Skip to main content

โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 

Kasian Tejapira(9 ส.ค.56)

 ภาพโดรนบนเรือบรรทุกเครื่องบิน 

 
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหารอันกลายเป็นอาวุธหลักอย่างหนึ่งที่อเมริกาใช้รบกับผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้ายทั่วโลกขณะนี้ คุมโดยมือสังหารหรือนักฆ่าหน้าจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ที่นั่งดูภาพถ่ายทอดสดจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนโดรนแบบ real time ห่างออกไปนับร้อยนับพันไมล์ แล้วตัดสินใจบัดเดี๋ยวนั้นว่าจุดเล็ก ๆ ที่เห็นอยู่บนจอ (ซึ่งอาจเป็นคุณก็ได้) ใช่ “ผู้(ต้องสงสัย)ก่อการร้าย” ที่สมควรตายหรือไม่? ถ้าใช่, ก็กดปุ่ม.....
 
แล้วพวกเขาตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใด?
 
เกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า “signatures” หรือลักษณะเฉพาะตัว (การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวแบบนี้จึงเรียกว่า signature strikes) อันได้แก่บรรทัดฐานจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกี่ยวพันกับปฏิบัติการก่อการร้าย จะเรียกว่า “ชิ้นส่วนพยานหลักฐานแวดล้อมกรณี” ก็ได้ นสพ. Washington Post บรรยายหลวม ๆ ว่า “ลักษณะเฉพาะตัวคือแบบแผนพฤติกรรมที่สืบจับได้โดยการดักฟังสัญญาณ, แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล, และการสอดแนมทางอากาศ...ซึ่งบ่งชี้ว่ามีผู้ปฏิบัติงานสำคัญหรือแผนการร้ายที่มุ่งโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯอยู่ที่นั่น” 
 
ว่ากันว่าตัวประธานาธิบดีโอบามาเองรู้เรื่อง “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” เป็นครั้งแรกหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๙ เพียง ๓ วัน และเจ้าหน้าที่อเมริกันก็เริ่มพูดถึงมันกันอย่างเปิดเผยเมื่อต้นปี ๒๐๑๒ เป็นต้นมา
ศ. เควิน เฮลเลอร์
 
ศาสตราจารย์กฎหมาย เควิน เฮลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบอร์น ในออสเตรเลีย เคยลองสังเกตศึกษารายงานของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการโจมตีด้วยโดรน แล้วประมวล “ลักษณะเฉพาะตัว” ที่เป็นเกณฑ์ให้อเมริกันใช้ตัดสินใจโจมตีเป้าหมายด้วยโดรนออกมาได้ ๑๔ ประการ เขาพบว่า.....
 
- ลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าว ๕ ประการ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ
- แต่อีก ๕ ประการ คลุมเครือน่าสงสัย
- ส่วนอีก ๔ ประการนั้น ผิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่ชัด ได้แก่
 
๑) ชายวัยฉกรรจ์ (military-age male หรือ MAM) ที่อยู่ในพื้นที่ที่รู้กันว่ามีปฏิบัติการก่อการร้าย
๒) คบค้าสมาคมกับผู้ที่รู้กันว่าเป็นนักรบ
๓) กลุ่มชายติดอาวุธโดยสารรถบรรทุกในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้าในคาบสมุทรอาหรับ
๔) ค่ายพักน่าสงสัยในพื้นที่ใต้การควบคุมของอัลเคด้า
 
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เฮลเลอร์ออกตัวว่าในสภาพที่เราไม่รู้แน่ว่าเอาเข้าจริงทางการอเมริกันใช้ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันใดบ้าง และ “ลักษณะเฉพาะตัว” อันไหนถูกประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยเป้าไหน ก็ยากยิ่งจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของโปรแกรมการโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัวด้วยโดรนได้
 
ข้อที่น่าเคลือบแคลงยังมีอีกว่าตกลงแนวทางชี้นำกำกับ “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว”นี้ มันเป็นกรอบขอบเขตของปฏิบัติการที่อนุญาตให้ทำได้ หรือ สูตรสำเร็จสำหรับใช้แถลงให้เหตุผลความชอบธรรมหลังฆ่าไปเรียบร้อยแล้วกันแน่?
พลเอกโคลิน เพาเวลล์
 
จะว่าไป อะไรบางอย่างที่คล้าย “การโจมตีตามลักษณะเฉพาะตัว” ก็เป็นสิ่งที่กองทัพอเมริกันเคยทำมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ดังที่พลเอกโคลิน เพาเวลล์ อดีตประธานคณะเสนาธิการกองทัพและรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เคยเล่าว่า:
 
“ผมจำวลีที่เราใช้ในสนามรบได้ มันคือ MAM หรือ ชายวัยฉกรรจ์ ถ้าเกิดฮ.ลำหนึ่งสังเกตเห็นชาวนาใส่ม่อฮ่อมดำที่ท่าทางพิรุธแม้แต่น้อยว่าอาจเป็น MAM แล้ว นักบินก็จะบินวนไปดักยิงสกัดข้างหน้าเขา ถ้าเขาขยับเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของเขาจะถือเป็นหลักฐานว่าส่อเจตนาเป็นศัตรู แล้วการรัวยิงครั้งถัดไปจะไม่ใช่ยิงสกัดหน้าแต่ตรงตัวเขาเลย โหดไหม? อาจจะใช่”
 
รายงานข่าวบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีโอบามาดึงเรื่องการตัดสินใจใช้โดรนสังหารไปรวมศูนย์ไว้วงในคณะบริหารรอบตัว แต่ละครั้งที่ตัดสินใจออกคำสั่งให้ “จัดการได้” มีเส้นตายเรื่องเวลากำกับ และในเวลาจำกัดนั้น กระบวนการตัดสินใจก็ทำกันอย่างระมัดระวัง ละเอียดลออรอบคอบรัดกุมและพยายามให้แม่นยำที่สุด เรื่องนี้รบกวนมโนธรรมสำนึกของโอบามามาก 
 
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งที่มีเด็กและผู้หญิงบริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อโดรนถูก ๆ ผิด ๆ มากมาย โอบามาก็ทำใจไม่ได้ที่จะเลิกใช้อาวุธโดรนนี้เสียที....
 
จนมีผู้สงสัยว่าเอาเข้าจริง Obama ต่างจาก Bush จริงหรือ? หรือเป็น Obushma กันแน่?
โอบุชมา
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก