Skip to main content

ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน


อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง สีหน้าท่าทางของตัวการ์ตูนสื่อความหมายได้อย่างดีหรืออาจโจ่งแจ้งเกินจริงด้วยซ้ำ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวได้โดยแทบไม่ต้องอ่านคำพูดหรือบทสนทนาของตัวการ์ตูนเลยก็ได้ ดังนั้นหนังสือการ์ตูนจึงสามารถเปิดดูผ่าน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถยืนอ่านที่ร้านหนังสือรวดเดียวจบโดยไม่ต้องซื้อให้เปลืองเงิน


แต่การ์ตูนของชัย ราชวัตร ต่างออกไปตรงที่เน้นการใช้ “คำพูด” ในการเล่าเรื่องและเรื่องที่เล่าก็มักเป็นแง่มุมเกี่ยวกับการเมือง หรือข่าวสังคมที่กำลังเป็นกระแสความสนใจบวกกับทัศนคติล้าหลังของตัวเขาเอง


ชัย ราชวัตร ง้างปากตัวการ์ตูนให้พูดในสิ่งที่เขาต้องการซึ่งยอมรับว่าหลายครั้งการ์ตูนของเขาจบลงด้วยการใช้คำพูดหักมุมให้ทึ่งและประหลาดใจจนน่าติดตาม บางครั้งก่อให้เกิดอารมณ์ขันกับความสะใจระคนกัน


ท่านทูตสหรัฐคนที่แล้วก็ยอมรับว่าเขาชอบอ่านการ์ตูนของชัย ราชวัตร เพราะช่วยให้เห็นแง่คิดและทัศนคติทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่ง


อย่างไรก็ตาม การ์ตูนของชัย ราชวัตร ในคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นตอนที่อ่านแล้วหัวเราะไม่ออกเพราะคาดไม่ถึงว่า ชัย ราชวัตร จะสามารถ “หยาบ” ได้ถึงเพียงนี้ แต่อย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นก็คือ ชัย ราชวัตร แสดงความ “หยาบ” ผ่านตัวการ์ตูนหลายครั้งหลายหนแล้ว


ในการ์ตูน ลูกสาวตัวน้อยอยู่ในชุดนักเรียนท่าทางไร้เดียงสา ถามแม่ที่กำลังตากผ้าอยู่ด้วยถ้อยคำที่ดูเหมือนไร้เดียงสาว่า

แม่จ๋า ถ้าหนูเรียนพยาบาล หนูจะได้เป็นรัฐมนตรีคลังไหมคะ”

แม่ตอบว่า

ถ้าแกเรียนพยาบาล แกจะเป็นอะไรก็ได้ แต่แกต้องหาผัวเป็นนักการเมืองให้ได้ก่อน”

(ไทยรัฐ, 14 กุมภาพันธ์, 51)


รู้โดยไม่ต้องวิเคราะห์ว่าบทสนทนาข้างต้นเชื่อมโยงกับการจัดคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช คนที่มีข้อมูลอยู่บ้างก็จะรู้ได้ว่าหนึ่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้คือคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี มีอาชีพเป็นพยาบาลและเป็นภรรยาของคุณไพโรจน์ สุวรรณฉวี ซึ่งเป็นนักการเมือง


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังท่ามกลางคำครหาว่า “ขี้เหร่” แต่ด้วยความที่สามีเป็นนักการเมืองในพรรคเพื่อแผ่นดินและมีอิทธิพลไม่น้อย คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จึงขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ได้


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ว่า

เรื่องนี้ถือเป็นมุมมองของแต่ละคน เพราะต่างคนก็ต่างมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างในต่างประเทศแถบยุโรปถ้าเป็นตำแหน่ง ส.. ก็จะเป็นกันทั้งตระกูล เป็นมรดกตกทอด ดิฉันคิดว่าการที่เรามาอาสาทำงานทางการเมืองโดยที่เรามีความพร้อม ไม่ทราบว่าเป็นที่น่ารังเกียจหรือมันผิดตรงไหน ในเมื่อประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกเราเข้ามาทำงานในตรงนี้แล้วจะทำงานให้ดีที่สุดให้สมกับที่ชาวบ้านเลือกเข้ามา การที่ใครจะมองดิฉันไปในทิศทางใดก็ไม่เป็นไร ขอน้อมรับทั้งหมด”


ไม่ว่าคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จะ “ขี้เหร่” จริงหรือไม่ก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ของ ชัย ราชวัตร ในครั้งนี้ถือว่า “ไม่เข้าท่า” อย่างแรง


ที่เห็นชัดเจนอย่างมากเป็นอันดับแรกก็คือการดูถูกผู้หญิง อันดับต่อมาก็คือการดูถูกอาชีพพยาบาล แฝงด้วยความเหยียดหยันนักการเมืองตามสไตล์ของเขา


ตามเนื้อหาในการ์ตูนของเขา ผู้หญิงที่เป็นพยาบาลจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ก็ด้วยความสามารถในการหาสามีที่เป็นนักการเมือง ไม่ใช่เพราะความขยันขันแข็งในอาชีพพยาบาลของตนเอง!


คุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี พูดถึงอาชีพพยาบาลของตนเองว่า

อาชีพพยาบาลไม่ใช่อาชีพที่น่ารังเกียจ เป็นอาชีพที่สังคมยอมรับ ความจริงแล้วตอนที่เริ่มต้นเรียนพยาบาล คุณแม่ไม่ค่อยสบายและอยากจะให้เรียน จึงตัดสินใจสอบเข้าเรียนพยาบาล เริ่มจากวิทยาลัยพยาบาลกอง ทัพบก รุ่นที่ 10 หลังจากนั้นไปเรียนต่อพยาบาลศาสตร์ มหิดล และเรียนต่อปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหา วิทยาลัยเกริก เริ่มต้นทำงานพยาบาลจริงๆเพียง 3 ปี จากนั้นจะทำงานด้านวิชาการและด้านการบริหารเสียส่วนใหญ่ ไม่ทราบเหมือนกันว่าอาชีพพยาบาลไม่ดีตรงไหน”


ชัย ราชวัตร อาจไม่ตั้งใจ แต่ความไม่ตั้งใจนี่แหละที่สะท้อนให้เห็น “สันดาน” ของเขา สันดานในการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างขาดความรับผิดชอบ ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในฐานะที่เป็นสื่อสารมวลชน


หากมองในแง่ศิลปะ การ์ตูนของ ชัย ราชวัตรก็ล้มเหลว หลายครั้งที่ตัวละครการ์ตูนของเขารู้มากเกินไป บุคลิกลักษณะของตัวละครกับสิ่งที่ตัวละครพูด ไปด้วยกันไม่ได้เลย บางทีอ่านการ์ตูนของเขาแล้วก็นึกถึงการโฆษณาชวนเชื่อของสนธิ ลิ้มทองกุล


อย่าปล่อยให้นักเขียนการ์ตูนแบบนี้ลอยนวล ช่วยกันประณาม เพราะหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ใช่เวทีสำหรับแสดงสันดานหยาบ

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว  ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ  บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ  บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
  หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…