โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
ภาพโดรนบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหารอันกลายเป็นอาวุธหลักอย่างหนึ่งที่อเมริกาใช้รบกับผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้ายทั่วโลกขณะนี้ คุมโดยมือสังหารหรือนักฆ่าหน้าจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ที่นั่งดูภาพถ่ายทอดสดจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนโดรนแบบ real time ห่างออกไปนับร้อยนับพันไมล์ แล้วตัดสินใจบัดเดี๋ยวนั้นว่าจุดเล็ก ๆ ที่เห็นอยู่บนจอ (ซึ่งอาจเป็นคุณก็ได้) ใช่ “ผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้าย” ที่สมควรตายหรือไม่? ถ้าใช่, ก็กดปุ่ม.....
แล้วพวกเขาตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใด?
เกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า “signatures” หรือลักษณะเฉพาะตัว (การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวแบบนี้จึงเรียกว่า signature strikes) อันได้แก่บรรทัดฐานจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกี่ยวพันกับปฏิบัติการก่อการร้าย จะเรียกว่า “ชิ้นส่วนพยานหลักฐานแวดล้อมกรณี” ก็ได้ นสพ. Washington Post บรรยายหลวม ๆ ว่า “ลักษณะเฉพาะตัวคือแบบแผนพฤติกรรมที่สืบจับได้โดยการดักฟังสัญญาณ, แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล, และการสอดแนมทางอากาศ...ซึ่งบ่งชี้ว่ามีผู้ปฏิบัติงานสำคัญหรือแผนการร้ายที่มุ่งโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯอยู่ที่นั่น”
ว่ากันว่าตัวประธานาธิบดีโอบามาเองรู้เรื่อง “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” เป็นครั้งแรกหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๙ เพียง ๓ วัน และเจ้าหน้าที่อเมริกันก็เริ่มพูดถึงมันกันอย่างเปิดเผยเมื่อต้นปี ๒๐๑๒ เป็นต้นมา
ศ. เควิน เฮลเลอร์
ศาสตราจารย์กฎหมาย เควิน เฮลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบอร์น ในออสเตรเลีย เคยลองสังเกตศึกษารายงานของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการโจมตีด้วยโดรน แล้วประมวล “ลักษณะเฉพาะตัว” ที่เป็นเกณฑ์ให้อเมริกันใช้ตัดสินใจโจมตีเป้าหมายด้วยโดรนออกมาได้ ๑๔ ประการ เขาพบว่า.....
- ลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าว ๕ ประการ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ
- แต่อีก ๕ ประการ คลุมเครือน่าสงสัย
- ส่วนอีก ๔ ประการนั้น ผิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่ชัด ได้แก่
๑) ชายวัยฉกรรจ์ (military-age male หรือ MAM) ที่อยู่ในพื้นที่ที่รู้กันว่ามีปฏิบัติการก่อการร้าย
๒) คบค้าสมาคมกับผู้ที่รู้กันว่าเป็นนักรบ
๓) กลุ่มชายติดอาวุธโดยสารรถบรรทุกในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้าในคาบสมุทรอาหรับ
๔) ค่ายพักน่าสงสัยในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้า
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เฮลเลอร์ออกตัวว่าในสภาพที่เราไม่รู้แน่ว่าเอาเข้าจริงทางการอเมริกันใช้ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันใดบ้าง และ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันไหนถูกประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยเป้าไหน ก็ยากยิ่งจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของโปรแกรมการโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวด้วยโดรนได้
ข้อที่น่าเคลือบแคลงยังมีอีกว่าตกลงแนวทางชี้นำกำกับ “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว”นี้ มันเป็นกรอบขอบเขตของปฏิบัติการที่อนุญาตให้ทำได้ หรือ สูตรสำเร็จสำหรับใช้แถลงให้เหตุผลความชอบธรรมหลังฆ่าไปเรียบร้อยแล้วกันแน่?
พลเอกโคลิน เพาเวลล์
จะว่าไป อะไรบางอย่างที่คล้าย “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” ก็เป็นสิ่งที่กองทัพอเมริกันเคยทำมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ดังที่พลเอกโคลิน เพาเวลล์ อดีตประธานคณะเสนาธิการกองทัพและรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เคยเล่าว่า:
“ผมจำวลีที่เราใช้ในสนามรบได้ มันคือ MAM หรือ ชายวัยฉกรรจ์ ถ้าเกิดฮ.ลำหนึ่งสังเกตเห็นชาวนาใส่ม่อฮ่อมดำที่ท่าทางพิรุธแม้แต่น้อยว่าอาจเป็น MAM แล้ว นักบินก็จะบินวนไปดักยิงสกัดข้างหน้าเขา ถ้าเขาขยับเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของเขาจะถือเป็นหลักฐานว่าส่อเจตนาเป็นศัตรู แล้วการรัวยิงครั้งถัดไปจะไม่ใช่ยิงสกัดหน้าแต่ตรงตัวเขาเลย โหดไหม? อาจจะใช่”
รายงานข่าวบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีโอบามาดึงเรื่องการตัดสินใจใช้โดรนสังหารไปรวมศูนย์ไว้วงในคณะบริหารรอบตัว แต่ละครั้งที่ตัดสินใจออกคำสั่งให้ “จัดการได้” มีเส้นตายเรื่องเวลากำกับ และในเวลาจำกัดนั้น กระบวนการตัดสินใจก็ทำกันอย่างระมัดระวัง ละเอียดลออรอบคอบรัดกุมและพยายามให้แม่นยำที่สุด เรื่องนี้รบกวนมโนธรรมสำนึกของโอบามามาก
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งที่มีเด็กและผู้หญิงบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อโดรนถูก ๆ ผิด ๆ มากมาย โอบามาก็ทำใจไม่ได้ที่จะเลิกใช้อาวุธโดรนนี้เสียที....
จนมีผู้สงสัยว่าเอาเข้าจริง Obama ต่างจาก Bush จริงหรือ? หรือเป็น Obushma กันแน่?
โอบุชมา
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน"
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..