยี่เกขแมร์  ต่อมาจึงมีการปรับปรุงรูปแบบการแสดงโดยเอาวงปี่พาทย์มาใช้แทนวงกลองรำมะนา แล้วแต่งเครื่องอย่างละครแทน  แต่บางส่วนก็ยังนิยมขนบเดิมของลิเก คือ การใช้รำมะนาเล่นประกอบการร้องรำ จึงแยกสายออกมาเป็นการแสดงลำตัด อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
 
ภาพการแสดงลำตัดของไทย ซึ่งเป็นการแสดงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ ละครยี่เกของกัมพูชา มากที่สุด

 
 
ตัวอย่างการแสดง
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการแสดงละครยี่เก ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอต่อไป ดังนี้
 
-เริ่มต้นด้วยการตัวอย่างการแสดงโหรโรงยี่เก เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเริ่มการทำการแสดง


-การแสดงยี่เกในรูปแบบการร้องรำตอบโต้ ในเพลงจีบมือรำยี่เก ขับร้องโดยคณะศิลปินคุณจัน สุธี ทางสถานีโทรทัศน์อัปสรา 


-และก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนขอความปิดท้ายด้วยการแสดงละครยี่เก ทำการแสดงโดยคณะศิลปินนักแสดง จากสำนักงานคณะกรรมการศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดตาแก้ว ถ่ายทำโดย บริษัท รัศมีหงษ์มาศ จำกัด ขอนำเสนอในท้องเรื่อง (7)นิทานชาดก วิธุรบัณฑิต......

 
 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
 
อธิบายเพิ่มเติม
(1) ชนชาติจาม เป็นกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาตระกูลมลาโย-โพเลเนเชียน ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับชาวมาเลเซีย อินโดนิเซีย เดิมมีอาณาจักรเป็นของตนเองชื่อ อาณาจักรจามปา ซึ่งเกิดขึ้นในราว 300 ปี ก่อนคริสศักราช จนถูกทำลายลงโดยกองทัพเวียดนามในสมัยราชวงศ์เล ในราวศตวรรษที่ 12 แต่เดิมนับถือศาสนาฮินดู ต่อมาเมื่ออาณาจักรเกิดความระส่ำระสายจากการรุกรานของอาณาจักเขมร และอาณาจักรเวียดนาม จึงมีบางพวกไปเข้ารีตอิสลามจากพ่อค้าชาวอาหรับ
 
(2) ยุคสังคมราษฎร์นิยม เป็นยุคที่พรรคการเมืองที่ชื่อว่า พรรคสังคมราษฎร์นิยม ซึ่งนำโดยสมเด็จกรมพระนโรดมสีหนุ เข้ามามีบทบาททางการเมืองกัมพูชามากที่สุด ในช่วงปี ค.ศ.1955 ถึง 1970
 
(3) ลำดับการแสดงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับเปลี่ยนได้ตามเวลา สถานที่ ไม่ยึดถือตายตัว
 
(4) ซออู้จอมเหียง มีลักษณะคล้ายๆกับซออู้ที่ใช้ในวงมโหรี และวงเพลงการ(กล่อมหอ)ของเขมร แต่มีเสียงสูงกว่า เพื่อใช้ในการดำเนินทำนองหลัก เวลาเล่นประกอบการแสดงต่างๆ
 
(5) ปี่ชวา หรือในภาษาเขมรเรียก "สรอไล" จะใช้เฉพาะในพิธีโหมโรงยี่เกเขมรเท่านั้น โดยจะทำหน้าที่บรรเลงหางเพลงวา ซึ่งเป็นหางเพลงของเพลงโหมโรงยี่เกเขมร 

(6) ขนบการโหรมโรงลำตัด และลิเกแบบดังเดิม จะต่างไปจากยี่เกขแมร์ คือ ใช้ลำตัดตีประกอบจังหวะหน้าทับเป็นสำเนียงดนตรีต่างภาษาสิบสองภาษา โดยจบทีสำเนียงแขก หรือสำเนียงมลายู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อ ชนชาติมลายูผู้เป็นต้นตำรับการแสดงลิเก และลำตัด (ขนบของลิเกปัจจุบัน ได้กร่อนจนกลายมาเป็นการออกแขก)
 
(7) พระชาติ "วิธุรบัณฑิต" เป็นพระชาติที่ 9 ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระชาติที่พระองค์ต้องบำเพ็ญ "สัจจะบารมี" เพื่อสั่งสมบุญญาบารมีในการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติต่อไป
 
 
 
อ้างอิง
 
 
 
 

 

 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง