Skip to main content

Kasian Tejapira(28 ม.ค.56)

สนทนาแลกเปลี่ยนว่าด้วยตัวแบบการเมืองฝรั่งเศส

อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล(Piyabutr Saengkanokkul) ตั้งข้อสังเกตว่า:

"ทำไมพูดถึงประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสต้องคิดถึงปฏิวัติฝรั่งเศส และการตัดหัวกษัตริย์ โค่นกษัตริย์กันอย่างเดียว จริงๆมันมีเรื่องน่าสนใจอีกเยอะ การลุกฮือในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสไม่ได้ตามมาด้วยการโค่นล้มกษัตริย์ทุกครั้ง การเซ็ตระบบชีวิตการเมืองของฝรั่งเศสใช้เวลานานมาก กว่าฝรั่งเศสจะจัดการกษัตริย์อยู่หมัดต้องรอไปถึง 1899 ที่ขยับสาธารณรัฐแบบก้าวหน้า หลังจากต้องเป็นสาธารณรัฐค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ 1870 ด้วยการประนีประนอมกับพวกกษัตริย์นิยม

ในความรับรู้ของคนไทย ฝรั่งเศส คือ ล้มเจ้า หัวรุนแรง ใครเรียนที่นี่ ก็เป็นอันตราย

ไม่จริงหรอกครับ จบฝรั่งเศสมาเชยๆก็เยออนุรักษนิยมก็มาก เขาอาจสนใจจอมพลเปแต็ง เทคนิคเนติบริกรสมัยวิชี่ก็ได้"

 

ผมนึกอะไรขึ้นมาได้คิดว่าน่าสนใจ จึงสนทนาแลกเปลี่ยนไปว่า:

มี 2 ประเด็นน่าสนใจที่คิดต่อได้จากคอมเมนต์ของอ.ปิยบุตรข้างต้น

 

1) เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นะครับว่าในรัชกาลที่ 5 และ 6 โปรดส่งเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไปศึกษาต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่มีสถาบันกษัตริย์และ/หรือสถาบันกษัตริย์ยังทรงอำนาจอิทธิพลในทางการเมืองการปกครองอยู่ มากกว่าประเทศที่ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้น อังกฤษและเยอรมนีจึงถูกเลือกมากกว่าฝรั่งเศส และสำหรับผู้ที่ไปไม่ว่าเจ้านายหรือขุนนางก็มีพระราชหัตถเลขากำชับกำชาตักเตือนว่าให้เลือกรับเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมา อย่าไปรับการเมืองแบบระบบพรรคการเมืองหรือรัฐสภาซึ่งไม่เหมาะ ในสมัยร.6 ถึงแก่ทรงให้นักเรียนไทยที่ไปเรียนต่อนอกกล่าวคำปฏิญญาณที่มีเนื้อหาทำนองคล้ายกันคือไปเรียนแล้วอย่าคิดกบฏต่อชาติและราชบัลลังก์อะไรทำนองนั้น

2) กระแสอนุรักษ์นิยม-อำนาจนิยมรวมศูนย์จากนักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์ฝรั่งเศสนั้นเด่นมากในช่วงราวหลัง WWII จากตัวแบบสาธารณรัฐที่ 5 ของเดอโกลครับ นี่คือแรงบันดาลใจเบื้องหลัง อมร จันทรสมบูรณ์ และ คำนูณ สิทธิสมาน เวลาพูดถึงปฏิรูปการเมือง และถวายพระราชอำนาจคืน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนจากผู้นำเข้มแข็งอย่างเดอโกล มาเป็นผู้นำแบบไทย ๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไว้ในฐานะหลักหมายอ้างอิงของอำนาจสถาปนารัฐแทนประชาชนในฝรั่งเศส การอ้างถึงตัวแบบการเมืองของเดอโกลหรือ "ลัทธิเดอโกล" นี้ทำกันมาตั้งแต่สมัย 2501 แล้ว จอมพลสฤษดิ์เคยยกมาข่มขู่ ส.ส.ที่กระด้างกระเดื่องด้วยซ้ำไป

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

3 หน้าของจอมพลสฤษดิ์

การสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องฝรั่งเศสกับ อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล ทำให้นึกอะไรบางอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ขึ้นมาได้

ความที่ตกอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลเถื่อนของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (เจ้าของสมญา "บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย" ซึ่งลูกน้องตำรวจ "อัศวินแหวนเพชร" ของท่านฆ่าโหดฝ่ายค้านและนักนสพ. ไม่ว่าสายอ.ปรีดี สายอีสาน ผู้นำไทยมุสลิมชายแดนใต้ สายก๊กมินตั๋งและคนที่อิสระไม่ยอมขึ้นต่อไปนับสิบ ๆ ราย และ จอมพลป. มานานปี ทำให้ฝ่ายค้านกลุ่มต่าง ๆ เกิดความหวังวาววามเรืองรองต่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเห็นเขาแสดงบทบาทต่อต้านรัฐบาลจอมพลป.ออกมา โดยเฉพาะในคราวนักศึกษาเดินขบวนต่อต้านเลือกตั้งสกปรกจนบุกพังประตูทำเนียบต้นปี 2500 แล้วสฤษดิ์ออกมาปราศรัยหยุดม็อบ รวมทั้งแสดงตนถวายความจงรักภักดีใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์

ฝ่ายซ้ายโดยเฉพาะสายปัญญาชนนักนสพ.วาดฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "นัสเซอร์" ของเมืองไทย ดังที่นายทหารชาตินิยมท่านนั้นนำสมัครพรรคพวกโค่นระบอบกษัตริย์อียิปต์ลง ดำเนินนโยบายอิสระต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก (เช่น รับรองและเปิดสัมพันธ์การทูตกับจีนแดง กระชับสัมพันธ์กับโซเวียต) และยึดคลองสุเอซในกรรมสิทธิ์ของบริษัทต่างชาติที่รัฐบาลตะวันตกถือหุ้นอยู่ด้วยมาเป็นของชาติอียิปต์ จนถึงแก่อังกฤษร่วมกับฝรั่งเศสและอิสราเอลส่งกำลังบุกยึดคลองสุเอซ บอมบ์กรุงไคโร แล้วอเมริกากับโซเวียตแทรกแซงไกล่เกลี่ยผ่านสหประชาชาติให้ 3 ประเทศนั้นยุติและถอนกำลังออกไปในที่สุด

ส่วนฝ่ายขวา โดยเฉพาะพวกนักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ มีภาพฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "เดอโกล" ของเมืองไทย แล้วจะช่วยแก้ปัญหารัฐบาลไม่มั่นคง ไร้เสถียรภาพ เพราะส.ส.กระด้างกระเดื่อง ต่อรองเอาผลประโยชน์งบประมาณและสินบนบ่อย ทำให้รัฐราชการบริหารประเทศไม่ได้ดังใจ ดังที่นายพลเดอโกลนำการปฏิรูปการเมืองฝรั่งเศส สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งสาธารณรัฐที่ 5 เพื่อแก้ไขปัญหาไร้เสถียรภาพทางการเมืองโดยทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้นมา ไม่ถูกล้มโดยส.ส.ในสภาบ่อย ๆ ง่าย ๆ ดังในสาธารณรัฐที่ 4

ภาพซ้าย "นัสเซอร์" ขวา "เดอโกล"

ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล"

ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก