Skip to main content

 

ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย

            ในเรื่องของการแย่งชิงทรัพยากรแน่นอนว่าผู้ที่ถือครองทรัพยากรแต่เดิมก็หวงแหนและอยากมีเจ้าสิ่งนั้นอยู่ในอ้อมกอดตนเองอยู่ตลอดเวลา แต่กระนั้นก็ดีทุกสิ่งทุกอย่างก็คงไม่ได้สวยงามดั่งความคิดเสมือนนักมวยที่ครองแชมป์สุดท้ายสิ่งที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ก็คือ “ผู้ท้าชิง” ผู้ท้าชิงก็พยามยามที่จะกระชากเข็มขัดเส้นนั้นมาเป็นของตัวเองเสมอ ในส่วนของผู้ท้าชิงหากครั้งแรกแพ้ผู้ท้าชิงผู้นั้นก็พยายามท้าชิงอีกครั้งและต่อไปเรื่อยๆ บางครั้งก็ชนะ แพ้ ผลัดกับเป็นแชมป์ไปมา ผู้ท้าชิงก็มีมากมายสุดท้ายขึ้นอยู่กับว่าใครมีฝีมือที่ดีกว่า

            จากข้างต้นในสังคมไทยปัจจุบันการแย่งชิงทรัพยากรช่างหนักหน่วงกว่าในอดีตที่ผ่านมาเป็นอันมาก มีผู้ครองแชมป์เดิมเป็นผู้ถือครองทรัพยากร มีผู้ท้าชิงมากหน้าหลายตาการต่อสู้จึงเข้มขั้นขึ้นจากในอดีตที่ผ่านมาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมองผ่านจาก “ประวัติศาสตร์การเมือง” โครงสร้างอำนาจทางการเมืองไทยได้ทำให้ผู้ถือครองทรัพยากรเดิมต่างกุมขมับกันเป็นทิวแถวและพยายามหายุทธวิธีต่างๆเพื่อที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ ในแง่นี้การต่อสู่แย่งชิงทรัพยากรสังคมไทยมีจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2540

            ก่อนหน้าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯปี 2540 ย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 สังคมไทยมีความหวังที่จะเห็นบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ แต่นั่นก็เป็นความฝันในช่วงสั้นๆเพราะในที่สุดแล้ว เสนีย์ ปราโมช ก็ถูกรัฐประหารโดย สงัด ชลออยู่ นับว่าเป็นการดับความฝันอันจะเห็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์สวยงามของผู้คนในสังคมเวลานั้น

            เมื่อ สงัด ชะลออยู่ รัฐประหารก็ส่งต่ออำนาจให้แก่ “รัฐบาลหอย” ซึ่งมี ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นผู้นำ พร้อมกันนั้นสังคมไทยได้สถาปนาประชาธิปไตยแบบใหม่ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการหวงแหนอำนาจและทรัพยากรที่ตนเองมี มิให้ใครอื่นเข้ามาอยู่ในวงวานแห่งการแย่งชิง ดังนั้น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” จึงถือกำเนิดขึ้นมาในสังคมไทย โดยจุดเน้นที่สำคัญอยู่ที่ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารและสมาชิกวุฒิสภาต้องมีที่มีจากทหารหรือไม่ก็ข้าราชการ และดำเนินเรื่อยมาประมาณสองทศวรรษ

            คำถามที่สำคัญก็คือ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” มันสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใดได้บ้าง แน่นอนว่าหลายท่านอาจจะมีความคิดหรือวิเคราะห์กันไปแตกต่างหลากหลาย ในที่นี้ผู้เขียนจะนำมาพิจารณาในแง่ของการแย่งชิงทรัพยากรของฝ่ายต่างๆว่า ก่อนและหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯปี 2540 การแย่งชิงทรัพยากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

            หากมองถึงจุดเน้นหลักของประชาธิปไตยครึ่งใบหลังปี 2519 พบว่าส่วนสำคัญอยู่ที่ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้นำการบริหารถูกจำกัดตัวอยู่ที่ชนชั้นนำผ่านร่างทรงคือ ทหารและเหล่าเทคโนแครตเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าจำกัดการแย่งชิงทรัพยากรเหล่านี้ก็จำกัดวงอยู่แค่ชนชั้นนำเท่านั้น หรือกล่าวอีกแง่ ทรัพยากรทั้งหลายของรัฐก็เป็นสมบัติผลัดกันชมของชนชั้นนำเท่านั้น กล่าวได้ว่า ทรัพยากรที่มีอยู่เกิดการแย่งชิงกันในโครงสร้างส่วนบนของสังคมเท่านั้น

            แน่นอนว่า ในสภาสังคมเช่นนั้นการต่อสู้แย่งชิงทรัพยากรก็อยู่ภายใต้กรอบคิด “เรือล่มในหนองทองจะไปไหน” เพราะสุดท้ายผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรก็ไม่ได้ห่างมือของชนชั้นนำของสังคมแต่อย่างใด

            สถานการณ์แย่งชิงทรัพยากรเป็นอย่างนั้นเรื่อยมาจนมาถึงปี 2535 สังคมเริ่มโหยหาสิทธิเสรีภาพที่ตนเองพึงมี ด้วยเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญในเดือนพฤษภาคมปี 2535 ทำให้โครงสร้างทางสังคมด้านล่างพยายามเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเองกลับคืนมาหลังที่ถูกหยิบฉวยไปนานหลายทศวรรษจนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง(คปก.) เพื่อที่จะแสวงหาการเมืองที่มุ่งถึงการมีสิทธิเสรีภาพของพลเมือง นำไปสู่การมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.1) ในสมัยรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา

            หลังจากการก่อรูปของขบวนการปฏิรูปการเมืองสมัยรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา  นำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งในแง่หนึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่บางท่านกล่าวว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ที่สุดฉบับหนึ่งเท่าที่รัฐไทยเคยมีมา

            สาระสำคัญของรัฐธรรมฉบับปี 2540 จุดเน้นที่สำคัญคือการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐบาลโดยเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ประชาธิปไตยแบบตัวแทนผ่านการเลือกตั้งได้สถาปนาขึ้นแทนที่ประชาธิปไตยครึ่งใบที่ดำรงอยู่มานานหลายทศวรรษ ด้วยเหตุนี้เองกล่าวได้ว่านับเป็นความท้าทายของโครงสร้างอำนาจเดิมอย่างยิ่งที่จะมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาในสังคมการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

            รัฐธรรมนูญฯปี 2540 ได้สร้างผู้นำที่มาจากประชาชนและกล่าวได้ว่ามีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก ในที่นี้ผู้เขียนคงไม่กล่าวถึงเรื่องการบริหารงานต่างๆ แต่ผู้เขียนขอเน้นถึงเรื่อง การแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หากย้อนหลับไปหลังเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม 2519 ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบนับตั้งแต่สมัยรัฐบาลหอยของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร การแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดก็มักจะอยู่ในวงของชนชั้นนำเท่านั้น

            แต่หลังจากการเข้าสู่อำนาจของ ทักษิณ ชินวัตร ชนชั้นนำเดิมถูกท้าทายเป็นอย่างมาก ทรัพยากรเดิมที่อยู่ภายใต้ชนชั้นนำถูกหยิบฉวยออกจากมือภายใต้การเมืองใหม่หลังปี 2540 เกิดชนชั้นใหม่ที่เป็นทั้งคนเมืองและคนชนบท ชนชั้นใหม่นี้เกาะสายธารของรัฐธรรมนูญฯปี 2540 ในการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ผ่านกระบวนการเลือกตั้งและเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับผู้นำจนสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ในเวลาต่อมา

            แน่นอนว่าสำหรับชนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นต่างยินดีปรีดาเป็นอย่างมากที่ได้เข้าไปสู่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดซึ่งตนเองมิได้มีโอกาสลองลิ้มชิมรสเลยก็ว่าได้แต่แน่นอนว่า ชนชั้นนำเดิมคงไม่ยินดีปรีดาด้วยเป็นแน่ที่ทรัพยากรที่ตนเองเคยมีถูกแย่งชิงไปจากอ้อมอก จาก “เรือล่มในหนองทองจะไปไหน” ไปสู่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา”

            ในแง่นี้ไม่แปลกใจที่ผู้นำหลังรัฐธรรมนูญฯ 2540 จะไม่เป็นที่ประสงค์ของชนชั้นนำเดิม ชนชั้นนำเดิมคงไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้เป็นแน่ ชนชั้นนำเดิมหนีไม่พ้นที่จะหาแหล่งหลักที่สำคัญในการเข้าสู่ในวงของทรัพยากรอีกครั้งแต่แน่นอนว่าการเข้าสู่วงดังกล่าวโดยวิธีการรัฐธรรมนูญฯผ่านประชาชนกล่าวได้ว่าเป็นไปได้ยากเพราะเขาเหล่านั้นไม่เคยผ่านงานแบบนี้โดยทั่วไปอาศัยความได้เปรียบในการจัดแจงโครงสร้างทางสังคมของกลุ่มตนเอง ดังนั้นก็มีตัวเลือกไม่มากนักที่เหลือก็มีแต่อำนาจนอกระบบที่กุมโดยฝ่ายทหารซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้พวกเขากลับเข้ามาสู่วงแห่งทรัพยากรได้อีกครั้ง

            การต่อสู้ครั้งนี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะยาวนานถึงเมื่อไร ในแง่หนึ่งน่าสนใจว่าหากชนชั้นนำเดิมสามารถกลับมาครองทรัพยากรได้อีกครั้งนั่นหมายความว่า สังคมไทยกำลังจะเดินไปสู่ประชาธิปไตยแบบเดิมหลังปี 2519 หรือไม่ ชนชั้นนำเดิมจะสามารถต้านทานกระแสโลกที่มุ่งสู่ประชาธิปไตยแบบเสรี มุ่งสร้างความเท่าเทียมในสังคมได้อย่างไร หรือว่าในที่สุดแล้วสังคมไทยไม่ได้ต้องการความเป็นประชาธิปไตยภายใต้หลักการที่สำคัญตามหลักสากล แต่ต้องการเพียงแค่ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”  ที่ชนชั้นนำต้องการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดภายใต้หลักคิด “เรือล่มในหนองทองจะไปไหน” เท่านั้น

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”