Skip to main content

วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี


หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา


แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง” ฝีมือการแปลของ “เหมยและพลับพลึง” และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “เม็ดทราย” นั้นมีจุดมุ่งหมายต่างออกไปอย่างสำคัญ


นอกจากจะเป็นวรรณกรรมแปลจากจีนแล้ว ยังเป็นวรรณกรรม “จีนใหม่” (หมายถึงวรรณกรรมจีนภายหลังการปฏิวัติใหญ่ ปี 1949) กลิ่นอายของแนวความคิดแบบ “สังคมนิยม” ที่พาประเทศจีนสู่ความเปลี่ยนแปลงบรรจุอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้


ในวรรณกรรมเรื่องนี้ จะพบคติที่สอนให้รู้จักการอุทิศตนเพื่อคนอื่น การทำงานเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการใช้แรงงาน ไม่ดูถูกว่างานที่ทำอยู่เป็นงานต่ำต้อยเพราะว่าล้วนแล้วแต่ทำเพื่อส่วนรวม ในขณะเดียวก็สอนว่างานที่ใช้แรงงานนั้นดูเหมือนเป็นงานที่ง่ายแต่ที่จริงแล้วต้องใช้สติปัญญามากเหมือนกัน


คนเหล่านั้นล้วนแต่ไปทำงานเพื่อความผาสุกของคนนับพันนับหมื่น พวกเขาและสิ่งของที่เรือบรรทุกไป ล้วนแต่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ นี่ช่างสำคัญและมีความหมายเสียจริง ๆ


เมื่อก่อนนั้น เขาดูถูกงานของน้าชายว่าต่ำต้อย แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่คิดเช่นนั้นอีกแล้ว ทุ่นลอยง่าย ๆ ไม่กี่อันนี้ แท้ที่จริงได้แฝงไว้ซึ่งความหมายอันยิ่งใหญ่ ตะเกียงแดงดวงเล็ก ๆ ช่างมีความสำคัญต่อความผาสุกของมนุษย์มากมายเหลือเกิน” (หน้า 122)


ฉินเสี่ยวผิง” ตัวละครเอกเป็นเด็กชาย 12 ขวบ ที่แสนซน อวดเก่ง เย่อหยิ่ง เอาแต่ใจ ซึ่งต้องไปอยู่กับลุงในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนเพราะคุณแม่ของ “ฉินเสี่ยวผิง” เป็นพยาบาล ต้องถูกส่งออกไปตระเวณรักษาโรคระบาดตามที่ต่าง ๆ


อันที่จริง ตอนแรกแม่ต้องการส่ง “ฉินเสี่ยวผิง” พร้อมน้องสาวไปอยู่กับน้าสาว แต่น้าสาวซึ่งรู้จักกิตติศัพท์ของ “ฉินเสี่ยวผิง” เป็นอย่างดีบอกปฏิเสธ ด้วยว่านอกจากจะเกกมะเหรกเกเรแล้ว “ฉินเสี่ยวผิง” ยังมักหาเรื่องทำร้ายน้องสาวของตนเองอยู่เป็นประจำ เมื่อแม่ว่ากล่าวตักเตือน “ฉินเสี่ยวผิง” ก็แสดงอาการต่อต้านแบบต่าง ๆ ทั้งเถียงแม่อย่างไม่ลดละหรือทำเป็นไม่สนใจ จนกระทั่งแม่ต้องรำพึงว่า

อีกเมื่อไหร่ ลูกจึงจะเป็นคนรู้เรื่องราวเสียทีนะ เมื่อไหร่จึงจะเข้าใจจิตใจของแม่ที่มีต่อลูกนะ !”


ดังนั้นพี่น้องสองคนจึงถูกจับแยกกัน น้องสาวไปอยู่กับน้าสาว ส่วน “ฉินเสี่ยวผิง” ไปอยู่กับลุงที่ชนบทห่างไกล เขาไปหาลุงโดยเดินทางไปกับเรือกลไฟ ความประทับใจหลายสิ่งหลายอย่างบนเรือกลไฟทำให้เกิดความปรารถนาลึก ๆ ว่าต่อไปเขาจะเป็นกะลาสีเรือ


ที่บ้านลุง “ฉินเสี่ยวผิง” ได้รู้จักกับตงตง ลูกสาวของลุง และเพื่อนใหม่อีกหลายคน ตามนิสัยของเขาที่ไม่ยอมรับใครง่าย ๆ เขาจึงมักคิดอยู่เสมอว่าเขาเก่งกาจสามารถกว่าใครทั้งหมด และจะทนไม่ได้เมื่อเพื่อนใหม่ “รู้” ในสิ่งที่เขาไม่รู้


วัวน้อยและจูสุ่ยเล่อมักจะคุยโวโอ้อวดสิ่งที่ตัวเองรู้ต่อหน้าเขา เขารู้ว่าฉันไม่รู้สิ่งเหล่านั้นก็จงใจโอ้อวดว่าตนเองรู้ ฮึ่ม... ยังมีเรื่องอีกมากมายหรอกที่ฉันรู้มากกว่าพวกเขา” (หน้า 91)


ลุงของ “ฉินเสี่ยวผิง” มีหน้าที่จุดตะเกียงให้สัญญาณแก่เรือกลไฟเพื่อให้เรือกลไฟสามารถหลีเลี่ยงแอ่งน้ำวนและหินโสโครกในแม่น้ำใหญ่ซึ่งเป็นการงานที่ต้องทำอย่างตรงเวลาและซ้ำซากวันแล้ววันเล่า


แม้ว่า “ฉินเสี่ยวผิง” จะชื่นชมในตัวลุงแต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าลุงของเขาน่าจะทำงานที่ยิ่งใหญ่กว่าการพายเรือออกไปจุดตะเกียง แต่ในเวลาต่อมาเขาได้พบความจริงว่าลุงของเขาเคยเป็นกะลาสีเรือกลไฟผู้ยิ่งใหญ่มาก่อน ลุงเคยสร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้มากมายในอดีต ซึ่งยิ่งทำให้เขาเพิ่มความนับถือในตัวลุงเพิ่มมากขึ้น


ลุงค่อย ๆ สอนให้เขาเห็นคุณค่าของการทำงาน แม้ว่าจะเป็นงานเล็ก ๆ แต่มันก็มีความสำคัญ อย่างการพายเรือไปจุดตะเกียงให้สัญญาณกลางแม่น้ำนั้นก็ช่วยทำให้เรือเดินทางสามารถหลบเลี่ยงอันตรายจากสายน้ำเชี่ยวและไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัยได้


ฉินเสี่ยวผิง” ภาคภูมิใจในตนเองและมีพัฒนาการขึ้นเมื่อเขาได้ช่วยเหลือลุงในการพายเรือฝ่าข้ามแม่น้ำเชี่ยวเพื่อไปจุดตะเกียงให้สัญญาณแก่เรือเดินทางที่กำลังจะมา


ในคืนที่พายุกระหน่ำและฝนตกหนัก ลุงเพียงคนเดียวไม่สามารถพายเรือไปจุดตะเกียงได้เพราะน้ำเชี่ยวกรากและลมพัดแรง ซ้ำลุงได้รับบาดเจ็บจากการโดนท่อนซุงกระแทก “ฉินเสี่ยวผิง” อาสาช่วยเหลือลุงอย่างสุดความสามารถจนกระทั่งพายเรือไปถึงโป๊ะและจุดตะเกียงให้สัญญาณแก่เรือกลไฟที่กำลังจะมาถึงได้


ลุงมอบเหรียญที่ตนเองเคยได้รับจากวีรกรรมความกล้าหาญของในอดีตซึ่งที่เหรียญเขียนว่า “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ให้แก่ผู้เป็นหลาน “ฉินเสี่ยวผิง” ปลาบปลื้มใจอย่างมาก เมื่อถึงเวลา เขากลับบ้านพร้อมกับทัศนะอย่างใหม่ต่อตนเอง ต่อแม่ กระทั่งต่อส่วนรวม.


บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ