Skip to main content

 

 

"การปฏิวัติ" ในมุมมองแมกซ์ เวเบอร์

แมกซ์ เวเบอร์ (ค.ศ.1864-1920) ปรมาจารย์วิชาสังคมศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้วิจารณ์และเสริมเติมทฤษฎีวัตถุนิยมทางเศรษฐกิจของมาร์กซ์ด้วยทฤษฎีวัตถุนิยมทางการเมืองและการทหารของเขาเอง ได้นิยามรัฐสมัยใหม่ไว้ในปาฐกถาเรื่อง "การเมืองในฐานะอาชีพ" ณ มหาวิทยาลัยมิวนิก เมื่อปี ค.ศ.1918 ซึ่งกลายมาเป็นคำนิยามมาตรฐานของ "รัฐ" ในวิชารัฐศาสตร์ปัจจุบันว่า : -

 

"อย่างไรก็ตามทุกวันนี้เราคงต้องกล่าวว่า รัฐคือประชาคมของมนุษย์ที่อ้างสิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพโดยชอบธรรมภายในอาณาเขตหนึ่งๆ (ได้สำเร็จ)" (From Max Weber : Essays in Sociology, 1946, p. 78)

 

มีเชื้อมูลสำคัญ 3 ประการอยู่ในคำนิยาม "รัฐ" ของเวเบอร์ข้างต้น :

1) สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง

2) โดยชอบธรรม

3) ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ

 

ดังนั้น หากนิยาม "การปฏิวัติ" ว่าหมายถึงการลุกขึ้นสู้ของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อโค่นล้ม/ช่วงชิงอำนาจรัฐจากคนอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว หนทางการปฏิวัติก็อาจเป็นไปได้ 3 ลักษณะ สอดรับกับเชื้อมูล 3 ประการข้างต้น ขึ้นอยู่กับว่าจะรวมศูนย์โจมตีลงไปที่ส่วนไหนขององค์ประกอบอำนาจรัฐ กล่าวคือ : -

1) ฝ่ายผู้ก่อการใช้ความรุนแรงสู้กับกลไกบังคับปราบปรามของรัฐเอาชนะมันด้วยการโค่นลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันได้สถาปนาความชอบธรรมใหม่ใดๆ ของฝ่ายตนขึ้นมาอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตามหนทางนี้ใช้ได้ผลเมื่อคู่ต่อสู้เป็นรัฐที่อ่อนแอเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ.1917 เป็นต้น 
ในกรณีไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ของคณะราษฎรน่าจะจัดอยู่ในข่ายนี้ได้

 

2) ฝ่ายผู้ก่อการพังทลายการผูกขาดอำนาจของรัฐโดยทำลายความชอบธรรมในการปกครองของรัฐลงเสียจนกระทั่งรัฐไม่สามารถใช้กำลังบังคับมาปราบปรามขบวนการต่อต้านรัฐได้

 

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ค.ศ.1978-79 ซึ่งไม่มีการสู้รบขนานใหญ่ กองทัพอยู่ในภาวะอัมพาต ขณะพระเจ้าชาห์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศและระบอบราชาธิปไตยสิ้นสุดลง

ในกรณีไทย นึกหากรณีที่สอดรับตัวแบบนี้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ไม่ออก จะมากจะน้อยมักมีเชื้อมูลที่รัฐใช้กำลังรุนแรงปราบปรามฝ่ายผู้ก่อการมาผสมด้วยเสมอ

 

ทว่าหากลดเงื่อนไขลงเป็นว่ามีการทำลายความชอบธรรมของรัฐลงเป็นด้านหลักจนกระทั่งรัฐไม่สามารถใช้กำลังรุนแรงมาปราบปรามอย่างเต็มที่เต็มเหนี่ยวและฉะนั้นจึงถูกโค่นลงในที่สุดแล้ว ก็น่าขบคิดว่าพอจะนับการลุกขึ้นสู้เผด็จการทหารของนักศึกษาประชาชนเมื่อ 14 ตุลาฯ 2516 และการเคลื่อนไหวยึดทำเนียบรัฐบาล-ยึดสนามบินของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อโค่นรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเมื่อปี พ.ศ.2541 ว่าเข้าข่ายนี้ได้หรือไม่?

 

3) ฝ่ายผู้ก่อการพังทลายการผูกขาดอำนาจของรัฐโดยตัดตอนอาณาเขตบางส่วนจากรัฐมาเป็น "เขตปลดปล่อย" ซึ่งกว้างใหญ่พอจะก่อตั้งอำนาจรัฐปฏิวัติขึ้นต่อต้านท้าทายรัฐเดิมได้ แล้วจึงค่อยๆ บั่นทอนบ่อนเบียนกำลังบังคับและความชอบธรรมของรัฐเดิมลงตามลำดับอย่างยืดเยื้อยาวนานจนประสบชัยชนะในที่สุด นี่เป็นแบบแผนการปฏิวัติทั่วไปของกองกำลังจรยุทธ์ทั้งหลาย

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติจีน ค.ศ.1928-49 รวมทั้งในยูโกสลาเวีย, คิวบา, นิการากัว ฯลฯ

ในกรณีไทย ความพยายามทำสงครามประชาชนที่ล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2508-2528 จัดอยู่ในข่ายนี้

 

ทว่าข้อคิดทางรัฐศาสตร์-สังคมศาสตร์เหล่านี้เป็นแค่เครื่องมือลองใช้ยึดกุมเข้าใจความจริง ไม่ใช่ตัวความจริงนั้นเอง กรณีความเป็นจริงมักจะสลับซับซ้อนยุ่งยากยุ่งเหยิงเลอะเทอะเละเทะ,ไม่เรียบๆ ร้อยๆ เข้ากรอบเข้าร่องเข้ารอยเข้าตามตรอกออกตามประตูดังแนวคิดทฤษฎีเป๊ะๆ เป็นธรรมดา

อาทิ กรณีการปฏิวัติเนปาล ค.ศ.1995-2006 นั้น พวกเหมาอิสต์เริ่มต้นเดินหนทางตัดตอนอาณาเขตของรัฐมาสร้างเขตปลดปล่อยขึ้นในชนบทป่าเขา (แบบที่ 3), แต่กลับลงเอยด้วยการปรับเปลี่ยนหนทางไปเข้าร่วมกับพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านพามวลชนเดินขบวนประท้วงกลางเมืองทำลายความชอบธรรมของระบอบราชาธิปไตยเดิมลงจนกองทัพเนปาลสูญเสียขวัญกำลังใจและถอดใจในที่สุด (แบบที่ 2)

จึงควรใช้เครื่องมือการคิดเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

 

 

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนออนไลน์ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 (เผยแพร่ต่อใน Kasian Tejapira)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....