Skip to main content

หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว เลย

 

korkaew_20070925_01.jpg

 

ซานอล ซูร์โยกูซูโม ท่านเป็นหนึ่งในสมาชิกอาวุโสของสมาคมผู้สื่อข่าวอินโดนีเซีย และเป็นที่ปรึกษาอีกหลายสมาคมหรือชมรมสื่อของอินโดนีเซีย ท่านเป็นคนพื้นเพดั้งเดิมจากเกาะมาดูลา ซึ่งเป็นเกาะที่แห้งแล้ง และขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดของอินโดนีเซียและเป็นพื้นที่ติดอันดับยากจนของประเทศ ผู้คนจึงอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งบ้านเรือนในแถบพื้นที่อื่นๆ ของอินโดนีเซีย แต่ท่านต่างจากคนอื่น เพราะเป็นตระกูลที่มีฐานะในมาดูลา จึงได้รับการศึกษาอย่างดีในโรงเรียนของดัชต์ ในยุคอาณานิคม แต่ที่เหมือนคนอื่นทั่วไปคือ ท่านอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่จาการ์ตา และกลายเป็นบ้านถาวรของท่านและครอบครัว

ท่านเป็นนักคิด และนักเขียน สามารถเขียนได้ทุกช่วงเวลา ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวล้ำ ท่านมีแลปท้อปคอมพิวเตอร์ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยประสบการณ์ด้านสื่อและความเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อ ทำให้บรรดาสื่อรุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลานมักเชิญท่านไปบรรยาย ไปเป็นที่ปรึกษา ไปช่วยเหลือ ไปเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านสื่อ ทั่วอินโดนีเซีย หลังจากบรรยายและสนทนาปราศัยกับบรรดาสื่อรุ่นหลังแล้ว ช่วงกลางคืนท่านจะนั่งทำงานเขียนจนดึกดื่น งานเขียนของท่านไม่เพียงช่วยพัฒนาวงการสื่อเท่านั้น ยังเป็นการพัฒนาเชิงสังคมไปด้วย

หลังจากสิ้นยุคซูฮาร์โต ท่านเป็นคนหนึ่งที่ให้การสนับสนุนและพัฒนาด้านสื่อวิทยุของอินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้สื่อวิทยุถูกปิดล้อมด้วยอำนาจมืดของรัฐบาล ไม่มีเสรีภาพในการสื่อข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เมื่อมาถึงยุคประชาธิปไตย ท่านจึงหันมาร่วมมือกับสื่อวิทยุรุ่นหลังพัฒนาสื่อวิทยุเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ท่านยังให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาสื่อวิทยุชุมชร่วมกับชุมชนในจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของอินโดนีเซีย

เหตุผลในการเข้าไปพัฒนาสื่อวิทยุในเชิงธุรกิจ ท่านมองว่า การที่สื่อสามารถพึ่งตนเองได้ ธุรกิจของสื่อไปได้ด้วยดี ทำให้สื่อมีอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้สื่อมีเสรีภาพทางด้านความคิดด้วย ทั้งนี้ต้องปราศจากการควบคุมของรัฐ ในแง่การต่อสู้กับอำนาจรัฐ ท่านได้ต่อสู้กับกฎหมายว่าด้วยสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของอินโดนีเซีย ชื่อว่า the Broadcasting Act No. 32/2002 ในเรื่อง อายุในการครอบครองคลื่นความถี่ และกฎเกณฑ์ในการตัดสิทธิการครอบครองคลื่นความถี่ที่ยังให้อำนาจของหน่วยงานรัฐไว้มาก

ผู้เขียนมองว่า วัฒนธรรมการต่อสู้ด้านเสรีภาพของสื่ออินโดนีเซียมีความเข้มข้นสูง สังเกตว่าพวกเขาจะกลัวการถูกกำหนดจากอำนาจรัฐบาล อำนาจของทหาร (หรืออำนาจของสถาบันต่างๆ) อย่างมาก เพราะประวัติศาสตร์ที่พวกเขาเคยอยู่ภายใต้มันในช่วงเผด็จการนั้น มีแต่เรื่องเลวร้าย การถูกสั่งปิดสื่อ สั่งห้ามพูด ห้ามทำ เป็นเรื่องที่พวกเขาไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกในยุคประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น อะไรที่สามารถดึงองค์กรสื่อออกมาเป็นองค์กรอิสระ หรือเป็นองค์กรธุรกิจที่เข้มแข็งได้ โดยไม่มีอำนาจรัฐอยู่เหนือขึ้นไป พวกเขายอมทำทั้งนั้น ท่านจึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมวิทยุเอกชนแห่งชาติ หรือ PRSSNI (Indonesian Private National Broadcasting Radio Association)

 

02.jpg
คนในวงการสื่อให้การเคารพอยู่เสมอ การบรรยาย หรือเป็นที่ปรึกษาของแวดวงสื่อจึงเป็นงานสำคัญอีกงานหนึ่ง


นอกจากนี้ ท่านสามารถรวมสื่อวิทยุเอกชนในจังหวัดชวาตะวันออกได้จำนวนมากถึง 140 สถานี ชื่อแปลเป็นไทยๆ ว่า สมาคมวิทยุเอกชน จังหวัดชวาตะวันออก ประกอบด้วย เมืองสุราบายา เมืองจอมบัง เมืองมารัง นับว่าเป็นสมาคมวิทยุเอกชนที่เข้มแข็งแห่งหนึ่ง ที่ไม่เพียงแต่สะสมกำไรเท่านั้น ทุกปีสมาชิกของสมาคมจะมาประชุมประจำปีเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน จะต้องมีรายการเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนกี่นาที มีรายการบันเทิงกี่นาที มีการโฆษณากี่นาที โดยไม่ต้องให้สาธารณะต่อว่าต่อขานก่อนแล้วจึงมาปรับเปลี่ยนแก้ไข นอกจากนี้แล้ว สมาชิกของสมาคมวิทยุเอกชน จังหวัดชวาตะวันออกยังต้องแบ่งบันผลกำไร 5% เข้าสู่สมาคม เพื่อนำเงินเหล่านั้นไปทำประโยชน์และพัฒนาสมาคม รวมไปถึงพัฒนาบุคลากรต่อไป กองทุนดังกล่าวประธานสมาคมไม่เปิดเผยตัวเลข แต่บอกกับผู้เขียนว่า ครั้งหนึ่ง พวกเขาเช่าเหมาลำเครื่องบินให้สมาชิกไปประชุมกับกลุ่มวิทยุโทรทัศน์ระดับกลุ่มประเทศเอเชียที่สิงคโปร์มาแล้ว และไม่ใช่ปีเดียว ทำเป็นประจำเกือบทุกปีหากมีการประชุมระดับนานาชาติเช่นนี้

03.jpg
ซานอลกับสมาชิกวิทยุชุมชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองจอมบัง

อีกงานที่หนักหนาไม่แพ้กัน คือ งานด้านวิทยุชุมชน ท่านศึกษาจากประเทศต้นแบบหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และประเทศที่แยกตัวออกจากประเทศรัสเซีย เพราะประเทศเหล่านั้นใช้สื่อ (ทางเลือก) เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประกาศอิสรภาพ ความจริงแล้ววิทยุชุมชนที่อินโดนีเซียเริ่มเติบโต โดยภาคประชาชนและเอ็นจีโอ ที่อินโดนีเซียมีกลุ่มสื่อทางเลือกประเภทต่างๆ รวมไปถึงวิทยุชุมชนที่เข้มแข็งมาก เพราะความกดดันหลายอย่าง ทำให้ภาคประชาชนของอินโดนีเซียเข้มแข็ง

ท่านเข้าไปเกี่ยวพันกับการทำงานเพื่อสื่อวิทยุชุมชนก็เนื่องจากประสบการณ์ความเป็นสื่อและเป็นหนึ่งในผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อ เป็นนักค้นคว้าหาความรู้ รู้จักเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่นและนำมาปรับใช้ จึงได้รับความเชื่อใจจากชุมชน ในการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางการทำงานด้านสื่อชุมชนกับกลุ่มคนในชุมชน เมื่อสองปีที่แล้ว วิทยุชุมชนเกิดขึ้นทั่วประเทศอินโดนีเซีย ท่านจึงเดินสายประชุมร่วมกับสื่อวิทยุชุมชนโดยไม่เหน็ดเหนื่อย

แท้จริงแล้ว หลังสิ้นยุคซูฮาร์โต สื่อในอินโดนีเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว และแบ่งเป็นหลายสาย หลากกลุ่มแนวคิด มีทั้งแบบทุนนิยมจ๋าอย่างกลุ่ม Java post group แบบแนวเสรี อย่าง kompas group แบบ tradition อย่าง waspada แบบท้องถิ่นนิยมอย่าง Kedaulatan Rakyat แบบไม่ขวาแต่ไม่เชิงซ้ายอย่าง Tempo group แบบแนวอิงศาสนาอิสลามเป็นหลักก็มีหลายกลุ่มซึ่งผู้เขียนจำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไรบ้าง แต่มีสื่ออิงศาสนาอยู่มากในอินโดนีเซีย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความหลากกรุ๊ป หลายแนวทั้งหลายเหล่านี้ ต่างเปล่งเสียงเดียวกันว่า “ไม่เอารถถังและปืน” ไม่เด็ดขาดที่จะอยู่ภายใต้เผด็จการไม่ว่าจะเป็น เผด็จการทหารหรือเผด็จการในรูปแบบอื่นๆ (เช่น ทักษิโณมิก)

04.jpg
ป๊าซานอลผู้ชี้แนะแนวทางและเปิดหูเปิดตาเรื่องสื่ออินโดนีเซียให้แก่ผู้เขียน

ผู้เขียนเรียนรู้เรื่องสื่อของอินโดนีเซียได้ เพราะได้รับการช่วยเหลือจากท่าน ขอไว้อาลัยยิ่งต่อการจากไปของสื่อมวลชนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอินโดนีเซีย ผู้อาวุโสที่ใจดี ใจกว้าง ฉลาดลุ่มลึก อ่อนโยน และมีเมตตาต่อผู้เขียน ที่เป็นสื่อท้องถิ่นจากเมืองไทย ซึ่งท่านได้เปิดหูเปิดตากว้างแก่ผู้เขียนอย่างยิ่ง ขอไว้อาลัยอย่างสุดซึ้ง .....ในวันที่ท่านกลับไปสู่อ้อมอกของพระเจ้า

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ป๊ะซานอล ผู้สื่อข่าวอาวุโสในแวดวงสื่ออินโดนีเซีย ผู้เอื้ออารีต่อลูกหลานร่วมอาชีพ แม้ไม่ใช่คนในภาษาและสัญชาติเดียวกัน แต่ก็ให้ความช่วยเหลือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียน แถมยังเอ็นดูเลี้ยงดูปูเสื่อผู้เขียนและเอื้ออาทรไปถึงเพื่อนร่วมทุนของผู้เขียนด้วย แต่วันนี้แวดวงสื่ออินโดไม่มีท่านเสียแล้ว แต่ทุกคนก็ยังจำคุณูปการที่ท่านทำไว้ให้กับวงการสื่อ ในวันนั้น จากตัวเมืองมารัง ท่านนำเราไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งเพื่อดูงานวิทยุชุมชนของหมู่บ้าน เพราะหลัง 1998 ภาคประชาชนเติบโตและเคลื่อนไหวสูงในอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งกลุ่มสื่อภาคประชาชนขึ้นทั่วภูมิภาค วิทยุชุมชนก็เป็นหนึ่งในนั้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เพื่อนสาวชาวมาเลย์ชื่นชมและคลั่งไคล้ในตัวกวีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นฮีโร่ของเธอเลยทีเดียว ถึงกับนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อลูกชายคนโต ผู้เขียนคาดเดาว่า กวีผู้นี้คงมีอิทธิพลทางด้านวิถีชีวิตที่อิสระเสรี ผู้เชื่อในสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ ที่ใฝ่หาเสรีภาพ และคงมีอิทธิพลครอบงำเพื่อนสาวไม่น้อย เพราะเธอแม้จะเป็นมุสลิม แต่แหกกฎหลายอย่างที่หญิงชาวมุสลิมถูกกำหนดให้กระทำ แม้กระทั่งเรื่องหัวใจ ที่เธอปล่อยให้มันอิสระเสรีอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งอยากจะเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้คือ Chairil Anwar เขาถูกจำกัดความว่าเป็นกวีที่ใช้คำได้สวยงาม แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างรุนแรงกับผู้อ่าน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว…