Skip to main content
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้น

ผมได้ฟังแล้วงง มันมี
"เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ?
แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร


หากนายปริญญา เห็นว่า
"คนเสื้อแดงแท้ๆ" คือคนที่สู้เพื่อทักษิณ ถูกทักษิณใช้เป็นเครื่องมือ  ส่วนคนที่สู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่คนเสื้อแดงแท้  นายปริญญาก็ควรจะโดดลงแม่น้ำเจ้าพระยาฆ่าตัวตายหน้ามหาวิทยาลัย เพราะจนถึงป่านนี้นายปริญญาและนักวิชาการอีกหลายคนยังไม่เข้าใจการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนแม้แต่น้อย

นายปริญญา ก็เหมือนกับสื่อกระแสหลักที่ยังคงเห็นว่าการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นไปเพื่อช่วยเหลือทักษิณ ทั้งที่การต่อสู้ได้ถูกยกระดับขึ้นไปไกลกว่านั้นมากแล้ว ผมเคยเขียนไปครั้งหนึ่งแล้วว่าแม้แต่คนที่ไม่ชอบอดีตนายกฯ ทักษิณ อย่างเช่น อ.ใจ  อึ๊งภากรณ์ หรือ จรัล  ดิษฐาอภิชัยก็เป็นส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดงหรือแม้กระทั่งกลุ่มชาวนาซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 6 เมษา ที่ผ่านมา และจัดตั้งองค์กรเคลื่อนไหวมานานแล้วก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อแดงเช่นเดียวกัน โดยไม่เกี่ยวอะไรกับทักษิณ  

เป้าหมายของคนเสื้อแดงไปไกลกว่าเรื่องทักษิณมากแล้ว แต่นักวิชาการอย่างนายปริญญายังคงยึดแนววิเคราะห์อย่างเดิม แนววิเคราะห์เดิม ๆ ที่สะท้อนนัยของการดูหมิ่น ดูแคลนชาวบ้านต่างจังหวัดที่เป็นพวก
"เสื้อแดงแท้ ๆ" ถูกทักษิณ ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของทักษิณเอง

การวิเคราะห์ในแนวนี้ มองชาวบ้านอย่างไม่บริสุทธิ์ใจ เห็นว่าการเคลื่อนไหวของชาวบ้านที่เป็นพวก
"เสื้อแดงแท้ ๆ" นั้นมีเป้าหมายแคบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอุดมการณ์ ยอมทำทุกอย่างเพื่อคน ๆ เดียว  

อยากแนะนำนักวิชาการแบบนายปริญญา ว่าอย่ามัวแต่ออกรายการโทรทัศน์มากนัก ลองเดินไปที่ทำเนียบและนั่งคุยกับคนเสื้อแดงดูสัก 5 คน จะได้รู้ข้อเท็จจริงและความปรารถนาของผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นอย่างไร

แน่นอนที่มีคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยรักทักษิณ   แต่ทำไมจะรักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้
?

นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอีกราย เคยเขียนว่า  
"ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552)

นี่ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงของนิธิ สะท้อนให้เห็นว่านิธิไม่ได้เข้าใจชาวบ้านเลยจริงแม้ว่าเขาจะพร่ำบ่นและเขียนคอลัมน์เรื่องชาวบ้านมาเป็นทศวรรษแล้วก็ตาม

หากนิธิ เลิกหมกมุ่นกับสิ่งที่หมกมุ่นอยู่ แล้วลองเดินเข้าไปในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงและถามว่าชาวบ้านสัก 5 คน ว่ารักทักษิณไหม
? รักประชาธิปไตยไหม ?

เชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วจะตอบว่ารักทักษิณและรักประชาธิปไตย ในทัศนะของชาวบ้าน การรักทักษิณและรักประชาธิปไตยไปพร้อม ๆ กันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แล้วเราจะกล่าวหาว่าชาวบ้านเหล่านี้โง่มั้ย
?

ผมอยากจะบอกว่าทักษิณนี่แหละเป็นสัญลักษณ์ของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ก็แล้วเราจะหาใครเป็นตัวแทนการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้ดีไปกว่าทักษิณเล่า
? อภิสิทธิ์เหรอ? พลเอกเปรม เหรอ ? ฉะนั้นการรักทักษิณและรักประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่โคตรจะเข้ากันเลย   

กลับมาที่เรื่องคนเสื้อแดง ผมเคยเขียนไปแล้วว่าคนเสื้อแดงมีหลายเฉด ทั้งแดงอ่อน แดงเข้ม แต่ทุกคนล้วนเป็นคนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตย ในเมื่อประชาธิปไตยในความคาดหวังคือระบอบที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมก็แล้วทำไมจะไม่รักล่ะ
?

การพยายามแยก
"แดงแท้" กับ "แดงไม่แท้" ของนายปริญญา หนึ่งในนักวิชาการที่เห็นด้วยกับมาตรา 7 คือการพยายามบั่นทอนความชอบธรรมของขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง เป็นการลดทอนน้ำหนักความน่าเชื่อถือของคนเสื้อแดงลง และเป็นการแยกเรื่องของทักษิณในฐานะเรื่องส่วนออกจากประชาธิปไตยของส่วนรวม
คำถามบั่นทอนที่คนเสื้อแดงพบเจออยู่เสมอคือคนเสื้อแดงกำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือเพื่อทักษิณ
?

ถ้าถามด้วยความบริสุทธิ์ใจ คำถามประเภทนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจผิดอะไรอยู่มาก และไร้เดียงสาอย่างยิ่ง

ผมอยากจะบอกให้ทราบว่าทักษิณต่างหากที่กำลังต่อสู้เพื่อคนเสื้อแดง ทักษิณต่างหากที่ถูกคนเสื้อแดงใช้เป็นเครื่องมือ เครื่องมือในการทะลุทะลวงฝ่ายอำมาตย์ เครื่องมือในการตอบโต้กับอำนาจนอกระบบอย่างคู่คี่สูสี ถ้าไม่มีทักษิณ การต่อสู้ของคนเสื้อแดงจะก้าวหน้าถึงขนาดซัดองคมตรีอย่างไม่เกรงกลัวได้อย่างไรถ้าไม่มีทักษิณเป็นหอกนำ

นักวิชาการที่ดัดจริตและสื่อมวลชนกระแสหลักที่นิยมชมชอบศักดินา ไม่มีทางประเมินการชุมนุมของคนเสื้อแดงได้อย่างเป็นจริงเลย หากยังหมกมุ่นกับการวิเคราะห์ว่าเสื้อแดงเป็นเครื่องมือของทักษิณ   เพราะว่าถึงที่สุดแล้วไม่มีใครสู้เพื่อคนอื่น ทุกคนต่างสู้เพื่อตัวเองทั้งนั้น  คนเสื้อแดงก็เช่นเดียวกัน.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…