Skip to main content
 
 
ความเห็นของนักธุรกิจ hi-profile มักมีคนสนใจฟัง โดยเฉพาะนักธุรกิจที่ควักกระเป๋าเช่าเวลาสถานีโทรทัศน์จัดรายการให้ตนเองได้บรรยายความรอบรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวออกอากาศเป็นวิทยาทานแก่ชาวบ้านแบบ one-way communication คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ก็เช่นเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม ข้อความเห็นข้างล่างนี้ มีที่เข้าใจผิดอยู่บางประเด็น:
 
1) เกาหลี(ใต้) ไต้หวัน สิงคโปร์แม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีกรณีคอร์รัปชั่นและใช้อำนาจไปในทางมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองอยู่ 
 
ล่าสุดในเกาหลีใต้ มีกรณีหน่วยงานข่าวกรองของรัฐ (NIS) แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยใช้คนโพสต์ข้อความเชียร์ผู้สมัครประธานาธิบดีปาร์คกึนเฮ และโจมตีผู้สมัครประธานาธิบดีฝ่ายค้าน จนถูกเปิดโปงสอบสวนและประท้วงเป็นการใหญ่ในขณะนี้ http://www.dw.de/south-koreans-protest-alleged-election-interference/a-17041363
 
ไต้หวันเกิดกรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวต่อเนื่องหลายเรื่องซึ่งผู้ต้องหาคือบรรดาผู้ช่วยคนสนิทที่สุดของประธานาธิบดีหม่าหยิงโจวแห่งพรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งไต้หวันถูกตั้งสมญาอย่างน่าอายว่า "สาธารณรัฐแห่งการคอร์รัปชั่น" http://www.taipeitimes.com/News/editorials/archives/2013/06/04/2003563910
 
ส่วนสิงคโปร์ กรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวล่าสุดถูกเปิดโปงออกมาเมื่อสองปีก่อนและการดำเนินคดียังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับหัวหน้า 2 หน่วยงานราชการสำคัญด้านความมั่นคงคือหัวหน้ากองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์และหัวหน้าหน่วยงานปราบปรามยาเสพติดกลาง (the Singapore Civil Defence Force (SCDF) and the Central Narcotics Bureau (CNB) ) ต่างถูกสอบสวนว่ามีสัมพันธ์สวาทกับนักธุรกิจสาวด้าน IT และปล่อยปละละเลยให้ผลิตภัณฑ์ IT ที่สั่งซื้อเข้าหน่วยงานไม่ได้มาตรฐานเพราะเหตุนั้น http://globalvoicesonline.org/2012/01/27/singapore-corruption-scandal-in-least-corrupt-nation/ และ http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Singapore/Story/A1Story20120125-323860.html
ดังนั้น 3 ประเทศแบบอย่างที่คุณวิกรมยกมา ไม่ได้ปลอดคอร์รัปชั่นอย่างที่ชวนให้เข้าใจนะครับ
 
2) ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของ 3 ประเทศดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล, กลุ่มธุรกิจหลักของแต่ละประเทศ, และโอกาสด้านการลงทุนและส่งออกที่อเมริกากับญี่ปุ่นเอื้ออำนวยให้ในยุคสงครามเย็นและสงครามเวียดนาม ไม่ใช่เพราะปราบคอร์รัปชั่นเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด เรื่องนี้คุณวิกรมคงต้องออกแรงอ่านค้นคว้าเอกสารตำราเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของสามประเทศนี้เพิ่มเติมหน่อยละครับ เช่น Michael Spence นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2001 โดยเฉพาะเล่ม The Next Convergence: The Future of Economic Growth in a Multispeed World, หรือ Ha-Joon Chang นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ เชื้อสายเกาหลี โดยเฉพาะเรื่อง Globalisation, Economic Development and the Role of the State 
 
3) ดังนั้นผมจึงไม่แน่ใจว่าการประหารชีวิตนักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นสักหมื่นคน เอาเข้าจริงจะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ ความจริงข้อเสนอทำนองนี้ ไม่มีอะไรใหม่ ผมเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วจากนักธุรกิจอิสระอินโดนีเซียซึ่งติดสินบนเจ้าหน้าที่อย่างโชกโชน (ดู สารคดีเรื่อง Faces of Everyday Corruption in Indonesia) เพียงแต่ผู้เสนอชาวอินโดนีเซียท่านนั้นไม่ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดระบุจำนวนศพที่ต้องการว่าเป็นเท่าไหร่เพื่อแก้ปัญหานี้ 
 
กล่าวในแง่นี้ก็ต้องนับว่าจำนวนตัวเลข "ประหารสัก 10,000 คน" ของคุณวิกรมไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยจริง ๆ อาทิเช่น 
 
-จอมพลประภาส จารุเสถียรก็เพียงคาดคะเนว่าการปราบปรามนักศึกษาที่ประท้วงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 อาจทำให้ "นักศึกษาจะเสียไปราว 2% จากจำนวนเป็นแสนคน" (คือแค่ 2,000 คน)
 
-การดำเนินสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ก็ปรากฏตัวเลขผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้าที่เสียชีวิตจากวิสามัญฆาตกรรมแค่ราว 2,275 ราย
 
-แม้แต่สงครามประชาชนระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2528 ก็มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย (ยังไม่นับชาวบ้านที่โดนลูกหลง) รวม 10}504 คน ซึ่งก็มากกว่าตัวเลขเสนอแนะของคุณวิกรมอยู่ แต่นั้นเป็นสงครามกลางเมืองนาน 20 ปี ขณะที่สิ่งที่คุณวิกรมเสนอนั้น คือให้ประหารในภาวะปกติของบ้านเมืองและคงไม่นานถึง 20 ปีแน่นอน
 
ก็ขอแนะนำให้คุณวิกรมลองเสนอคุณสุเทพ ณ กปปส. เพื่อให้ทางสภาประชาชนที่อาจจะก่อตั้งขึ้นในอนาคตได้พิจารณา เพราะถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรปกติภายใต้รัฐธรรมนูญ คงจะยากอยู่ โดนประท้วงแหลกจากนานาอารยประเทศที่เขาซื้อสินค้าออกจากเราแน่ว่ามัน "ไม่อารยะ" เกินไป
 
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ