Skip to main content

ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?

\\/--break--\>
เหตุที่นึกถึงสงครามกลางเมืองนั้นไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกฮาร์ดคอร์หรือนิยมชมชอบความรุนแรง เพียงแต่เห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วที่จะ ”เคลียร์” ปัญหาที่คาราคาซัง ความคับข้องหมองใจที่สะสมอยู่ในอก ความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฏหมายกระทั่งภาวะไม่มีขื่อมีแปให้หมดสิ้นไปได้


หลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 เป็นที่ปรากฏชัดว่าความอยุติธรรมในแบบที่เปิดเผยโจ่งแจ้งเกิดขึ้นในทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล เช่นโทษภัยที่เกิดขึ้นกับ นวมทอง ไพรวัลย์, ดา ตอร์ปิโด, สุวิชา ท่าค้อ สุชาติ นาคบางไทร ฯลฯ ตลอดจนระดับสถาบันหรือองค์กรทางสังคมการเมืองที่เลือกข้างให้คุณให้โทษอย่างชัดเจน เช่น ปปช. หรือกกต. ที่คลอดออกมาจากมดลูกคมช. โดยผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่อาจตอบโต้หรือทำอะไรได้เลย


ไม่มีมนุษย์หน้าไหนที่จะอดทนกับการถูกขืนใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า, สิทธิของประชาชนถูกเพิกถอนโดยการยุบพรรคการเมืองที่สังกัด การบังคับใช้กฏหมายอย่างเอาเป็นเอาตายกับคนบางกลุ่ม แต่ละเว้นพวกเดียวกันอย่างหน้าด้าน ๆ โหมกระหน่ำด้วยการโกหกและโฆษณาชวนเชื่อไม่เว้นแต่ละวันผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อของรัฐอย่างช่องหอยม่วงซึ่งคอยแต่ให้ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดงราวกับเป็นพลเมืองชั้นสอง ฯลฯ เหล่านี้ล้วนสะสมเป็นความคับแค้นที่รอวันระเบิดออก และการระเบิดออกก็มีเพียงผลลัพธ์เดียว


ในขณะเดียวกันเราคงต้องยอมรับว่าไม่มีหลักการสูงสุด หรือเทพเจ้าหน้าไหนให้คนทุกฝ่ายยึดถือร่วมกันได้อีกแล้ว มันจบสิ้นแล้วสำหรับเทววิทยาทางการเมืองแบบเก่า ผู้คนตาสว่างรู้เช่นเห็นชาติ เลิกกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จอมปลอมแต่หันไปหาอะไรก็ตามที่บันดาลให้ชีวิตดีขึ้นได้จริง ๆ


หลักการสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ขาดความศักดิ์สิทธิมาแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะร่างด้วยทหารหรือร่างด้วยนักวิชาการ ดังนั้นจึงถูกล้มล้างเสียได้ง่าย ๆ ส่วนผู้หลักผู้ใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่น่าสงสัยระแวง หาความเชื่อถืออันใดไม่ได้ทั้งสิ้น รายชื่ออย่าง ส.ศิวรักษ์, ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก นั้นต้องส่ายหัวด้วยความหน่ายใจ


นอกจากนั้นแล้ว ประสบการณ์ที่ผ่านมาก็บอกให้รู้ว่าไม่มีทางพูดดี ๆ กับเหล่าอำมาตย์หรือพวกผู้ดีลิ้นสองแฉกได้ หลายคนโดนมาแล้ว บางคนไม่เข็ดหลาบ บางคนหวังลม ๆ แล้ง ๆ ที่จริงแล้วพวกอำมาตย์นั้นเหี้ยมโหด ไม่ต่อรอง เอาแต่ได้ และดูแคลนผู้อื่น


หลายคนบอกว่าความแตกต่างขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา ต้องแก้ปัญหาด้วยหนทางแห่งสันติ


แน่นอนว่าความแตกต่างขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความแตกต่างขัดแย้งที่เป็นมาหลังการยึดอำนาจ 19 กันยา 49 นั้นไม่อาจเรียกว่าธรรมดาได้เลย การเลือกปฏิบัติ การเลือกข้าง ไม่เห็นหัวประชาชน การใส่ไคล้ ไม่อาจจะเรียกว่าธรรมดาได้


ส่วนสันติวิธีนั้นเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าใช้ไม่ได้สำหรับสถานการณ์ในสังคมไทยซึ่งไร้หลักการ ไร้มาตรฐานและมีความเป็นชนชั้นที่อำพรางซ่อนรูปไว้ สันติวิธีซึ่งต้องอดทนและทอดเวลาออกไปนานไม่รู้จบนั้นเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐหรือฝ่ายที่ได้เปรียบเท่านั้น


สันติวิธีไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่จะรักษาได้ทุกโรค หากแต่ใช้ได้ในบางเรื่อง บางสถานการณ์เท่านั้น หลายปีที่ผ่านมาการชุมนุมของคนเสื้อแดงอย่าง “สันติวิธี” แทบไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่อย่างใดเพราะไม่ส่งผลอะไรต่อกลไกทางการเมือง ตรงกันข้าม การใช้ความรุนแรง มีกองกำลังติดอาวุธแบบพันธมิตร สร้างปัญหาให้คนอื่นเดือดร้อนอย่างการปิดสนามบินของพันธมิตรกลับได้รับการสนองตอบอย่างรวดเร็วทันใจ


ว่าที่จริงสันติวิธีนั้นเป็นเรื่องของคนชั้นกลางที่กลัวการตายโหง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคนเพราะกลัวกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ดังนั้นเราจึงได้ยินอยู่เสมอถึงคำขู่ที่ว่าจะเกิดการ “นองเลือด” ขึ้นหากไม่ทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างนี้ เราจึงต้องผ่านเรื่องของสันติวิธีเพื่อที่จะหาหนทางใหม่ในการเปลี่ยนแปลง


ในสภาวะเช่นนี้ หนทางแห่งความรุนแรงเป็นทางเดียวเท่านั้นที่เหลืออยู่ ความรุนแรงเท่านั้นที่จะถอนรากถอนโคนเหล่าอำมาตย์และทำให้ทุกอย่างกลับมาเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์ที่รู้ร้อนรู้หนาวได้


ระบอบประชาธิปไตยมีราคาที่ต้องจ่าย ยิ่งอยากได้มาเร็วก็ยิ่งต้องจ่ายมาก ของดีล้วนแล้วแต่มีราคาแพง แม้ไม่ปรารถนาแต่สงครามกลางเมืองเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าไม่ชนะ ก็คิดเสียว่าตายเสียดีกว่าอยู่.

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…