Skip to main content
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
 
 
เส้นแบ่งที่คุณสมเกียรติเสนอว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่? ค่อนข้างหละหลวมนะครับ
 
เพราะมันยุ่งตั้งแต่การนิยามว่า "ประชาชน" หมายถึงใครบ้าง? ครอบคลุมรวมใคร? ตัดใครออก? ไม่นับใคร?
 
ถ้าใช้ในความหมายว่า "ประชาชน" = พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคณะผู้ก่อตั้งพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชน, ไทยรักไทย) เป็นพลเมืองไทยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง, นายทุน, นักวิชาการ, เจ้่าพ่อผู้มีอิทธิพล, นักเคลื่อนไหวมวลชน ฯลฯ
 
และพรรคประชาธิปัตย์ โดยประวัติก็เหมือนกัน (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ อำมาตย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ก็เป็นพลเมืองเท่ากับราษฎรสามัญชน)
 
ดูเหมือนการใช้เกณฑ์ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หลวม ๆ เพื่อจะสรุปว่าเป็นพรรค "ของประเทศไทย" หรือไม่? อาจได้ประโยชน์ทางด้านวิพากษ์หรือลดทอนความชอบธรรมเชิงอุดมการณ์ มากกว่าช่วยให้เข้าใจความเป็นจริงทางการเมือง
 
ในทางรัฐศาสตร์ เส้นแบ่งสำคัญกว่าคือพรรคการเมืองหนึ่ง ๆ เป็นพรรคของมวลชนหรือของชนชั้นนำ (mass or elite party) ใครมีบทบาทสำคัญเป็นหลักในการก่อตั้ง, บำรุงเลี้ยง, บริหาร, ชี้นำ, ควบคุม, เลือกผู้ลงสมัคร/รับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญ ๆ ไม่ว่า ส.ส., รมว., ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยราชการ
 
หากถือในเกณฑ์หลังนี้ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทย, พลังประชาชน) มีจุดเริ่มต้นเป็นพรรคชนชั้นนำทั้งคู่ คือเป็นพรรคของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ, การเมือง, ราชการ, วิชาการ ไม่ใช่พรรคมวลชน
 
จะว่าไปพรรคที่มีลักษณะมวลชนค่อนข้างชัดเจนและยืนนานจนล่มสลายไปก็มีอยู่พรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเท่านั้น (พ.ศ. ๒๔๘๕ -?)
 
อย่างไรก็ตาม ข้อเด่นของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเทียบกับพรรคเพื่อไทยในมุม mass/elite party ก็น่าสนใจอยู่
 
กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์แม้จะกุมโดยชนชั้นนำ แต่ผ่านเวลามาหลายสิบปีในการเมืองเลือกตั้งโดยเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ ก็ทำให้มีฐานมวลชนอยู่ในระดับพอสมควร และมีโครงสร้างพรรคที่ค่อนข้างเป็นระบบระเบียบ เปิดให้ elites ต่างกลุ่มพอจะประชันขันแข่งเชิงอำนาจเส้นสายและนโยบายกันได้บ้าง แม้ว่าจะถูกครอบงำโดย elite ภาคใต้เป็นหลัก เพียงแต่ยากจะบอกว่าเป็นพรรคที่กุมหรือนำโดยมวลชนจริง ๆ (มวลชนของพรรคที่มีอยู่ออกจะกระจัดกระจายและรวมเป็นกลุ่มก้อนก็โดยเครือข่ายส.ส.และนักการเมืองท้องถิ่นของพรรค มากกว่าจะมีองค์กรมวลชนอิสระของตนเองในเชิง independent /autonomous mass organizations แล้วมาล้อมรอบกำกับพรรคอีกที)
 
ส่วนพรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทย, พลังประชาชน) มีข้อน่าสนใจคือเริ่มต้นเป็นพรรคชนชั้นนำที่ครอบงำโดยกลุ่มธุรกิจการเมืองแวดล้อมพ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่ายชัดเจน แต่แล้วโดยผ่านการเลือกตั้ง แนวนโยบายประชานิยมและศึกรัฐประหารคปค. มวลชน "ชนชั้นกลางระดับล่างในชนบทที่เปลี่ยนแปลงไป" ได้ก่อตัวเป็นเครือข่ายขบวนการมวลชนที่มีพลังกว้างขวางระดับชาติในนาม นปช. (เสื้อแดง) ที่เป็นอิสระจากแกนนำ/โครงสร้างของพรรคพอสมควร แสดงบทบาทหนุนช่วยพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งและกุมอำนาจ โดยเฉพาะต่อสู้กับพลังรัฐประหารและฝ่ายค้านอย่างทรหดเหนียวแน่นอาบเลือดเสียสละต่อเนื่องยาวนาน
 
กรณีพรรคเพื่อไทยจึงเป็น พรรคเกิดก่อนแบบพรรคชนชั้นนำ --> แล้วขบวนการมวลชนเกิดตามหลัง ปมปริศนาคือ พรรค elite กับขบวนการ mass ที่หลวม ๆ จะผูกสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจและบริหาร, อุดมการณ์และผลประโยชน์กันอย่างไรในระยะยาว? นี่ต่างหากน่าสนใจกว่าการสร้างวาทกรรมบั่นทอนความชอบธรรมใด ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ