Skip to main content
 

เป็นการพังทลายลงของสถาบันตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคการเมืองซีกรัฐบาลรวดเดียว 3 พรรค อย่างรวบรัดตัดความ เร่งร้อนลนลานและผิด ๆ ถูก ๆ


นักวิชาการผู้เคารพในหลักการ และคอการเมืองทั้งหลายพากันวิพากษ์วิจารณ์กันขรมถึงสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลงไป เริ่มตั้งแต่ประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตุลาการผู้เอาตัวรอดด้วยการท่องคาถาคุณธรรม จริยธรรม เป็นนิจสิน อย่างนายจรัล ภักดีธนากุล ไปจนถึงการย้ายสถานที่พิจารณาตัดสินคดีอย่างปุบปับ รวมไปถึงการนำทหารป่าหวายเข้ามาอารักขาตุลาการ แทนที่จะหยุดยั้งเหล่ามารพันธมิตร


บางคนต่อรองไว้ว่าร้อยนึงเอาบาทเดียว ทายว่าพรรคการเมืองจะต้องโดนยุบแน่ ๆ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นซึ่งผลก็ออกมาดังที่รู้กัน


ก่อนหน้าการตัดสินยุบพรรค คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ได้เสนออย่างแหลมคมให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อตั้งรัฐบาลใหม่หากมีการยุบพรรคเกิดขึ้นก็จะไม่กระทบกระเทือนต่อรัฐบาลมากนัก อย่างไรก็ตาม การแก้เกมในแบบของคุณจาตุรนต์ ฉายแสงก็ไม่ได้รับการขานรับ


ผมลองคิดเล่น ๆ หลังการตัดสินยุบพรรคของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า อยากให้พรรคซีกรัฐบาลเมินเฉยต่อคำตัดสิน ไม่ต้องสนใจต่อคำพิพากษายุบพรรค ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยยกเอาความไม่ชอบธรรมต่างๆ ในการพิจารณาคดีตั้งแต่คุณสมบัติของตุลาการ การรวบรัดข้ามขั้นตอน การย้ายสถานที่อย่างปุบปับ ความผิดพลาดของคำวินิจฉัยในขณะที่อ่านจนต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนอันแสดงให้เห็นถึงความไม่รอบคอบ ตลอดจนยกเอากรณีต่าง ๆ ของลัทธิพันธมิตร ฯ ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลมาเทียบเคียง ฯลฯ


เพราะอย่างไรเสียในทางหลักการตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่มุมต่าง ๆ พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็ไม่ยอมรับนับถือตุลาการ และคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว


ถึงวินาทีนี้ ผมคิดว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกลัวศาลหรือต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลอีกต่อไปเพราะครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นกลาง การเลือกปฏิบัติ การแสดงออกซึ่งความเป็นปรปักษ์ การไม่ยึดหลักการ การรับใช้ฝ่ายการเมืองอย่างออกนอกหน้า


การขัดขืนต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะช่วยให้เกิดการทบทวนกระบวนการยุติธรรมเสียใหม่ ว่าที่จริงศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่น่านับถือมาแต่ต้นเพราะแต่งตั้งตามอำเภอใจจากคณะรัฐประหาร ดังนั้นจะเป็นไรไปถ้ารัฐบาล นักการเมืองจะเพิกเฉยต่อคำวินิจฉัยของตุลาการ น่าเสียดายที่พรรคการเมืองซีกรัฐบาลไม่ลอง "ขัดขืน" อย่างมีอารยะต่อการ "ข่มขืน" ด้วยคำตัดสินของบรรดาตุลาการ


อย่างไรก็ตาม ในสายตาประชาชนอย่างน้อยก็คนเสื้อแดง ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่มีเหลือแล้ว ผมเชื่อว่าหากตุลาการอย่างนายจรัล ภักดีธนากุล เกิดพลัดหลงเดินเข้าไปในซอยใดซอยหนึ่งที่ไม่คุ้นเคยและมีคนเสื้อแดงจำได้ นายจรัล ภักดีธนากุลจะโดนสหบาทาโดยไม่ต้องสงสัย แบบเดียวกับที่นักศึกษาหัวก้าวหน้ามีอารมณ์โมโหเมื่อเห็นอธิการบดีปากถือศีลอย่างนายสุรพล นิติไกรพจน์ หรือเห็นนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ข้าช่วงใช้เผด็จการ เดินลอยหน้าลอยตาผ่านไป


ประชาชนต้องจัดการกับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบไม่ได้ ไม่มีพลังอะไรอีกแล้วที่จะจัดการกับองค์กรอิสระอย่างกกต. กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญได้นอกจากพลังของประชาชนเท่านั้น จะไปหวังพึ่งเทวดา พึ่งฟ้า พึ่งฝนก็คงไม่ได้เพราะเทวดาฟ้าฝนนั้นเป็นสิ่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ที่สำคัญคือไม่มีเหตุมีผลเอาเสียเลย


ก็ในเมื่อศาลไม่น่าเคารพ เราก็ไม่จำเป็นต้องเคารพ ทำไมนักการเมืองและประชาชนเป็นหมื่นเป็นล้านต้องยอมรับชะตากรรมอันอยุติธรรมจากการตัดสินของคนไม่กี่คน ทำไมเราต้องเชื่อฟังคำวินิจฉัยของคนที่ไม่น่ายอมรับนับถือด้วยเล่า


นอกจากจะจัดการกับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบไม่ได้แล้ว พลังประชาชนต้องหาทางลดทอนอำนาจของสถาบันตุลาการลงหรือกันออกไปจากการเมืองให้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมาชัดเจนแล้วว่าสถาบันตุลาการนั้นนอกจากจะไม่ยึดโยงกับเสียงของประชาชนแล้ว ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นนิติรัฐ ปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยด้วย


กองทัพก็เป็นสถาบันหนึ่งที่แตะต้องไม่ได้ อำนาจของกองทัพนั้นแปรผกผันกับความก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตย ต้องช่วยกันหาทางลดบทบาทอำนาจของกองทัพลงให้ได้เช่นกัน


แม้ว่าประชาชนเสื้อแดงจะไม่รุนแรงก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมอันธพาลแบบพวกก่อการร้ายพันธมิตร แต่ในระยะยาวแล้ว ประชาชนเสื้อแดงนี่แหละที่จะเป็นผู้ชนะ พระเอกอาจต้องยอมเจ็บหรือกลืนเลือดบ้าง นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของการเป็นพระเอก รวมถึงการที่พระเอกจำยอมให้นางอิจฉาได้จัดตั้งรัฐบาลบ้าง เพื่อที่ว่านางอิจฉาจะได้ไม่ต้องตามอาฆาตมาดร้ายพระเอกไปตลอดชีวิต แต่เชื่อว่าเถิดว่านางอิจฉาต้องตายเพราะแรงอิจฉาและความต่ำช้าตนเอง และพระเอกก็คือพระเอกอยู่วันยังค่ำ


อาจท้อแท้ผิดหวังกระทั่งเจ็บปวดกันบ้าง แต่พลังประชาชนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องก้าวต่อไป ไม่มีก้าวซ้าย ก้าวขวา นอกจากก้าวไปข้างหน้าเท่านั้น ก้าวไปข้างหน้าเท่านั้นเอง.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…