Skip to main content

ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ภาพประกอบจาก MaysaaNitto Org-home พร้อมข้อความที่ระบุว่า "สำหรับคนไม่มีรถและไปไหนมาด้วยขนส่งมวลชนราคาถูกอย่างรถเมล์หรือรถตู้ ผมเชื่อว่ากาีรมีรถคันแรกคือความใฝ่ฝันของพวกเขาครับ ผทเขื้อส้่คนที่ซื้่อรถคันแรกก็คืออดีตคนขึ้นรถเมล์หรือรถตู้แบบนี้ทั้งนั้น เขามีสิทธิใช้ถนนได้เท่ากับคนที่มีรถตอนนี้ เขาต้องการความสะดวกสบายและความเร็วในการเดินทางไปไหนมาไหนไม่ต่างจากท่านที่มีรถอยู่ในปัจจุบัน "                  Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

 
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
 
3 ประเด็นปัญหานี้มีส่วนจริงและเหตุผลรองรับด้วยน้ำหนักและลำดับความสำคัญแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในระดับปัญหานโยบายของรัฐชาติ และในระดับปัญหาแนวทางการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกมีข้อจำกัด แต่ไม่มีประเด็นไหนที่ปัดทิ้งไปได้เลย หรือในทางกลับกันจริงและฟังขึ้นอยู่ประเด็นเดียว
 
ในที่สุดผู้มาก่อนจะถูกเรียกร้องให้ลดระดับการบริโภคพลังงานและปรับมาตรฐานการครองชีพลง ไม่มีทางเลี่ยง ถ้าจะให้ทั้งโลกรอดและเป็นธรรม
 
การกระตุ้นเศรษฐกิจคงชอบธรรมที่จะทำต่อ ซึ่งก็คงรวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์/คมนาคมด้วย แต่ในทิศทางที่คงต้องคิดกันว่าจะให้สอดรับกับขีดจำกัดและการเวียนใช้พลังงาน สอดรับหนุนเสริมกับแหล่งพลังธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการคมนาคมแบบใดที่เหมาะกับเขตเมืองภายใต้เงื่อนไขจำกัดดังกล่าว (จริง ๆไม่ใช่แค่เรื่องรถยนต์ แต่ตึกระฟ้า อาหารที่สัดส่วนเนื้อสูง เกษตรเคมีเข้มข้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่จะเจอขีดจำกัดด้วย)
 
สุดท้ายคือมันมีขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในทางค้นพบตระหนักรู้และยอมรับ น่าจะเห็นตรงกันได้มากขึ้นทั่วไป แต่จะผสานความรู้นั้น กับการวางแนวเพดานของการพัฒนาต่อไปอย่างไร อันนี้เป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเจอแน่ ๆ ที่ว่าโลกแตก เพราะโลกแห่งรัฐชาติและโลกประชาธิปไตย ยังไม่มีคำตอบให้
 
ในบางแง่ มันจำลองสถานการณ์และข้อเหตุผลที่ถกเถียงระหว่างประเทศที่พัฒนามาก่อน (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น) กับประเทศตลาดเกิดใหม่ (จีน เอเชียตะวันออก) ว่าใครควรแบกรับภาระลดลัดตัดทอนการบริโภคพลังงานเพื่อลดการปล่อย CO2 ที่ก่อโลกร้อน? ว่าใครควรได้สิทธิ์พัฒนาต่อ ปล่อย CO2 ต่อเพื่อให้พลเมืองของตนได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงขึ้นกับโลกทุนนิยมตะวันตก เพื่อความเป็นธรรม/เท่าเทียม ที่เถียงกันในเวทีประชุมโลกร้อนระดับโลก กำลังมาเถียงกันในเมืองไทย แต่แตกไปเป็นประเด็นรถคันแรกครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....