Skip to main content

คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไป

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะว่าไปก็ล้วนแล้วแต่เป็นนโยบายประชานิยมไม่แตกต่างจากนโยบายพรรคไทยรักไทยที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด

พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอเรื่องการศึกษาฟรีในระดับชั้นมัธยมซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้การศึกษาแก่เยาวชนนั้นเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าพรรคไหนได้เป็นรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการตามแนวนโยบายนี้อยู่ดี การนำเสนอเรื่องการศึกษาฟรี 12 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่มีอะไรใหม่และไม่น่าสนใจ

น่าเสียดายที่บรรดาผู้อาสาเป็นผู้แทน ไม่ได้หยิบยกประเด็นทางสังคมขึ้นมานำเสนอเป็น "ทางเลือก" แก่ประชาชน อาทิเช่น ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ผู้หญิง เอดส์ สิทธิผู้บริโภค ชนกลุ่มน้อย เด็กเร่ร่อนหรือปัญหาการระบาดของยาเสพติด

ประเด็นเหล่านี้ถูกปล่อยให้อยู่ในความดูแลตามมีตามเกิดของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่แล้ว หรือองค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ไม่มีกำลังความสามารถเพียงพอต่อปัญหาใหญ่ๆ ที่มีความซับซ้อน

การเกิดสุญญากาศทางการเมืองทำให้ประเด็นทางสังคมถูกละเลยไปจนน่าเป็นห่วง หลายฝ่ายระดมทรัพยากรเพื่อต่อสู้เอาชนะกันทางการเมืองหรือมุ่งสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองโดยไม่ตระหนักว่าความสมานฉันท์จะเกิดไม่ได้ หากสมาชิกในสังคมยังประสบปัญหาการมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่

อันที่จริงก่อนหน้านี้ผมไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญและสภาพปัญหายาเสพติด คิดแต่เพียงว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว แต่หลังจากที่พบ "ตัวอย่าง" มากมายหลาย "ตัวอย่าง" ด้วยกัน ตลอดจนได้คุยกับผู้ปกครองหลายคนของเด็กที่ตกอยู่ในวังวนยาเสพติดกระทั่งได้ประสบพบเจอกับตัวเอง ผมจึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็น "ความจริงของชีวิต" ที่สำคัญอย่างมาก

บริเวณที่ผมอาศัยอยู่นั้นยาเสพติดสามารถหาได้ง่ายมาก    และเด็กวัยรุ่นรู้กันดีว่าจะหามันมาได้อย่างไร แล้วพอได้มาแล้วก็พากันไปรวมตัวกันในทุ่งร้างแห่งหนึ่งซึ่งเหมือนเป็นจุดนัดพบ มิดชิดต่อสายตาสาธารณชนและตำรวจ

บทความที่แล้ว ผมยกตัวอย่างเด็กคนหนึ่งซึ่งมัวเมาจนยากจะถอนตัวจากยาบ้าจนผู้ปกครองประกาศตัดหางปล่อยวัด

เด็กอีกคนที่ผมพบก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน  เด็กคนนี้เริ่มต้นจากบุหรี่เหมือนเด็กคนแรก จากนั้นก็เป็นกัญชาซึ่งราคาไม่แพงนัก ต่อมาก็พัฒนาเป็นยาบ้าซึ่งผมไม่รู้ว่าการเปลี่ยนระดับขั้นจากบุหรี่เป็นกัญชาแล้วเป็นยาบ้านั้น เด็กมีกระบวนการตัดสินใจเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง? อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กบางคนหยุดอยู่ที่การบุหรี่ในขณะที่บางคนไปไกลถึงยาบ้า? ภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร?

หลังจากเชี่ยวชาญเรื่องการเสพแล้วเด็กคนนี้ก็พัฒนากลายเป็น "เด็กเดินของ"  ซึ่งจะได้ทั้งเงินและยาบ้าเป็นค่าตอบแทนแล้วแต่กรณี

จะเห็นได้ว่าเด็กทั้งสองคนที่ผมกล่าวถึงมี "เส้นทาง" คล้ายกันซึ่งไม่แน่ใจว่าเส้นทางนี้จะไปสุดที่ "บ้านเมตตา" หรือที่คุกหรือเด็กจะพัฒนาต่อไปเป็นพ่อค้ารายใหญ่

อย่างไรก็ตาม เด็กคนนี้ไปไกลกว่าเด็กคนแรกตรงที่ว่ามีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจึงมั่วสุมเมามันกันไปทั้งยาเสพติดและผู้หญิงซึ่งก็ได้ผลทันตาเห็น เพราะเด็กผู้หญิงท้องและคลอดลูกออกมาขณะที่ทั้งคู่อายุยังไม่ถึง 15 ปี

ทั้งพ่อและแม่ที่ยังเป็นเด็กเมื่อวานซืนไม่มีปัญญาจะเลี้ยงลูกที่คลอดออกมาโดยไม่ตั้งใจ และก็ไม่มีกะจิตกะใจที่จะเรียนหนังสือได้แต่อยู่ว่าง ๆ ไปวัน ๆ ส่วนลูกที่คลอดออกมานั้นก็ส่งไปให้ญาติฝ่ายหญิงเลี้ยงดู

การมีลูกไม่ได้ทำให้ผู้เป็นพ่อตัดขาดจากยาเสพติด มันแทบไม่เกี่ยวกันเลย "ความเป็นพ่อ" หรือ "ความเป็นแม่"  เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ที่ต้องผ่านการสั่งสมสั่งสอน ต้องค่อย ๆ เรียนรู้จากโลกของผู้ใหญ่ซึ่งเด็กเพียงอายุ 15 ไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ

นี่เป็น "ความจริงของชีวิต" ที่เด็กต้องรับมือในภาวะที่ไม่มีความพร้อมแม้แต่ด้านเดียว เป็นผลพวงจากการใช้ชีวิตเลยเถิด ขาดภูมิต้านทานต่อสิ่งยั่วเย้า และยาเสพติดก็เป็นสิ่งยั่วเย้าที่นอกจากยากจะต้านทานแล้วยังยากที่จะถอนตัวจากมันด้วย.
                                                                       

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…