Skip to main content

Kasian Tejapira(8/9/56)

สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
 
ในวาระใกล้ครบรอบ ๔๐ ปีของรัฐประหารโดยทหารซึ่งตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการนาน ๑๗ ปีภายใต้การนำของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ คณะผู้พิพากษาของประเทศชิลีได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อสาธารณะยอมรับว่าฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นเพื่อประชาชนชาวชิลี
พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์
 
แถลงการณ์ออกวันพุธที่ ๔ ก.ย. ศกนี้และลงนามโดย โรดริโก เซอร์ดา ประธานสมาคมฯ, รองประธานและคณะกรรมการสมาคม ระบุว่า: 
 
“จำต้องกล่าวและตระหนักรับโดยชัดเจนอย่างสิ้นเชิงว่าฝ่ายตุลาการและโดยเฉพาะศาลฎีกาสมัยนั้นลังเลที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่แกนกลางของตนในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและคุ้มครองบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐ
 
“บัดนี้ถึงโมงยามที่เราต้องขออภัยอย่างไม่มีที่จะคลุมเครือผิดพลาดไปได้ต่อบรรดาเหยื่อทั้งหลาย ญาติของพวกเขาและสังคมชิลีที่ไม่สามารถจะชี้นำ ท้าทายและกระตุ้นสถาบันของเราและมวลสมาชิกของสถาบันนั้นให้ไม่ละเว้นจากการดำเนินการตามสิทธิที่พื้นฐานที่สุดและมิอาจล่วงละเมิดได้ ณ จังหวะอันคับขันใน ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้....”
 
แถลงการณ์ชี้ว่าศาลและผู้พิพากษาได้ปล่อยให้การข่มขู่และความหวาดกลัวการถูกคุมขังทรมานมาหักห้ามพวกตนไว้จากการเอาตัวสมาชิกของระบอบเผด็จการให้มาพร้อมรับผิดต่ออาชญากรรมของพวกเขารวมทั้งการคงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้สืบไป
 
“ฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นมากโดยเฉพาะเมื่อตนเป็นสถาบันเดียวของสาธารณรัฐที่มิได้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่จริงขณะนั้น”
 
ศาลฎีกากล่าวว่าจะอภิปรายถึงการทบทวนตัวศาลฎีกาเอง สิ่งที่ศาลได้ทำหรือไม่ได้ทำในช่วงทหารปกครองในวาระประชุมประจำวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายฮิวโก ดอลเมตสช์ โฆษกศาลฎีกาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ประจำชิลีว่า:
 
“มีการทำอะไรกันไปมากพอควรเพื่อสถาปนาความจริงให้ประจักษ์ชัด กำหนดความรับผิดชอบบางประการ แต่คงมิอาจจรรโลงความยุติธรรมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ ผมคิดว่ามันไม่มีสัจธรรมสัมบูรณ์ คงจะมีช่องโหว่ผิดพลาดอยู่บ้าง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ๔๐ ปีก็คงมีช่องโหว่ผิดพลาดแบบนั้นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าพวกที่มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ก็ได้รับโทษกรรมอีกแบบไปแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันง่ายสำหรับบางคนที่จะมองหน้าลูกหลานของตัวเมื่อเรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในสาธารณชน”
 
การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕
ชาวชิลีกว่า ๓,๐๐๐ คนถูกสังหารระหว่างทหารปกครองประเทศ (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) และคดีคนถูกบังคับอุ้มหายกว่า ๑,๐๐๐ คดียังคาราคาซังอยู่ ประมาณว่าคนอีกกว่า ๒๘,๐๐๐ ถูกจับกุม หลายคนในจำนวนนี้ถูกทรมานในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
 
(รายงานข่าวจาก นสพ. The Santiago Times ของชิลี http://www.santiagotimes.cl/chile/human-rights-a-law/26686-chiles-judges-apologize-to-dictatorship-victims-
ตัวแถลงการณ์ของสมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติชิลีฉบับภาษาสเปน ดูได้ที่ http://www.magistradosdechile.cl/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=55&Itemid=168 )
 
ภาพประกอบ พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์, การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ