Skip to main content
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
 
 
แนวคิดพื้นฐานมาจาก Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน (ค.ศ. ๑๘๖๔ – ๑๙๒๐) ที่เสนอเค้าโครงความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่องสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจของเขาว่ามีกลไกอะไรบ้างที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมใช้ส่งอิทธิพลต่อรัฐ ซึ่งก็ได้แก่:
 
๑) กลไกเชิงกฎหมายและสถาบัน ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อการดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในทางกลับกันก็เป็นกลไกที่มีรูปแบบพัฒนาไปน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ยากไร้ เช่น ในระบบเศรษฐกิจยากไร้ทั้งหลาย หอการค้าและสหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนประชากรส่วนน้อยนิด ขณะที่พรรคการเมืองก็แตกเป็นมุ้งเล็กมุ้งน้อย ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปน้อยเท่าไหร่ กลไกกดดันเชิงกฎหมายและสถาบันก็ยิ่งด้อยพัฒนาเท่านั้น ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามั่งคั่งกว่า กลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้นในสภาฯก็ดี พรรคการเมือง ก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี และการระดมเงินจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนพรรค/ผู้สมัครอย่างถูกกฎหมายก็ดีล้วนก่อตั้งมั่นคงเป็นระเบียบแบบแผนมายาวนาน
 
๒) เครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการ ถือเป็นกลไกใจกลางที่ใช้ส่งอิทธิพลกดดันรัฐในระบบเศรษฐกิจยากจนทั้งหลาย ระบบอุปถัมภ์ในเศรษฐกิจเหล่านี้ทำหน้าที่ทดแทนรัฐสวัสดิการซึ่งไม่เพียงพอสนองตอบต่อความเรียกร้องต้องการสวัสดิการจากรัฐของประชากรจำนวนมาก
 
๓) การแสวงหาค่าเช่าเศรษฐกิจ/คอร์รัปชั่นผิดกฎหมาย เอาเข้าจริงกลไกประเภทนี้เชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด ในสภาพที่ขาดกลไกสถาบันเพื่อส่งอิทธิพลกดดันต่อรัฐที่ใช้การได้ ระบบอุปถัมภ์และคอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ใช้ทดแทนในระบบเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทั้งหลาย
 
๔) ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีกลไก ๓ ประเภทข้างต้นใช้การไม่ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำการทางการเมืองส่งอิทธิพลต่อรัฐ วิธีการที่เหลือก็คือใช้ความรุนแรงทางการเมืองก่อการกำเริบ/กบฏ เพื่อส่งอิทธิพล/ยึดอำนาจ/ฉวยริบรัฐมาเป็นของตนเสียทีเดียว
Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน 
 
กลไกทั้ง ๔ ประเภทนี้ อันไหนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาทดแทนกันเป็นกลไกหลัก ขึ้นอยู่กับ 
ก) ขั้นตอนการพัฒนาต่าง ๆ กันในระบบเศรษฐกิจ
ข) ระเบียบข้อตกลงทางการเมืองในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล