Skip to main content

ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ์ดนตรี  สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนขออนุญาติที่จะแนะนำอุปกรณ์ดนตรีชนิดหนึ่งเป็นอันดับแรกก่อนวงเพลงดนตรี หรืออุปกรณ์ดนตรีอื่นๆ ด้วยความน่าสนใจของอุปกรณ์ดนตรีชนิดนี้เป็นพิเศษ อุปกรณ์ดนตรีดังกล่าว คือ "จะเป็ยดองแวง"

 
 
 
ประวัติความเป็นมา
"จาเป็ยดองแวง" เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดชนิดหนึ่ง สันนิษฐานกันว่า ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียโบราณเมื่อราวหนึ่งพันกว่าปีก่อน คาดกันว่าอาจจะราวๆยุค(1)อาณาจักรฟูนัน ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมอินเดียโบราณได้เริ่มลงหลักปักฐานในแผ่นดินกัมพูชา  คำว่า "จะเป็ยดองเวง" แยกออกมาได้เป็นสองคำ คือคำว่า "จะเป็ย" ซึ่งเป็นคำที่ตกทอดมาจากคำว่า (2)"จักฉะปิ" ในภาษาสันสกฤต รากเดิมแปลว่า กระดองเต่า กับคำว่า "ดองแวง" เป็นคำเขมรแปลว่า "ลำยาว"  จะเป็ยดองแวง แปลรวมๆจะแปลว่า จะเป็ยด้ามยาว หรือจะเป็ยลำยาว แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่สำคัญในวงเพลงดนตรีต่างๆ ดังนี้ 
 
- การบรรเลงร่วมวงกับเครื่องดนตรีต่างๆ : จะเป็ยดองเวง มีบทบาทสำคัญในวงดนตรีประเภทเครื่องสายโบราณของกัมพูชา ซึ่งมีหลายชื่อเรียกแตกตางกันไปตามบทบาทที่ใช้ตามพิธีกรรมที่นำไปใช้ เช่น วงอารักษ์ ใช้ในพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ วงเพลงการโบราณ(วงกล่อมหอ) ใช้ในพิธีแต่งงาน และวงมโหรีโบราณ เป็นวงดนตรีที่บรรเลงเพื่อการฟัง ซึ่งทั้งหมดเป็นวงดนตรีรูปแบบเดียวกัน นอกจากจะเป็ยดองเวงแล้ว ยังประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆในวง เช่น ซอสามสายเขมร พิณสายเดียว ปี่ปวก กลองโทน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ มีการนำ จะเป็ยดองเวง ไปใช้ในการบรรเลงน้อยมาก และส่วนใหญ่วงเครื่องสายแบบโบราณเหล่านี้ ถูกแทนที่ด้วย (3)วงอาไย เสียเป็นส่วนมาก
 
- การบรรเลงประกอบการขับกลอนลำนำ : เป็นรูปแบบการบรรเลงจะเป็ยเพียงชิ้นเดียว ประกอบการขับร้องบทลำนำแบบด้นสด ซึ่งนักร้องจะร้องด้วยดีดบรรเลงด้วย เป็นรูปแบบการบรรเลงจะเป็ยดองเวงที่มีความนิยมมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะลดน้อยลงไปบ้างตามกระแสความบันเทิงสมัยใหม่จากต่างประเทศ แต่การบรรเลงจะเป็ยดองเวงแบบขับร้องประกอบลำนำ ยังคงได้รับความนิยม และการยอมรับจากชาวกัมพูชารุ่นใหม่ และสามารถหาชมได้ตามรายการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ในกัมพูชา เช่น TVK ,ApsaraTV ,BayonTV ,CTN เป็นต้น
 
 
รูปร่างลักษณะ
"จะเป็ยดองแวง" คำโบราณของครูบาอาจารย์ กล่าวไว้ว่ารูปร่างคล้ายพญานาค คือ "กระดองแทนหัวนาค ลำแทนตัวนาค หัวประดับแทนหางนาค"(4)มีส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญหลายๆชิ้น พอสรุปได้โดยสังเขป ดังนี้ 
 
- ปรอแป(หัวประดับ) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของจะเป็ย ซึ่งสามารถประดับลวดลาย และแต่งให้มีความโค้งสวยงามได้
- ปรอลวด (ลูกบิดสาย และหลักสาย) เป็นส่วนที่ยึดสายทั้งสองฟากไว้ด้วยกัน โดยส่วนที่อยู่ด้านปลายสุด จะเป็นลูกบิดสามารถปรับแต่งเสียงได้ หมุดขึงสายทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้นางนวน ไม้พยุง ฯลฯ
- ขะแซ (สาย) จาเป็ยดองแวง สมัยโบราณ มี 2 สาย หรือ 4 สาย เพียงแต่ 4 สาย มีเสียงเพียง 2 สาย ส่วนอีก 2 ทำหน้าที่เป็นเสียงประสาน แต่ในปัจจุบันใช้เสียงสาม 3 เท่านั้น สายที่หนึ่งเป็นสายเล็ก มีชื่อว่า สายเอก สายที่สองเป็นสายใหญ่ มีชื่อว่า คอ ส่วนสายที่สาม เป็นสายที่ทำหน้าที่เป็นเสียงประสานคู่กับสายเอก สายทั้งสามสายนี้ ยุคสมัยดังเดิมทำมาจากเส้นด้านเส้นใยต่างๆ ปั่นทอเข้ากัน ปัจจุบันทำมาจากเส้นด้านพลาสติก ไนลอน มาใช้ทดแทน
- ดอง (ลำคอ) ลำคอทำจากต้นกระสัง ในสมัยดังเดิม เพียงแต่ปัจจุบันนี้ เขาเอาไม้ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันกับต้นกระสัง
- ขตง (หย่องสาย) โดยมากทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรืกระดูกสัตว์  หย่องสายมีจำนวน 12 หย่อง เล็กใหญ่สูงต่ำกว่าไปกันตามลำดับขั้น จากหนึ่งไปหนึ่ง ตามความสูงต่ำของเสียง โดยหย่องที่อยู่สูงที่สุด เรียกว่า "ธรณี" ทำหน้าที่ยกสายให้พ้นจากหย่องสายอื่นๆ
- สนูก (กระดอง หรือกระโหลกเสียง) มีรูปร่างเหมือนผลสับปะรด กระดองบ้างอีกมีรูปร่างเกือบเป็นมุมเกือบกลม กาลสมัยดังเดิมเขาเอาต้นรังมาทำกระดอง ปัจจุบันนี้ เขานิยมนำไม้ประเภทที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นรังมาทำ
- กิงกวก (โต๊ะสาย) ทำมาจากไม้ธนง(ประดู่ป่า) หรือไม้อื่นๆอีกที่มีคุณภาพช่วยให้เสียงมีความไพเราะด้วยเช่นกัน
- กรอจก (เล็บดีด) ทำหน้าที่ในการพรมสาย ดีดสาย ทำมาจากแผ่นเขาสัตว์เล็กๆ เช่น เขาวัว หรือเขาควาย ฯลฯ
 
 
การหัดจะเป็ยดองแวง
การหัดเรียนจะเป็ยดองแวง มักนิยมหัดกันแบบต่อทางเพลงจากครูไปสู่ผู้เรียน แบบโบราณ ด้วยการจับข้อมือ จับสาย และท่องจำเป็นทำนองเพลง โดยเริ่มจากจำเพลงต่างๆ ทีละท่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมไปถึงการว่ากาพย์กลอนสดบทกวีต่างๆ สำหรับขับร้องประกอบการบรรเลง
 
 
เครื่องดนตรีในต่างประเทศที่มีลักษณะคล้ายคลึง
นอกจาก "จะเป็ยดองแวง" แล้วยังมีเครื่องดนตรีจากต่างประเทศอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกับ จะเป็ยดองเวง ของกัมพูชา นั้น คือ "กระจับปี่" ซึ่งกระจับปี่ของไทย ซึ่งมี 4 สายทำหน้าที่ในวงเครื่องสายโบราณคล้ายๆกับของกัมพูชา แต่ไม่มีการเล่นกระจับปี่ประกอบลำนำแบบในกัมพูชา และในปัจจุบัน กระจับปี่ของไทย เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในสภาพใกล้สาบสูญแล้ว เพราะแทบจะไม่มีการนำมาบรรเลงในวงดนตรีของท้องถิ่นใดๆ ในภาคกลางของไทย นอกจากในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศร๊สะเกษ ซึ่งได้รับอิทธืพลทางวัฒนธรรมแบบกัมพูชา แต่ก็เหลืออยู่ไม่มากนัก
 
 
 
นักดนตรีจะเป็ยที่มีชื่อเสียง
นักจะเป็ยดองแวง ในยุคปัจจุบันนี้ โดยมากมักเป็นแนวบรรเลงแบบขับกลอนลำนำ ประกอบการดีดจะเป็ยดองแวง ซึ่งเป็นที่นิยม และได้รับการอนุรักษ์สืบทอด ซึ่งนักจะเป็ยดองแวงที่มีชื่อเสียง มีด้วยกันหลายๆท่าน เช่น (5)ท่านปราชญ์ ชวน ชาวจังหวัดตาแก้ว ,(6)ท่านกง ไน ชาวจังหวัดกำปอต ,ท่านซาน สุวรรณเดือน ชาวจังหวัดบันเตียเมียนจัย ,ท่านกุย หิน ชาวจังหวัดโพธิสัตว์ ,(7)นางสาวออช ซาวี ชาวจังหวัดกอนดาล ,นางสิน สอย ,ท่านทุ สาระพน ,ท่านเนย์ เป ทั้งสามท่านเป็นชาวจังหวัดเปรยแวง ฯลฯ
 
 
ตัวอย่างการบรรเลงจะเป็ยดองแวง
ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนขอเชิญท่านผู้อ่านร่วมชม และฟังตัวอย่างการบรรเลงจะเป็ยดองแวง ในรูปแบบต่างๆ  ขอเชิญทุกๆท่านรับฟังได้ ณ บัดนี้........
 
การบรรเลงจะเป็ยดองแวงร่วมกับวงมโหรีโบราณ
(บันทึกภาพด้วยพระขุน ตุย จากวัดราชบุตร จังหวัดเสียมเรียบ)

 
 
การบรรเลงขับร้อง ประกอบจะเป็ยดองแวง โดย ท่านซาน สุวรรณเดือน

 
 
การบรรเลงขับร้องกลอนโต้ตอบ ประกอบจะเป็ยดองแวง โดยท่านทุ สาระพน และนางสิน สอย

 
 
การบรรเลงขับร้องกลอนโต้ตอบ ประกอบจะเป็ยดองแวง โดยท่านกง ไน ,เนย์ เป และนางสิน สอย

 
.......................................................................................
 
อธิบายเพิ่มเติม
(1) เป็นข้อสันนิษฐานจากผู้เขียนเอง ส่วนหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมดนตรีของกัมพูชาที่ชัดที่สุด ปรากฎอยู่ในปราสาทนครวัด ที่จังหวัดเสียมเรียบ
(2) บางแหล่งก็บอกว่า "กัจฉาปิ" เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต เช่นกัน
(3) วงอาไย เป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบรำาร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิง ชื่อวงอาไย ได้จากคนก่อตั้งชื่อ ตาไย (ระหว่างปี ค.ศ. 1878-1958) คนจังหวัดกำาปงสะปือ 
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของ "จะเป็ยดองแวง" อาจจะมีบางอย่างขาดตกพกพร่องไปบางประการ เนื่องด้วยแปล และเรียบเรียงจากต้นฉบับในภาษาเขมร จากบทความของ ฮุน สาริน ศาตราจารย์ด้านศิลปะดนตรี เผยแพร่โดย สามน เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์เกาะสันติภาพ
(5) ท่านผู้อ่านสามารถรับชมรับฟังการร้องลำนำ บรรเลงจะเป็ยดองแวง ของท่านปราชญ์ ชวน ได้ที่บทความ "กรมงุย ลำนำกวีขแมร์ไม่มีวันตาย"
http://blogazine.in.th/blogs/jumreabsur/post/4223
(6) เป็นครูจะเป็ยดองแวง ผู้พิการทางสายตา ซึงมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในส่วนประวัติของท่านถ้ามีโอกาส จะนำเสนอให้ผู้อ่านทราบ
(7) เป็นลูกศิษย์ของ ท่านกง ไน
 
 
อ้างอิง
 
 

บล็อกของ Jumreabsur

Jumreabsur
"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดั
Jumreabsur
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ
Jumreabsur
ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่
Jumreabsur
จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”
Jumreabsur
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชานับเป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดนับตั้งแต่ สิ้นสุดยุคการปกครองของเขมรแดง ในทศวรรษที่ 1980  อันเป็นการแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัย และเคารพรักในพระบาทสมเด็จสีหนุ ในฐานะเป็นพระราชบิดา ผู้นำเอกราช และความเป็นเอกภาพในชาติมาสู่ประเทศ กัมพูชาในวาระสุดท้าย โดยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้จัดขึ้นในวันที 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2556 หลังจากการเก็บพระบรมศพไว้ครบหนึ่งร้อยวัน
Jumreabsur
"ท่านเชื่อในอนุภาพของความรักไหม ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถขวางกัันได้"
Jumreabsur
หากกล่าวถึงพระภิกษุสงฆ์ของกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งทรงภูมิปัญญาในศาสตร์หลายๆแขนง ทั้งด้านพระพุทธศาสนา ด้านการประพันธ์ ด้านภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จนเป็นเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ จากชาวพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับสมณศัก
Jumreabsur
ในบรรดาสุภาพสตรี ที่เป็นดาวประดับวงการเพลงกัมพูชา ที่น่าสนใจท่านหนึ่ง ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ แหลมสูง และสดใสเหมือนเสียงจั่กจั่นเรไร ชีวิตของเธอที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย ทั้งความยากลำบาก และความสมหวัง ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยม และนั่งอยู่ในหัวใจของมิตรเพลงชาวกัมพูชาตลอดกาล จนได้
Jumreabsur
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชามีศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน มีศิลปินนักร้องท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นตำนานของวงการเพลงกัมพูชานับตั้งแต่หลังได้รับเอกราช จนถึงยุคปัจจุบันนี้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “จักรพรรดิเสียงทอง” ศิลปินท่านนั้น คือ (1)สิน สีสามุต (Sinn Sinsamouth) นั้นเอ
Jumreabsur
 หากกล่าวถึงพระนามของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนโรดมสีหนุ พระราชบิดาแห่งชาติขแมร์ เอกราช บูรณภาพแห่งแผ่นดิน” แล้ว พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เป็นที่รับรู้ในหมู่พสกนิกรชาวกัมพูชา และประชาคมโลก คงหนีไม่พ้นพระราชกรณียกิจทางการเมือง อันเป็นพระราชภาระที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง