Skip to main content

โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 

Kasian Tejapira(9 ส.ค.56)

 ภาพโดรนบนเรือบรรทุกเครื่องบิน 

 
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหารอันกลายเป็นอาวุธหลักอย่างหนึ่งที่อเมริกาใช้รบกับผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้ายทั่วโลกขณะนี้ คุมโดยมือสังหารหรือนักฆ่าหน้าจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ที่นั่งดูภาพถ่ายทอดสดจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนโดรนแบบ real time ห่างออกไปนับร้อยนับพันไมล์ แล้วตัดสินใจบัดเดี๋ยวนั้นว่าจุดเล็ก ๆ ที่เห็นอยู่บนจอ (ซึ่งอาจเป็นคุณก็ได้) ใช่ “ผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้าย” ที่สมควรตายหรือไม่? ถ้าใช่, ก็กดปุ่ม.....
 
แล้วพวกเขาตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใด?
 
เกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า “signatures” หรือลักษณะเฉพาะตัว (การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวแบบนี้จึงเรียกว่า signature strikes) อันได้แก่บรรทัดฐานจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกี่ยวพันกับปฏิบัติการก่อการร้าย จะเรียกว่า “ชิ้นส่วนพยานหลักฐานแวดล้อมกรณี” ก็ได้ นสพ. Washington Post บรรยายหลวม ๆ ว่า “ลักษณะเฉพาะตัวคือแบบแผนพฤติกรรมที่สืบจับได้โดยการดักฟังสัญญาณ, แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล, และการสอดแนมทางอากาศ...ซึ่งบ่งชี้ว่ามีผู้ปฏิบัติงานสำคัญหรือแผนการร้ายที่มุ่งโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯอยู่ที่นั่น” 
 
ว่ากันว่าตัวประธานาธิบดีโอบามาเองรู้เรื่อง “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” เป็นครั้งแรกหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๙ เพียง ๓ วัน และเจ้าหน้าที่อเมริกันก็เริ่มพูดถึงมันกันอย่างเปิดเผยเมื่อต้นปี ๒๐๑๒ เป็นต้นมา
ศ. เควิน เฮลเลอร์
 
ศาสตราจารย์กฎหมาย เควิน เฮลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบอร์น ในออสเตรเลีย เคยลองสังเกตศึกษารายงานของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการโจมตีด้วยโดรน แล้วประมวล “ลักษณะเฉพาะตัว” ที่เป็นเกณฑ์ให้อเมริกันใช้ตัดสินใจโจมตีเป้าหมายด้วยโดรนออกมาได้ ๑๔ ประการ เขาพบว่า.....
 
- ลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าว ๕ ประการ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ
- แต่อีก ๕ ประการ คลุมเครือน่าสงสัย
- ส่วนอีก ๔ ประการนั้น ผิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่ชัด ได้แก่
 
๑) ชายวัยฉกรรจ์ (military-age male หรือ MAM) ที่อยู่ในพื้นที่ที่รู้กันว่ามีปฏิบัติการก่อการร้าย
๒) คบค้าสมาคมกับผู้ที่รู้กันว่าเป็นนักรบ
๓) กลุ่มชายติดอาวุธโดยสารรถบรรทุกในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้าในคาบสมุทรอาหรับ
๔) ค่ายพักน่าสงสัยในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้า
 
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เฮลเลอร์ออกตัวว่าในสภาพที่เราไม่รู้แน่ว่าเอาเข้าจริงทางการอเมริกันใช้ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันใดบ้าง และ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันไหนถูกประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยเป้าไหน ก็ยากยิ่งจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของโปรแกรมการโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวด้วยโดรนได้
 
ข้อที่น่าเคลือบแคลงยังมีอีกว่าตกลงแนวทางชี้นำกำกับ “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว”นี้ มันเป็นกรอบขอบเขตของปฏิบัติการที่อนุญาตให้ทำได้ หรือ สูตรสำเร็จสำหรับใช้แถลงให้เหตุผลความชอบธรรมหลังฆ่าไปเรียบร้อยแล้วกันแน่?
พลเอกโคลิน เพาเวลล์
 
จะว่าไป อะไรบางอย่างที่คล้าย “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” ก็เป็นสิ่งที่กองทัพอเมริกันเคยทำมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ดังที่พลเอกโคลิน เพาเวลล์ อดีตประธานคณะเสนาธิการกองทัพและรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เคยเล่าว่า:
 
“ผมจำวลีที่เราใช้ในสนามรบได้ มันคือ MAM หรือ ชายวัยฉกรรจ์ ถ้าเกิดฮ.ลำหนึ่งสังเกตเห็นชาวนาใส่ม่อฮ่อมดำที่ท่าทางพิรุธแม้แต่น้อยว่าอาจเป็น MAM แล้ว นักบินก็จะบินวนไปดักยิงสกัดข้างหน้าเขา ถ้าเขาขยับเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของเขาจะถือเป็นหลักฐานว่าส่อเจตนาเป็นศัตรู แล้วการรัวยิงครั้งถัดไปจะไม่ใช่ยิงสกัดหน้าแต่ตรงตัวเขาเลย โหดไหม? อาจจะใช่”
 
รายงานข่าวบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีโอบามาดึงเรื่องการตัดสินใจใช้โดรนสังหารไปรวมศูนย์ไว้วงในคณะบริหารรอบตัว แต่ละครั้งที่ตัดสินใจออกคำสั่งให้ “จัดการได้” มีเส้นตายเรื่องเวลากำกับ และในเวลาจำกัดนั้น กระบวนการตัดสินใจก็ทำกันอย่างระมัดระวัง ละเอียดลออรอบคอบรัดกุมและพยายามให้แม่นยำที่สุด เรื่องนี้รบกวนมโนธรรมสำนึกของโอบามามาก 
 
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งที่มีเด็กและผู้หญิงบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อโดรนถูก ๆ ผิด ๆ มากมาย โอบามาก็ทำใจไม่ได้ที่จะเลิกใช้อาวุธโดรนนี้เสียที....
 
จนมีผู้สงสัยว่าเอาเข้าจริง Obama ต่างจาก Bush จริงหรือ? หรือเป็น Obushma กันแน่?
โอบุชมา
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ