Skip to main content

ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชินีเสียงทองคู่ธานี นักร้องท่านนั้น คือ (1)“รส เสรีสุทธา” หรือ Ros Sereysothea ตามคำอ่านในภาษาเขมร

ก่อนที่เธอจะมาเป็น “รส เสรีสุทธา” นักร้องดังคับฟ้า ชื่อเดิมของเธอ คือ รส สุทธา(Ros Sothea) เกิดในวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 1946 ณ หมู่บ้านตำหนักหลวง ตำบลวัดคร อำเภอพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ในครอบครับนักดนตรี(2)วงเครื่องสาย ของนายรส สาบุน และนางณัต เสมียน โดยเป็นลูกสาวคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้ง 5 คน ด้วยฐานะยากจน ในเวลาว่างๆจากการเรียนหนังสือที่โรงเรียน ทักขิณศาลา ในกับพี่ชาย ชั้นประถมศึกษา เธอจึงต้องฝึกหัดการเล่นดนตรี และขับร้องเพลงจากผู้เป็นพ่อ (3)เพื่อไปแสดงตามงานมงคลสมรส และงานบุญต่างๆ จนกระทั่งในช่วงที่เธอเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเนต ยง พ่อกับแม่ ของเธอได้เลิกรากัน โดยผู้เป็นพ่อได้ย้ายไปอีกอำเภอหนึ่งที่ไกลออกไป ทิ้งให้แม่ต้องเลี้ยงดูลูกๆที่เหลือทั้ง 5 คน ทำให้เธอต้องลาออกจากเรียน เพราะสภาพครอบครัวไม่เอื้ออำนวยด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน และค่าใช้จ่ายที่บ้าน

เธอจึงมาฝากตัวเป็นศิษย์ครูบุน ธง ซึ่งได้ตั้งวงดนตรีชื่อ “ลำแหโยธา”(พักรบ) ในปี 1963 ซึ่งวงกำลังขาดนักร้องอยู่พอดี เพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิตการเป็นนักร้อง นักดนตรี ครูบน ธง จึงเปลี่ยนชื่อของเธอเสียใหม่ โดยเติมคำว่า “สิรี นำหน้าชื่อ เป็น “รส สิรีสุทธา” ซึ่งได้เขียนผิดเพี้ยนไปตามเสียงพูด จนกลายมาเป็น รส เสรีสุทธา ตามปกแผ่นเสียง โดยวง ”ลำแหโยธา” ซึ่งมีรส เสรีสุทธา เป็นนักร้องของวง ได้ขึ้นแสดงที่ นาฏยศาลา สตึงเขียว” ในตัวเมืองพระตะบอง จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วจังหวัดพระตะบอง ในสมัยนั้น ต่อมาครูบุน ธง จึงได้ฝาก รส เสรีสุทธา กับ อิม สง เซิม(Im song serum) ซึ่งเป็นนักร้องดังจากสถานีวิทยุแห่งชาติกัมพูชา ไปเป็นนักร้องที่ กรุงพนมเปญ

เมื่อมาถึงกรุงพนมเปญ ในปี 1967 เธอได้เป็นนักร้องประจำสถานีวิทยุแห่งชาติกัมพูชา คู่กับท่านอิม สง เซิม โดยได้ออกแสดงตามงานต่างๆ เธอสามารถร้องเพลงได้หลากหลายแนวทั้ง เพลงแบบโบราณ รำวง ลำสาละวัน ร๊อค เป็นต้น ทำให้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จากมิตรรักแฟนเพลง จนกระทั่ง ความทราบถึง พระบาทสมเด็จนโรมดมสีหนุ ทรงพระราชทานพระบรมราชาอนุญาติ ให้เข้าฝ้า พร้อมกับทอดพระเนตรการแสดงขับร้องเพลงเธอ จนพระเป็นที่พอพระราชหฤทัย และทรงพระราชทานสมัญญานามให้กับเธอว่า “ราชินีเสียงทองแห่งกัมพูชา” และเพลงที่ได้สร้างชื่อแจ้งเกิดให้กับเธอจนโด่งดัง คือ เพลง สตึงเขียว(แม่น้ำสีคราม)

เพลงสตึงเขียว (แม่น้ำสีคราม)

ขับร้องโดย : รส เสรีสุทธา

 

น้ำไหลหายไป เหลือแต่น้ำตานองยิ่ง

กับวาจาจริง สบถสาบานว่ารักแน่

โอ้...แม่น้ำสงแก ชีวิตแปรหันเห

น้ำสีครามใจสลาย แลอนิจจาวาสนา

 

แม่น้ำก่อนจะเย็นเยือก ว่าแห้งเหือดไหล

ขันหมากเราทั้งคู่ น้องสู้ยกให้แม่พ่อ

ไม่ให้น้ำสีคราม ดูถูกสาว ไม่รู้จักพอ

ใจไม่ซื่อต่อรักเสน่หา พบคนใหม่

 

ความทรงจำ ทุกแห่งทั้งหลาย

บูชาเอาไว้ แต่ชื่อพี่

รักษาสัญญา ว่าจะรักภักดี

ลบชื่อหญิงชั่วช้า นางกากี

 

จากวันนี้ แสนไกลจากพี่

ทุกยามนี้ ด้วยนึกสั่งลาด้วย

เกรงพี่รอ ฟ้าร้องแต่ต้นปี น้องยังคอย

น้องจะมาตอนนี้ มาใกล้ๆที่พี่เอย

 

นอกผลงานเพลงเดี่ยวของเธอแล้ว ยังถือได้ว่า รส เสรีสุทธา เป็นนักร้องคู่ขวัญคู่บารมีของ จักรพรรดิเสียงทอง ท่านสิน สีสามุต จากผลงานการขับร้องเพลงคู่หลายๆเพลง ที่ได้กลายเป็นผลงานเพลงอมตะของวงการเพลงกัมพูชา ที่ติดตราตรึงใจมิตรรักนักฟังชาวกัมพูชา มาจนถึงทุกวันนี้ หนึ่งในหลายๆผลงานเพลงคู่ของท่านทั้งสอง คือ เพลง "ขกเจิตสเน่ห์สเรีย (ใจสลายรักสาว)"



เพลง ขกเจิตสเน่ห์เสรีย (ใจสลายรักสาว)

ขับร้องโดย : สิน สีสามุต & รส เสรีสุทธา

 

(ช) ขอน้องปราณี ปราณีถึงใจพี่

เพราะรักนวลละอองนี้ ใจพี่กล้าหาญ

เปลี่ยนหัวใจไม่กลัวตายมรณา

ขอน้องเฉลยมา บอกพี่ด้วย ว่ารักพี่หรือไม่

 

(ญ) อย่าสมัครรักน้องเลย เพราะน้องนี้ไม่มีที่ว่าง

อย่าคิดฟุ้งซาน อย่ามารัก น่ะพี่เอย

ฉันมีคู่ อยู่แล้ว แล้วน่ะพี่

อย่ามาหมายปองน้องสาว

 

(ช) เสียดายน่ะ เสียดายมาก

เสียดายยิ่ง เพราะใจแตกสลาย

รักมลายหายสิ้นแล้วสาวน้อย

อายโลกนี้ เพราะน้องไม่เสน่หา

ทำยังไงกรรมาจากบุพเพ

ไม่ได้รักได้อยู่เป็นคู่ครอง

 

แต่ชีวิตครอบครัวของเธอกลับประสบปัญหาล้มเหลวอย่างรุนแรง หลังจากการแต่งงานกับท่าน สุ หมัด นักร้องชาย เชื้อสายจาม หลังจากแต่งงานไปเพียงไม่กี่เดือน เธอได้เลิกรากับท่านสุ หมัด เพราะปัญหาทะเลาะกันจนถึงขั้นทุบตีทำร้าย จนเป็นที่โจษขานกันไปทั่ว เธอต้องหนีจากวงการเพลง กลับไปอยู่ที่บ้านเกิดที่จังหวัดพระตะบอง กระทั่งท่านสิน สีสามุต ทราบเรื่อง จึงอาสาเดินทางมาเจรจากับรส เสรีสุทธา ถึงที่บ้านจังหวัดพระตะบอง ด้วยความเมตตาจากท่านสิน สีสามุต ทำให้เธอเมื่อกลับเข้าวงการอีกครั้งแล้ว เธอจึงได้เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักร้องอีกครั้ง กับวงดนตรีของท่านสิน สีสามุต ต่อจากนั้นมาไม่นาน รส เสรีสุทธา ก็ได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับ นายฮุย สี พัน ลูกชายเจ้าของห้างแผ่นเสียงวรรณจันทร์ ในปี 1969

ในปี 1970 ในยุคสาธารณรัฐกัมพูชา รส เสรีสุทธา ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพลร่ม ฝึกหัดการโดดร่ม จากกองทัพของสาธารณรัฐกัมพูชา ซึ่งมี (4)นายพลเสรีย ยา เป็นผู้บัญชาการ โดยทำงานรับใช้รัฐบาลสาธารณรัฐกัมพูชา และเธอยังเป็นสตรีชาวกัมพูชาเพียงผู้เดียวที่เป็นทหารพลร่ม ในประวัติศาสตร์กัมพูชา ในเวลานั้น กิตติศัพท์ของเธอได้รับความนิยมชมชอบ เพิ่มขึ้น ทั้งในหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จากการโดดร่มของเธอ

 

แล้วในที่สุด ชีวิตในโลกแห่งเสียงดนตรีของเธอได้จบสิ้นลง ในปี 1975 หลังจากการบุกเข้ายึดกรุงพนมเปญ ของกองกำลังปฎิวัติเขมรแดง เธอถูกพาออกไปยังชนบทตามคำสั่งของรัฐบาลเขมรแดง ณ หมู่บ้านพนมสรวจ(เขาแหลม) ในจังหวัดกำปงสปือ โดยเธอต้องทำงานเช่นเดียวกับคนอื่นๆ เพื่อแลกอาหารปั่นส่วนจากรัฐบาลเขมรแดง ด้วยเธอเป็นมีเสียงขับร้องที่ไพเราะ เธอจึงมีโอกาสได้รับใช้องค์กร ด้วยการทำงานฝ่ายวัฒนธรรมของรัฐบาลเขมรแดง ด้วยการร้องเพลงปฏิวัติ   ต่อมาเธอได้ถูกจับแต่งงาน กับนายทหารของเขมรแดง ที่ใกล้ชิดกับกรรรมการบริหารสูงสุด ของรัฐบาลเขมรแดง จากการจับเลือกคู่ เธอต้องอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานจากการถูกทุบตีทำร้ายจากสามีที่ทางกรรมการบริหารสูงสุดเลือกให้ และท้ายที่สุดเธอได้ต้องโทษจากรัฐบาลเขมรแดง ด้วยข้อกล่าวหาไม่เคารพสามี  เธอถูกลงโทษด้วยการให้ไปใช้แรงงานในอีกที่หนึ่งที่ไกลออกไป และ(5)เธอได้หายสาบสูญไปนับแต่บัดนั้น ซึ่งเชื่อกันว่าเธอได้เสียชีวิต ในปี 1977 ในวัย 29 ปี ไปพร้อมกับพี่น้องชาวกัมพูชานับล้านๆคนในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

 

......................................................................................................

 

อธิบายเพิ่มเติม

(1)ในภาษาเขมร จะใช้ระบบเสียงตัวอักษรแบบ อโฆษะ(เสียงเบา) และโฆษะ(เสียงหนัก)  ซึ่งเมื่อนำมาผสมกับสระแล้ว พยัญชนะจะเปลี่ยนเสียงไปตามความหนัดเบาของเสียงพยัญชนะ

(2)ในภาษาเขมรเรียกวงดนตรีดังกว่าว่า วงมโหรี และเรียกเพลงที่ใช้ในงานมงคลสมรสว่า “เพลงการ” ซึ่งคล้ายๆกับ วงมโหรีของไทยที่ใช้บรรเลงเพลงกล่อมหอ ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ยังมีใช้ในกัมพูชาอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน

 (3)อายุ 16 ปี เธอเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศจากลูกชายเจ้าของโรงเลื่อยในจังหวัดพระตะบอง หลังจากรับงานพิธีทำบุญบ้าน ด้วยอำนาจอิทธิพลทำให้ เธอและพ่อของเธอ ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใดๆได้

(4)ในเวลาต่อมานายพลเสรีย ยา ได้ใช้อำนาจทางทหารขู่บังคับเธอให้ มาเป็นภรรยาคนใหม่ จนมีบุตรด้วยกันสี่คน แต่ทั้งหมดได้ตายในสมัยเขมรแดง ส่วนนายฮุย สี พัน กับลูกที่เกิดกับเขาได้ลีภัยทางการเมืองไปอยู่ฝรั่งเศสก่อนสมัยเขมรแดง

 

แปล และเรียบเรียงจาก

-บันทึกความทรงจำของนางแก้ว จันทบูรณ์ เกี่ยวกับรส เสรีสุทธา จาก http://km.wikipedia.org/wiki/

-http://en.wikipedia.org/wiki/Ros_Sereysothea

-http://khmermusic.thecoleranch.com/rossereysothea.html

 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง