Skip to main content

ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ภาพประกอบจาก MaysaaNitto Org-home พร้อมข้อความที่ระบุว่า "สำหรับคนไม่มีรถและไปไหนมาด้วยขนส่งมวลชนราคาถูกอย่างรถเมล์หรือรถตู้ ผมเชื่อว่ากาีรมีรถคันแรกคือความใฝ่ฝันของพวกเขาครับ ผทเขื้อส้่คนที่ซื้่อรถคันแรกก็คืออดีตคนขึ้นรถเมล์หรือรถตู้แบบนี้ทั้งนั้น เขามีสิทธิใช้ถนนได้เท่ากับคนที่มีรถตอนนี้ เขาต้องการความสะดวกสบายและความเร็วในการเดินทางไปไหนมาไหนไม่ต่างจากท่านที่มีรถอยู่ในปัจจุบัน "                  Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

 
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
 
3 ประเด็นปัญหานี้มีส่วนจริงและเหตุผลรองรับด้วยน้ำหนักและลำดับความสำคัญแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในระดับปัญหานโยบายของรัฐชาติ และในระดับปัญหาแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกมีข้อจำกัด แต่ไม่มีประเด็นไหนที่ปัดทิ้งไปได้เลย หรือในทางกลับกันจริงและฟังขึ้นอยู่ประเด็นเดียว
 
ในที่สุดผู้มาก่อนจะถูกเรียกร้องให้ลดระดับการบริโภคพลังงานและปรับมาตรฐานการครองชีพลง ไม่มีทางเลี่ยง ถ้าจะให้ทั้งโลกรอดและเป็นธรรม
 
การกระตุ้นเศรษฐกิจคงชอบธรรมที่จะทำต่อ ซึ่งก็คงรวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์/คมนาคมด้วย แต่ในทิศทางที่คงต้องคิดกันว่าจะให้สอดรับกับขีดจำกัดและการเวียนใช้พลังงาน สอดรับหนุนเสริมกับแหล่งพลังธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการคมนาคมแบบใดที่เหมาะกับเขตเมืองภายใต้เงื่อนไขจำกัดดังกล่าว (จริง ๆไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์ แต่ตึกระฟ้า อาหารที่สัดส่วนเนื้อสูง เกษตรเคมีเข้มข้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่จะเจอขีดจำกัดด้วย)
 
สุดท้ายคือมันมีขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในทางค้นพบตระหนักรู้และยอมรับ น่าจะเห็นตรงกันได้มากขึ้นทั่วไป แต่จะผสานความรู้นั้น กับการวางแนวเพดานของการพัฒนาต่อไปอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเจอแน่ ๆ ที่ว่าโลกแตก เพราะโลกแห่งรัฐชาติและโลกประชาธิปไตย ยังไม่มีคำตอบให้
 
ในบางแง่ มันจำลองสถานการณ์และข้อเหตุผลที่ถกเถียงระหว่างประเทศที่พัฒนามาก่อน (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น) กับประเทศตลาดเกิดใหม่ (จีน เอเชียตะวันออก) ว่าใครควรแบกรับภาระลดลัดตัดทอนการบริโภคพลังงานเพื่อลดการปล่อย CO2 ที่ก่อโลกร้อน? ว่าใครควรได้สิทธิ์พัฒนาต่อ ปล่อย CO2 ต่อเพื่อให้พลเมืองของตนได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงขึ้นกับโลกทุนนิยมตะวันตก เพื่อความเป็นธรรม/เท่าเทียม ที่เถียงกันในเวทีประชุมโลกร้อนระดับโลก กำลังมาเถียงกันในเมืองไทย แต่แตกไปเป็นประเด็นรถคันแรกครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง