Skip to main content

Kasian Tejapira(16/02/56)

ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล

ทว่าถึงแม้กองทัพจะแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้เองโดยลำพังไม่ได้ แต่กองทัพก็มีอำนาจ/อิทธิพลในทางเป็นจริงที่จะวีโต้ทางแก้ทางการเมืองซึ่งรัฐบาลเสนอ หากกองทัพยอมรับทางแก้นั้นไม่ได้ ในที่สุดแล้วการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้สำหรับรัฐบาลจึงมีลักษณะเป็นการแสวงหาหรือสร้างฉันทมติขึ้น (consensus-finding or -making) ในระหว่างกลุ่มฝ่ายและสถาบันอำนาจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำคัญกับเรื่องนี้

ในทำนองเดียวกัน งานหาทางแก้ปัญหาหรือทางออกให้กับความขัดแย้งทางการเมืองใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ ในรัฐบาลชุดนี้ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน คือรัฐบาลจำกัดการริเริ่มของตนอยู่ในกรอบการแสวงหา/สร้างฉันทมติกับกลุ่มฝ่ายและสถาบันอำนาจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เสียกับเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง และจนกว่าบรรลุได้ซึ่งฉันทมติของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ เหล่านั้นรวมทั้งสาธารณชนอย่างท่วมท้นล้นหลามในปัญหาหนึ่ง ๆ รัฐบาลจึงจะเริ่มขยับตัว...นิดหนึ่ง

ในสถานการณ์ขัดแย้งช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ (power shift) ที่ดุลกำลังฝ่ายต่าง ๆ ก้ำกึ่งตรึงถ่วงกัน การเดินงานการเมืองอย่างรอจังหวะเวลาและยึดหยั่งตามฉันทมติอันท่วมท้นล้นหลามของสังคมเป็นที่ตั้ง, เกราะปกป้องและฐานรองรับแต่ละจังหวะก้าวที่ย่างไป ก็นับว่าสุขุมรัดกุมรอบคอบดี แต่ปัญหาอยู่ตรงฉันทมติที่แสวงหานั้นครอบคลุมกว้างไกลถึงไหน? หากเอาฉันทมติดังกล่าวไปขึ้นอยู่กับกรอบเกณฑ์ที่กำหนดโดยฝ่ายอนุรักษนิยมหรือปฏิกิริยาสุดโต่งเป็นที่ตั้งแล้ว ก็คงยากที่จะขยับเคลื่อนอะไรได้หรือสุดท้ายก็ไม่ต้องขยับเคลื่อนอะไร ในนามหรือข้ออ้างว่า "ไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งในสังคม" ลองคิดดูเถิดว่า....

หากรัฐบาลจะนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองตามที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุบรรณวางเกณฑ์กำหนด

หากรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ชี้นำกำกับ

หากรัฐบาลจะปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามที่หมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ตีกรอบจำกัด

หากรัฐบาลจะแก้ไขข้อพิพาทชายแดนกับกัมพูชาตามที่กลุ่มพลังชาตินิยมสุดโต่งยืนกรานกดดัน

และหากรัฐบาลจะปฏิรูปการเมืองเชิงรุกในชายแดนภาคใต้ตามที่ปีกเหยี่ยวของฝ่ายความมั่นคงซึ่งยึดมั่นรัฐเดี่ยวรวมศูนย์อำนาจและเอาแต่มิติทางการทหารในการแก้ปัญหาอย่างตายตัวสุดโต่งขีดเส้นล้อมวงไว้แล้ว

เรายังจะต้องพูดอะไรถึงการปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลกันอีกเล่า? มิสู้ประกาศเลิกปฏิรูปการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้นจนกว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯมิดมิดีกว่าหรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ