ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
แนวคิดพื้นฐานมาจาก Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน (ค.ศ. ๑๘๖๔ – ๑๙๒๐) ที่เสนอเค้าโครงความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่องสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจของเขาว่ามีกลไกอะไรบ้างที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมใช้ส่งอิทธิพลต่อรัฐ ซึ่งก็ได้แก่:
๑) กลไกเชิงกฎหมายและสถาบัน ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อการดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในทางกลับกันก็เป็นกลไกที่มีรูปแบบพัฒนาไปน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ยากไร้ เช่น ในระบบเศรษฐกิจยากไร้ทั้งหลาย หอการค้าและสหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนประชากรส่วนน้อยนิด ขณะที่พรรคการเมืองก็แตกเป็นมุ้งเล็กมุ้งน้อย ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปน้อยเท่าไหร่ กลไกกดดันเชิงกฎหมายและสถาบันก็ยิ่งด้อยพัฒนาเท่านั้น ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามั่งคั่งกว่า กลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้นในสภาฯก็ดี พรรคการเมือง ก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี และการระดมเงินจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนพรรค/ผู้สมัครอย่างถูกกฎหมายก็ดีล้วนก่อตั้งมั่นคงเป็นระเบียบแบบแผนมายาวนาน
๒) เครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการ ถือเป็นกลไกใจกลางที่ใช้ส่งอิทธิพลกดดันรัฐในระบบเศรษฐกิจยากจนทั้งหลาย ระบบอุปถัมภ์ในเศรษฐกิจเหล่านี้ทำหน้าที่ทดแทนรัฐสวัสดิการซึ่งไม่เพียงพอสนองตอบต่อความเรียกร้องต้องการสวัสดิการจากรัฐของประชากรจำนวนมาก
๓) การแสวงหาค่าเช่าเศรษฐกิจ/คอร์รัปชั่นผิดกฎหมาย เอาเข้าจริงกลไกประเภทนี้เชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด ในสภาพที่ขาดกลไกสถาบันเพื่อส่งอิทธิพลกดดันต่อรัฐที่ใช้การได้ ระบบอุปถัมภ์และคอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ใช้ทดแทนในระบบเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทั้งหลาย
๔) ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีกลไก ๓ ประเภทข้างต้นใช้การไม่ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำการทางการเมืองส่งอิทธิพลต่อรัฐ วิธีการที่เหลือก็คือใช้ความรุนแรงทางการเมืองก่อการกำเริบ/กบฏ เพื่อส่งอิทธิพล/ยึดอำนาจ/ฉวยริบรัฐมาเป็นของตนเสียทีเดียว
Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน
กลไกทั้ง ๔ ประเภทนี้ อันไหนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาทดแทนกันเป็นกลไกหลัก ขึ้นอยู่กับ
ก) ขั้นตอนการพัฒนาต่าง ๆ กันในระบบเศรษฐกิจ
ข) ระเบียบข้อตกลงทางการเมืองในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก