ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออก เอกสารเวียนลับ “รายงานว่าด้วยสถานภาพปัจจุบันในด้านอุดมการณ์” ให้หน่วยพรรคเหนือระดับเทศบาลทั่วประเทศจัดศึกษาอภิปรายเอกสารนี้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน กระชับงานอุดมการณ์และการเมืองให้เข้มข้นขึ้น โดยตอนหนึ่งของรายงานได้เอ่ยถึง “ปัญหาหลัก ๗ ประการ” ที่ต้องเน้นระแวดระวังในปริมณฑลอุดมการณ์
และในช่วงใกล้กันนั้นเองก็ได้มีคำชี้แนะจากศูนย์กลางพรรคและรัฐบาลให้ดำเนินการรณรงค์ “เจ็ดไม่พูด” ในองค์การหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (ดูรายละเอียดในภาพประกอบ) ขอร้องให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูดไม่สอนเรื่องทั้งเจ็ด และสั่งถอดถอนลบทิ้งโพสต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีข้อความว่า “เจ็ดไม่พูด” , “เจ็ดต้องไม่”, หรือ “ปัญหาทั้งเจ็ด” ออกหมด
รายละเอียดแคมเปน "เจ็ดไม่พูด"
นี่นับเป็นสัญญาณการถอยหลังเข้าคลองทางอุดมการณ์ครั้งสำคัญของแกนนำพรรครุ่นใหม่ที่มีสีจิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดี และหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ก่อนหน้านี้สีจิ้นผิงได้แสดงท่าทีเปิดกว้าง เอ่ยอ้างถึงการเดินหน้าสู่ “ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่มิทันไรก็หันหลังกลับตาลปัตรเป็น “เจ็ดไม่พูด” เสียแล้ว
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักมีแคมเปนอุดมการณ์แบบนี้เป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านี้ก็มีแคมเปน “ห้าไม่ทำ” → แคมเปน “ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย” → และล่าสุดคือแคมเปน “เจ็ดไม่พูด” ในปัจจุบัน
แคมเปน "ห้าไม่ทำ" --> "ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย" --> "เจ็ดไม่พูด"
นับแต่หลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา, กรรมกรและประชาชนอย่าง นองเลือด “๔ มิถุนายน” (ค.ศ. ๑๙๘๙) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง “แผนกอุดมการณ์/การเมือง” ขึ้นในทุกมหาวิทยาลัยแล้วบรรจุคนของพรรคที่ซื่อ สัตย์เข้มข้นทางอุดมการณ์เข้าไป คนเหล่านี้ไม่ทำวิจัย ไม่มีผลงานความสามารถโดดเด่นทางวิชาการ แต่จะเข้ากุมการนำผ่านตำแหน่งสำคัญทางบริหารและตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะ/มหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคและจัดแถวบรรดาคณาจารย์และนักศึกษาให้อยู่ในกรอบอุดมการณ์ดังกล่าว เสมือนหนึ่งพรรคได้ยึดครองมหาวิทยาลัยเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม
สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง ผู้นำรุ่นใหม่ของพรรคและรัฐจีน
ต่อเรื่องนี้ ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตยที่อยู่ในนิวยอร์ค ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า:
“ก่อนนี้พักหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้อนยาอีให้ประชาชนและพร่ำพูดถึงการสร้าง “ความฝันของจีน” และ “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ผู้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนบาง คนหลงคิดไปว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากปฏิรูป ดังนั้นพวกเขาก็เลยปากกล้าขึ้น แต่แล้วทางพรรคก็เห็นว่าพวกเขาชักจะปากกล้าเกินไป ก็เลยฟาดพวกเขาล้มลง แล้วบอกพวกเขาให้ทำตามหลัก “เจ็ดไม่พูด” แม้แต่คำว่า “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ก็ยังพูดไม่ได้เลยทั้งที่เอาเข้าจริงสีจิ้นผิงเองนั่น แหละเป็นผู้หยิบยกมันขึ้นมาเองแต่แรก เหลือเชื่อจริง ๆ ประชาชนจีนก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ไม่รู้ว่าตกลงแล้วจะให้พวกเขาพูดหรือไม่พูดอะไรกันแน่?
ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
“ผมคิดว่าพูดให้ถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องดี เพราะมันช่วยให้ปัญญาชนจีนตาสว่าง พวกเราทั้งหลายได้ตระ หนักว่าเราถูกหลอกอีกแล้ว สิ่งที่เรียกว่าการปกครองใหม่ของสีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียงและวาทกรรม ของพวกเขาที่เรียกว่าการปฏิรูปนั้นมันก็แค่ฟองสบู่ทั้งเพ มันเป็นแค่ละครของพรรคเพื่อลวงประ ชาชนอีกเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง อันที่จริงแล้วมันจึงดีสำหรับขบวนการประชาธิปไตยในที่สุด”
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ