Skip to main content

-1-

เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  

เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน อำนาจและอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร หรือที่เรียกกันง่าย ๆ จนติดปากว่า “อำนาจเก่า”

อันที่จริง คำว่า “อำนาจเก่า” น่าจะใช้เรียกอำนาจและอิทธิพลอัน “เก่า” และ” แก่” กว่าในสมัยของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะว่าไปแล้วไม่ได้เก่าอะไรเลย อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเก่ากว่าด้วยซ้ำ  

คำว่า “อำนาจเก่า” น่าจะหมายถึงอำนาจและอิทธิพลที่ ควบคุม ปกครองประเทศไทยมายาวนานหลายร้อยปี เป็นอำนาจที่เข้มข้น ทรงพลังกว่าอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ   ชินวัตร อย่างเทียบกันไม่ติด

จะว่าไปแล้ว อำนาจและอิทธิพลที่ประหารรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และทำให้อดีตนายกฯ ผู้นี้ต้องอยู่ต่างประเทศอย่างไม่มีกำหนดกลับนั้นก็คือ “อำนาจเก่า” นั่นเองหรืออย่างน้อยก็เป็นการ “อ้างอิง” ความชอบธรรมจาก “อำนาจเก่า” ไม่ว่าอำนาจเก่าจะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ตาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “อำนาจเก่า” มีส่วนไม่มากก็น้อยต่อการทำลายรัฐบาลของอดีตนายก ฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งนับวันจะถูกทำให้กลายเป็น “ตำนาน” เช่นเดียวกับ “ผู้อภิวัฒน์” ปรีดี  พนมยงค์ ได้เป็นมาแล้ว

หากจะแปลความหมายหรือตีความกันจริง ๆ แล้วคำว่า “อำนาจเก่า” จึงไม่ควรจะเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลชุดที่แล้วหรืออำนาจและอิทธิพลของอดีตนายกฯ  ทักษิณ ชินวัตร แต่มันควรหมายถึงอะไรที่ “เก่าและแก่กว่านั้น” ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วทำให้อำนาจและอิทธิพลของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็น “อำนาจใหม่” ไปทันที

“อำนาจใหม่” ย่อมเป็นปัญหาสำหรับ “อำนาจเก่า” ในทางกลับกัน “อำนาจเก่า” ก็เป็นปัญหาสำหรับ “อำนาจใหม่” ด้วยเหมือนกัน หากไม่มีทางรอมชอม ประนีประนอมหรือต่อรองกันได้ สถานการณ์ความตึงเครียด ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้น และอาจนำไปสู่การเลือกข้างกระทั่งแตกหักกันในที่สุด

-2-

คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีที่มาจากอำนาจรัฐประหาร และรัฐประหารซึ่งอ้างอิงตัวเองกับ “อำนาจเก่า” เป็นตัวปัญหาสำคัญที่ขัดขวางประชาธิปไตย เพราะเป้าหมายขององค์กรนี้แยกไม่ออกจากเป้าหมายของผู้ให้กำเนิด (คมช.) ที่ต้องการกวาดล้างอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายกฯ  ทักษิณ  ชินวัตร

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกจนเกินเข้าใจหากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งน่าจะทำให้ประชาธิปไตยว่าด้วยการเลือกตั้งราบรื่นนั้น กลับเป็นตัวที่ก่อปัญหาเสียเองหลายครั้งหลายครา มากเสียยิ่งกว่าอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์คับแคบแบบคนที่จมอยู่กับตัวบทกฏหมาย แต่ไม่รู้จักสังคมอย่างรอบด้าน เช่นเรื่องของข้อบังคับในเรื่องการหาเสียงของพรรคการเมือง การจัดการกับอดีตกรรมการ 111 คนแห่งพรรคไทยรักไทย  ตลอดจนความพยายามที่  “อุ้ม”  คมช. ในเรื่องของเอกสารลับ

การพยายามทำลายล้างอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายก ฯ พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร ด้วย “กุศโลบาย” ต่าง ๆ นั้น ทำให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือ “ส่วนรวม” ต้องพลอยรับความเดือดร้อนไปด้วยอย่างไม่จำเป็น

มีบางคนเปรียบเทียบเหตุการณ์โค่นอำนาจ และความพยายามในเวลาต่อมาในการกำจัดอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายก ฯ ว่าเป็นเหมือน  ”การเผาป่าทั้งป่าเพื่อจับเสือตัวเดียว” หรือการ “ทำลายบ้านทั้งหลังเพื่อกำจัดปลวก” หรือ “เหมือนการไล่จับหนูใน การ์ตูน ทอมและเจอร์รี่” ที่ข้าวของในบ้านต้องแตกหักกระจัดกระจายเพราะการวิ่งไล่กันของสัตว์สองตัว

ราคาที่ต้องจ่ายในการไล่ล่าทำลายอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรนั้นคือความถดถอยของประเทศในทุกด้าน “ประชาชน” ซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ถูกดึงเข้าไปร่วมด้วย “ประชาชนเขาขอให้ผมปฏิวัติ”

นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ยังมี “ลูก ๆ” อีกหลายตัวที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ผ่องถ่ายอำนาจไปให้เพื่อจัดการกับอำนาจและอิทธิพลของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่โดดเด่นก็เห็นจะเป็น “คตส.” ซึ่งนับวันจะกลายเป็นตัวตลกเพราะหมกมุ่นกับการจับผิดคนอื่นโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่ดูตัวเองว่า “ด่างพร้อยด้วยรอยตำหนิ”  ไม่น้อยกว่าคนอื่นเลย

ขอชื่นชมนักต่อสู้อย่าง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง และคนอื่น ๆ อีกหลายคน  ในความกล้าหาญและการเป็นนักต่อสู้ที่วิจารณ์คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา แต่มากไปกว่าการวิจารณ์ ทางที่ดีควรจะขับไล่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ไปให้พ้น ไม่ควรจะปล่อยให้สร้างเวร สร้างกรรมอีกต่อไป เพราะ “งาช้างไม่อาจงอกจากปากกระบอกปืน” ได้ฉันใด  “สันดานรัฐประหาร(โจร)ไม่อาจก่อกำเนิดอุดมการณ์ประชาธิปไตย” ได้ฉันนั้น.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…