Skip to main content

ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ภาพประกอบจาก MaysaaNitto Org-home พร้อมข้อความที่ระบุว่า "สำหรับคนไม่มีรถและไปไหนมาด้วยขนส่งมวลชนราคาถูกอย่างรถเมล์หรือรถตู้ ผมเชื่อว่ากาีรมีรถคันแรกคือความใฝ่ฝันของพวกเขาครับ ผทเขื้อส้่คนที่ซื้่อรถคันแรกก็คืออดีตคนขึ้นรถเมล์หรือรถตู้แบบนี้ทั้งนั้น เขามีสิทธิใช้ถนนได้เท่ากับคนที่มีรถตอนนี้ เขาต้องการความสะดวกสบายและความเร็วในการเดินทางไปไหนมาไหนไม่ต่างจากท่านที่มีรถอยู่ในปัจจุบัน "                  Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

 
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
 
3 ประเด็นปัญหานี้มีส่วนจริงและเหตุผลรองรับด้วยน้ำหนักและลำดับความสำคัญแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในระดับปัญหานโยบายของรัฐชาติ และในระดับปัญหาแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกมีข้อจำกัด แต่ไม่มีประเด็นไหนที่ปัดทิ้งไปได้เลย หรือในทางกลับกันจริงและฟังขึ้นอยู่ประเด็นเดียว
 
ในที่สุดผู้มาก่อนจะถูกเรียกร้องให้ลดระดับการบริโภคพลังงานและปรับมาตรฐานการครองชีพลง ไม่มีทางเลี่ยง ถ้าจะให้ทั้งโลกรอดและเป็นธรรม
 
การกระตุ้นเศรษฐกิจคงชอบธรรมที่จะทำต่อ ซึ่งก็คงรวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์/คมนาคมด้วย แต่ในทิศทางที่คงต้องคิดกันว่าจะให้สอดรับกับขีดจำกัดและการเวียนใช้พลังงาน สอดรับหนุนเสริมกับแหล่งพลังธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการคมนาคมแบบใดที่เหมาะกับเขตเมืองภายใต้เงื่อนไขจำกัดดังกล่าว (จริง ๆไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์ แต่ตึกระฟ้า อาหารที่สัดส่วนเนื้อสูง เกษตรเคมีเข้มข้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่จะเจอขีดจำกัดด้วย)
 
สุดท้ายคือมันมีขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในทางค้นพบตระหนักรู้และยอมรับ น่าจะเห็นตรงกันได้มากขึ้นทั่วไป แต่จะผสานความรู้นั้น กับการวางแนวเพดานของการพัฒนาต่อไปอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเจอแน่ ๆ ที่ว่าโลกแตก เพราะโลกแห่งรัฐชาติและโลกประชาธิปไตย ยังไม่มีคำตอบให้
 
ในบางแง่ มันจำลองสถานการณ์และข้อเหตุผลที่ถกเถียงระหว่างประเทศที่พัฒนามาก่อน (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น) กับประเทศตลาดเกิดใหม่ (จีน เอเชียตะวันออก) ว่าใครควรแบกรับภาระลดลัดตัดทอนการบริโภคพลังงานเพื่อลดการปล่อย CO2 ที่ก่อโลกร้อน? ว่าใครควรได้สิทธิ์พัฒนาต่อ ปล่อย CO2 ต่อเพื่อให้พลเมืองของตนได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงขึ้นกับโลกทุนนิยมตะวันตก เพื่อความเป็นธรรม/เท่าเทียม ที่เถียงกันในเวทีประชุมโลกร้อนระดับโลก กำลังมาเถียงกันในเมืองไทย แต่แตกไปเป็นประเด็นรถคันแรกครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ