Skip to main content

Kasian Tejapira(28 ม.ค.56)

สนทนาแลกเปลี่ยนว่าด้วยตัวแบบการเมืองฝรั่งเศส

อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล(Piyabutr Saengkanokkul) ตั้งข้อสังเกตว่า:

"ทำไมพูดถึงประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสต้องคิดถึงปฏิวัติฝรั่งเศส และการตัดหัวกษัตริย์ โค่นกษัตริย์กันอย่างเดียว จริงๆมันมีเรื่องน่าสนใจอีกเยอะ การลุกฮือในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสไม่ได้ตามมาด้วยการโค่นล้มกษัตริย์ทุกครั้ง การเซ็ตระบบชีวิตการเมืองของฝรั่งเศสใช้เวลานานมาก กว่าฝรั่งเศสจะจัดการกษัตริย์อยู่หมัดต้องรอไปถึง 1899 ที่ขยับสาธารณรัฐแบบก้าวหน้า หลังจากต้องเป็นสาธารณรัฐค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ 1870 ด้วยการประนีประนอมกับพวกกษัตริย์นิยม

ในความรับรู้ของคนไทย ฝรั่งเศส คือ ล้มเจ้า หัวรุนแรง ใครเรียนที่นี่ ก็เป็นอันตราย

ไม่จริงหรอกครับ จบฝรั่งเศสมาเชยๆก็เยออนุรักษนิยมก็มาก เขาอาจสนใจจอมพลเปแต็ง เทคนิคเนติบริกรสมัยวิชี่ก็ได้"

 

ผมนึกอะไรขึ้นมาได้คิดว่าน่าสนใจ จึงสนทนาแลกเปลี่ยนไปว่า:

มี 2 ประเด็นน่าสนใจที่คิดต่อได้จากคอมเมนต์ของอ.ปิยบุตรข้างต้น

 

1) เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นะครับว่าในรัชกาลที่ 5 และ 6 โปรดส่งเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไปศึกษาต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่มีสถาบันกษัตริย์และ/หรือสถาบันกษัตริย์ยังทรงอำนาจอิทธิพลในทางการเมืองการปกครองอยู่ มากกว่าประเทศที่ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้น อังกฤษและเยอรมนีจึงถูกเลือกมากกว่าฝรั่งเศส และสำหรับผู้ที่ไปไม่ว่าเจ้านายหรือขุนนางก็มีพระราชหัตถเลขากำชับกำชาตักเตือนว่าให้เลือกรับเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมา อย่าไปรับการเมืองแบบระบบพรรคการเมืองหรือรัฐสภาซึ่งไม่เหมาะ ในสมัยร.6 ถึงแก่ทรงให้นักเรียนไทยที่ไปเรียนต่อนอกกล่าวคำปฏิญญาณที่มีเนื้อหาทำนองคล้ายกันคือไปเรียนแล้วอย่าคิดกบฏต่อชาติและราชบัลลังก์อะไรทำนองนั้น

2) กระแสอนุรักษ์นิยม-อำนาจนิยมรวมศูนย์จากนักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์ฝรั่งเศสนั้นเด่นมากในช่วงราวหลัง WWII จากตัวแบบสาธารณรัฐที่ 5 ของเดอโกลครับ นี่คือแรงบันดาลใจเบื้องหลัง อมร จันทรสมบูรณ์ และ คำนูณ สิทธิสมาน เวลาพูดถึงปฏิรูปการเมือง และถวายพระราชอำนาจคืน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนจากผู้นำเข้มแข็งอย่างเดอโกล มาเป็นผู้นำแบบไทย ๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไว้ในฐานะหลักหมายอ้างอิงของอำนาจสถาปนารัฐแทนประชาชนในฝรั่งเศส การอ้างถึงตัวแบบการเมืองของเดอโกลหรือ "ลัทธิเดอโกล" นี้ทำกันมาตั้งแต่สมัย 2501 แล้ว จอมพลสฤษดิ์เคยยกมาข่มขู่ ส.ส.ที่กระด้างกระเดื่องด้วยซ้ำไป

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

3 หน้าของจอมพลสฤษดิ์

การสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องฝรั่งเศสกับ อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล ทำให้นึกอะไรบางอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ขึ้นมาได้

ความที่ตกอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลเถื่อนของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (เจ้าของสมญา "บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย" ซึ่งลูกน้องตำรวจ "อัศวินแหวนเพชร" ของท่านฆ่าโหดฝ่ายค้านและนักนสพ. ไม่ว่าสายอ.ปรีดี สายอีสาน ผู้นำไทยมุสลิมชายแดนใต้ สายก๊กมินตั๋งและคนที่อิสระไม่ยอมขึ้นต่อไปนับสิบ ๆ ราย และ จอมพลป. มานานปี ทำให้ฝ่ายค้านกลุ่มต่าง ๆ เกิดความหวังวาววามเรืองรองต่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเห็นเขาแสดงบทบาทต่อต้านรัฐบาลจอมพลป.ออกมา โดยเฉพาะในคราวนักศึกษาเดินขบวนต่อต้านเลือกตั้งสกปรกจนบุกพังประตูทำเนียบต้นปี 2500 แล้วสฤษดิ์ออกมาปราศรัยหยุดม็อบ รวมทั้งแสดงตนถวายความจงรักภักดีใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์

ฝ่ายซ้ายโดยเฉพาะสายปัญญาชนนักนสพ.วาดฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "นัสเซอร์" ของเมืองไทย ดังที่นายทหารชาตินิยมท่านนั้นนำสมัครพรรคพวกโค่นระบอบกษัตริย์อียิปต์ลง ดำเนินนโยบายอิสระต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก (เช่น รับรองและเปิดสัมพันธ์การทูตกับจีนแดง กระชับสัมพันธ์กับโซเวียต) และยึดคลองสุเอซในกรรมสิทธิ์ของบริษัทต่างชาติที่รัฐบาลตะวันตกถือหุ้นอยู่ด้วยมาเป็นของชาติอียิปต์ จนถึงแก่อังกฤษร่วมกับฝรั่งเศสและอิสราเอลส่งกำลังบุกยึดคลองสุเอซ บอมบ์กรุงไคโร แล้วอเมริกากับโซเวียตแทรกแซงไกล่เกลี่ยผ่านสหประชาชาติให้ 3 ประเทศนั้นยุติและถอนกำลังออกไปในที่สุด

ส่วนฝ่ายขวา โดยเฉพาะพวกนักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ มีภาพฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "เดอโกล" ของเมืองไทย แล้วจะช่วยแก้ปัญหารัฐบาลไม่มั่นคง ไร้เสถียรภาพ เพราะส.ส.กระด้างกระเดื่อง ต่อรองเอาผลประโยชน์งบประมาณและสินบนบ่อย ทำให้รัฐราชการบริหารประเทศไม่ได้ดังใจ ดังที่นายพลเดอโกลนำการปฏิรูปการเมืองฝรั่งเศส สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งสาธารณรัฐที่ 5 เพื่อแก้ไขปัญหาไร้เสถียรภาพทางการเมืองโดยทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้นมา ไม่ถูกล้มโดยส.ส.ในสภาบ่อย ๆ ง่าย ๆ ดังในสาธารณรัฐที่ 4

ภาพซ้าย "นัสเซอร์" ขวา "เดอโกล"

ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล"

ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....