Skip to main content

Kasian Tejapira (28 ก.ย.56)

ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออก เอกสารเวียนลับ “รายงานว่าด้วยสถานภาพปัจจุบันในด้านอุดมการณ์” ให้หน่วยพรรคเหนือระดับเทศบาลทั่วประเทศจัดศึกษาอภิปรายเอกสารนี้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน กระชับงานอุดมการณ์และการเมืองให้เข้มข้นขึ้น โดยตอนหนึ่งของรายงานได้เอ่ยถึง “ปัญหาหลัก ๗ ประการ” ที่ต้องเน้นระแวดระวังในปริมณฑลอุดมการณ์ 
 
และในช่วงใกล้กันนั้นเองก็ได้มีคำชี้แนะจากศูนย์กลางพรรคและรัฐบาลให้ดำเนินการรณรงค์ “เจ็ดไม่พูด” ในองค์การหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (ดูรายละเอียดในภาพประกอบ) ขอร้องให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูดไม่สอนเรื่องทั้งเจ็ด และสั่งถอดถอนลบทิ้งโพสต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีข้อความว่า “เจ็ดไม่พูด” , “เจ็ดต้องไม่”, หรือ “ปัญหาทั้งเจ็ด” ออกหมด
รายละเอียดแคมเปน "เจ็ดไม่พูด"
 
นี่นับเป็นสัญญาณการถอยหลังเข้าคลองทางอุดมการณ์ครั้งสำคัญของแกนนำพรรครุ่นใหม่ที่มีสีจิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดี และหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ก่อนหน้านี้สีจิ้นผิงได้แสดงท่าทีเปิดกว้าง เอ่ยอ้างถึงการเดินหน้าสู่ “ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่มิทันไรก็หันหลังกลับตาลปัตรเป็น “เจ็ดไม่พูด” เสียแล้ว 
 
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักมีแคมเปนอุดมการณ์แบบนี้เป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านี้ก็มีแคมเปน “ห้าไม่ทำ” → แคมเปน “ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย” → และล่าสุดคือแคมเปน “เจ็ดไม่พูด” ในปัจจุบัน
 แคมเปน "ห้าไม่ทำ" --> "ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย" --> "เจ็ดไม่พูด"
 
นับแต่หลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา, กรรมกรและประชาชนอย่าง นองเลือด “๔ มิถุนายน” (ค.ศ. ๑๙๘๙) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง “แผนกอุดมการณ์/การเมือง” ขึ้นในทุกมหาวิทยาลัยแล้วบรรจุคนของพรรคที่ซื่อ สัตย์เข้มข้นทางอุดมการณ์เข้าไป คนเหล่านี้ไม่ทำวิจัย ไม่มีผลงานความสามารถโดดเด่นทางวิชาการ แต่จะเข้ากุมการนำผ่านตำแหน่งสำคัญทางบริหารและตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะ/มหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคและจัดแถวบรรดาคณาจารย์และนักศึกษาให้อยู่ในกรอบอุดมการณ์ดังกล่าว เสมือนหนึ่งพรรคได้ยึดครองมหาวิทยาลัยเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม
สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง ผู้นำรุ่นใหม่ของพรรคและรัฐจีน
 
ต่อเรื่องนี้ ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตยที่อยู่ในนิวยอร์ค ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า:
 
“ก่อนนี้พักหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้อนยาอีให้ประชาชนและพร่ำพูดถึงการสร้าง “ความฝันของจีน” และ “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ผู้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนบาง คนหลงคิดไปว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากปฏิรูป ดังนั้นพวกเขาก็เลยปากกล้าขึ้น แต่แล้วทางพรรคก็เห็นว่าพวกเขาชักจะปากกล้าเกินไป ก็เลยฟาดพวกเขาล้มลง แล้วบอกพวกเขาให้ทำตามหลัก “เจ็ดไม่พูด” แม้แต่คำว่า “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ก็ยังพูดไม่ได้เลยทั้งที่เอาเข้าจริงสีจิ้นผิงเองนั่น แหละเป็นผู้หยิบยกมันขึ้นมาเองแต่แรก เหลือเชื่อจริง ๆ ประชาชนจีนก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ไม่รู้ว่าตกลงแล้วจะให้พวกเขาพูดหรือไม่พูดอะไรกันแน่?
ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
“ผมคิดว่าพูดให้ถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องดี เพราะมันช่วยให้ปัญญาชนจีนตาสว่าง พวกเราทั้งหลายได้ตระ หนักว่าเราถูกหลอกอีกแล้ว สิ่งที่เรียกว่าการปกครองใหม่ของสีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียงและวาทกรรม ของพวกเขาที่เรียกว่าการปฏิรูปนั้นมันก็แค่ฟองสบู่ทั้งเพ มันเป็นแค่ละครของพรรคเพื่อลวงประ ชาชนอีกเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง อันที่จริงแล้วมันจึงดีสำหรับขบวนการประชาธิปไตยในที่สุด”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง