Skip to main content

ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร

เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า

“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ภายใต้สภาวการณ์ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ คือภายใต้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ) มาอย่างน้อยสามเรื่องแล้ว คุณอภิสิทธิ์เสนอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเสีย เมื่อจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม,คุณอภิสิทธิ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงและสัญญาว่าจะแก้ไขเมื่อได้เป็นรัฐบาล และไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับ กกต.ที่แนะนำมิให้นักการเมืองใช้ 111 อดีตผู้บริหาร ทรท.เป็นสื่อในการหาเสียง”

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ เชื่อจริงๆ หรือว่า ทั้งสามเรื่องข้างต้นอันเป็นการแสดงถึง ความสง่างามและความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นิธิ  เอียวศรีวงศ์ไม่ถามตัวเองเลยหรือว่าทั้งสามเรื่องข้างต้นนั้นเป็น “ความตั้งใจ” ของอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จริง ๆ  หรือเป็นแค่โวหารประชาธิปไตยเพื่อเรียกคะแนนชื่นชมเท่านั้น ?  

นอกจากให้สัมภาษณ์ไปตามเรื่องตามราวตามแผนการตลาดแล้ว ที่ผ่าน ๆ มา นิธิ  เอียวศรีวงศ์ เคยเห็นคนอย่างอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เคลื่อนไหวเรียกร้องอะไรเพื่อประชาธิปไตยมาก่อนบ้างหรือไม่ ?

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ลืมไปแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์เคยสร้างผลงานอะไรไว้หรือไม่เคยสร้างผลงานอะไรไว้บ้างในอดีต นิธิ เอียวศรีวงศ์ จำไม่ได้หรือว่า คนอย่างอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นั้นเคยให้การสนับสนุนการยึดอำนาจของทหารจากรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้ง เป็นผู้สนับสนุนมาตรา 7  ที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และสนับสนุนรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นรัฐธรรมนูญบัดซบที่นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ได้คัดค้านอย่างแข็งขัน!

อย่างไม่ปิดบัง นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนบทความชิ้นนี้ออกมาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550  เขาแสดงจุดยืนของเขาออกมาแล้วว่าต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีหรือพรรคใดควรจะเป็นรัฐบาล

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบทความชิ้นนี้ถูกเขียนด้วยรสนิยมทางการเมืองที่แย่เอามาก ๆ และทำลายหลักการอย่างร้ายแรงไม่ต่างอะไรกับที่พรรคประชาธิปัตย์และคมช.กระทำต่อประชาธิปไตย

อันที่จริงการแสดงจุดยืนหรือรสนิยมทางการเมืองของตัวเองออกมาเป็นเรื่องธรรมดา ถือเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ แต่การเชียร์อย่างมืดบอดแบบนี้ของนิธิ  เอียวศรีวงศ์ นับเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจกระทั่งสมควรประณาม และเมื่อคิดว่านิธิ  เอียวศรีวงศ์เป็นนักวิชาการอันดับต้น  ๆ ของประเทศ ที่พูดหรือเขียนมีคนฟังคนอ่านและคนคล้อยตาม เป็นนักวิชาการที่ถูกคาดหวังว่ามีความเป็นกลางหรืออย่างน้อยก็ยึดควรหลักการ ไม่โอนเอียงไปฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่แล้วนิธิ  เอียวศรีวงศ์ ก็แสดงตัวตนออกมาไม่ต่างอะไรจากนักการเมือง

มากไปกว่าการแสดงจุดยืนแบบปัจเจกชนของนิธิ  เอียวศรีวงศ์ การเขียนบทความผ่านสื่อ คือการโน้มน้าวชักจูงใจ(อาจเรียกได้ว่าหลอก)คนอ่าน ตลอดจนศิษยานุศิษย์ของเขาให้คล้อยตามเห็นดีเห็นงามไปกับเขาว่าคุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ มีความเหมาะสมกว่าใครอื่นในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องหิริโอตตัปปะเลยสักนิดเดียว ดังนั้นเขาจึงดั้นด้นเขียนต่อไปว่า

“นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้ความนุ่มนวลก็มีความสำคัญ”

คำกล่าวข้างต้นอาจทำให้ผู้อ่านสำรอกได้เลยทีเดียว เพราะนิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เสกคาถาให้คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ กลายเป็นบุคคลที่ “อาจหาญและมีศักดิ์ศรี” กับ “นุ่มนวลแต่สง่างาม” แบบไม่ต้องคิดมากไปแล้วในพริบตา  

อันที่จริงหากจะมองหาความดีของใครสักคนแล้วนำมายกย่องเทิดทูนนั้น คนทุกคนสามารถที่จะถูกยกย่องได้หมด  เพราะคนทุกคนย่อมมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีในชีวิตปะปนกันไป ไม่เว้นแม้แต่โจร ไม่เว้นแม้แต่คุณทักษิณ  ชินวัตร และคุณอภิทธิ์  เวชชาชีวะ การที่นิธิ  เอียวศรีวงศ์มองเห็นแต่ความดีของอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  และมองเห็นแต่ความไม่ดีของคุณทักษิณ  ชินวัตร นั้นหมายความว่าอย่างไร?

มันคงไม่ได้หมายความว่าอย่างไร นอกจากหมายความว่านิธิ  เอียวศรีวงศ์ ชอบอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็เท่านั้นเอง  แม้ว่าจะต้องเขียนบทความเชียร์ที่เต็มไปด้วยอคติอย่างน่าเกลียด เขาก็ยอมทำ

ในท้ายยบทความ นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ชื่นชมคุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และแขวะคู่แข่งอย่างคุณสมัคร สุนทรเวชไปพร้อมกันว่า

“แม้ว่าการปลดปล่อยการเมืองไทยออกจากระบบราชการ และกองทัพเป็นภารกิจเร่งด่วนและสำคัญสุดยอด แต่เราควรหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดกับกองทัพอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในเหตุการณ์ 14 ตุลาและพฤษภาทมิฬ ทั้งสองครั้งที่ผ่านมาล้วนอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรีที่เป็นคนของกองทัพเอง ซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงการปะทะได้ยากขึ้น ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้ และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่”

ถ้าคุณยังคิดว่านักวิชาการเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และน่าเชื่อถือศรัทธา อ่านบทความของนิธิ  เอียวศรีวงศ์ ชิ้นนี้แล้วคุณจะรู้ว่าความคิด ความเชื่อในเรื่องนี้นั้นไม่ถูกต้องเอาเสียเลย ตรงกันข้ามทีเดียว นักวิชาการเป็นกลุ่มที่สมควรประณามเป็นอันดับต้น ๆ ในบางกรณีนั้นสมควรถูกประณามมากกว่านักการเมืองเสียอีก.

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…