Skip to main content

Kasian Tejapira (28 ก.ย.56)

ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออก เอกสารเวียนลับ “รายงานว่าด้วยสถานภาพปัจจุบันในด้านอุดมการณ์” ให้หน่วยพรรคเหนือระดับเทศบาลทั่วประเทศจัดศึกษาอภิปรายเอกสารนี้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน กระชับงานอุดมการณ์และการเมืองให้เข้มข้นขึ้น โดยตอนหนึ่งของรายงานได้เอ่ยถึง “ปัญหาหลัก ๗ ประการ” ที่ต้องเน้นระแวดระวังในปริมณฑลอุดมการณ์ 
 
และในช่วงใกล้กันนั้นเองก็ได้มีคำชี้แนะจากศูนย์กลางพรรคและรัฐบาลให้ดำเนินการรณรงค์ “เจ็ดไม่พูด” ในองค์การหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (ดูรายละเอียดในภาพประกอบ) ขอร้องให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูดไม่สอนเรื่องทั้งเจ็ด และสั่งถอดถอนลบทิ้งโพสต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีข้อความว่า “เจ็ดไม่พูด” , “เจ็ดต้องไม่”, หรือ “ปัญหาทั้งเจ็ด” ออกหมด
รายละเอียดแคมเปน "เจ็ดไม่พูด"
 
นี่นับเป็นสัญญาณการถอยหลังเข้าคลองทางอุดมการณ์ครั้งสำคัญของแกนนำพรรครุ่นใหม่ที่มีสีจิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดี และหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ก่อนหน้านี้สีจิ้นผิงได้แสดงท่าทีเปิดกว้าง เอ่ยอ้างถึงการเดินหน้าสู่ “ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่มิทันไรก็หันหลังกลับตาลปัตรเป็น “เจ็ดไม่พูด” เสียแล้ว 
 
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักมีแคมเปนอุดมการณ์แบบนี้เป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านี้ก็มีแคมเปน “ห้าไม่ทำ” → แคมเปน “ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย” → และล่าสุดคือแคมเปน “เจ็ดไม่พูด” ในปัจจุบัน
 แคมเปน "ห้าไม่ทำ" --> "ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย" --> "เจ็ดไม่พูด"
 
นับแต่หลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา, กรรมกรและประชาชนอย่าง นองเลือด “๔ มิถุนายน” (ค.ศ. ๑๙๘๙) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง “แผนกอุดมการณ์/การเมือง” ขึ้นในทุกมหาวิทยาลัยแล้วบรรจุคนของพรรคที่ซื่อ สัตย์เข้มข้นทางอุดมการณ์เข้าไป คนเหล่านี้ไม่ทำวิจัย ไม่มีผลงานความสามารถโดดเด่นทางวิชาการ แต่จะเข้ากุมการนำผ่านตำแหน่งสำคัญทางบริหารและตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะ/มหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคและจัดแถวบรรดาคณาจารย์และนักศึกษาให้อยู่ในกรอบอุดมการณ์ดังกล่าว เสมือนหนึ่งพรรคได้ยึดครองมหาวิทยาลัยเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม
สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง ผู้นำรุ่นใหม่ของพรรคและรัฐจีน
 
ต่อเรื่องนี้ ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตยที่อยู่ในนิวยอร์ค ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า:
 
“ก่อนนี้พักหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้อนยาอีให้ประชาชนและพร่ำพูดถึงการสร้าง “ความฝันของจีน” และ “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ผู้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนบาง คนหลงคิดไปว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากปฏิรูป ดังนั้นพวกเขาก็เลยปากกล้าขึ้น แต่แล้วทางพรรคก็เห็นว่าพวกเขาชักจะปากกล้าเกินไป ก็เลยฟาดพวกเขาล้มลง แล้วบอกพวกเขาให้ทำตามหลัก “เจ็ดไม่พูด” แม้แต่คำว่า “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ก็ยังพูดไม่ได้เลยทั้งที่เอาเข้าจริงสีจิ้นผิงเองนั่น แหละเป็นผู้หยิบยกมันขึ้นมาเองแต่แรก เหลือเชื่อจริง ๆ ประชาชนจีนก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ไม่รู้ว่าตกลงแล้วจะให้พวกเขาพูดหรือไม่พูดอะไรกันแน่?
ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
“ผมคิดว่าพูดให้ถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องดี เพราะมันช่วยให้ปัญญาชนจีนตาสว่าง พวกเราทั้งหลายได้ตระ หนักว่าเราถูกหลอกอีกแล้ว สิ่งที่เรียกว่าการปกครองใหม่ของสีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียงและวาทกรรม ของพวกเขาที่เรียกว่าการปฏิรูปนั้นมันก็แค่ฟองสบู่ทั้งเพ มันเป็นแค่ละครของพรรคเพื่อลวงประ ชาชนอีกเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง อันที่จริงแล้วมันจึงดีสำหรับขบวนการประชาธิปไตยในที่สุด”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....