- คำว่า Ochlocracy (Ochlocrat = นักกฎหมู่; Ochlocratic = แบบกฎหมู่) นี่เท่ห์ดีครับ แต่คำง่ายกว่าก็มีเช่น mob rule หรือ mobocracy แปลตรงตัวคือ “การปกครองโดยม็อบหรือมวลประชาชนทั่วไป”, “การกำราบเจ้าหน้าที่โดยชอบให้หงอกลัวหัวหด”
-Ochlocracy นับญาติกับรูปแบบการปกครองอื่นในความคิดการเมืองกรีกโบราณ กล่าวคือ: (ดูภาพตารางประกอบ)
คำอธิบายตาราง:
-ดี = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวมเป็นที่ตั้ง
-เลว = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของกลุ่มหรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ทำให้ความยุติธรรมเสื่อมโทรมลง
-กฎหมู่ = ประชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะพฤติกรรมของนักกวนเมือง (demagogue), อำนาจจิตตารมณ์เหนือเหตุผล, ทรราชย์ของเสียงข้างมาก
-คณาธิปไตย = อภิชนาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะคอร์รัปชั่น
-ทรราชย์ = ราชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะขาดราชธรรม
-เราอาจหยุดยั้งภัยคุกคามของกฎหมู่ต่อประชาธิปไตยได้โดยประกันว่าคนส่วนน้อยหรือปัจเจกบุคคลจะได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรมจากพฤติกรรมกวนเมืองหรือความตื่นตระหนกทางศีลธรรมระยะสั้น แต่ก็ไม่แน่นัก เพราะกฎหมู่อาจชนะได้ถ้าหากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอาใจออกห่างกฎหมายบ้านเมือง ไปฝักใฝ่นักกวนเมืองแทน
-กฎหมู่ต่างจากอารยะขัดขืนและสัตยาเคราะห์ตรงฝ่ายหลังยึดมั่นวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่กฎหมู่ไม่ยึดถือวิธีการดังกล่าว
-เจ้าหน้าที่ตำรวจนานาประเทศพยายามต่อสู้เอาชนะขบวนการกฎหมู่ด้วยการจำกัดวง/ขอบเขตขบวนการกฎหมู่ให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เพื่อแยกขบวนการกฎหมู่ออกห่างจากเป้าหมายโจมตี, สาธารณชนส่วนใหญ่ทั่วไป, สื่อมวลชน ฯ จนตกไปอยู่ชายขอบ/ถูกมองข้ามละเลยไปได้ บ้างก็ใช้วิธีออกกฎบังคับให้ผู้จัดต้องขอใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการก่อนจัดชุมนุมแสดงพลังหรือเดินขบวนในที่สาธารณะ, ในทางกลับกัน ขบวนการกฎหมู่ก็หาทางฝ่าด่านปิดล้อมทางการทั้งในแง่ข่าวสารและการเคลื่อนที่โดยอาศัยเครือข่ายไอทีสมัยใหม่และพาหนะคล่องตัว เช่น จักรยาน เป็นต้น
หมายเหตุข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 10 มี.ค.57
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ