Skip to main content

เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อย

พวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”

“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกัน

สำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง มีสัญลักษณ์เป็น “กระบอง”  ห้อยติดตัวอยู่ตลอดเวลา อำนาจของเขาอยู่ที่ “กระบอง” ที่เอาไว้ “ทุบคนที่น่าสงสัย”

ในขณะที่ “ผู้จัดการ” จัดเป็นพวกคนชั้นกลางหรือสูงก็ได้แล้วแต่ว่าเป็นผู้จัดการบริษัทอะไร หน้าที่การงานของผู้จัดการคือการเป็นผู้บริหาร คอยวางนโยบาย วางแผนว่าทำอย่างไรจึงได้เลื่อนตำแหน่ง และชี้นิ้วสั่งการซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้สมองหรือสติปัญญา

สื่อในเครือผู้จัดการสามารถ “กวาด” เอาบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันได้อย่างไม่เคอะเขิน เครือผู้จัดการจึงสามารถ “เล่นบทอะไรก็ได้” ตั้งแต่ระดับล่างเป็นจนถึงระดับสูง

เมื่อเวลาที่ต้องการสื่อสารกับคนระดับล่างหรือสื่อถึงความหวงแหนรักแผ่นดิน เครือผู้จัดการ ก็จะเล่นบทเป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” แต่จะ “เฝ้าแผ่นดิน” ได้นั้นต้องแสดงให้เห็นเสียก่อนว่ามีบางคนหรือบางกลุ่ม “เป็นภัยต่อแผ่นดิน”  

โดยไม่รอช้า บรรดาสื่อที่มีอยู่ในมือทั้งหมดจึงพากันสร้างข้อกล่าวหาที่ไร้หลักฐาน เป็นต้นว่า “ปฏิญญาฟินแลนด์” อันบัดซบ “ทุบพระพรหมเพื่อเลี่ยงขาลง”  ฯลฯ (เป็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้งในเวลาต่อมาเมื่อผู้คนกลับมามีสติปกติว่า “ข้อกล่าวหาจากยาม” ล้วนเป็นเท็จ)

การใช้เส้นสายกระจายข่าวของเครือผู้จัดการนับว่าได้ผลอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น คนระดับสมาชิกวุฒิสภาและเคยได้รับรางวัลแมกไซไซ อย่างโสภณ  สุภาพงษ์ นำเรื่อง “ปฏิญญาฟินแลนด์” มาขยายขายต่ออย่างเป็นเรื่องเป็นราวโดยไม่เอะใจแม้แต่น้อยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน อันทำให้รางวัลแมกไซไซที่เขาได้รับสูญค่าลงทันที

“ยามเฝ้าแผ่นดิน” ประสบความสำเร็จในการ “ติดป้าย” ให้แก่บางคนหรือบางกลุ่มกลายเป็นพวกไม่หวังดีต่อแผ่นดิน อันทำให้บทบาทของการเป็น “ยาม” โดดเด่นเป็นสง่าขึ้น สอดรับกับการเคลื่อนไหวของผู้จัดการที่หาแนวร่วมโดยเน้นตลาดบน ตลาดของคนดีมีศีลธรรม ทำให้แนวร่วมเครือข่ายของเครือผู้จัดการเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าวัฒนธรรมของ “ยาม” นั้นพึ่งพาพึ่งพิงผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกหรือจากลูกค้า นอกจากเงินเดือนที่ยามได้รับจากบริษัทแล้ว ที่มากไปกว่านั้นคือ “ค่าทิป” ที่อาจจะเป็นกระทิงแดงสักขวด บุหรี่สักซอง เหล้าสักกลม เงินสักร้อยหรือมากกว่านั้น นี่ต่างหากที่เป็น   “รายได้หลัก” ของยาม

ลูกค้าคนไหนที่ไม่ค่อยให้ทิป ยามก็จะไม่ใส่ใจบริการกระทั่งเพิกเฉยต่อหน้าที่ แต่หากลูกค้าคนไหนให้ทิปงามๆ ยามก็จะกุลีกุจอบริการ บางกรณียามแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อพฤติกรรมเสียหายหรือผิดกฎหมายของลูกค้า หรือบางทีก็ยอมพูดโกหกเพื่อปกป้องลูกค้าหรือไปไกลถึงขั้นเสแสร้งเล่นตลกหรือเล่นจำอวดก็ได้    นี่คือวัฒนธรรมของยามที่พบเห็นได้เสมอแม้จะไม่ทุกคนก็ตาม

การเป็นยามได้อะไรมากกว่าเงินเดือน การเป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” จึงน่าจะได้อะไรมากกว่าการได้ ”เฝ้าแผ่นดิน” เฉย ๆ เพราะถ้าไม่ได้อะไรแล้วก็คงไม่มีใครเสนอตัว “อยากเฝ้า”

สำหรับการเล่นเป็น “ผู้จัดการ” นั้นทำท่าว่าจะไปได้ดีแต่สุดท้ายล้มเหลว ได้เป็นเพียงผู้จัดการกำมะลอเป็นเจ้าของโรงน้ำแข็งเล็ก ๆ คอย “ปั้นน้ำเป็นตัว”  กินกันเองในเครือไม่กี่คน

กระนั้นก็ตาม กล่าวได้ว่าความสามารถในการ “ปั้นน้ำเป็นตัว” ทำให้ “ผู้จัดการ” โด่งดังอย่างมากและเกือบจะเป็นผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่ด้วย “โทษลักษณะ” บางอย่างในตัวเองสุดท้ายก็เป็นได้แค่เจ้าของโรงน้ำแข็งเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถขยายให้ใหญ่โต หรือส่งออกน้ำแข็งได้เพราะ “น้ำแข็งละลายระหว่างทาง”

นอกจากการเล่นบทบาทสมมุติเป็น “ยาม” และ” ผู้จัดการ” แล้ว บางครั้งไปไกลถึงขั้นเล่นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางธรรมอีกด้วย สมาชิกในเครือบางรายลงทุนถึงขั้นโกนศีรษะและห่มเหลือง (บวชนั่นแหละ) กล่าวได้ว่านี่เป็นวิธีการสร้างแนวร่วมที่ชาญฉลาดแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนักเพราะ “คนบาปที่ห่มผ้าเหลืองก็ยังเป็นคนบาปอยู่วันยังค่ำ”

นิยายลวงโลกกำลังถูกตีแผ่  การกุข่าวอย่างไม่สำนึกจะกลายเป็นเรื่องขำขันที่ได้รับแต่เสียงหัวเราะเยาะ  การโกหกอย่างไม่ละอายจะส่งผลย้อนกลับทำลายตัวเอง บทเรียนที่ผ่านมาทำให้ผู้คนฉลาดขึ้น อย่างน้อยก็ฉลาดพอที่จะรู้ทันและรู้จักระมัดระวัง

สุดท้าย สำหรับ “ยาม” และ “ผู้จัดการ” จึงเป็นได้แค่เพียง “จำอวดไร้คนดู” และ “เจ้าของโรงน้ำแข็งกำมะลอที่ปั้นน้ำเป็นตัวกินกันเอง” เท่านั้น                                     
                                
   

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…